จุดประสงค์ในการแต่งขุนช้างขุนแผน

เรื่องขุนช้างขุนแผน มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ และเล่ากันต่อ ๆมาจนกลายเป็นนิยายพื้นเมืองของเมืองสุพรรณบุรี ต่อมาได้มีผู้นำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนเสภเพื่อใช้ในการขับเสภา จึงทำให้เรื่องนี้เป็นที่นิยมและแพร่หลายมากขึ้น ครั้นเสียกรุงแล้วบางตอนก็สูญหายไป บางตอนยังมีต้นฉบับเหลืออยู่ เรื่องไม่ติดต่อกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้กวีหลายคนช่วยกันรวบรวมและแต่งขึ้นเรียกว่า เสภาหลวง การชุมนุมกวีครั้งนั้นจึงเป็นการประกวดฝีปากเชิงกลอนอย่างเต็มที่ ทำให้เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
มีความไพเราะเพราะพริ้งมากอย่างไรก็ตามได้มีนักขับเสภาระยะหลังได้แต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
ขึ้นอีกหลายสำนวนเพื่อใช้ขับเสภาเป็นตอน ๆ ใน พ.ศ. ๒๔๖๐ หอพระสมุดวชิรญาณได้ชำระหนังสือเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนขึ้นเพราะมีเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนหลายฉบับ
ทั้งฉบับหลวงและฉบับราษฎรโดยมีสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา
ทรงเป็นประธานการชำระได้คัดเลือกเอาสำนวนที่ดีที่สุดมารวมกันจนครบทุกตอน บางตอนก็ไม่สามารถทราบนามผู้แต่ง จากการชำระเรื่องนี้ได้พบสำนวนที่พอทราบนามผู้แต่งได้ดังนี้
1. บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ที่ 2 มี 4 ตอน คือ
- พลายแก้วได้นางพิม
- พลายแก้วได้เป็นขุนแผนและขุนช้างได้นางวันทอง
- ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและได้นางแก้วกิริยา
- ขุนแผนพานางวันทองหนี
2. บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 3 มี 2 ตอน คือ
- ขุนช้างขอนางพิม
- ขุนช้างตามนางวันทอง
3. สำนวนของสุนทรภู่ มี 1 ตอน คือ
- กำเนิดพลายงาม
4. สำนวนของครูแจ้งมี 5 ตอน คือ
- กำเนิดกุมารทอง
- ขุนแผนแก้พระท้ายน้ำ
- ขุนแผนและพลายงามจับพระเจ้าเชียงใหม่
- ขุนแผนและพลายงามยกทัพกลับ
- จระเข้เถรขวาด
ลักษณะการแต่ง เป็นกลอนสุภาพ
เนื้อเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน และนางพิมพิลาไล ต่างก็เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่เล็ก ขุนแผน เดิมชื่อพลายแก้วรักอยู่กับนางพิมพิลาไลย แต่ขุนช้างก็หลงรักนางพิมพิลาไลยด้วยเช่นกัน จึงขอร้องให้เทพทองผู้เป็นมารดาไปสู่ขอนางพิมพิลาไลย แต่นางพิมพิลาไลยไม่ยินยอม ต่อมาพลายแก้วแต่งงานกับนางพิมพิลาไลย หลังจากแต่งงานได้สองวันก็เกิดศึกเมืองเชียงทอง พลายแก้วต้องไปราชการสงคราม ระหว่างนี้นางพิมพิลาไลยป่วยจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง ฝ่ายขุนช้างได้ออกอุบายว่าพลายแก้วตายในสงคราม นางศรีประจันมารดาของนางวันทองรับปากจะยกนางวันทองให้ขุนช้าง ส่วนพลายแก้วกลับจากราชการสงครามได้เป็นขุนแผนแสนสะท้าน และได้นางลาวทองเป็นภรรยา นางวันทองและนางลาวทองเกิดหึงหวงกัน ขุนแผนจึงพานางลาวทองไปอยู่กาญจนบุรี ขุนช้างได้นางวันทองเป็นภรรยา ต่อมาขุนช้างกล่าวโทษขุนแผนว่าละทิ้งหน้าที่ราชการอยู่เวร ขุนแผนจึงได้รับโทษไปเป็นนายด่านตระเวนชายแดน ระหว่างนี้ขุนแผนได้ดาบฟ้าฟื้น ม้าสีหมอก และกุมารทอง ขุนแผนจึงขึ้นเรือนขุนช้าง ได้นางแก้วกิริยาและพานางวันทองหนี ต่อมาเมื่อวันทองตั้งท้อง จึงพากันไปหาพระพิจิตรเพื่อให้พาเข้าสู้คดีที่กรุงศรีอยุธยา ขุนแผนชนะคดีได้นางวันทองกลับคืน ขุนแผนทูลขอนางลาวทองซึ่งถูกกักขังอยู่ในวัง สมเด็จพระพันวษากริ้วจึงให้จำคุกขุนแผนไว้ ขุนช้างพาพรรคพวกมาขุนนางวันทอง ต่อมาวันทองคลอดพลายงามบุตรขุนแผน ขุนช้างลวงพลายงามไปฆ่าแต่ไม่ตาย เมื่อพลายงามโตขึ้นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กและได้อาสาทำศึกเมืองเชียงใหม่ พร้อมขอตัวขุนแผนไปช่วยสงคราม และพลายงามได้นางศรีมาลาลูกสาวเจ้าเมืองพิจิตรเป็นภรรยา
ครั้นเสด็จศึกเมืองเชียงใหม่แล้ว พลายงามได้เป็นจมื่นไวยวรนาถพร้อมกับได้รับพระราชทานนางสร้อยฟ้า ธิดาพระเจ้าเชียงใหม่เป็นภรรยา ในวันประกอบพิธีแต่งงานจมื่นไวยวรนาถกับนางศรีมาลา นางวันทองกับขุนช้างมาในงานด้วย ขุนช้างดื่มเหล้าเมาจึงมีเรื่องกับจมื่นไวยวรนาถ ขุนช้างถูกทำร้ายจึงถวายฎีกากล่าวโทษจมื่นไวยวรนาถ มีการพิสูจน์ดำน้ำ ขุนช้างถูกตัดสินประหารชีวิต แต่จมื่นไวยวรนาถขอชีวิตไว้ตามที่นางวันทองขอร้อง และลักพานางวันทองไปอยู่กับขุนแผน ขุนช้างถวายฎีกา สมเด็จพระพันวษาทรงให้นางวันทองเลือกจะอยู่กับใครนางวันทองตัดสินใจไม่ได้ จึงกริ้ว ให้นำตัวนางวันทองไปประหารชีวิต
ต่อมานางสร้อยฟ้ากับนางศรีมาลาเกิดวิวาทกันด้วยความหึงหวง นางสร้อยฟ้าจึงให้เถรวาททำเสน่ห์ให้หมื่นจไวยวรนาถหลงรักตน กลายชุมพลซึ่งเป็นลูกขุนแผนกับนางแก้วกิริยามาช่วยแก้เสน่ห์ แต่ไม่สำเร็จ ขุนแผนมาช่วยก็ไม่สำเร็จ ทำให้ขุนแผนโกรธ คบคิดกับพลายชุมพลปลอมตัวเป็นมอญยกทัพมาล้อมกรุง เพราะหวังจะฆ่าหมื่นจไวยวรนาถ ความทรงทราบ ถึงพระพันวษาจึงทรงตัดสินคดี นางสร้อยฟ้าพิสูจน์ด้วยการลุยไฟแต่เป็นฝ่ายแพ้ จึงถูกส่งตัวกลับไปอยู่เมืองเชียงใหม่ ส่วนเถรขวาดแปลงตัวเป็นจระเข้มาอาละวาดที่กรุงศรีอยุธยา พลายชุมพลอาสาปราบจระเข้เถรขวาดและจับเถรขวาดได้ จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิต ส่วนพลายชุมพลได้เป็นหลวงนายฤทธิ์

//oknation.nationtv.tv/blog/Duplex/2008/03/06/entry-13

272 กวีวัจน์วรรณนา ที่มาของวรรคทอง เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ๑๘ ขุนแผนพานางวันทองหนี ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปี/สมัยที่แต่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประเภทของวรรณคดี ขุนช้างขุนแผนจัดเป็นวรรณคดีประเภทเสภา คือ วรรณคดีที่แต่ง ด้วยกลอนเสภา มีจุดประสงค์เพื่อใช้ขับเสภาซึ่งเป็นการขับที่มีจังหวะ และท� ำนองเฉพาะและมักใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ เนื้อหาของ เสภามีหลากหลาย เช่น นิทาน ต� ำนาน พงศาวดาร ค� ำสอน รูปแบบค� ำประพันธ์ กลอนเสภา วัตถุประสงค์/โอกาสในการแต่ง เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องที่นิยมน� ำมาเล่าและขับเป็นเสภาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยามีอยู่หลายส� ำนวน ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์พระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งบท เสภาขุนช้างขุนแผนขึ้นใหม่หลายตอน พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ ๔ ตอน และพระราชทานตอนอื่น ๆ ให้เจ้านายและกวีราชส� ำนัก เช่น กรม- หมื่นเจษฎาบดินทร์ และสุนทรภู่ช่วยกันแต่ง บทเสภาที่แต่งขึ้นใหม่นี้ ใช้ขับถวายตอนทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ท� ำให้เกิดธรรมเนียมขับเสภา ถวายขณะทรงเครื่องใหญ่ในรัชกาลต่อๆมา ส่วนการแต่งบทเสภาขุนช้าง ขุนแผนขึ้นใหม่มีต่อมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอน “ขุนแผนพานางวันทองหนี” อันเป็น ที่มาของวรรคทองข้างต้นนี้ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในคราวที่โปรดเกล้าฯ ให้มีการแต่งบทเสภาเรื่องนี้ขึ้นใหม่ในรัชสมัยของพระองค์ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 272 8/8/2557 BE 3:09 PM

Made with FlippingBook

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=

จุดมุ่งหมายของการแต่งเรื่องเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน คือข้อใด

ผู้แต่ง ไม่ปรากฎนามผู้แต่ง ลักษณะงานเขียน กลอนสุภาพ ( กลอนเสภา ) จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับวิถีชีวิตของสังคมไทยในอดีต สมัยกรุงศรีอยุธยา

ขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

ขุนช้างขุนแผน เป็นเรื่องราวการชิงรักหักสวาทของหนุ่มสาวสองรุ่น รุ่นพ่อและรุ่นลูก โครงเรื่องรุ่นพ่อเป็นเรื่องของชายสองแย่งหญิงหนึ่ง คือเรื่องชิงรักหักสวาทของขุนแผน ขุนช้างและนางพิมพิลาไลย ชาวบ้านสุพรรณบุรี ส่วนโครงเรื่องรุ่นลูกของขุนแผน เป็นเรื่องของหญิงสองแย่งชายหนึ่ง คือ เรื่องหึงหวงระหว่างเมียทั้งสองของพระไวยวรนาถ ...

แก่นของเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างถวายฎีกาคืออะไร

๔.๑ สาระ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา เสนอข้อคิดว่าการตกเป็นทาสของอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความรัก ความโกรธ ความหลง ย่อมทำให้มนุษย์ขาดสติกระทำสิ่งต่างๆโดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมาว่าดีหรือร้ายแก่ตนเองหรืแก่ผู้อื่นเมื่อเกิดหลังจากที่พลายงามลอบขึ้นเรือนของขุนช้างแล้วพามารดามาอยู่ด้วย ก็เกิดเกรงขุนช้างจะเอาผิด ...

ใครเป็นผู้แต่งเรื่องขุนช้างขุนแผน

หนังสือเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้กวีในรัชสมัยของพระองค์ ตลอดจนพระองค์เองร่วมกันแต่งและทรงพระราชนิพนธ์ขี้นเป็นวรรณคดีที่มีค่าทั้งในด้านความไพเราะและในลีลาการแต่ง ตลอดจนเค้าโครงเรื่อง ได้รับการยกย่องตามพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก