เปลี่ยนทอง 3 บาท เป็น 4 บาท

ผมเคยอ่านเจอคำถามหนึ่ง ประมาณว่า “ถ้าเราเอาสร้อยข้อมือ 2 บาท (ร้าน ABC) ไปเปลี่ยนเป็น ข้อมือ 1 บาท กับ แหวน 2 สลึง 2 วง อยากทราบว่า ระหว่างเปลี่ยน กับขายทองคืนแล้วซื้อใหม่ ที่ร้านทองเดียวกันนี้ จะมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างคะ ในเรื่องของส่วนต่างที่เราต้องจ่ายเพิ่ม”

และคิดว่าคงมีคนสงสัยเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย

การเอาทองไปเปลี่ยนลายทอง ไปเพิ่มน้ำหนักทอง (เช่น เอาแหวนทองครึ่งสลึง ไปเปลี่ยนเป็นเป็นแหวนทอง 1 สลึง) เปลี่ยนจากสร้อยเป็นแหวน หรือแตกชิ้นเดิมเป็นชิ้นใหม่หลายๆ ชิ้น ที่จริงก็คือการ “ขายทองเก่าแล้วซื้อทองใหม่” นั่นเอง เพียงแต่จ่ายเงินส่วนต่างระหว่างเงินค่าขายทองเดิมกับราคาทองชิ้นใหม่

ดังนั้นคำถามที่คุณผู้หญิงท่านนี้ถามไว้ส่วนแรกว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

คำตอบก็คือ “ไม่ต่างกันครับ”

ไม่ว่าจะเปลี่ยนทอง แต่น้ำหนักเท่าเดิม หรือมีการเพิ่มน้ำหนัก ก็จะมีค่าใช้จ่ายทั้งคู่ ก่อนจะไปร้านทองเรามาเตรียมตัวสักนิด ว่าการเอาทองไปเปลี่ยนลาย เพิ่มน้ำหนักทอง จะต้องเตรียมเงินเท่าไหร่

ประเด็นที่มักมีการพูดถึงกันบ่อยๆ ก็คือ “ทำไมถึงต้องเพิ่มเงินเยอะจัง” คือเยอะกว่าที่คิดไว้มาก

เอาทองไปเปลี่ยนต้องเพิ่มเงินเท่าไหร่?

ข้อนี้ก็ต้องทำความเข้าใจกับ “ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณ” กันก่อน
1. ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณ จะมีราคาต่ำกว่าราคารับซื้อคืนทองคำแท่ง
2. ร้านทองส่วนมากจะเขียน(หรือมีป้าย) แจ้งราคากลางรับซื้อคืนทองรูปพรรณไว้ที่หน้าร้านเป็นราคาต่อกรัม แยกต่างหากจากราคารับซื้อคืนทองคำแท่ง
3. เวลานำทองรูปพรรณไปขายคืน เราจะไม่ได้ค่ากำเหน็จ หรือค่าลาย(ที่จ่ายไปตอนซื้อ) คืน ไม่ใช่ว่าตอนซื้อมาลายสวย ค่ากำเหน็จแพง แล้วเวลาขายคืนจะได้ราคาแพงไปด้วย เพราะราคารับซื้อคืนทองก็จะคิดแต่ค่าเนื้อทองที่ชั่งได้เท่านั้น
4. เวลาร้านทองรับซื้อคืนทองจากลูกค้า ร้านทองจะคิดน้ำหนักทองตามที่ปรากฎตอนที่ชั่งบนตาชั่ง ไม่ได้ดูจากตัวเลขบนชิ้นทองหรือในใบรับประกัน หรือตามที่เราบอกว่าทองนี้เป็นขนาดกี่บาทหรือกี่สลึง เนื่องจากทองอาจน้ำหนักหายไปเล็กน้อยจากการสึกหรอจากการใช้งาน
5. ราคารับซื้อคืนทองคำแต่ละร้านทองอาจให้ราคาไม่เท่ากันได้ ขึ้นอยู่กับต้นทุนการบริหารจัดการของแต่ละร้านหรือแต่ละท้องที่
6. ราคารับซื้อคืนจริงอาจแตกต่างจากราคากลางได้ เนื่องจากราคากลางประกาศโดยสมาคมค้าทองคำแห่งประเทศไทย แต่ร้านทองอาจใช้เกณฑ์ของสคบ. ซึ่งมีหลักการคำนวณต่างกัน โดยหลักเกณฑ์ตามประกาศของสมาคมค้าทองฯ จะหักจากราคารับซื้อคืนทองคำแท่ง 1.8% แต่เกณฑ์ของ สคบ. คือ หัก 5% จากราคารับซื้อคืนทองคำแท่งที่สมาคมฯ ประกาศ

จากข้อ 6 จะเห็นได้ว่า ถ้าราคาทอง 1 บาท ประกาศรับซื้อคืนอยู่ที่บาทละ 20,000 บาท สมมติว่าเอาสร้อยคอทองคำ 1 บาทไปเปลี่ยนลาย เอาน้ำหนักเท่าเดิม หักตามเกณฑ์สคบ. 5% ก็อาจจะโดนหักไปประมาณ 1 พันบาทแล้ว การออกเส้นใหม่ก็คือต้องเพิ่มเงินไปประมาณพันนึง บวกกับค่ากำเหน็จเส้นใหม่อีกราวๆ 800-1,000 บาท เบ็ดเสร็จก็ประมาณ 1,800-2,000 ครับ

สรุป ค่าเปลี่ยนทอง คิดจาก (ราคาทองเส้นใหม่ + ค่ากำเหน็จเส้นใหม่) – ราคารับซื้อทองเส้นเก่า = ส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่ม

ท่านสามารถอ่านต่อเรื่อง “ราคาทองคำ รู้ไว้จะได้ไม่เจ็บ ซื้อขายทองสบายใจ” ได้ที่นี่ มีการอธิบายเรื่องราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณไว้อย่างละเอียดครับ

ช่วงราคาทองลง หลายท่านคงอยากจะเอาทองไปเปลี่ยน ไม่ว่าจะเพราะใส่มานานแล้วเลยอยากปลี่ยนลายทอง สร้อยทองขาด แหวนทองบุบเบี้ยว หรือมีเงินเก็บมากขึ้นก็เลยอยากไปเพิ่มน้ำหนักทอง

ไม่ว่าจะเปลี่ยนลายทอง เพิ่มน้ำหนักทอง ก็จะมีค่าใช้จ่าย ก่อนจะไปร้านทองเรามาเตรียมตัวสักนิด ว่าการเอาทองไปเปลี่ยนลาย เพิ่มน้ำหนักทอง จะต้องเตรียมเงินเท่าไหร่

การเปลี่ยนลายทอง เพิ่มน้ำหนักทอง ที่จริงก็คือการ “ขายทองเก่าแล้วซื้อทองใหม่” นั่นเอง

เช่น กรณีเพิ่มทอง จากแหวนทองครึ่งสลึง เป็นแหวนทอง 1 สลึง ก็คือการนำแหวนทองครึ่งสลึงไปขายคืน แล้วก็ซื้อแหวนทอง 1 สลึงมา เพียงแต่จ่ายเงินส่วนต่างระหว่างเงินค่าขายวงเดิมกับราคาวงใหม่

หรือกรณีเปลี่ยนลายสร้อยทอง 1 บาทเป็นลายใหม่ (ขนาด 1 บาทเท่าเดิม) ก็เช่นกัน คือเหมือนนำทองเส้นเดิมมาขาย แล้วซื้อเส้นใหม่

เช่นเดียวกันกับกรณีแตกสร้อยข้อมือทอง 2 สลึง เป็น 1 สลึง 2 เส้น หรือเปลี่ยนสร้อยข้อมือเป็นสร้อยทอง (เปลี่ยนสินค้า) ก็เป็นการ “ขายทองเก่าแล้วซื้อทองใหม่” เหมือนกัน

ประเด็นที่มักมีการพูดถึงกันบ่อยๆ ก็คือ “ทำไมถึงต้องเพิ่มเงินเยอะจัง” คือเยอะกว่าที่คิดไว้มาก

ข้อนี้ก็ต้องทำความเข้าใจกับ “ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณ” กันก่อน

  1. ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณ จะมีราคาต่ำกว่าราคารับซื้อคืนทองคำแท่ง

  2. ร้านทองส่วนมากจะเขียน(หรือมีป้าย)แจ้งราคากลางรับซื้อคืนทองรูปพรรณไว้ที่หน้าร้านเป็นราคาต่อกรัม แยกต่างหากจากราคารับซื้อคืนทองคำแท่ง

  3. เวลานำทองรูปพรรณไปขายคืน เราจะไม่ได้ค่ากำเหน็จ หรือค่าลาย(ที่จ่ายไปตอนซื้อ) คืน ไม่ใช่ว่าตอนซื้อมาลายสวย ค่ากำเหน็จแพง แล้วเวลาขายคืนจะได้ราคาแพงไปด้วย เพราะราคารับซื้อคืนทองก็จะคิดแต่ค่าเนื้อทองที่ชั่งได้เท่านั้น

  4. เวลาร้านทองรับซื้อคืนทองจากลูกค้า ร้านทองจะคิดน้ำหนักทองตามที่ปรากฎตอนที่ชั่งบนตาชั่ง ไม่ได้ดูจากตัวเลขบนชิ้นทองหรือในใบรับประกัน หรือตามที่เราบอกว่าทองนี้เป็นขนาดกี่บาทหรือกี่สลึง เนื่องจากทองอาจน้ำหนักหายไปเล็กน้อยจากการสึกหรอจากการใช้งาน

  5. ราคารับซื้อคืนทองคำแต่ละร้านทองอาจให้ราคาไม่เท่ากันได้ ขึ้นอยู่กับต้นทุนการบริหารจัดการของแต่ละร้านหรือแต่ละท้องที่

  6. ราคารับซื้อคืนจริงอาจแตกต่างจากราคากลางได้ เนื่องจากราคากลางประกาศโดยสมาคมค้าทองคำแห่งประเทศไทย แต่ร้านทองอาจใช้เกณฑ์ของสคบ. ซึ่งมีหลักการคำนวณต่างกัน โดยหลักเกณฑ์ตามประกาศของสมาคมค้าทองฯ จะหักจากราคารับซื้อคืนทองคำแท่ง 1.8% แต่เกณฑ์ของ สคบ. คือ หัก 5% จากราคารับซื้อคืนทองคำแท่งที่สมาคมฯ ประกาศ

ร้านทองจะคิดราคารับซื้อทองชิ้นเก่าจากลูกค้า แล้วนำมาหักลบกับราคาขายออกทองชิ้นใหม่ (ค่าเนื้อทองที่เพิ่มขึ้น กรณีที่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก บวกกับค่าลาย หรือค่ากำเหน็จ ซึ่งลายแต่ละลายอาจมีค่ากำเหน็จไม่เท่ากัน) จะได้จำนวนเงินที่เราต้องจ่ายเพิ่ม

สรุป ค่าเปลี่ยนทอง คิดจาก (ราคาทองเส้นใหม่ + ค่ากำเหน็จเส้นใหม่) - ราคารับซื้อทองเส้นเก่า = ส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่ม 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก