ตารางความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์

การประกันภัยรถยนต์คืออะไร?

          คือ การประกันภัยเพื่อคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายอันเกิดจากการใช้รถ ซึ่งได้แก่ ความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์ ได้แก่
ความเสียหาย บุบสลาย หรือสูญหายของตัวรถยนต์  นอกจากนี้ ความสูญเสียหรือเสียหายที่รถยนต์ก่อให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน
ของบุคคลภายนอก รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้น

การประกันภัยรถยนต์ เหมาะกับใคร?

เจ้าของรถ หรือผู้เช่าซื้อรถ หรือผู้ครอบครองรถ หรือผู้ใช้รถ หรือผู้ขับขี่รถยนต์

การประกันภัยรถยนต์ มีกี่ประเภท? แตกต่างกันอย่างไร?

มี 2 ประเภท ได้แก่ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

การประกันภัยรถยนต์
ภาคบังคับ

การประกันภัยรถยนต์
ภาคสมัครใจ

1. การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Third Party Insurance)

    หมายถึง การประกันภัยรถยนต์ที่กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถทุกคันมีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประกันภัย ตามความคุ้มครองที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนดไว้ คือ การประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือที่เรียกว่า “การประกันภัย พ.ร.บ.” (เว้นแต่ รถที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ระบุยกเว้นไว้ เช่น รถของสำนักพระราชวัง รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ รถของกระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น) ทั้งนี้ หากเจ้าของรถ หรือผู้ครอบครองรถไม่ทำประกันภัยตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนด จะมีโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (ปรับไม่เกิน 10,000 บาท)

     การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประสบภัยจากรถทุกคน เมื่อประสบภัยจากรถที่ใช้ หรืออยู่ในทาง หรือสิ่งที่บรรทุกติดตั้งมากับรถ ส่งผลให้ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ได้รับการชดใช้และเยียวยาความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดขึ้น

ความคุ้มครองครอบคลุมอะไรบ้าง?

ความคุ้มครองผู้ประสบภัย

    บริษัทประกันวินาศภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัยในนามผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อผู้ประสบภัย เนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุก หรือติดตั้งในรถนั้น ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย ดังนี้

ความคุ้มครอง ต่อราย
ค่ารักษาพยาบาล ตามความเสียหายที่แท้จริง ไม่เกิน 80,000 บาท
เสียชีวิต 500,000 บาท
ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (ไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานใด ๆ ในอาชีพประจำ และอาชีพอื่น ๆ ได้โดยสิ้นเชิงตลอดไป) 500,000 บาท
สูญเสียมือสองข้างตั้งแต่ข้อมือ หรือแขนสองข้าง หรือเท้าสองข้างตั้งแต่ข้อเท้า หรือขาสองข้าง หรือสายตาสองข้าง (ตาบอด) 500,000 บาท
สูญเสียมือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ แขนหนึ่งข้าง เท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า ขาหนึ่งข้าง สายตาหนึ่งข้าง (ตาบอด)
ตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป
500,000 บาท
ทุพพลภาพอย่างถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) 300,000 บาท
สูญเสียมือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ หรือแขนหนึ่งข้าง หรือเท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า หรือขาหนึ่งข้าง หรือสายตาหนึ่งข้าง (ตาบอด)
กรณีใดกรณีหนึ่ง
250,000 บาท
หูหนวก เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์หรือความสามารถสืบพันธุ์
จิตพิการอย่างติดตัว (โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือนอย่างติดตัว)
250,000 บาท
สูญเสียอวัยวะอื่นใด ที่กระทบต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุขของผู้ประสบภัย เช่น การสูญเสีย ม้าม ปอด ตับ ไต
ฟันแท้ทั้งซี่ตั้งแต่ 5 ซี่ ขึ้นไป หรือกรณีกะโหลกศีรษะถูกทำให้เสียหาย เป็นเหตุให้ต้องใช้กะโหลกเทียม เป็นต้น
250,000 บาท
สูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว 200,000 บาท
ค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน จ่ายตามวันที่รักษาจริง ไม่เกิน 20 วัน 200 บาท/วัน

ค่าเสียหายเบื้องต้น
    บริษัทประกันวินาศภัยจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น (เป็นวงเงินเดียวกันกับความคุ้มครองข้างต้น) ให้แก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับการร้องขอ โดยจ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นดังต่อไปนี้

  1. กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ตามจำนวนที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อหนึ่งคน
  2. กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกายอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 35,000 บาทต่อหนึ่งคน
    • (ก) ตาบอด
    • (ข) หูหนวก
    • (ค) เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
    • (ง) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
    • (จ) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว
    • (ฉ) เสียอวัยวะอื่นใด
    • (ช) จิตพิการอย่างติดตัว
    • (ซ) ทุพพลภาพอย่างถาวร
  3. กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อชีวิต บริษัทจะจ่ายค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพของผู้ประสบภัยตามจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาทต่อหนึ่งคน
  4. จำนวนตามข้อ 1. และ 2. รวมกัน หรือจำนวนข้อ 1. และ 3. รวมกัน แต่หากผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายตามข้อ 1. 2. และ 3. หรือได้รับความเสียหายตามข้อ 2. และ 3. ให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันไม่เกินจำนวน 65,000 บาท

หมายเหตุ
       ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้ขับขี่รถที่เป็นฝ่ายผิด หรือไม่มีคู่กรณี จะได้รับความคุ้มครองเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

2. การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)

     หมายถึง การประกันภัยที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจของเจ้าของรถยนต์ ผู้ครอบครองรถยนต์ หรือผู้ขับขี่รถยนต์ โดยไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับโดยกฎหมายแต่อย่างใด เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวรถ หรือความรับผิดของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลภายนอก

     ปัจจุบันการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่เป็นมาตรฐาน แบ่งความคุ้มครองได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่

  1. การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1
  2. การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 2
  3. การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 3
  4. การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 4 หรือ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก
  5. การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 5 หรือ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองภัยเฉพาะ แบบประกัน 2 พลัส (2+) แบบประกัน 3 พลัส (3+)

ความคุ้มครองครอบคลุมอะไรบ้าง

     แบ่งความคุ้มครองออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

การประกันภัยรถยนต์ประเภท 1

     ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม และสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเภทอื่น ๆ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่น ๆ โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 3 หมวดการคุ้มครอง ดังนี้

1. หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก

1.1 ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย บริษัทประกันวินาศภัยจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ของบุคคลภายนอก เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อคน (ต้องมีจำนวนเงินเอาประกันภัยไม่น้อยกว่า 500,000 บาทต่อคน) ที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย และไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อครั้งที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย
        ทั้งนี้ บุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองจะไม่รวมถึงผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย ตลอดจนลูกจ้างในทางการที่จ้าง คู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้ขับขี่นั้น
1.2 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย และความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย

2. หมวดการคุ้มครองรถยนต์สูญหายไฟไหม้

2.1 กรณีรถยนต์สูญหาย บริษัทประกันวินาศภัยจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อรถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ตามมาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์โดยโรงงานประกอบรถยนต์หรือศูนย์จำหน่ายรถยนต์ และให้รวมถึงอุปกรณ์เครื่องตกแต่งที่ได้ทำเพิ่มขึ้น และผู้เอาประกันภัยได้แจ้งให้บริษัททราบด้วยแล้ว สูญหายไปอันเกิดจากการกระทำความผิดเฉพาะฐานลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือเกิดความเสียหายต่อรถยนต์อันเกิดจากการกระทำความผิด หรือการพยายามกระทำความผิดเช่นว่านั้น แต่ไม่รวมการสูญหายจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง

2.2 กรณีรถยนต์ไฟไหม้ บริษัทประกันวินาศภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อรถยนต์เกิดความเสียหายจากไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการไหม้โดยตัวของมันเอง หรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องจากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม

3. หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์

     บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างระยะเวลาประกันภัย ต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์มาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์โดยโรงงานประกอบรถยนต์หรือศูนย์จำหน่ายรถยนต์ และให้รวมถึงอุปกรณ์เครื่องตกแต่งที่ได้ทำเพิ่มขึ้น และผู้เอาประกันภัยได้แจ้งให้บริษัททราบด้วยแล้ว แต่ไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ เช่น กันชนหน้ารถแตกหักจากการขับรถชนต้นไม้ ประตูรถได้รับความเสียหายจากการถูกเฉี่ยวชนกิ่งไม้หล่นใส่หลังคารถ เป็นต้น

การประกันภัยรถยนต์ประเภท 2

       เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 แตกต่างกันเพียงไม่มีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ โดยมีความคุ้มครองหลัก ดังนี้

1. หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก

1.1 ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย บริษัทประกันวินาศภัยจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ของบุคคลภายนอก เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อคน (ต้องมีจำนวนเงินเอาประกันภัยไม่น้อยกว่า 500,000 บาทต่อคน) ที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย และไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อครั้งที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย

       ทั้งนี้ บุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองจะไม่รวมถึงผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย ตลอดจนลูกจ้างในทางการที่จ้าง คู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้ขับขี่นั้น

1.2 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย และความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย

2. หมวดการคุ้มครองรถยนต์สูญหายไฟไหม้

2.1 กรณีรถยนต์สูญหาย บริษัทประกันวินาศภัยจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อรถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ตามมาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์โดยโรงงานประกอบรถยนต์หรือศูนย์จำหน่ายรถยนต์ และให้รวมถึงอุปกรณ์เครื่องตกแต่งที่ได้ทำเพิ่มขึ้น และผู้เอาประกันภัยได้แจ้งให้บริษัททราบด้วยแล้ว สูญหายไปอันเกิดจากการกระทำความผิดเฉพาะฐานลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือเกิดความเสียหายต่อรถยนต์อันเกิดจากการกระทำความผิด หรือการพยายามกระทำความผิดเช่นว่านั้น แต่ไม่รวมการสูญหายจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง

2.2 กรณีรถยนต์ไฟไหม้ บริษัทประกันวินาศภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อรถยนต์เกิดความเสียหายจากไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการไหม้โดยตัวของมันเอง หรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องจากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม

การประกันภัยรถยนต์ประเภท 3

        เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 และประเภท 2 โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ดังนี้

        1. ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย บริษัทประกันวินาศภัยจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ของบุคคลภายนอก เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อคน (ต้องมีจำนวนเงินเอาประกันภัยไม่น้อยกว่า 500,000 บาทต่อคน) ที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย และไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อครั้งที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย

        ทั้งนี้ บุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองจะไม่รวมถึงผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย ตลอดจนลูกจ้างในทางการที่จ้าง คู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้ขับขี่นั้น

        2. ความเสียหายต่อทรัพย์สิน บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย และความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย

4. การประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 หรือ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก

        ให้ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น โดยคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง

5. การประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 หรือ การประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย

        เป็นแบบคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาในภายหลัง แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

1. แบบประกัน 2 พลัส (2+)

ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัย ชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้

• คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
• คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
• คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
• คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก

2. แบบประกัน 3 พลัส (3+)

ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัย ชั้น 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้

• คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
• คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
• คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก

        นอกเหนือจากความคุ้มครองหลักในการประกันภัยทั้ง 5 ประเภทข้างต้นแล้ว ผู้เอาประกันภัยยังสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ได้อีก 3 แบบ คือ

1. เอกสารแนบท้ายความคุ้มครองเพิ่มเติม การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (ร.ย.01) ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ทุพพลภาพชั่วคราว ของผู้ขับขี่และผู้โดยสารซึ่งอยู่ใน หรือกำลังขับขี่ หรือกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถยนต์คันเอาประกันภัย

2. เอกสารแนบท้ายความคุ้มครองเพิ่มเติมค่ารักษาพยาบาล (ร.ย.02) ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของผู้ขับขี่ และผู้โดยสารซึ่งอยู่ในหรือกำลังขับขี่ หรือกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถยนต์คันเอาประกันภัย

3. เอกสารแนบท้ายความคุ้มครองเพิ่มเติม การประกันตัวผู้ขับขี่ (ร.ย.03) ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัย กรณีที่เกิดอุบัติเหตุจนเป็นเหตุให้บุคคลดังกล่าวถูกควบคุมตัวในคดีอาญา ซึ่งบริษัทประกันภัยจะดำเนินการประกันตัวตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลกำหนดจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

ตารางสรุปความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

ประเภท/
ความคุ้มครอง
หมวดการความรับผิดต่อบุคคลภายนอก หมวดการ
คุ้มครองรถยนต์
สูญหาย ไฟไหม้
หมวดการคุ้มครอง
ความเสียหายต่อ
รถยนต์
ความเสียหายต่อชีวิต
ร่างการ หรืออนามัย
ความเสียหายต่อ
ทรัพย์สิน
ประเภท 1
ประเภท 2  
ประเภท 3    
ประเภท 4      
ประเภท 2+ เฉพาะรถยนต์
ประเภท 3+   เฉพาะรถยนต์

อัตราเบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง?

  1. อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ) แบ่งตามประเภทของรถ
  2. อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
  • • เบี้ยประกันภัยพื้นฐานตามประเภทรถ
  • • กลุ่มรถยนต์
  • • ลักษณะการใช้รถ
  • • อายุรถยนต์
  • • ขนาดรถยนต์
  • • จำนวนเงินเอาประกันภัย
  • • อายุผู้ขับขี่
  • • อุปกรณ์เพิ่มพิเศษ

อ้างอิง คำสั่งนายทะเบียนที่ 10/2563 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์. สมาคมประกันวินาศภัยไทย. คู่มือวิชาการประกันภัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

รายชื่อบริษัทประกันภัย

บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

อาคารกรุงเทพประกันภัย 25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2285 8888
แฟกซ์ : 0 2610 2100
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน)

1122 อาคารเคพีไอทาวเวอร์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2624 1111
แฟกซ์ : 0 2624 1234
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

26 ซอย สุขุมวิท 64/2 ถนน สุขุมวิท แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2100 9191 / Call Center : 1791
แฟกซ์ : 0 2396 2093-4
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท เคดับบลิวไอ ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

43 อาคารไทย ซีซี ทาวเวอร์ ชั้น 33 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2624 1000
แฟกซ์ : 0 2238 0836
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท เคเอสเค ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

100/24 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ ชั้น 16 เอ ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2022 1111
แฟกซ์ : 0 2022 1122-3
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)

408/1 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
เบอร์โทรศัพท์ : เวลาทำการ: 0 2276 1024 นอกเวลา: 0 2021 1655
แฟกซ์ : 0 2275 4919
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)

87/2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2685 3828 / ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ : 1394
แฟกซ์ : 0 2685 3829
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7 และชั้น 10 598 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2651 5995 / Call Center : 1758
แฟกซ์ : 0 2650 9600 / 0 2650 9720
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 302 อาคารเอส แอนด์ เอ ชั้น 2-6 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2257 8000
แฟกซ์ : 0 2253 3701, 0 2253 4222
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

63/2 ถนนพระรามที่ 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2239 2200 / Call Center : 1736
แฟกซ์ : 0 2239 2049
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท ทูนประกันภัย จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนพระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2078 5656 / Call Center: 1183
แฟกซ์ : 0 2078 5601-3
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

97 และ 99 อาคารเทเวศประกันภัย ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
เบอร์โทรศัพท์ : 1291 / 0 2670 4444
แฟกซ์ : 0 2629 1080
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

34 ซอยสุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
เบอร์โทรศัพท์ : Call Center : 0 2253 4141
แฟกซ์ : 0 2253 0550 / 0 2253 0606
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท ไทยไพบูลย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

อาคารไทยประกันชีวิต ชั้น 15-17 เลขที่ 123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2246 9635 / Claim Center : 0 2246 9635 กด 77
แฟกซ์ : 0 2246 9660-1
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)

48/23-24 ซอยรัชดาภิเษก 20 (รุ่งเรือง) ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2660 6111 / 0 2666 8088
แฟกซ์ : 0 2660 6100 / 0 2666 8080
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

126/2 อาคารไทยศรี ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2878 7111 / Call Center : 1219
แฟกซ์ : 0 2439 4840
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

87 อาคารเอ็ม.ไทย ทาวเวอร์ ออล ซีซั่นส์ เพลส ชั้น 15 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2853 8888 / ศูนย์รับแจ้งอุบัติเหตุ : 1352
แฟกซ์ : 0 2853 8889
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน)

999/1 เดอะไนน์ทาวเวอร์ ถนนพระราม 9 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2308 9300 / ศูนย์บริการลูกค้า : 0 2308 9300 / สายด่วนเคลม : 0 2662 8999
แฟกซ์ : 0 2308 9333
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

100/47-55, 90/3-6 อาคารสาทรนคร ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2664 7777 / ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ : 1748
แฟกซ์ : 0 2636 7999
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)

767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2016 3333 / ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ : 0 2017 3333
แฟกซ์ : 0 2911 4477
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท นิวอินเดีย แอสชัวรันซ์ จำกัด (สาขาประเทศไทย)

เลขที่ 65/118 ชั้น 14 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2245 9988
แฟกซ์ : 0 2248 7109
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)

อาคารบางกอกสหประกันภัย 175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2233 6920-9 / สายด่วน : 0 2233 1998-9
แฟกซ์ : 0 2237 1856 / 0 2236 7861
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)

71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 1231 / 0 2695 0800
แฟกซ์ : 0 2695 0808
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท พุทธธรรมประกันภัย จำกัด (มหาชน)

9/81 ซอยรัชประชา 2 ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2585 9009 / สายด่วนแจ้งอุบัติเหตุ : 0 2105 4689 กด 5
แฟกซ์ : 0 2911 0991-4
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 33/4 อาคารเอ เดอะไนน์ทาวเวอร์ ชั้น 24-25 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2037 9888 / ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์: 0 2037 9988 / แจ้งอุบัติเหตุ : 0 2037 9955
แฟกซ์ : 0 2676 9898
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท เจมาร์ท ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 100/100 อาคารว่องวานิช คอมเพล็กซ์ บี ชั้น 29 vถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2290 0555 / 0 2099 0555
แฟกซ์ : 0 2246 2352
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด สาขาประเทศไทย

อาคารสาทรซิตี้ทาวเวอร์ ชั้น 14 เลขที่ 175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2679 6165 สายด่วน: 0 2679 5000
แฟกซ์ : 0 2679 6209-14
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2640 7777
แฟกซ์ : 0 2640 7799
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2665 4000, 0 2290 3333
แฟกซ์ : 0 2665 4166, 0 2274 9511
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)

121/28, 121/65 ชั้น 2-6 อาคาร อาร์.เอส.ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2129 8888 ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์: 1557
แฟกซ์ : 0 2641 3580
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

990 อับดุลราฮิมเพลซ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2119 3000
แฟกซ์ : 0 2636 2340-1, 0 2636 2450
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท เอฟดับบลิวดีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2202 9500, 0 2760 9500
แฟกซ์ : 0 2202 9555
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท สหนิรภัยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

462/1-5 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2236 0049, 0 2236 1290, 0 2236 1231
แฟกซ์ : 0 2236 1300
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

48/11 ซอยรุ่งเรือง (รัชดาภิเษก 20) ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2687 7777
แฟกซ์ : 0 2687 7700
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

2/4 อาคารสามัคคีประกันภัย ชั้น 12 โครงการนอร์ธปาร์ค ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2611 4000
แฟกซ์ : 0 2955 0205
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

313 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2378 7000
แฟกซ์ : 0 2377 3322
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2657 2555 ศูนย์บริการลูกค้า: 1292
แฟกซ์ : 0 2657 2500
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

364/29 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2247 9261 แจ้งอุบัติเหตุ: 0 2642 5353, 08 8819 9910
แฟกซ์ : 0 2247 9260
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท สตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล อินชัวรันซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

52 อาคารธนิยะพลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2231 2640
แฟกซ์ : 0 2231 2653-4
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

1908 อาคาร เอ็ม เอส ไอ จี ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2825 8888 Call Certer: 0 2007 9000
แฟกซ์ : 0 2318 8550
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท เอราวัณประกันภัย จำกัด (มหาชน)

292 ถนนเยาวราช แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ 10100
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2224 0056
แฟกซ์ : 0 2221 1390
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท เอไอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

อาคารสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 21-23 เลขที่ 989 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2649 1999
แฟกซ์ : 0 2658 0619
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

ชั้น 23 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ 1168/67 ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2118 8000 Call Center: 0 2118 8111
แฟกซ์ : 0 2285 6383
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท แอลเอ็มจี ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

ชั้น 14-15,17 และ 19 อาคารจัสมินซิตี้ เลขที่ 2 ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2661 6000 Call Center: 1790
แฟกซ์ : 0 2665 2728
เข้าสู่เว็บไซต์

บริษัท ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

ชั้น 22 และ 23 ยูนิต 1 อาคารกรุงเทพประกันภัย/YWCA ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2620 8000 แจ้งอุบัติเหตุ: 1429
แฟกซ์ : 0 2677 3979
เข้าสู่เว็บไซต์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก