งาน ด้าน การ ขนส่ง หรือ โล จิ สติ ก ส์

บทความนี้ เราจะพาน้องๆ ทุกคนมารู้จักกับสายงานที่เป็นกระแสและได้รับความสนใจในยุคดิจิทัลนี้อย่าง อาชีพ ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ (Logistics Analyst/Logistics Specialist) จะน่าสนใจและมีอะไรที่ต้องรู้บ้าง ตามมาดูกันได้เลย

นิยามอาชีพ ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ (Logistics Analyst / Logistics Specialist
ผู้ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา แนะนำ เพื่อลดต้นทุนตั้งแต่ด้านบริหารคลังสินค้า ทั้งวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป และการบริหารงานขนส่งสินค้าเพื่อให้ลูกค้าที่ได้รับสินค้าตรงตามเวลาที่ต้องการแก่สถานประกอบการ

ลักษณะของงานที่ทำ
1. วิเคราะห์ดัชนีชี้วัดที่ทำให้มั่นใจหรือรับประกันได้ว่าการทำงานของสถานประกอบการมีประสิทธิภาพ
ทั้งในด้านของการบริหารคลังสินค้า การบริหารจัดการขนส่งสินค้าสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักการดำเนินการกระบวนการปฏิบัติงานซึ่งมีเอกสารประกอบสามารถวัดความสำเร็จของการดำเนินการได้

2. วิเคราะห์โลจิสติกส์ในด้านต่างๆ เช่น
งานคลังสินค้า การใช้พื้นที่จัดเก็บวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูป งานส่งสินค้า ทั้งในเรื่องของวิธีการจัดส่ง ผู้ให้บริการขนส่ง และปัญหาการจัดส่งที่อาจจะเกิดขึ้น

3. สนับสนุนการทำงานบริการและกระบวนการพัฒนาการผลิต

4. ให้คำปรึกษาแนะนำแก่สถานประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ
ทั้งในภาคเอกชนหรือหน่วยงานรัฐบาล โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับประสิทธิภาพของการจัดการด้านการขนส่ง

รายได้และค่าตอบแทน
ผู้ประกอบอาชีพนี้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจสาขาโลจิสติกส์ สาขาการจัดการ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน ที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนสวัสดิการต่างๆ ค่ารักษาพยาบาล และโบนัสเป็นไปตามเงื่อนไขข้อตกลงกับผู้ว่าจ้าง ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง อาจทำงานล่วงเวลา วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดตามความจำเป็นเร่งด่วน

โอกาสและความก้าวหน้าทางอาชีพ
ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ (Logistics Analyst) หรือ นักวิเคราะห์โลจิสติกส์ สามารถประกอบอาชีพเป็นพนักงานในองค์การระหว่างประเทศ เจ้าของธุรกิจส่วนตัว นักวิจัย นักวิชาการด้านการขนส่งการค้าในสถาบันต่างๆ อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา นอกจากนี้นักวิเคราะห์ระบบโลจิสติกส์สามารถเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่และหน่วยงานที่ตนปฏิบัติได้เสมอ อาจจะเป็นนักวิเคราะห์ระบบ นักวิจัย และนักวางแผนทางระบบโลจิสติกส์

ภาพรวมความต้องการกำลังคนสำหรับระบบโลจิสติกส์ มีแนวโน้มความต้องการกำลังคนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดภายในประเทศ และตลาดการค้าระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน ในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจของสถานประกอบการต่างๆ ต้องประสบกับการแข่งขันมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการดำเนินธุรกิจจึงต้องแสวงหาวิธีหรือกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานให้แก่สถานประกอบการ หรือเพื่อความอยู่รอดในธุรกิจ

นักวิเคราะห์โลจิสติกส์จึงเป็นอาชีพหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญและมีจำนวนบุคลากรค่อนข้างจำกัด ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ และสนับสนุนการวางแผน และการควบคุมการไหลเวียนของกิจกรรมต่างๆ ของสถานประกอบการทั้งในด้านของการบริหารคลังสินค้า และการจัดส่งให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนในด้านการบริหารงาน อาชีพนี้จึงเป็นอาชีพที่มีความสำคัญและมีแนวโน้มของความต้องการสูงยิ่งขึ้นในอนาคต

  ตัวอย่างมหาวิทยาลัยและคณะที่เปิดสอนด้าน Logistics
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์
มหาวิทยาลัยบูรพา คณะโลจิสติกส์
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการจัดการ บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
​มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
มหาวิทยาลัยเกริก คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
มหาวิทยาลัยธนบุรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

Logisticsคืออะไร

Logistics คืองานบริการขนส่งสินค้า มีเป้าหมายเพื่อขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทางด้วยวิธีการขนส่งทางน้ำ ทางบกหรือทางอากาศ รวมไปถึงการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการบรรจุหีบห่อ เพื่อนำส่งไปถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย โลจิสติกส์เป็นธุรกิจหนึ่งที่มีความสำคัญต่อ Supply Chain เป็นอย่างมาก อาจจะดูเหมือนเป็นงานที่ง่าย แต่ในความเป็นจริงกระบวนการจัดส่งสินค้านั้นต้องใช้เงินทุน จึงจำเป็นต้องใช้ความสามารถในการจัดการเพื่อขนส่งสินค้าในต้นทุนที่ต่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการจำนวนมากมักเลือกใช้บริการโลจิสติกส์เพื่อให้เป็นสื่อกลางในส่งสินค้าของตนไปยังลูกค้าแทนที่จะบริหารจัดการด้านการขนส่งเอง

Logistics Management

4 ปัจจัยหลักที่ทำให้การจัดการด้านโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ ได้แก่

1.       การเคลื่อนย้าย (Movement)

การเคลื่อนย้ายสินค้า เป็นกระบวนการสำคัญและจำเป็นต้องจัดการให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้พนักงานขนส่งทำงานได้ง่าย ใช้พื้นที่บนรถขนส่งอย่างคุ้มค่า ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

2.       การจัดเก็บ (Storage)

การจัดเก็บคือการวางแผนการเก็บรักษาสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยรวบรวมสินค้าที่ได้จากการขนส่งจำนวนน้อยหลายๆ ครั้งเข้าด้วยกัน เพื่อรวมเป็นสินค้าขนาดใหญ่ หรือการแยกสินค้าให้มีจำนวนที่เล็กลง(break bulk) เป็นต้น การจัดเก็บสินค้าได้ดี จะช่วยลดต้นทุนขององค์กรด้านค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ(storage cost)

3.       การรวบรวม (Consolidation)

เป็นการขนส่งแบบรวมสินค้าหลายประเภท และหลายลูกค้าไว้ในรถขนส่งคันเดียวกัน เมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ผู้ให้บริการขนส่งจะไปรับสินค้าที่ต้นทางหลายๆ แห่ง แล้วนำมารวมไว้ที่ศูนย์กระจายสินค้า หลังจากนั้นจะจัดเส้นทางการขนส่ง และเติมสินค้าให้เต็มรถ เพื่อนำไปส่งตามลำดับเส้นทางที่วางแผนไว้

4.       การกระจาย (Distribution)

การกระจายสินค้าเป็นกิจกรรมที่ต้องวางแผนให้ดีเพื่อให้ส่งสินค้าได้ถูกต้อง (right product) ตรงตามจำนวน (right quantity) เวลา (right time) สถานที่ (right place) และเงื่อนไข (right condition) ที่ลูกค้ากำหนด

 ทำไมโลจิสติกส์จึงเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ

การเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ทำให้มีผู้ประกอบการรายย่อยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปสั่งสินค้าทางออนไลน์มีมากขึ้น จึงเริ่มมีผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์เข้ามาแข่งขันในตลาดกันมากขึ้น ทั้งนี้ ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องของตัวสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการให้บริการ ความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ และความรวดเร็วในการจัดส่งอีกด้วย การมีระบบโลจิสติกส์ที่ดีจึงช่วยสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้

เทคโนโลยีและบริการที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจโลจิสติกส์

Routing Management

เป็นระบบที่ช่วยวางแผนเพื่อคำนวณสินค้าที่จะนำขึ้นรถขนส่ง และคำนวณเส้นทางขนส่ง ทำให้ใช้พื้นที่บนรถขนส่งได้อย่างคุ้มค่า ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่าย เช่น ลดจำนวนเที่ยวที่ไม่จำเป็นลง ช่วยให้สามารถส่งสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทางได้อย่างรวดเร็ว

GPS Tracking / Monitoring

ใช้เทคโนโลยี GPS (Global Positioning System) ซึ่งเป็นระบบติดตามตำแหน่งด้วยดาวเทียม โดยติดตั้งอุปกรณ์ติดตาม (Tracker) ไว้ที่ยานพาหนะ สินค้า หรือตัวบุคคล แล้วใช้ระบบ GPS คำนวณหาตำแหน่งบนพื้นโลก โดยใช้ตำแหน่งของดาวเทียมในการอ้างอิง ซึ่งมีความแม่นยำสูง จึงช่วยระบุพิกัดของยานพาหนะ สินค้า หรือบุคคลได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดเส้นทาง และระยะเวลาในการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่มเติม “ระบบวางแผนและควบคุมการขนส่ง”

Fulfillment Service

Fulfillment คือบริการให้เช่าพื้นที่คลังสินค้า พร้อมทั้งแพ็คสินค้าและจัดส่งไปยังปลายทาง โดยใช้ระบบออนไลน์คำนวณและบันทึกสินค้า ช่วยให้ตรวจสอบสถานะสินค้าและติดตามการจัดส่งได้ตลอดเวลา เหมาะกับผู้ประกอบการที่ต้องการประหยัดเวลาในการบริหารคลังสินค้าและการขนส่ง และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานได้อีกด้วย

Ultrafast delivery

เป็นระบบการส่งสินค้าอย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง หรือ 30 นาที ริเริ่มโดยบริษัท Amazon ซึ่งมีคลังสินค้าของตัวเองอยู่ในตึกกลางเมืองนิวยอร์ก สามารถให้บริการจัดส่งสินค้าอย่างรวดเร็วไปยังเมืองใกล้เคียงได้ พนักงานของ Amazon สามารถค้นหาและหยิบสินค้าในคลังมาบรรจุหีบห่อได้อย่างรวดเร็ว แล้วส่งต่อให้ผู้ให้บริการขนส่งเพื่อนำไปจัดส่งให้ลูกค้าด้วยช่องทางที่รวดเร็วที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นการเดิน การส่งด้วยรถจักรยาน รถโดยสารสาธารณะ หรือรถยนต์ ลูกค้าที่สั่งสินค้าจึงได้รับสินค้าที่ถูกต้องและรวดเร็ว

เข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก