พรบคอมพิวเตอร์ฉบับที่ 2 มีกี่หมวด

เพื่อนๆ จ๋า ก่อนจะโพสต์หรือคอมเมนต์อะไรในโลก social ต้องคิดให้มาก ๆ หน่อยน๊าา เพราะอะไรเหรอ เพราะเรามีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 กันยังไงละจ๊ะ และมีผลบังคับใช้แล้วด้วย ซึ่งถ้าเราตามข่าวดารา คนนั้นโพสด่า บูลลี่คนนั้นคนนี้ จะโดนฟ้องเอาได้น๊าาาา เดียวเรามาดูกันว่า 13 ข้อ พ.ร.บ. คอมมีอะไรบ้าง

13 ข้อ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่ต้องรู้ก่อนโพสต์

1. การกด Like
  - กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมฯ ยกเว้นการกดไลก์ฐานข้อมูลหรือข้อมูลที่มีผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงเสี่ยง หรือเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม เพราะฉะนั้นก่อนกดไลก์ต้องดูให้ดีก่อนนะคะ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่าเราเห็นด้วยกับโพสต์ที่เข้าข่ายมีความผิด

2. กด Share
   - อีกเรื่องที่ควรระวัง นั่นคือการกด Share นั่นเองค่ะ หากเราแชร์ข้อมูลที่มีความผิดโดยไม่ไตร่ตรองก่อน ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3 

3. แอดมินเพจ
   - หากลูกเพจมีการแสดงความคิดเห็นที่มีความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เมื่อแอดมินพบเห็นและลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด จะต้องคอยสอดส่องลูกเพจของตัวเองให้ดีเลยนะคะ เดี๋ยวจะมีความผิดได้แบบไม่รู้ตัว

4. สิ่งลามกอนาจาร
  - ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้ 

5. โพสต์เกี่ยวกับเด็ก
  - อันนี้ต้องระวังไม่แพ้กันค่ะ การโพสต์เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน หากไม่ได้รับการยินยอมจากเด็กต้องมีปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชมอย่างให้เกียรติ 

6. ข้อมูลผู้เสียชีวิต
   - การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย เช่นข่าวการเสียชีวิตดาราดัง แล้วมีคนโพสภาพศพ แบบนี้ไม่ได้น๊าาา

7. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น
  - การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฎหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหาเอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท ใครที่ชอบวิจารณ์ดาราแรง ๆ ระวังด้วยน๊าา

8. ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด
   - ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ เช่น การเอาเพลง หรือรูปภาพมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ก็สามารถโดนฟ้องได้

9. ส่งรูปภาพ
  - ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้

10. ฝากร้าน
   - การฝากร้านถือเป็นรบกวนผู้อื่น การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท เพราะฉะนั้นควรฝากร้านในพื้นที่ที่ให้ฝากเท่านั้น

11. ส่ง Email ขายของ
   - ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

12. ส่ง SMS โฆษณา
   - ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่ได้รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

13. พบข้อมูลผิดกฎหมาย
   - หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมายที่เจ้าของเครื่องไม่ได้ทำเอง สามารถแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : //www.wongnai.com/articles/thai-cyber-law

เมื่อไม่นานมานี้เรามักจะเห็นข่าวที่เกี่ยวกับ พรบ.คอมพิวเตอร์ มากมายในโลกอินเตอร์เน็ต ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย แล้วชาวเน็ต หรือคนที่ต้องทำงานบนโลกจะรู้ได้ไงล่ะว่าอะไรที่เข้าข่ายผิด พรบ.คอมพิวเตอร์

Share Post:

เนื้อหาในบทความ

สรุปแล้ว พ.ร.บ. คอม คืออะไร เพราะถ้าหากใช้ไม่ระมัดระวัง เราอาจเผลอทำผิดกฎหมายก็ได้นะ ซึ่งในบทความนี้เรามาทบทวนสักหน่อยว่า พรบ. คอมพิวเตอร์ สรุป แล้วคืออะไรและมีเรื่องอะไรบ้างที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่ควรทำเพราในปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ และสมาร์ตเป็นจำนวนมากขึ้น

มาทำความรู้จักกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุด

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุด เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โน็ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมไปถึงระบบต่าง ๆ ที่ถูกควบคุมการกระทำระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็น พรบ คอม ที่ออกมาเพื่อป้องกัน และควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้การใช้คอมพิวเตอร์ หากผู้ใดกระทำผิดก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่ พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2560 กำหนดไว้

ดังนั้นเรามาดูกันเลยว่าข้อห้ามที่สำคัญที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต “ไม่ควรทำ” มีอะไรบ้าง

1. แฮคเฟสบุ๊ค!! (มาตรา 5-8)

การปล่อยไวรัส หรือมัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่นเพื่อขโมยข้อมูล โดยที่เจ้าของไม่อนุญาต (ละเมิด Privacy) มีโทษฐานผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ โดย

  • เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท
  • เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท
  • นำมาตรการป้องกันระบบไปเผยแพร่ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท
  • ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ!!

2. หยุด!! แก้ไข ดัดแปลงข้อมูล (มาตรา 9-10)

การเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบ รวมทั้งเข้าไปดัดแปลง หรือทำลายข้อมูล ทำให้ข้อมูลของฝ่ายตรงข้ามเสียหายผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ห้าม!! ฝากร้านตาม Facebook และ IG เด็ดขาด! (มาตรา 11)

สำหรับพ่อค้าแม่ขายบนโลกออนไลน์เน้นย้ำ!! เรื่องการส่งอีเมลขายของโดยที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับนั้นถือเป็นการสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook และ IG ก็ตามมีโทษตาม พรบ.คอมพิวเตอร์โดยปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. อย่า!! แอบเข้าระบบของหน่วยงานภาครัฐ (มาตรา 12)

การเข้าถึงระบบ หรือข้อมูลด้านความมั่นคงรวมถึงการโพสเนื้อหาที่ส่งผลต่อความมั่นคงต่อประเทศบนโลกออนไลน์ที่เข้าข่ายข้อมูลเท็จที่ทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก มีโทษแบ่งตาม พรบ. คอมพิวเตอร์เป็นกรณีดังนี้

  • กรณีไม่เกิดความเสียหาย จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
  • กรณีเกิดความเสียหาย จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 – 2 แสนบาท
  • กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 5 – 20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท

5. โพสต์ข่าวปลอมก่อให้เกิดความเสียหาย (มาตรา 14)

แล้วโพสต์อะไรบ้างล่ะที่เรียกว่าผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ เริ่มจากการโพสต์ ข่าวปลอม ธุรกิจลูกโซ่ ที่ต้องการจะหลอกเอาเงินจากลูกค้า โพสต์เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยรวมทั้งการก่อการร้าย โพสต์ข้อมูลลามก โดยถ้าเกิดว่าส่งผลถึงประชาชน จะต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนถ้าส่งผลต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรีบไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

6. คอมเม้นในข่าวปล่อม (มาตรา 15)

การเข้าไปคอมเม้นแสดงความคิดเห็นในโพสที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็จะกระทำ พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2560 ถ้าไม่ยอมลบจะได้รับโทษเดียวกันกับมาตรา 14 เหมือนกันกับผู้โพสต์แต่ถ้าหากว่าลบออกไปแล้ว ถือว่าพ้นผิด

หมายเหตุ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลการใช้งานไม่น้อยกว่า 90 วัน หรือในกรณีที่ศาลสั่งจะต้องเก็บข้อมูลไม่เกิน 2 ปี

7. ตัดต่อรูปภาพ (มาตรา 16)

การตัดต่อ ดัดแปลงภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง และเกิดความเสียหาย รวมทั้งโพสต์ภาพผู้เสียชีวิตที่ทำให้พ่อ – แม่ คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย จะต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

8. ต้องเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (มาตรา17)

หลายคนคงสงสัยว่าเวลาเราแชร์ข่าวปลอม โพสเรื่องหมิ่นประมาท แล้วเจ้าหน้าที่รัฐเค้าเอาหลักฐานที่ไหนมาจับเรา มาตรา 17 นี้เองที่ระบุว่าหากเราเป็นองค์กรหรือหน่วยงานที่ออกอินเตอร์เน็ตเราจำเป็นต้องติดตั้งระบบเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ลองสำรวจดูนะครับว่าบริษัทท่านได้ติดตั้งระบบจัดเก็บหรือยัง?? หากยังไม่จัดเก็บผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทจะต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท  สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ เก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์อย่างไร? ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ พรบ.คอม 2560    

สรุปแล้ว พรบ. คอม คือ ?

ถึงเวลาแล้วที่เรามาสำรวจดูว่า เรานั้นได้เผลอทำความผิด ตาม พรบ.คอม หรือเปล่า? เพราะข้อกฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากสำหรับชาวเน็ต ดังนั้น พรบ. คอมพิวเตอร์ สรุป แล้วก็คือกฏหมายที่ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองกลุ่มคนที่ใช้งานบนโลกออนไลน์ ถ้าหากรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือใช้อย่างไม่ระมัดระวัง เราอาจเผลอทำผิดกฎหมายก็ได้นะ ดังข่าวที่ออกมา ในบางเหตุการณ์ก็ก่อให้เกิดความเสียหายได้ในโลกอินเตอร์เน็ตได้

นาย วันพิชิต ชินตระกูลชัย​

Chief Technology Officer (CTO)
Ragnar Corporation

Stay Connected

More Updates

Cybersecurity

5 TECHNOLOGY ADVANCES CREATING A SECURE WFH

ผ่านมากว่า 20 ปีแล้วที่เทคโนโลยีได้มีการพัฒนาไปไกล ความสามารถก็ได้ถูกยกระดับมากขึ้นไม่ใช่แค่เพียงแค่รับสมัคร จ้าง และเทรนทักษะให้กับพนักงาน แต่ต้องสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานที่มีคุณภาพว่าสภาพแวดล้อมที่ทำงานอยู่นั้นปลอดภัยอีกด้วย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาหลาย ๆ องค์กรได้มีนโยบายที่พนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้ (WFH) หนึ่งในความกังวลหลักสำหรับทุกธุรกิจสำหรับการทำงานที่บ้านคือความปลอดภัยเสมอ

อ่านต่อ

October 4, 2021

Cybersecurity

วิธี เก็บ LOG FILE ให้ผ่าน พ.ร.บ.คอม อย่างละเอียด

วิธี เก็บ log พรบ. คอมคืออะไร? ส่วนใหญ่แล้วภาพจำของคนทั่วไป ถ้าพูดถึง พรบ.คอม อาจจะไม่นึกถึงเรื่องการเก็บ log แต่มักจะนึกถึงเรื่อง การโพสหมิ่นประมาท แชร์ข้อมูลเท็จ หรือการฝากร้านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว

อ่านต่อ

October 4, 2021

Cybersecurity

สรุป พ.ร.บ. ไซเบอร์ 2562 สำหรับองค์กร

มามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวัน ทั้งในการทำงาน หรือเรื่องส่วนตัวก็ตาม หากเจอพบเจอภัยคุมคามทาง ไซเบอร์ ที่ส่งผลต่อความมั่นคงภายในไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ หรือแม้กระทั้งองค์กรภาคเอกชนก็ตาม

พรบคอมพิวเตอร์หมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องอะไร

(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง

พรบ. คอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 มีชื่อเต็มว่าอย่างไร

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

พรบ.คอมพิวเตอร์ฉบับที่2บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดกี่วัน

ทั้งนี้ในมาตรา 2 ของพระราชบัญญัตินี้ ระบุว่า ให้บังคับใช้เมื่อพ้นกําหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา นั่นหมายความว่าจะบังคับใช้ภายใน 24 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท นำมาตรการป้องกันระบบไปเผยแพร่ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ!!

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก