ใบงานที่ 1.1 เรื่องแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

ความหมายของสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพ

สุขภาพ หมายถึง ภาวะแห่งความสมบูรณ์และความสมดุลของบุคคลทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม รวมทั้งสภาวะที่ปราศจากโรคและความพิการ และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมอย่างปกติสุข

การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) 

  ตามความหมายขององค์กรอนามัยโลกหมายถึงกระบวนการของการเพิ่มสมรรถนะให้คนสามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ และเป็นผลให้บุคคลนั้นมีสุขภาพที่ดี

การป้องกันโรค (Disease prevention)

  หมายถึงการกระทำหรืองดกระทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคและการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำในกรณีที่หายจากการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคแล้ว

การควบคุมและป้องกันโรค ได้มีการพัฒนามาโดยต่อเนื่องการค้นคว้า ศึกษา และวิจัยในส่วนที่เกี่ยวกับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค คน สัตว์ และภาวะสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาการควบคุมและป้องกันโรคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นลำดับ จนสามารถกำจัดและกวาดล้างโรคติดต่อที่ร้ายแรงบางโรคให้หมดไปได้

สามารถแบ่งการควบคุมและป้องกันโรคออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 การป้องกันโรคล่วงหน้า

การป้องกันโรคก่อนระยะที่โรคเกิด เป็นวิธีการที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การปรับสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ หรือการปรับปรุงภาวะสิ่งแวดล้อมหรือทั้งสองร่วมกัน เพื่อให้โรคต่าง ๆ ไม่สามารถเกิดหรือคงอยู่ได้ เพื่อป้องกัน ไม่ให้มีพาหะและสื่อนำโรค ทั้งนี้เพื่อทำให้การแพร่กระจายของเชื้อที่เป็น สาเหตุทำให้เกิดโรค
ระดับที่ 2 การป้องกันในระยะมีโรคเกิดขึ้นแล้ว

คือการป้องกันโรคล่วงหน้าระดับที่ 2 ในกรณีที่การดำเนินงานระดับที่ 1 ยังไม่ได้ผล ทำให้มีโรคเกิดขึ้น ดังนั้น การป้องกันโรคในระยะมีโรคเกิด คือการระงับกระบวนการดำเนินของโรค การป้องกันการแพร่เชื้อและระบาดของโรคไปยังบุคคลอื่นในชุมชน และการลดการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในชุมชนให้น้อยลงและหายไปให้เร็วที่สุด
ระดับที่ 3 การป้องกันภายหลังจากการเกิดโรค

คือ การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการให้หายโดยเร็ว เพื่อลดผลเสียและโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังการเกิดโรค รวมทั้งการติดตามสังเกตและให้การป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ การป้องกันในระดับนี้จะรวมถึงการบำบัดความพิการและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้วย

แนวร่วมของคนในชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

การทำงานร่วมกันหรือความร่วมมือของกลุ่มคนสามารถทำให้เกิดสิ่งต่างๆที่ดีขึ้นและง่ายขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่า “การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นกระบวนการพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินให้เกิดเป็นชุมชนที่สุขภาพดี”

กลวิธีในการสร้างแนวร่วมให้เกิดในชุมชนนั้น ต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนของชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนให้มากที่สุดของกระบวนการพัฒนาสุขภาพในชุมชน ดังนี้

1.การมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาและความต้องการของชุมชน เช่น ร่วมกันค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ร่วมกันเสนอและความต้องการทางด้านสุขภาพของชุมชน

2.การมีส่วนร่วมในการวางแผน สมาชิกของชุมชนร่วมกันคิดและตัดสินใจ วางแผนการแก้ไขปัญหาสุขภาพต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกโดยร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ช่วยกัน

3.การมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพที่กำหนดไว้ โดยสมาชิกในชุมชนต้องร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนของโครงการ หรือกิจกรรมที่ได้วางแผนไว้

4.การมีส่วนร่วมในการประเมินผล เช่น ร่วมกันตรวจสอบผลการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพของชุมชน ตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน

5.การมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยสมาชิกในชุมชนนำผลการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชนอยู่เสมอ

-สิ่งแวดล้อมดีย่อมส่งผลให้สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพดีตามไปด้วย

ระบบสังคม -เป็นปัจจัยส่งเสริมที่มี ความเกี่ยวข้องกับภาวะ สุขภาพของคนใน ชุมชน

บทบาทและความรับผิดชอบของบุคคล

ที่มีต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

บทบาทและความรับผิดชอบ

แกนนำ หรือผู้นำชุมชน

•ควรมีวิสัยทัศน์ในเรื่องสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน โดยเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพต่อชุมชน มีบทบาทในการริเริ่มผลักดันให้เกิดนโยบาย กฎ และระเบียบของชุมชน

บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขภายในชุมชน

•ควรที่จะปรับเปลี่ยนบทบาทจากที่เคยเน้นเฉพาะการรักษา มาเน้นการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคให้มากขึ้น

หน่วยงานระดับท้องถิ่น

•ควรปรับเปลี่ยนรูปแบบของการให้บริการจากการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วย เป็นการปรับปรุงสุขภาพ

•มีบทบาทในการทำ หน้าที่ชี้นำชุมชน ให้เห็นแนวทางและความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคช่วยเหลือสนับสนุนทางด้านวิชาการ

หน่วยงานระดับชาติ

•มีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของชุมชนนั้นมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหน่วยงานในระดับนี้มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันของหน่วยงานในทุกระดับและประชาชนทุกคนให้มองเห็นสุขภาพในเชิงบวก

หน่วยงานอื่นๆ ในสังคม

•สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ สื่อสารมวลชน เป็นต้น ควรมีบทบาทหน้าที่ หรือมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

ประชาชนในชุมชน

•การมีส่วนร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชนเจ้าหน้าที่สุขภาพจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมความร่วมมือ ซึ่งจะเห็นได้ว่ากิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น มิได้มุ่งเน้นแต่เพียงการแก้ปัญหาสุขภาพเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม

นักเรียน

•มีบทบาทในการริเริ่มผลักดันให้ประชาชนในชุมชนรู้จักการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยนักเรียนจะต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสถานการณ์ของโรคที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบัน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเผยแพร่สู่ประชาชนในชุมชน

การมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมและพัฒนาสุขภาพของบุคคลในชุมชน

กลวิธีการสร้างแนวร่วมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

สำรวจหาแนวร่วมทั้งในชุมชนและนอกชุมชน

•โดยจะต้องให้เข้าร่วมโครงการ เรียกว่า “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” (Stakeholder) ของโครงการ ซึ่งกระบวนการสำรวจหาแนวร่วมนี้อาจกระทำได้โดยการพบปะพูดคุยกับประชาชน หรือตัวแทนชุมชน เพื่อหาบุคคลที่มี ความสนใจแก้ปัญหา หรือพัฒนาสุขภาพของชุมชนร่วมกัน

•เป็นการสำรวจ “ทุนทางสังคม” คือ ทุนต่างๆ ที่ชุมชนมีอยู่แต่เดิม โดยผ่านระบบความสัมพันธ์ เพื่อนำทุนทางสังคมนั้นมาใช้ประโยชน ์ ต่อโครงการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

จัดตั้งกลุ่มแนวร่วม

•อาจจะประกอบไปด้วยสมาชิกของคณะกรรมการชุมชนและสมาชิกในชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโดยสมัครใจ

•โดยกลุ่มแนวร่วมที่จดั ตั้งขึ้นนี้อาจอยู่ในรูปแบบของชมรม

ประชุมร่วมกันระหว่างสมาชิกของกลุ่มแนวร่วม

•นักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อ จะต้องประชุมร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ทรัพยากรของชุมชนที่มีอยู่ สร้างวิสัยทัศน์และกำหนดเป้าหมาย กำหนดแผนงาน กำหนดตารางเวลา การประเมินผลโครงการ และการหาทรัพยากรจากแนวร่วมอื่นๆ ภายนอกชุมชน

ดำเนินการตามแผนงาน หรือโครงการ

•ต้องดำเนินการโดยสมาชิกของแนวร่วม และควรมีการดึงความร่วมมือ ของประชาชนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแผนงาน

ประเมินผล ตรวจสอบ กำกับ และควบคุม

•ให้สามารถดำเนินการตามการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันทำให้ทราบถึงข้อผิดพลาด เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไปในอนาคตแผนงาน หรือโครงการที่วางไว้

ถอดบทเรียนที่ได้จากการดำเนินงาน

•เป็นการวิเคราะห์ผลของการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน

•บทเรียนที่ได้นี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการดำเนินงานเพื่อการแก้ปัญหาสุขภาพของชุมชนในอนาคต

กระบวนการวิเคราะห์เพื่อจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

สิ่งใดคือปัญหาทางสุขภาพที่แท้จริงของชุมชน

•ควรทำความเข้าใจให้ตรงกันหรือใกล้เคียงกันก่อน

•สิ่งที่ทำให้เกิดการปรับมุมมองและมีความเข้าใจตรงกันได้ คือ ข้อมูลจริงเกี่ยวกับสภาพของชุมชนและความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งควรเป็นความรู้ที่เข้าใจง่าย แต่มีความถูกต้อง

ข้อมูลจริงเกี่ยวกับสภาพของชุมชน

•ข้อเท็จจริงที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถสืบค้น เสาะหา และเก็บรวบรวมได้หลายวิธี

จากข้อมูลที่ได้นำมาวางแผนเพื่อจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน

•เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสุขภาพของประชาชนในชุมชนเรียบร้อยแล้วให้นำมาวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดทำโครงการให้เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชน

กระบวนการร่วมคิดร่วมทำของประชาชนในชุมชนเพื่อสุขภาพชุมชน

รูปแบบของกิจกรรม

ระดมทุน

•เพื่อหาเงินทุนมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อสุขภาพ

•กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน

จัดตั้งชมรมส่งเสริมสุขภาพชุมชน

•โดยมีเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

•ตำบล หรือสถานีอนามัย เป็นผู้ผ้ให้คำปรึกษา แนะนำ และดูแลสุขภาพ

ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารธรรมชาติในชุมชน

•เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารธรรมชาติอย่างทั่วถึง

•สอนขั้นตอนวิธีการทำผลิตภัณฑ์อาหารบริโภคกันในครอบครัว พร้อมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ

ส่งเสริมการนวดแผนไทย

•เพื่อช่วยลดปัญหาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน

•ช่วยลดปัญหาการบริโภคยาที่เกินความจำเป็นของประชาชนในชุมชนลงได้ระดับหนึ่ง

ส่งเสริมการปลูกและใช้สมุนไพรในชุมชน

•โดยเริ่มต้นจากการแปรรูปสมุนไพรที่มีมากในชุมชน

•มีการนำคณะทำงานไปศึกษาดูงานในสถานที่ต่างๆ เพื่อทำให้กลุ่มสามารถพัฒนาการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จัดกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ

•ควรจะจัดให้เป็นงานประจำปีของชุมชนโดยเชิญชวนให้ประชาชนในชุมชนมาร่วมทำกิจกรรม

•เพื่อให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของวันสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของตนเอง

เครือข่ายสุขภาพกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

องค์ประกอบของเครือข่ายสุขภาพ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก