ใบ งาน เรื่อง การพัฒนาศรัทธาและปัญญาใน พระพุทธ ศาสนา

 3. ความเชื่อในลัทธิอิสระต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มที่เป็นนักบวชที่มีความต้องการค้นหาความจริงอย่างอิสระไม่ยอมรับความเชื่อเดิมในศาสนาพราหมณ์ จึงตั้งสำนักของตนเองขึ้นสอนผู้คนที่มีความเชื่อเหมือนตนเอง กลุ่มลัทธิอิสระมี 6 คน คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคศาละ อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถาฏบุตร ครูทั้ง 6 คนนี้ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ในสมัยนั้นเพราะมีอายุมาก และมีลูกศิษย์มากมาย บางลัทธิ เช่น ครูสัญชัย เคยเป็นอาจารย์ของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะก่อนที่ท่านทั้งสองจะมาบวชในพระพุทธศาสนาและอีกท่านคือ ท่านนิคครนถนาฏบุตร หรือ มหาวีระศาสดาของศาสนาเชน ลัทธินี้มีทัศนะที่คล้ายคลึงกับพระพุทธศาสนา เช่น ในเรื่องสาเหตุแห่งทุกข์และวินัย 5 ซึ่งคล้ายกับศีล 5 ข้อของพระพุทธศาสน

การพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง 

ศรัทธา ในกระบวนการพัฒนาตามหลักพุทธศาสนานั้น หมายถึง ความเชื่อมั่น การซาบซึ้ง ความมั่นใจเหตุเท่าที่ตนสามารถพิจารณาเห็นได้ โดยมีเหตุผลว่า จุดหมายหรือเป้าหมายที่อยู่ข้างหน้านั้นเป็นไปได้จริง และมีคุณค่าควรที่จะไปให้ถึง ศรัทธาจึงเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่ปัญญาหรือความรู้ ซึ่งตรงกันข้ามกับศรัทธาที่เป็นแบบ มอบตัว มอบความไว้วางใจให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่คิดหาเหตุผล ศรัทธาที่ถูกต้องเป็นสื่อนำไปสู่การพัฒนาปัญญา แบ่งออกเป็น 3 ประการ

1. เชื่อมั่นในความดีงามของมนุษย์ หมายถึง เชื่อว่าความดีงามนั้นมนุษย์สามารถสร้างขึ้นเองได้ ด้วยความพากเพียร ไม่ใช่จากสิ่งศักดิ์สิทธิ

2. เชื่อมั่นในกฎแห่งการกระทำและผลของการกระทำ หมายถึง เชื่อมั่นว่าไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอยๆโดยไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด เมื่อมีการกระทำใดๆลงไปย่อมมีผลของการกระทำนั้นๆ

3. เชื่อมั่นว่ามนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำและผลของการกระทำนั้น ข้อนี้สืบเนื่องมาจากข้อ 1 และ 2 จะทำให้คนมีความละเอียดรอบคอบ ในการการกระทำของตนเอง เพราะเมื่อทำอะไรลงไปแล้วต้องได้รับผลการการกระทำนั้นไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

 

ปัญญา หมายถึง ความรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ความรู้มีอยู่ 2 ประเภท คือ

1. ความรู้ที่มีมาแต่กำเนิด (สหชาติปัญญา) เป็นความรู้พื้นฐานที่ทุกคนพึงมี มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่บุคคล บางคนก็มีความรู้พิเศษที่คนอื่นไม่มีซึ่งคนอื่นไม่มีภาษาไทยเรียกว่า พรสวรรค์ เช่นสามารถภาพได้งดงาม ทั้งๆที่ไม่เคยเรียนมาเลย

2. ความรู้ที่มีขึ้นด้วยการศึกษา (โยคปัญญา) คือความรู้ที่แสวงหาเอาภายหลัง ดังคำที่ว่า “ปัญญามีได้เพราะการฝึกฝนพัฒนา ปัญญาเสื่อมไปเพราะไม่มีการฝึกฝนพัฒนา” และความรู้ประการหลังนี่เองที่ต้องการเน้นให้ได้ศึกษา

 ปัญญาที่ถูกต้องในกระบวนการพัฒนา มีลักษณะ 3 ประการ คือ

1. ความรู้จักเหตุแต่ความเสื่อมและโทษของความเสื่อม (อปายโกศล) หมายถึง รู้ว่าอะไรคือความเสื่อม และอะไรคือเหตุทำให้เกิดความเสื่อม

2. ความรู้จักเหตุแห่งความเจริญและประโยชน์ของความเจริญ (อายโกศล) หมายถึง รู้ว่าอะไรคือความดี ความเจริญที่แท้ และก็รู้ด้วยว่าอะไรคือสาเหตุให้เกิดความดีความเจริญนั้น

3. ความรู้จักวิธีการละเหตุความเสื่อมและวิธีการสร้างเหตุแห่งความเจริญ (อุปายโกศล) หมายถึง รู้ทั้งสองด้านคือรู้แบบครบวงจร(ข้อ 1 และ ข้อ 2)

 

จากการที่พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้องดังกล่าวข้างต้น ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนให้ได้ใช้สติปัญญาความคิดเห็นของตนพิจารณาอย่างเต็มที่ก่อนแล้ว จึงค่อยเชื่อ

1. ขอบเขตเนื้อสาระ    

       พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่ให้มนุษย์มีศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา คือเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่ออย่างมีเหตุผล และเชื่ออย่างมีปัญญา ตามหลักความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ที่สอนให้เชื่อในการกระทำของตน ผลของการกระทำ และเชื่อว่าเราต้องได้รับผลนั้น เพื่อให้การดำเนินชีวิตไปสู่เส้นทางแห่งความดีงามและถูกต้อง

2. วัตถุประสงค์ (K-S-A)

        2.1ความรู้ (K)

         นักเรียนอธิบายการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนา

        2.2 ทักษะ (S)

         นักเรียนสามารถฝึกการคิดพิจารณาตามหลักศรัทธาได้อย่างถูกต้อง ผ่านสถานการณ์ที่ครูยกตัวอย่าง

        2.3 คุณธรรม (A)

         นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นกลุ่มและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ตัวอย่างที่ครูเสนอขึ้นมา

3.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

        3.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

       1. ครูสนทนากับนักเรียนโดยยกตัวอย่างสถานการณ์และถามคำถามเพื่อนำเข้าสู้บทเรียน

                   - สถานการณ์ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาถามนักเรียน ดังนี้

         ข่าวจากช่องไทยรัฐทีวี บอกว่ามีหญิงสาวคนหนึ่งใน จ.อุดรธานี ฝันว่ามีคนมาเข้าฝัน ให้นำพระพุทธรูปปรางนาคปรก ขึ้นมาจากหนองน้ำภายในหมู่บ้าน พอรุ่งเช้าหญิงสาวคนนั้นเลยนำพาญาติพี่น้อง ไปงมขึ้นมา ปรากฏว่า มีพระพุทธรูปดังกล่าวจริง จากนั้นตนและผู้คนที่อยู่ในเหตุการณ์ต่างนำดอกไม้ธูปเทียน มาไหว้บูชาเพื่อขอโชคลาภจากข่าวข้างต้นนักเรียนคิดว่าการกระทำดังกล่าว เกิดจากอะไรและถูกต้องหรือไม่

                   - ครูสุมให้นักเรียนตอบคำถามดังกล่าว

       3.2 ขั้นกิจกรรม

       1. เมื่อนักเรียนตอบคำถามเสร็จ ครูจะทำการแบ่งกลุ่มนักเรียนตามลำดับคะแนนจากการสอบครั้งก่อน โดยครูจะทำเรียกชื่อนักเรียนตามเลขที่ จากนั้นจะแจกปากกา ทั้งหมด 8 สี โดยปากกาแต่ละแท่งจะมีสัญลักษณ์ที่แต่งต่างกันไป จากคะแนนของนักเรียน ตามที่ครูจัดไว้ให้แล้ว โดยในกลุ่มจะมีทั้งคนเก่ง ปานกลาง และอ่อนอยู่ด้วยกัน 1 กลุ่มจะมี 4 คน จำนวนทั้งหมด 8 กลุ่ม เรียกว่า กลุ่มบ้าน โดยแต่ละกลุ่มเลือกหัวหน้า

       - จากนั้นครูกำหนดโจทย์ให้นักเรียนหาคำตอบ คือ “จากสถานการณ์ข้างต้นที่ครูเล่าให้ฟัง ถ้านักเรียนเป็นผู้หญิงคนนั้น จะมีวิธีการจัดการกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นอย่างไร ตามหลักพระพุทธศาสนา” แล้วให้หัวหน้าแบ่งสมาชิกในกลุ่มทั้ง 4 คน แล้วแยกไปค้นคว้าเนื้อหา 4 หัวข้อ ดังต่อไปนี้

       หัวข้อที่ 1 ความหมายของศรัทธาตามหลักพระพุทธศาสนา

       หัวข้อที่ 2 ความหมายของปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนา

       หัวข้อที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างศรัทธาและปัญญา

       หัวข้อที่ 4 การพัฒนาศรัทธาและปัญญาให้ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา

       - จากนั้นครูให้นักเรียนที่มีด้ามปากกา มี ก.ไก่ติดอยู่ (ก.ไก่คือคนที่มีคะแนนน้อยสุดในแต่ละกลุ่ม แล้วเยอะขึ้นมาก็ ข.ไข่ ค.ควาย ง.งู ตามลำดับ) เลือกหัวข้อก่อน แล้วคนที่มีสัญลักษณ์ ข.ไข่ ค.ควาย ง.งู ก็เลือกหัวข้อตามลำดับ 2. จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนจากกลุ่มบ้าน ที่ได้รับมอบหมายในเนื้อหาเดียวกัน ไปรวมกลุ่มกัน เรียกว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นศึกษาหาความรู้จากหนังสือเรียนและอินเตอร์เน็ต ตามหัวข้อข้างต้น 3. จากนั้ภนให้นักเรียนจากกลุ่มผู้เชี่ยถวชาญแต่ละคนกลับกลุ่มบ้าน แล้วดำเนินการต่อไปนี้

       - ผลัดกันออกมานำเสนอสิ่งที่ตัวเองได้ศึกษามาให้สมาชิกในกลุ่มฟัง ตามลำดับจนครบทุกคน

       - จากนั้นร่วมกันนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา มาแก้ไขสถานการณ์ตามโจทย์ที่ครูให้

       - แล้วส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากความรู้ที่ได้ศึกษามา จนครบทุกกลุ่ม - แล้วเตรียมตัวทำแบบทดสอบจากเนื้อหาที่ศึกษามาทั้งหมด

        3.3 ขั้นสรุป

        1. ครูจัดห้องสอบ แล้วดำเนินการสอบเป็นรายบุคคล โดยใช้แบบทดสอบรวมเนื้อหาทั้งหมด

        2. จากนั้นตรวจแบบฝึกหัดรวมคะแนนของสมาชิกในกลุ่มบ้านโดยรวมคะแนนของทุกคนแล้วหารด้วยจำนวนสมาชิกภายในกลุ่ม

        3. กลุ่มที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด จะได้รับคะแนนโบนัส 5 คะแนน กลุ่มที่ได้รองลงมา คะแนนก็จะลดลงตามลำดับ 4 3 2 คะแนน

        4. ครูสรุปความรู้ให้นักเรียนโดยการอธิบายเพิ่มเติมและถามคำถาม ดังนี้

                   - พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่ให้มนุษย์มีศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา เชื่ออย่างมีเหตุผล เพื่อให้การดำเนินชีวิตไปสู่เส้นทางแห่งความดีงามและถูกต้อง

                   - ครูยกตัวอย่างสถานการณ์ความเชื่อต่างๆ พร้อมสุ่มให้นักเรียนเลือกที่จะเชื่อ หรือไม่เชื่อตามหลักความเชื่อทางศาสนาต่างๆ ตามที่นักเรียนเข้าใจ พร้อมให้เหตุผล เช่น

                   - นาย ก. ตื่นเช้าขึ้นมา พบว่าหน้าบ้านของตนมีรอยเลื่อยคล้ายงู จึงเชื่อว่าเป็นรอยพญานาค จึงนำดอกไม้ ธูปเทียนมาไหว้ ขอโชคลาภ - นาง ข. เป็นคนที่มีเรื่องร้ายเข้ามาในชีวิตบ่อย จนเกิดความไม่สบายใจ เลยตัดสินใจไปดูดวงเผื่อจะมีวิธีแก้ไข ตามที่หมอดู แนะนำ เป็นต้น - นักเรียนตอบคำถาม

4.สื่อ/อุปกรณ์

   - หนังสือเรียน วิชาพระพุทธศาสนา ม.5

   - สื่อ power point

   -ผังความคิดจากการศึกษาเนื้อหาในแต่ละคู่ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

   - แบบทดสอบ

   - ipad

5.การประเมินผล

   k (ความรู้)  วิธีการ : การทำแบบทดสอบแบบปรนัยรวมเนื้อหาที่ศึกษาค้นคว้ามาทั้งหมด

เครื่องมือที่ใช้ : แบบทดสอบแบบปรนัยรวมเนื้อหาที่ศึกษาค้นคว้ามาทั้งหมดเกณฑ์การประเมิน : ทำครบทุกข้อและถูกต้องเกิน 8 ข้อขึ้นไป ถือว่าผ่าน ทำครบทุกข้อและถูก 5 ข้อขึ้นไป ไม่เกิน 8

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก