เหตุใดจึงกล่าวว่าวัยรุ่นเป็นวัยแห่ง พายุบุแคม

สังคมทุกแห่งในปัจจุบันนี้ยอมรับกันทั่วไปว่าวัยรุ่น(Adolescence)  เป็นช่วงระยะที่สำคัญที่สุด เป็นวัยที่เชื่อมต่อระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ เป็นระยะที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต  ซึ่งชีวิตบั้นปลายจะราบรื่นหรือไม่เพียงใดนั้น  ย่อมขึ้นอยู่กับการดำเนินชีวิตของระยะวัยรุ่นนี้  เพราะเหตุว่าเด็กวัยรุ่นจะต้องประสบความยุ่งยาก  มีปัญหาต่าง ๆ นานา ประการ  และต้องกับความลำบากในการปรับตัวจึงมักมีผู้กล่าวว่าเป็นวัยวิกฤติ(Critical Period)  บ้าง หรือวัยแห่งพายุบุแคม  (Storm & Stress)  บ้างทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กเข้าสู่วัยรุ่นนั้นเป็นไปทีละน้อย ๆ ยากที่จะสังเกตได้  จนไม่ระลึกถึงวัน เดือน ปีใดที่ได้เปลี่ยนจังหวะชีวิตมาถึงวัยรุ่นได้  โดยที่พ่อแม่ที่อยู่กับลูกตลอดเวลาก็มักจะไม่ได้มองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ขึ้นในรูปของตัวเอง  ตรงกันข้ามกับการที่คนอื่น ๆ ที่นาน ๆ จะได้พบเห็นสักครั้ง  มักจะมองเห็นความแตกต่างที่ผิดหู  ผิดตาไปมาก  วัยรุ่นมีสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้แก่การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและสรีระ  เช่น  โครงสร้างทางร่างกาย  อวัยวะต่าง ๆ เกี่ยวกับเพศรวมทั้งระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย  ซึ่งเจริญเติบโตและพัฒนาการไปตามกระบวนการของมันจนถึงขั้นวุฒิภาวะ  (Maturity)  หรือเข้าสู่วัยผู้ใหญ่มีความสามารถในการทำงานได้  เด็กทุกคนจะต้องระยะแห่งความเปลี่ยนแปลงในวัยนี้  อาจช้าหรือเร็วย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล                นับตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน  ได้มีผู้สังเกตเห็นความละเอียดอ่อนความสับสนทางจิตใจของเด็กวัยรุ่น  จึงหาทางช่วยเหลือแก้ไขประคับประคองเขาให้ผ่านพ้นช่วงวัยนี้ได้ดี  ให้เข้าสู้วัยผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ  สามารถรับผิดชอบต่อตนเอง  ต่อครอบครัว  และต่อสังคมได้  จึงมีตัวอย่างในอดีตกาลได้ทำพิธีฝึกฝนขัดเกลาเด็กวัยรุ่นให้แข็งแกร่ง  ของชนเผ่าหนึ่งในทวีปแอฟริกาเป็นชาวป่ากล้าแข็ง  มีธรรมเนียมให้ขับเด็กชายวัยรุ่นไปอยู่ป่าอย่างโดดเดี่ยว  ต่อสู้ชีวิตกับภยันอันตรายด้วยตนเองเป็นเวลาหลายปีเมื่อถึงกำหนดเวลาเขาเอาตัวรอดกลับคืนมาสู่เรือนเหย้าได้  ก็จัดพิธีต้อนรับเป็นเกียรติยศ  ในบางสังคมไทยสมัยก่อนมีการประกาศการย่างเข้าสู่วัยรุ่นของเด็กหญิงชายด้วยพิธีโกนจุก และพิธีอื่น ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวัยรุ่น  และมีผลต่อทางด้านจิตวิทยาอย่างลึกซึ้ง  ในแง่การปรับตัวการดำเนินชีวิต  การเตรียมตัวเป็นผู้ใหญ่ที่มั่นคง รวมทั้งเป็นการเชื่อมโยงระหว่างวัยรุ่นกับวัยผู้ใหญ่ได้อย่างต่อเนื่อง  กลมกลืน  จากการที่มีการยอมรับความเป็นวัยรุ่นของผู้ใหญ่ดังกล่าวยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในครอบครัวและสังคมนั้นๆ เป็นอย่างดี  และหลังจากต้นศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา  นักวิทยาการหลายสาขาเช่น  จิตวิทยา  ศึกษาศาสตร์  อาชญาวิทยา  สังคมวิทยา ฯลฯ  ได้เห็นความสำคัญของระยะวัยรุ่นเป็นอย่างยิ่ง  ได้ทำการศึกษาเรื่องชีวิตจิตใจของวัยรุ่นอย่างเป็นวิทยาศาสตร์หลายแง่มุม  โดยมุ่งมั่นค้นให้พบสภาพธรรมชาติตามวัย  เพื่อนำความรู้มาช่วยให้เด็กวัยรุ่นเข้าใจตัวของเขาเอง  สามารถปรับตัวให้ทันกับวิวัฒนาการทางสังคม  เศรษฐกิจ  และวัฒนธรรม  รวมทั้งผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในด้านเสริมสร้างพัฒนาการวัยรุ่นได้มีความรู้  ความเข้าใจ  และสามารถช่วยเหลือวัยรุ่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ความหมายของวัยรุ่น                ความหมายของวัยรุ่น  ตามที่นักจิตวิทยาการศึกษา  และนักการศึกษาต่าง ๆ ได้ให้คำจำกัดความของวัยรุ่น ดังนี้                วัยรุ่น  (Adolescence)  มาจากภาษละติน คือ Adolescere ซึ่งแปลว่า การเจริญเติบโตไปสู่วุฒิภาวะ นั่นคือ เป็นวัยย่างเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่นั่นเอง โดยถือเอาจากความพร้อมทางร่างการหรือภาวะสูงสุดของร่างการเป็นเครื่องตัดสิน ซึ่งในระยะนี้เป็นระยะที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตของระบบอวัยวะเพศและสามารถทำงานได้เต็มที่ คือ เพศหญิงมีประจำเดือนครั้งแรกและเพศชายจะมีการผลิตเซลล์สืบพันธุ์ได้                วัยรุ่น  หมายถึง  วัยที่อยู่ระหว่างความเป็นเด็กและความเป็นผู้ใหญ่  เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก                วัยรุ่น  หมายถึง  วัยที่มีการพัฒนาการจากความเป็นเด็ก ค่อย ๆ สู่ความเป็นผู้ใหญ่ ทั้งทางด้านจิตใจและอารมณ์  ร่างกายและสังคม                วัยรุ่น   หมายถึง  วัยที่เข้าสู่วุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์  สามารถเป็นพ่อคนแม่คนได้  มีอารมณ์รุนแรง  แสดงความรู้สึกอย่างเปิดเผย  และตรงไปตรงมา                จากความหมายดังกล่าว  สามารถสรุปได้ว่า  วัยรุ่น  หมายถึง  วัยที่มีการพัฒนาการจากความเป็นเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่  เป็นวัยที่เข้าสู่วุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์  รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  และสังคมเป็นอย่างมาก การแบ่งระยะของวัยรุ่น            การแบ่งระยะเวลาของวัยรุ่น  นักจิตวิทยาการศึกษา  ได้แบ่งช่วงเวลาของวัยรุ่นไว้  ดังลักษณะต่อไปนี้                ศรีเรือน  แก้วกังวาน  ได้กล่าวเกี่ยวกับการแบ่งช่วงของวัยรุ่นออกเป็น 3 ระยะโดยใช้เกณฑ์ความเป็นเด็ก  กับผู้ใหญ่ตัดสินคือ  ช่วงอายุประมาณ 12-15 ปี  เป็นช่วงวัยแรกรุ่น  ซึ่งยังมีพฤติกรรมค่อนไปทางเด็กอยู่มาก  ช่วงอายุประมาณ 16-17 ปี  เป็นช่วงระยะรุ่นตอนกลางจะมีพฤติกรรมก้ำกึ่งระหว่างความเป็นเด็กกับผู้ใหญ่  ช่วงอายุประมาณ 18-25 ปี  เป็นระยะวัยรุ่นตอนปลายกระบวนการพฤติกรรมค่อนไปทางเป็นผู้ใหญ่                ช่วงระยะเวลาความสำคัญของวัยรุ่นดังกล่าวนั้น  วัยแรกรุ่น  แปลจากศัพท์อังกฤษ คือ Puberty มาจากภาษาลาติน คือ Puberta  ซึ่งแปลว่า  การเติบโตเป็นหนุ่มสาวเปลี่ยนสภาวะทางร่างกายจากความเป็นเด็กชายเด็กหญิง  ร่างกายเติบโตเป็นผู้ใหญ่เกือบเต็มที่ทุกส่วน  ลักษณะทุติยภูมิทางเพศยังไม่โตเต็มที่ผ่านมา  ก็เจริญสมบูรณ์และทำหน้าที่ของมันได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป  จึงกล่าวได้ว่าลักษณะเช่นนี้  เป็นช่วงเปลี่ยนวัยของชีวิตทางด้านร่างกาย  การเปลี่ยนแปลงทางกายของเด็กวัยรุ่นเป็นต้นเหตุ  ให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอื่น ๆ ตามมา เช่น  ด้านอารมณ์  ลักษณะสัมพันธ์ภาพกับผู้อื่นสมรรถภาพทางสมอง  ค่านิยม  ทัศนคติ  ความนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง ฯลฯ  เป็นต้น  ส่วนในช่วงวัยรุ่นที่แท้จริง (Adolescence)  อายุประมาณ 15-18,19-25  ปีนั้น  เด็กเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ทางร่างกายเติมที่เป็นช่วงเปลี่ยนทางด้านสังคม  อารมณ์  จิตใจ  ค่านิยม  อุดมคติ ฯลฯ  เด็กกำลังเลียนแบบและทดสอบบทบาทเพื่อจะเป็นผู้ใหญ่ในแง่ต่าง ๆ  เช่น  อารมณ์  สังคม  จิตใจ  ความใฝ่ฝัน  ปรารถนา ฯลฯ  ความเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปต่าง ๆ  ในลักษณะนี้ล้วนเป็นรากฐานของความสนใจ  ความมุ่งหมายในชีวิต  อาชีพ  ลักษณะของเพื่อน  ลักษณะของคู่ครอง ฯลฯ  ในวัยผู้ใหญ่ต่อไป                อุบลรัตน์  เพ็งสถิต  ได้กล่าวถึงการศึกษาเรื่องราวของวัยรุ่นนั้น  เพื่อการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งแล้วได้แบ่งระยะวัยรุ่นออกเป็น 3 ช่วงวัย  ดังต่อไปนี้ วัยแรกรุ่น” (Puberty)  เป็นช่วงที่คาบเกี่ยวระหว่างวัยเด็กตอนปลายและวัยรุ่นตอนต้น  ลักษณะของวัยนี้ก็จะมีลักษณะของวัยที่แตกต่างกับวัยอื่น วัยรุ่นตอนต้น  (Preadolescence and Adolescence)  เป็นช่วงที่รวมเอาวัยแรกรุ่นเข้าไว้ด้วยกันจนถึงอายุได้ประมาณ 17 ปี วัยรุ่นตอนปลาย  (Late Adolescence or Youth)  จะมีอายุโดยประมาณ 17-21 ปี                สุภัททา  ปิณฑะแพทย์  ได้แบ่งวัยรุ่นตามความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย  โดยแบงออกเป็น  2  ระยะ  คือ1.       ระยะวัยรุ่นตอนต้น  เริ่มตั้งแต่อายุ  13 หรือ  14 ปี  จนถึงอายุ  17  ปี2.       ระยะวัยรุ่นตอนปลาย  ตั้งแต่อายุ  17  ปี  จนถึง  21 ปีสุชา  จันทน์เอม  ได้กล่าวถึงการแบ่งระยะและลักษณะระยะต่าง ๆ ในช่วงของวัยรุ่นได้ว่า.....วัยรุ่นถือว่าเป็นระยะของช่วงชีวิตที่คั่นกลางระหว่างความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่ซึงไม่สามารถแบ่งขีดขั้นได้อย่างแน่นอนว่าควรกำหนดเมื่ออายุเท่าไหร่         ตามปกติเรามักถือว่าวัยรุ่น  คือ  ผู้ที่มีอายุระหว่าง  13-20  ปี  แต่ทั้งนี้อาจไม่แน่นอนเพราะบางคนอายุเพียง  17-18 ปี  ก็แสดงพฤติกรรมว่าเขามีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะพ้นจากสภาพของวัยรุ่นได้  ซึ่งเอลล่า  โคลี  (Luella Cole) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้แบ่งวัยรุ่นออกเป็น 3 ระยะ คือ1.       วัยรุ่นตอนต้น  (Early  Adolescence)เด็กหญิงจะมีอายุระหว่าง  13-15  ปีเด็กชายจะมีอายุระหว่าง  15-17  ปี2.       วัยรุ่นตอนกลาง  (Middle  Adolescence)เด็กหญิงจะมีอายุระหว่าง  15-18  ปีเด็กชายจะมีอายุระหว่าง  17-19  ปี3.       วัยรุ่นตอนปลาย  (Late  Adolescence)เด็กหญิงจะมีอายุระหว่าง  18-21  ปีเด็กชายจะมีอายุระหว่าง  19-21  ปีจากการศึกษาพบข้อสังเกตว่าก.       เด็กชายจะเจริญเติบโตเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นช้ากว่าเด็กหญิงประมาณ  2  ปีข.       อายุเฉลี่ยทั้งชายและหญิง  ในด้านความพร้อมของต่อมเพศที่จะเริ่มผลิตเซลล์สืบพันธุ์ได้นั้น  เมื่อหญิงมีอายุประมาณ  11-13  ปี  และชายอายุประมาณ  13-15  ปี ลักษณะต่าง ๆ ของการเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นแต่ละช่วง                สุชา  จันทน์เอม  ได้กล่าวถึง  ลักษณะต่าง ๆ ที่แสดงถึงการเข้าสู่วัยรุ่น  และระยะของวัยรุ่น  ดังนี้                1.  วัยแรกรุ่น(Puberty)  หญิงอายุ   11-13  ปี  และชาย  13-15  ปี เป็นระยะที่ร่างกายเริ่มการเจริญเติบโตทางเพศอย่างสมบูรณ์ทั้งในเด็กหญิงและเด็กชาย  สำหรับเด็กหญิงนั้นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญของร่างกายเต็มที่  ก็คือการมีประจำเดือนครั้งแรก  ส่วนเด็กชายนั้นไม่มีลักษณะบ่งแน่ชัดเช่นเด็กหญิง  แต่เราอาจจะสังเกตได้จากสิ่งเหล่านี้  คือ  การหลั่งอสุจิในครั้งแรก  การมีขนตามอวัยวะเพศ  นอกจากนี้  น้ำเสียงที่พูดยังเปลี่ยนไปจากเดิม  คือ  ห้าวขึ้น  และมีลักษณะที่เรียกว่าแตกพาน  เด็กหญิงนอกจากมีประจำเดือนครั้งแรกแล้ว  ปรากฏว่าสัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยังเปลี่ยนแปลงไป  โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านอวัยวะเพศ  และการเจริญเติบโตของทรวงอก  เนื่องจากผลของฮอร์โมนไปบำรุงมากขึ้น  ในระยะเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นนี้  เป็นระยะที่เตือนให้เราเห็นว่าระยะของวัยรุ่นได้ใกล้เข้ามาแล้ว                2.  วัยรุ่นตอนต้น  (Early  Adolescence)  จะเป็นช่วงเวลาพอสมควร  โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านร่างกาย  จิตใจและความนึกคิด  การเจริญเติบโตในระยะวัยรุ่นนี้  ปรากฏว่ามีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป  ในด้านร่างกายนั้นมีการเปลี่ยนแปลงมากมายและสิ้นสุดลงเมื่อได้ถึง วุฒิภาวะของวัยรุ่น  ส่วนในด้านจิตใจนั้นส่วนใหญ่เป็นผลพลอยได้มาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  แม้ว่าลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจะเป็นสิ่งผิดปกติของเด็กทุกคนเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นก็ตาม  แต่ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของเด็กแต่ละคนมักไม่เหมือนกัน  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและด้วยเหตุนี้ทำให้เราเข้าใจว่าเหตุใดบางคน  ถึงแม้ว่าจะมีอายุอยู่ในเกณฑ์วัยรุ่นก็ตาม  ก็ยังไม่มีลักษณะพายุแคม  ของวัยรุ่นหรือลักษณะอื่น ๆ ที่ควรเกิดขึ้นกับวัยรุ่นปรากฏให้เห็นเลย                3.  วัยรุ่นตอนกลาง  (Middle  Adolescence)  เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง  เช่น  สภาพแวดล้อมใหม่และมีผลต่อการพัฒนาการทางสังคมของเด็ก  โดยทั่วไปเด็กส่วนใหญ่จะคบเพื่อนที่มีรสนิยมคล้ายคลึงกันหรือคนที่ถูกใจกัน  เด็กเริ่มรู้จักปรับปรุงบุคลิกภาพเลียนแบบผู้ที่ตนยกย่อง  ชอบทำสิ่งแปลง ๆ ใหม่ ๆ เด็กที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง  จะเป็นเด็กไวต่อความรู้สึก  มีความกระวนกระวายใจต่อคำพูดที่กล่าวออกไป  ซึ่งครูหรือผู้ปกครองควรร่วมมือกันช่วยเหลือแนะนำอย่างใกล้ชิด                4.  วัยรุ่นตอนปลาย  (Late  Adolescence)  การพัฒนาการของวัยรุ่นเริ่มเข้าสู่วุฒิภาวะอย่างสมบูรณ์แบบในช่วงระยะวัยรุ่นตอนปลาย  โดยในระยะนี้มักมีการพัฒนาทางด้านจิตใจมากกว่าร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดและปรัชญาชีวิตลักษณะโดยทั่วไปของวัยแรกรุ่น                ลักษณะของวัยแรกรุ่น  จะเป็นช่วงชีวิตที่มีลักษณะสำคัญคือ

                1.  เป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างเด็กกับวัยรุ่น  เด็กวัยนี้จะมีลักษณะทางร่างกายที่ไม่เหมือนแบบเด็ก ๆ อีกต่อไป  เนื่องจากลักษณะทางร่างกายและพฤติกรรมได้เปลี่ยนแปลงไปจากวัยเด็กตอนปลาย  เด็กวัยนี้จะมีพฤติกรรมแปลก ๆ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมา  ซึ่งกล่าวได้ว่าเด็กได้มีการเปลี่ยนแปลงที่จะเข้าสู่วุฒิภาวะทางเพศที่สมบูรณ์  และหลังจากนั้นแล้วเด็กจะก้าวไปสู่ขั้นวัยรุ่นตอนต้น 

2.  เป็นช่วงระยะเวลาสั้น  วัยแรกรุ่นจะเปลี่ยนแปลงไปจากวัยเด็กไปสู่การมีวุฒิภาวะทางเพศช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้  เรียกว่า  พิวเบอร์ตี้  (Puberty)  มีระยะเวลาประมาณ 2-4 ปี1.       เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  การเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปแล้วเด็กหญิงจะมีวุฒิภาวะทางเพศเมื่ออายุประมาณ  13  ปี  สิ่งที่แสดงชัดเจนถึงการมีวุฒิภาวะทางเพศแล้วคือ  การมีประจำเดือนครั้งแรก  (The  First  Menstruation  or  the  Menarche)  ระยะอายุ  11-14  ปี  และหลังจาการมีประจำเดือนครั้งแรกแล้วร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง  ความรู้สึกและการเปลี่ยนแปลงต่อบทบาทของตนในฐานะเป็นพี่เพราะวัยนี้  เด็กได้รับการเรียกจากเด็กที่มีอายุน้อยกว่าว่าพี่ผลของการเปลี่ยนแปลงที่เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  คือ  เกิดความสับสน  ขาดความมั่นคง  ต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ2.       เป็นช่วงระยะเวลาของการปฏิเสธและการต่อต้าน  เป็นที่ยอมรับกันว่า  เมื่อเด็กก้าวเข้าสู่วัยแรกรุ่นแล้ว  มักจะเป็นช่วงระยะเวลาการต่อต้านสิ่งต่าง ๆ ชื่อ  บิชเลอร์  (Charlotte  Biihler. 1927)  ได้เน้นว่า  วัยแรกรุ่นมักจะชอบต่อต้านสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเพื่อให้ตัวของตนมีชีวิตที่ดีที่สุด  การต่อต้านในวัยนี้มีการแสดงออกต่อพฤติกรรมที่มีการแสดงออกมากกวาปกติ3.       เป็นช่วงที่มีอายุได้แตกต่างกัน  วัยนี้จะเป็นช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกันบางคนจะเข้าสู่วัยแรกรุ่นเมื่อ  18-19  ปี  แต่โดยทั่วไปแล้วเด็กหญิงมีวุฒิภาวะทางเพศที่สมบูรณ์เมื่ออายุประมาณ  13  ปี ส่วนเด็กชายอายุประมาณ  14  ปี  ฉะนั้นจึงเป็นปัญหาเฉพาะรายเด็กแต่ละคนเด็กวัยนี้ มักพยายามปรับปรุงร่างกายของตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมมากขึ้น  โดยพยายามหัดตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง  ก่อให้เกิดความมั่นคงด้วยตนเอง  แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นกับสภาพครอบครัวด้วย  คือ  ในบุคคลที่อยู่ในครอบครัวใหญ่ ๆ มีฐานะมั่นคง  และพ่อแม่ไม่เข้มงวดจนเกินไปก็จะมีความมั่นใจและมั่นคงมากกว่าคนที่อยู่ในครอบครัวเล็ก ๆ และได้รับความเข้มงวดจากพ่อแม่        เมื่อประสบปัญหาในระยะนี้  วัยแรกรุ่นมักหลีกเลี่ยงการขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่  ครูอาจารย์  แต่มักพยายามแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง  ซึ่งผลที่ได้รับมักก่อให้เกิดการปรับตัวที่ดีขึ้น  และอยู่ด้วยกับคนอื่นได้อย่างสบายใจ  แต่ในทางตรงกันข้าม  ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้มักก่อให้เกิดอารมณ์ไม่ดี  ใจคออ่อนไหวง่าย  แต่จะพยายามดับอารมณ์ด้วยความสุขุมเยือกเย็นมากยิ่งขึ้น        โดยปกติในวัยรุ่นตอนปลายมักมีความกระตือรือร้นที่จะสร้างสิ่งประทับใจต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าตนมิได้เป็นเด็กวัยรุ่นอีกต่อไปแล้ว  ในระยะนี้จะเริ่มมีการแต่งตัว  และการแสดงออกของความเป็นผู้ใหญ่  เช่น  ในเด็กหญิงจะเริ่มใช้ลิปสติก  และสวมรองเท้าส้นสูง  ส่วนในเด็กชายมักใฝ่ฝันที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์สักคันหนึ่ง  ทั้งนี้เพื่อต้องการความประทับใจว่า  ขณะนี้เขาโตเต็มที่แล้ว  และย่อมที่จะมีสิทธิ์เสรีภาพต่าง ๆ  เช่นเดียวกับผู้ใหญ่  วัยรุ่นระยะนี้มักลอกเลียนแบบผู้ใหญ่  เช่น  สูบบุรี่  หัดดื่มเหล้า  เป็นต้น ลักษณะโดยทั่วไปของวัยรุ่น 1.       เป็นวัยแห่งการเสริมสร้าง (Period  of  Reconstruction)  ในวัยนี้ความเจริญเติบโตทางร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  และจะค่อย ๆ ช้าลงในตอนปลาย2.       เป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง  (Period  of  Transformation)  ในวัยนี้เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับชีวิตวัยรุ่นมากมาย ทั้งในร่างกายและจิตใจ  และความรู้สึกนึกคิด3.       เป็นวัยที่มีความคิดอยากเป็นอิสระ (Period  of  Independence)  โดยเริ่มคิดพึ่งพาตนเองอยากเรียนรู้ความผิดพลาดด้วยตนเองมากกว่าที่จะเรียนรู้จากคำสั่งสอนของคนอื่น  ชอบโต้เถียงถ้าได้รับการขัดขวางอย่างรุ่นแรง  มักมีความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ  และหาทางออกในทางผิด ๆ เช่น  หนีออกจากบ้าน4.       เป็นวัยที่ต้องเผชิญปัญหา  (Period  of  Problems)  โดยในวัยนี้เป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตซึ่งเรียกว่าวัยวิกฤติ  ปัญหาต่างๆ ๆ ในการปรับตัวมักเกิดขึ้นเสมอ  มีการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว  วู่วาม  แสดงออกทางอารมณ์อย่างรุ่นแรงและรวดเร็ว  อาจเรียกอีกดย่างหนึ่งว่า  เป็นวัยพายุบุแคม  และความเครียด (Storm  and  Stress) พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของวัยรุ่น  (Adolescence Development)                พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กวัยรุ่น  เป็นเรื่องสำคัญแก่การศึกษา  เพราะจะทำให้ครู  อาจารย์  ผู้ปกครอง  และผู้ที่รับผิดชอบเด็กสามารถเข้าใจพฤติกรรมเด็กได้ดียิ่งขึ้น  ซึ่งพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กวัยนี้  มีความสำคัญและอิทธิพลต่อกันและกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยนี้เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างกะทันหันรวดเร็วไม่แน่นอน  ยากที่จะทำความเข้าใจ  และมีความละเอียดซับซ้อน  จึงควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ  เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการของวัยรุ่น  พัฒนาการที่สำคัญ ๆ ของวัยรุ่น  มีดังนี้1.       พัฒนาการทางด้านร่างกาย2.       พัฒนาการทางด้านอารมณ์3.       พัฒนาการทางด้านสังคม4.       พัฒนาการทางด้านสติปัญญา พัฒนาการทางด้านร่างกาย                พัฒนาการทางกาย  เป็นไปทางด้านการเจริญเติบโตงอกงามเพื่อทำหน้าที่อย่างเหมาะสมทั้งการเจริญเติบโตทางภายนอกได้แก่  ส่วนสูง  น้ำหนัก  รูปหน้า  สัดส่วน  ลักษณะเส้นผม  ฯลฯ  และการเจริญเติบโตภายใน  เช่น  การทำงานของต่อมบางชนิด  โครงกระดูกแข็งแรงขึ้น  การผลิตเซลล์สืบพันธุ์ในเด็กชาย  การมีประจำเดือนของเด็กหญิง  พบว่าช่วงวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว  ความสูงของเด็กในต้นปี  และปลายปีมีความแตกต่างกันมาก  การสะสมไขมันมีมากขึ้นโดยเฉพาะเด็กหญิง  รูปร่างจะอ้วนขึ้นกว่าเดิม  ในบางโอกาสจึงเรียกระยะนี้ว่า  ช่วงไขมัน  (Fat  Period)  ระบบการย่อยอาหารพัฒนาขึ้น  ทำให้สามารถไปใช้ประโยชน์ได้อย่างดีรวดเร็ว  และมากกว่าเดิมเนื่องจากร่างกายเจริญเติบโต  ทำให้เด็กวัยนี้หิวบ่อย  รับประทานอาหารได้มากและไม่เลือกอาหารรวมทั้งมักง่วงง่าย  จึงเป็นระยะที่เรียกว่า  กำลังกินกำลังนอน  กล้ามเนื้อขงเด็กชายเจริญมากขึ้น  อวัยวะเพศเริ่มทำงาน  เสียงของเด็กชายจะแตกห้าวขึ้นระยะต้น ๆ ของช่วงวัยนี้ร่างกายของเด็กยังไม่ได้สัดส่วน  เด็กรู้สึกอึดอัด  เก้งก้าง  รู้สึกอ่อนไหวง่ายเกี่ยวกับสัดส่วนและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย  การทำงานของกล้ามเนื้อกับประสาทสัมผัสต่าง


วัยพายุบุแคม คือบุคคลที่มีอายุเท่าไร

โดยพยายามทำ อะไรให้คล้ายๆ กัน เลียนแบบตามกัน จึงมีวัยรุ่นเป็นจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาและ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ได้ตกเป็นทาสของยาเสพติดจากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า วัยรุ่น 2 Page 3 เป็นวัยที่เริ่มตั้งแต่อายุ 12-20 ปี มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จาก การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วหรือที่เรียกว่า ...

พายุบุแคมหมายถึงอะไร

น. พายุที่กระหน่ำตีเข้ามาอย่างเร็วและแรง, โดยปริยายใช้เปรียบกับการกระทำที่เร็วและแรง เช่น เขาเป็นคนใจร้อน ขับรถอย่างกับพายุบุแคม

วัยพายุพุแคบในความคิดของนักเรียนต้องมีลักษณะอย่างไร

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์อย่างรวดเร็ว จึงมักถูกเรียกว่า “เป็นวัยอลวน” หรือ “วัยพายุบุแคม” โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ 1. มีความเชื่อ ค่านิยม เจตคติเป็นของตนเอง 2. อยากได้สิ่งใดหรือทำอะไร มักต้องได้หรือกระทำทันที 3. มีความมั่นใจในตนเอง

วัยรุ่น (Adolescence) มีช่วงอายุเท่าใด

วัยรุ่น จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กย่างอายุประมาณ 12-13 ปี เพศหญิงจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าเพศชายประมาณ 2 ปี และจะเกิดการพัฒนาไปจนถึงอายุประมาณ 18 ปี จึงจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในพัฒนาการด้านต่างๆ ดังนี้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก