การทำงานของเครื่องยนต์เล็กดีเซล 4 จังหวะ หัวฉีดจะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง

เขียนโดย: ART 4G

เมื่อ: 6 สิงหาคม 2557 - 18:49

หัวฉีด คุณรู้จักกันดีพอหรือยังครับ

          หัวฉีด(Injector) คือ ส่วนประกอบหนึ่งในเครื่องยนต์ซึ่งทำหน้าที่จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปยังห้องเผาไหม้เพื่อที่จะทำการจุดระเบิด โดยจะทำการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงออกมาให้เป็นฝอยด้วยการควบคุมจากกล่องอิเล็คทรอนิคส์ หรือกล่อง ECU

ส่วนประกอบของหัวฉีด(Injector) 

สำหรับเจ้าหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงนี้มันจะประกอบไปด้วย

  1. ขดลวดทองแดงหรือขดลวดคอล์ย
  2. เข็มหัวฉีด
  3. สปริงกดเข็มหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง
  4. กรองน้ำมันเชื้อเพลิง

          ในการทำงานของหัวฉีดนี้ มันจะทำงานด้วยการควบคุมจากกล่อง ECU โดยจ่ายสัญญาณกราวด์ให้ และขดลวดทองแดงในหัวฉีดจะทำงานโดยการสร้างสนามแม่เหล็ก และใช้แรงนี้ยกเข็มหัวฉีด จากนั้นแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงที่รออยู่ที่บริเวณเข็มหัวฉีด ก็จะสามารถฉีดออกไป บริเวณด้านหลังวาล์วไอดีก็จะเกิดเป็น ไอดี ซึ่ง ไอดี คือส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วลูกสูบก็จะดูดไอดี ลงไปในกระบอกสูบ ในจังหวะดูดเป็นขั้นตอนต่อไป

ตัวอย่างชุดหัวฉีดแต่ง HKS

ตัวอย่างชุดหัวฉีดแต่ง SARD

VDO การทำงานของหัวฉีด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

"ดีเซล" เปลี่ยนทางมาที่นี่ บทความนี้เกี่ยวกับเครื่องยนต์ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ดีเซล (แก้ความกำกวม)

ภาพการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ

เครื่องยนต์ดีเซล (อังกฤษ: diesel engine) เป็นเครื่องยนต์ประเภทหนึ่ง คิดค้นโดยรูด็อล์ฟ ดีเซิล วิศวกรชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1897 อาศัยการทำงานของกลจักรการ์โน (Carnot's cycle) ซึ่งคิดขึ้นโดยชาวฝรั่งเศสชื่อ ซาดี การ์โน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1824 เครื่องยนต์ชนิดนี้ไม่มีหัวเทียน การจุดระเบิดอาศัยหลักการอัดอากาศและเชื้อเพลิงให้มีความดันสูงจนเชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล คือ อากาศเมื่อถูกอัดตัวจะมีความร้อนสูงขึ้น แต่ถ้าอากาศถูกอัดตัวอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการสูญเสียความร้อน ทั้งแรงดันและความร้อนจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อฉีดละอองน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปในอากาศที่ร้อนจัดจากการอัดตัว ก็จะเกิดการเผาไหม้ขึ้นอย่างทันทีทันใด ทำให้เกิดกำลังงานขึ้น กำลังงานที่เกิดขึ้นจะนำไปใช้ประโยชน์ในรูปของแรงขับหรือแรงผลักดัน ผ่านลูกสูบและก้านสูบทำให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุน ณ กำลังอัดเดียวกัน อากาศที่อุณหภูมิเริ่มต้นสูงกว่า เมื่อถูกอัดย่อมมีอุณหภูมิสูงกว่าหรือร้อนกว่า

เครื่องยนต์ดีเซลแบ่งออกเป็นแบบใหญ่ๆ ได้เป็น 2 แบบคือ

  1. เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ (The 4-cycle Engine)
  2. เครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ (The 2-cycle Engine)

ชนิด[แก้]

กลุ่มขนาด[แก้]

เครื่องยนต์ดีเซลมีสามกลุ่มขนาด คือ

  • ขนาดเล็ก ไม่เกิน 188 กิโลวัตต์ (252 แรงม้า) เอาต์พุต
  • กลาง
  • ใหญ่

อ้างอิง[แก้]

  • เครื่องยนต์ดีเซล จาก ฟิสิกส์ราชมงคล
  • เว็บไซต์ฟิสิกส์ราชมงคล
  • เครื่องยนต์ดีเซล จากเว็บไซต์รถไฟไทยดอตคอม

ปั๊มหัวฉีดในเครื่องยนต์ดีเซล

เครื่องยนต์ดีเซลนั้นทำงานอย่างไร?

ก่อนอื่นขอกล่าวถึงการทำงานของเครื่องยนต์เบนซินก่อนนะครับ ในเครื่องยนต์เบนซินทำงานโดยอาศัยลิ้นเร่ง หรือ throttle valve ซึ่งทำงานตามจังหวะในการเหยียบแป้นคันเร่งนั่นเอง โดยทำหน้าที่ควบคุมปริมาณของอากาศที่จะไหลผ่าน ในขณะเดียวกันปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ฉีดออกมาผสมกับอากาศจะต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องยนต์ เมื่อผสมกันเสร็จแล้วก็จะได้ไอดี (gas mixture) ป้อนให้กับกระบอกสูบ เมื่อปริมาตรของไอดีในกระบอกสูบถูกอัดในจังหวะอัดก็พร้อมที่จะจุดระเบิดโดยหัวเทียน และได้จังหวะกำลังตามมา

ระบบปั๊มหัวฉีดในเครื่องยนต์ดีเซล

สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลทำงานโดยอาศัยการจุดระเบิดด้วยการอัดอากาศ อากาศจะถูกอัดให้มีปริมาตรเล็กลง โดยมีอัตราส่วนการอัด 22:1 ทำให้อุณหภูมิ ของอากาศสูงขึ้นถึง 538°C (1000°F) เมื่อสิ้นสุดจังหวะอัด น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้าไปในกระบอกสูบ ด้วยแรงดันที่สูงกว่า 100 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร หลังจากนั้นอากาศร้อนภายในกระบอกสูบที่ถูกอัดจนร้อนจะจุดระเบิดน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้ให้เกิดจังหวะกำลังตามมา ด้วยเหตุนี้เครื่องยนต์ดีเซลจึงต้องมีปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อสร้างแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงให้สูงพอที่จะฉีดเข้าสู่ห้องเผาไหม้ที่มีแรงดันสูงมาก และน้ำมันเชื้อเพลิงที่ฉีดออกไปจะต้องแตกเป็นละอองคลุกเคล้ากับอากาศได้อย่างพอเหมาะ

ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล

น้ำมันเชื้อเพลิงที่ฉีดเข้าห้องเผาไหม้จะต้องมีปริมาณที่เหมาะกับความต้องการของเครื่องยนต์

  1. เมื่อรอบเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นอย่างทันทีทันใด น้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องฉีดเข้าห้องเผาไหม้เพียงพอกับความต้องการ
  2. น้ำมันเชื้อเพลิงที่ฉีดเข้าห้องเผาไหม้จะต้องมีแรงดันที่สูงกว่า ความดันในกระบอกสูบมาก (เมื่อสิ้นสุดจังหวะอัดในห้องเผาไหม้จะมีแรงดันสูงถึง 3,447 kPa (500 psi)

น้ำมันเชื้อเพลิงที่ฉีดเข้าเครื่องยนต์ดีเซลจะต้องมีแรงดันสูงมากเพื่อฉีดเข้าสู่ห้องเผาไหม้ที่มีความดันสูงซึ่งเป็นที่มาของปั๊มฉีดน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซล

โครงสร้างของระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล

ระบบหัวฉีดน้ำมันดีเซลประกอบด้วย

  • ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel injection pump)  ทำหน้าที่สร้างแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงให้สูงเพื่อป้อนให้กับหัวฉีดหัวฉีดน้ำมัน (Injection nozzle) ทำหน้าที่ฉีดน้ำมันเข้าไปในกระบอกสูบ
  • ปั๊มน้ำดูดน้ำมันเชื้อเพลิง (Feed pump) ทำหน้าที่ดูดน้ำมันจากถังน้ำมัน
  • กรองน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel filter)  ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกออกจากน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ท่อส่งน้ำมันแรงดันสูง (High-pressure pipe)
  • ท่อน้ำมันไหลกลับ (return pipe)

ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล

ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง มีหน้าที่ควบคุมการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านหัวฉีดเข้าสู่กระบอกสูบของแต่ละสูบของเครื่องยนต์ ตามจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ เปรียบเสมือนได้กับจังหวะการทำงานของจานจ่านกับการเกิดประกายไฟที่หัวเทียนของเครื่องยนต์เบนซิน

ชนิดของปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง

ชนิดของปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล มีทั้งแบบควบคุมด้วยกลไก และควบคุมด้วยอีเล็คทรอนิคส์ โดยทั่วไปนิยมใช้กันคือ

  1. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ควบคุมด้วยกลไก แบบแถวเรียง หรือ PE (in-line pump)

  2. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ควบคุมด้วยกลไก แบบจานจ่าย หรือ VE (distributor pump)

  3. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ควบคุมการทำงานด้วยอีเล็คทรอนิคส์ แบบคอมม่อนเรล (common rail pump)

1. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบแถวเรียง (in-line pump)

ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบแถวเรียง (In-line Pump) เป็นปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกออกแบบให้มีจำนวนลูกปั๊มเท่ากับจำนวนสูบของเครื่องยนต์เพื่อจ่ายน้ำมันให้กับแต่ละกระบอกสูบ ใช้ในเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1 สูบจนถึงเครื่องยนต์ขนาด 12 สูบ ปั๊มแบบนี้มักพบในเครื่องยนต์ดีเซลในบ้านเรา ทำงานโดยการขับเคลื่อนด้วยเฟืองกับเพลาราวลิ้น ประกอบด้วย

  • ปั๊มดูดน้ำมัน (Feed pump)
  • กัฟเวอร์เนอร์ (Governor) ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายน้ำมันให้เหมาะสมกับภาระของเครื่องยนต์ในขณะนั้น โดยการปรับปริมารณการฉีดของน้ำมันเชื้อเพลิงตามภาระของเครื่องยนต์เพื่อควบคุมความเร็วรถยนต์
    • ควบคุมการจ่ายน้ำมันให้รอบเครื่องยนต์เดินเบาและรอบสูงสุดให้คงที่
    • ควบคุมความเร็วตามภาระของเครื่องยนต์
    • เพื่อไม่ให้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ปั้มหัวฉีด ฉีดเข้าสู่ห้องเผาไหม้มากเกินไปขณะที่เร่งเครื่องอย่างทันทีทันใดโดยการจำกัดปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้เครื่องยนต์เผาไหม้ได้อย่างหมดจดและไม่มีปัญหาเรื่องควันดำ
    • ควบคุมขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ติดง่าย
    • ป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ดับในขณะรอบเดินเบา จากการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยเกินไป
    • อัตราส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลอยู่ในช่วงประมาณ 10:1 ถึง 20:1 (ภายใต้ภาระเต็มที่) กัฟเวอร์เนอร์จะควบคุมอัตราส่วนผสมนี้ให้อยู่ในช่วงนี้ ในกรณีที่อัตราส่วนผสมมากกว่า 20:1 จะทำให้เกิดควันมากในไอเสีย
  • ไทเมอร์อัตโนมัติ(Automatic Timer) เป็นกลไกเร่งการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับความเร็วรอบเครื่องยนต์ที่สูงขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของเครื่องยนต์ซึ่งทำงานด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางที่ขับโดยเพลาลูกเบี้ยวของปั๊ม
  • ปั๊มดูดน้ำมัน(Feed Pump) ทำหน้าที่ดูดน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังน้ำมันผ่านกรองน้ำมันเชื้อเพลิงถูกขับโดยเพลาลูกเบี้ยว
  • ตัวปั๊ม (Pump Body) เป็นที่ติดตั้งของกลไกสร้างแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงและกลไกควบคุมปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกขับโดยเพลาลูกเบี้ยวและส่งไปให้กับกระบอกสูบของแต่ละสูบ

2. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบจานจ่าย (distributor pump)

ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบจานจ่าย (Distributor Pump) เป็นปั๊มที่มีชุดสร้างแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูงเพื่อจ่ายให้แต่ละกระบอกสูบผ่านท่อแรงดันสูงเพียงชุดเดียวตามจังหวะการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ ประกอบด้วยกัฟเวอร์เนอร์ ไทเมอร์ และปั๊มดูดน้ำมัน โดยมีลักษณะของปั๊มดังนี้

  • ตัวปั๊มมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา

  • สามารถทำงานที่ความเร็วสูงได้ดี อัตราเร่งไว

  • ง่ายในการปรับปริมาณการฉีดน้ำมันเพราะมีลูกปั๊มชุดเดียว

  • หล่อลื่นตนเองด้วยน้ำมันดีเซล จึงไม่ต้องบำรุงรักษา

  • มักใช้กับ รถกระบะ รถโฟรค์ลิฟ รถไถ  เป็นต้น

มักใช้ในเครื่องยนต์ขนาดเล็ก ภายในประกอบด้วย


ปั๊มดูดน้ำมัน (Feed pump)

ทำหน้าที่ดูดน้ำมันจากถังน้ำมัน  ทำงานโดยอาศัยแรงเหวี่ยงหนีศูนยกลางในการปั๊มน้ำมัน และมีตัวระบายความดันเพื่อไม่ให้ความดันน้ำมันสูงเกินไป

  • กลไกกัฟเวอร์เนอร์ (Governor) จะติดตั้งอยู่ด้านบนของปั๊มหัวฉีด ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายน้ำมันให้เหมาะสมกับความเร็วภาระของเครื่องยนต์
  • ควบคุมการจ่ายน้ำมันให้เครื่องยนต์ตั้งแต่รอบเดินเบายังรอบสูงสุดให้คงที่
  • ควบคุมความเร็วตามภาระของเครื่องยนต์
  • ควบคุมปั๊มจ่ายน้ำมันขณะเร่งไม่ให้ไอเสียมีควันดำ
  • ควบคุมขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ติดง่าย
  • ไทเมอร์ (Timer) ไทเมอร์มีหน้าที่ควบคุมจังหวะการฉีดน้ำมัน จะถูกติดตั้งในส่วนของปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันต่ำ

3. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบคอมม่อนเรล (common rail pump) ควบคุมการทำงานด้วยอีเล็คทรอนิคส์

เป็นระบบการจ่ายน้ำมันดีเซล แบบรางร่วมที่นิยมใช้มากในเครื่องยนต์ดีเซลปัจจุบัน ที่สามารถสร้างแรงบิดและแรงม้าได้สูง

[youtube=//www.youtube.com/watch?v=jWv5gYWvXaY&feature=related]

[youtube=//www.youtube.com/watch?v=QR8dH8cPRSE&feature=related]

ในระบบคอมมอนเรลจะมีอุปกรณ์หลักๆคือ

ปั๊มแรงดันสูง สามารถสร้างแรงดันได้ 1,600-1,800bar ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต (ระบบกลไกลแบบเก่า แรงดันหัวฉีดอยู่ที่ 100-250bar)  ในระบบคอมมอนเรล จะใช้ปั๊มแรงดันสูงทำหน้าที่สร้างแรงดันน้ำมันสูง อัดน้ำมันเข้าสู่รางร่วม (Common rail) เพื่อรักษาแรงดันในระบบให้ทุกสูบเท่ากัน รอจังหวะการฉีดที่เหมาะสม ที่คำนวณจากหน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Control Unit;ECU) โดยECUจะรับค่าจากเซ็นเซอร์ต่างๆ เช่นเซ็นเซอร์ตำแหน่งขาคันเร่ง ความเร็วรอบเครื่องยนต์ อุณหภูมิน้ำ อุณหภูมิอากาศ แรงดันเทอร์โบ เป็นต้น นำมาคำนวณหาปริมาณการฉีดที่เหมาะสมและจังหวะการฉีดที่ถูกต้อง ส่งสัญญาณไปยังหัวฉีด ซึ่งหัวฉีดถูกควบคุมการจ่ายน้ำมันด้วยโซลีนอยด์ไฟฟ้าให้หัวฉีด เปิดน้ำมันเข้ากระบอกสูบตามจังหวะและปริมาณตรงตามความต้องการของเครื่องยนต์ เนื่องจากECUเป็นตัวควบคุมการจ่ายน้ำมัน ซึ่งสามารถทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำ ในปัจจุบันระบบคอมมอนเรลจึง สามารถสั่งการฉีดน้ำมันได้ถึง 5 ครั้งต่อการทำงาน 1วัฐจักร (จากเดิมฉีดน้ำมัน 1 ครั้ง ต่อการทำงาน 1 วัฐจักร) เป็นการลดปริมาณมลพิษ ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) และเขม่ำควันดำต่างๆ เพื่อให้ได้ตามกฏข้อบังคับก๊าซไอเสีย ซึ่งประเทศไทยใช้มาตราฐานของยุโรป(EURO) อีกทั้งยังเป็นการลดการเผาไหม้ที่รุนแรง ช่วยลดเสียงน็อคของเครื่องยนต์ โดยการฉีดของหัวฉีดแต่ละครั้งคือ

  • การฉีดครั้งที่1 เป็นการฉีดนำร่อง (Pilot Injection) เป็นส่วนช่วยให้เชื้อเพลิงส่วนแรกผสมกับอากาศได้ดีก่อน
  • การฉีดครั้งที่2 การฉีดก่อน เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเชื้อเพลิงในการเริ่มการเผาไหม้ส่วนแรก
  • การฉีดครั้งที่3 เป็นการฉีดเชื้อเพลิงหลัก (Main-Injection) เป็นการฉีดที่ควบคุมสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ตามคันเร่ง
  • การฉีดครั้งที่4 เป็นการฉีดหลัง เพื่อเผาเขม่าหรืออนุภาคคาร์บอน (Particulate matter;PM) ส่วนสุดท้ายเพื่อให้มีการเผาไหม้สมบูรณ์ที่สุด
  • การฉีดครั้งที่5 เป็นการฉีดปิดท้ายเพื่อควบคุมอุณหภูมิไอเสีย

อ่านต่อ ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบคอมม่อนเรล

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก