ไพเราะ เขียนแบบครุ ลหุ ได้อย่างไร

ครุ ลหุ คือ

Posted on 01/10/2011 by krupiyarerk

ครุ ลหุ คือ

ครุ และ ลหุ  หมายถึงลักษณะของเสียงคำหรือพยางค์ อย่างไรละครับนักเรียน  มีประโยชน์อย่างยิ่งในการแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์  เนื่องจากคำประพันธ์ประเภทฉันท์นั้นบังคับครุ  ลหุ

สรุป ครุ ลหุ คือ

ครุ  (อ่านว่า  คะ-รุ)  หมายถึง  เสียงหนัก    หนักอย่างไร

เป็นคำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกดก็ได้  หรือเป็นคำหรือพยางค์ที่มีเสียงตัวสะกดทุกมาตรา  (ได้แก่  แม่ กก  กด  กบ  กง  กน  กม  เกย  และเกอว)  เช่นคำว่า  ฟ้า  นั่ง  พริก  ไหม  พรม  นนท์  เชษฐ์  เป็นต้น

ลหุ  (อ่านว่า  ละ-หุ)  หมายถึง  เสียงเบา    เบาอย่างไร

เป็นคำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นและไม่มีตัวสะกด  หรือเป็นคำหรือพยางค์ที่มีเสียงสระเสียงสั้นและไม่มีเสียงตัวสะกด  เช่นคำว่า  ณ  ธ  บ่  ก็  พิ  ผิ  ลุ  เจาะ  เหาะ  ทะ  เละ  แพะ  และ  เลอะ  เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

คำครุ คำลหุ

ตัวอย่างคำครุ คำลหุ

พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานสภากาชาดไทย

จำแนกคำ/พยางค์

ครุ

ลหุ

พระ

/

องค์

/

/

เด็จ

/

พระ

/

ราช

/

/

ดำ

/

เนิน

/

ไป

/

ทรง

/

เปิด

/

งาน

/

/

ภา

/

กา

/

ชาด

/

ไทย

/

โดย  ครูปิยะฤกษ์  บุญโกศล

โรงเรียนโพนทันเจริญวิทย์  เผยแพร่เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔

Filed under: การเขียนร้อยกรอง, ครุ ลหุ คือ, ฉันท์ | Tagged: ครุ (อ่านว่า คะ-รุ) หมายถึง, ครุ ลหุ คือ, คำครุ คำลหุ, ตัวอย่างคำครุ คำลหุ, ลหุ (อ่านว่า ละ-หุ) หมายถึง, สรุป ครุ ลหุ คือ |

คำเป็น – คำตาย และ คำครุ – คำลหุ

คำเป็น หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

  • คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น มา นี มี ตา มา ดู ปู ฯลฯ
  • คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น กลาง คืน ลืม เลย เชียว ฯลฯ
  • คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระ อำ ใอ ไอ เอา เช่น ทำ ใจ ไป เอา ฯลฯ

คำตาย หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

  • คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา แต่ยกเว้นสระอำ ไอ ใอ เอา เช่น สุ จิ ปุ ลิ ฯลฯ
  • คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น ยก ทัพ ตัด บท ฯลฯ

ครุ (เอก) คือ พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาว (ทีฆสระ) และ สระเกินทั้ง 4 คือ สระอำ ใอ ไอ เอา และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น ตา ดำ หัด เรียน ฯลฯ

ครุ (เสียงหนัก) เป็นพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในมาตราแม่ ก.กา และมีตัวสะกดรวมทั้งประสมด้วยสระอำ ไอ ใอ เอา เช่น จำ ได้ ไป เขา รัก ลูก 
คำครุ แปลว่า เสียงหนัก ประกอบด้วย

  • พยางค์ที่มีสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกด เช่น มาหา พารา
  • พยางค์ที่มีตัวสะกดทั้ง 8 แม่ เช่น รัก ชิด ชอบ ฯลฯ
  • พยางค์ที่มีสระ อำ ไอ ใอ เอา เช่น เรา จำ ใจ ไป

ลหุ (โท) คือ พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้น(รัสสระ) ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น พระ จะ มิ ดุ แกะ ฯลฯ

ลหุ (เสียงเบา) คำที่มีเสียงเบาเป็นพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น เช่น จะ ดุ ติ ผิว กระทะ ฤ
คำลหุ แปลว่า เสียงเบา ประกอบด้วย 

  • พยางค์ที่มีสระเสียงสั้นไม่มีตัวสะกด เช่น มะลิ ชิชะ ก็ เถอะ
  • พยางค์ที่มีตัวพยัญชนะตัวเดียว เช่น ณ บ ธ

ครุ-ลหุ มีสัญลักษณ์แทนดังนี้ั


เอก คือ พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคำตายทั้งสิ้น ซึ่งในโคลง และร่าย ใช้เอกแทนได้ เช่น พ่อ แม่ พี่ ปู่ ชิ ชะ มัก มาก ฯลฯ

โท คือ พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท เช่น น้า ป้า ช้าง นี้น้อง ต้อง เลี้ยว ฯลฯ

เอก-โท ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์ เอก โท นิยมใช้กับคำประพันธ์ประเภทร่าย โคลง

คำสมาส – คำสนธิ

คำสมาส - การย่นนามศัพท์ตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวในภาษาบาลีและสันสกฤต การสร้างคำสมาสในภาษาไทยได้แบบอย่างมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำคำบาลี-สันสกฤตตั้งแต่ 2 คำมาต่อกันหรือรวมกัน

ลักษณะของคำสมาสเป็นดังนี้
1. เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตเท่านั้น คำที่มาจากภาษาอื่นๆ นำมาประสมกันไม่นับเป็นคำสมาส
ตัวอย่างคำสมาส
 :  บาลี + บาลี เช่น อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย อริยสัจ ขัตติยมานะ อัจฉริยบุคคล

                           สันสกฤต + สันสกฤต เช่น แพทยศาสตร์ วีรบุรุษ วีรสตรี สังคมวิทยา ศิลปกรรม
                           บาลี + สันสกฤต, สันสกฤต + บาลี เช่น หัตถศึกษา นาฎศิลป์ สัจธรรม สามัญศึกษา

2. คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด เช่นวัฒน + ธรรม    =   วัฒนธรรม
สาร + คดี        =   สารคดี
พิพิธ + ภัณฑ์   =   พิพิธภัณฑ์
กาฬ + ปักษ์    =   กาฬปักษ์
ทิพย + เนตร    =   ทิพยเนตร
โลก + บาล     =   โลกบาล
เสรี + ภาพ      =   เสรีภาพ
สังฆ + นายก  =   สังฆนายก

3. คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน เช่น
ภูมิศาสตร์  อ่านว่า พู-มิ-สาด
เกียรติประวัติ อ่านว่า เกียด-ติ-ประ-หวัด
เศรษฐการ  อ่านว่า เสด-ถะ-กาน
รัฐมนตรี  อ่านว่า รัด-ถะ-มน-ตรี
เกตุมาลา อ่านว่า เก-ตุ-มา-ลา

4. คำที่นำมาสมาสกันแล้ว ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า เช่น
ยุทธ (รบ)  +  ภูมิ (แผ่นดิน  สนาม) =   ยุทธภูมิ  (สนามรบ)
หัตถ (มือ)  +  กรรม (การงาน) =   หัตถกรรม  (งานฝีมือ)
คุรุ (ครู)   +   ศาสตร์ (วิชา) =   คุรุศาสตร์  (วิชาครู)
สุนทร (งาม  ไพเราะ)  +  พจน์ (คำกล่าว)=   สุนทรพจน์  (คำกล่าวที่ไพเราะ)

5. คำสมาสบางคำเรียงลำดับคำอย่างไทย คือ เรียงต้นศัพท์ไว้หน้า ศัพท์ประกอบไว้หลัง การเขียนคำสมาสเหล่านี้ไม่ประวิสรรชนีย์ระหว่างคำ แต่เมื่ออ่านจะออกเสียงสระต่อเนื่องกัน เช่น 
บุตรภรรยา (บุด-ตระ-พัน-ระ-ยา) = บุตรและภรรยา

6. คำสมาสส่วนมากออกเสียงสระตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า เช่น
กาลสมัย ( กาน- ละ – สะ -ไหม )

7. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า “พระ” ที่แผลงมาจาก “วร” ประกอบข้างหน้า จัดเป็นคำสมาสด้วย เช่น พระโอรส  พระอรหันต์

8. คำสมาสบางพวกจะมีลักษณะรูปคำรูปหนึ่งคล้ายกัน  เช่น                                                                        
– คำที่ลงท้ายด้วยศาสตร์ เช่น นิติศาสตร์  อักษรศาสตร์  ประวัติศาสตร์
-  คำที่ลงท้ายด้วยภัย เช่น อุทกภัย  วาตภัย   อัคคีภัย
– คำที่ลงท้ายด้วยกรรม เช่น นิติกรรม  นวัตกรรม  กสิกรรม

คำสนธิ -คำสนธิในภาษาไทย หมายถึง คำที่มาจากภาษาบาลี – สันสกฤตมาเชื่อมต่อกัน ทำให้เสียงพยางค์หลังของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง

1. สระสนธิ คือ การกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ เช่น
วิทย+อาลัย    =   วิทยาลัย
พุทธ+อานุภาพ  =   พุทธานุภาพ

มหา+อรรณพ  =   มหรรณพ
นาค+อินทร์       =   นาคินทร์

มัคค+อุเทศก์   =   มัคคุเทศก์
พุทธ+โอวาท     =   พุทโธวาท

รังสี+โอภาส    =   รังสิโยภาส
ธนู+อาคม   =   ธันวาคม

2. พยัญชนะสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ ซึ่งไม่ค่อยมีใช้ในภาษาไทย เช่น
รหสฺ + ฐาน   =   รโหฐาน
มนสฺ + ภาว   =   มโนภาว  (มโนภาพ)

ทุสฺ + ชน   =   ทุรชน
นิสฺ + ภย   =   นิรภัย

3. นฤคหิตสนธิ ได้แก่ การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิต หรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นนฤคหิตกับคำอื่นๆ เช่น
สํ + อุทัย     =   สมุทัย
สํ + อาคม   =   สมาคม

สํ + ขาร      =   สังขาร
สํ + คม  =   สังคม

สํ + หาร     =   สังหาร
สํ + วร     =    สังวร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก