อาณาจักรสุโขทัยล่มสลายเพราะเหตุใด

) เป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลาย จนกระทั่งสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นรัฐอิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อยๆตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุดจากข้อมูลทำอย่างไรเพื่อจะได้รู้ว่าเพราะเหตุใดถึงอาณาจักรอยุธยาถึงล่มสลายได้


วัตถุประสงค์


พ.ศ. 2127 หลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวง (เมืองพระพิษณุโลกสองแคว เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิจิตร และเมืองพระบาง [2]) ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขทัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ


ในด้านวิชาการ มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บนรอยเลื่อนวังเจ้า ในราวพุทธศักราช 2127 แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้แต่แม่น้ำแควน้อย ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ (ปัจจุบันคือแม่น้ำน่าน) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทน ทั้งหมด


การที่ศึกษาดังกล่าวเพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้มาไปเผยแพร่ให้แก่ผู้อื่น



อาณาจักรสุโขทัยล่มสลายเพราะเหตุใด

ขอบเขตศึกษาเกี่ยวกับการล่มสลายของอาณาจักรอยุธยา

ระยะเวลา


วันที่ 1 เดือน ธันวาคม พ.. 2555 ถึง ภาคเรียนที่ 2/2555


ชื่อ นาย พีรพงษ์ สายดวงแก้ว


อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A2


อาณาจักรสุโขทัยล่มสลายเพราะเหตุใด




อาณาจักรสุโขทัย

พ.ศ. 1792 - 1981

เมื่ออาณาจักรขอมเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในพุทธศตวรรษที่  17  นั้น   อิทธิพลของขอมแผ่ขยายครอบคลุมดินแดนสุวรรณภูมิ  อารยธรรมหรือวัฒนธรรมของขอมจึงแทรกซึมไปในหมู่ประชากรของบริเวณนี้อย่างทั่วถึงและผสมตลุกเคล้าเป็นวัฒนธรรมสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน        ครั้นอาณาจักรขอมเสื่อมลงในตอนปลายพุทธศตวรรษที่  18  กลุ่มคนไทยหรืออาณาจักรต่างๆ ของคนไทยที่เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอมจึงต่างพยายามตั้งตนเป็นอิสระ


การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

ก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย  เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย  มีเจ้าเมืองปกครองมีพระนามว่า  พ่อขุนศรีนาวนำถม     เมื่อสิ้นรัชกาลได้มีบุคคลปรากฏตามศิลาจารึกว่า  ขอมสบาดโขลญลำพง    เข้ามามีอำนาจปกครองเมืองทั้งสอง   พ่อขุนบางกลางหาว   เจ้าเมืองบางยาง  กับพระสหายคือ  พ่อขุนผาเมือง  เจ้าเมืองราด   ซึ่งเป็นโอรสพ่อขุนศรีนาวนำถม  ได้ชักชวนคนไทยผู้รักชาติบ้านเมืองทั้งหลายให้รวมตัวผนึกกำลังชิงเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยจากขอมสบาดโขลญลำพง   ประกาศสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชอาณาจักรอิสระ  ประกอบพระราชพิธีอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ปกครองสุโขทัย  ทรงพระนามว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์”  ใน  พ.ศ. 1792

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้ทรงปกครองอาณาจักรสุโขทัย  เป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์พระร่วงโดยมีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนผาเมือง  เจ้าเมืองราด  ด้วยความเป็นพระสหายของพ่อขุนทั้งสองและเครือญาติสนิทางการสมรส  คือ  พระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั้นมีเชื้อพระวงศ์เป็นพระขนิษฐาของพ่อขุนผาเมือง  มีพระนามว่า  นางเสือง   ซึ่งต่อมาได้มีโอรสเสวยราชสมบัติปกครองอาณาจักรสุโขทัยให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาถึง  2  พระองค์  คือ   พ่อขุนบานเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมหาราช


ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย  มี  2  ด้าน  คือ

1. ปัจจัยภายใน    ได้แก่

 มีผู้นำที่เข้มแข็ง       ในสมัยนั้นผู้นำคนไทยที่กล้าหาญมีสติปัญญาเฉียบแหลมและรอบคอบ  2  คน  ซึ่งเป็นสหายกัน  ได้แก่  พ่อขุนผาเมือง  เจ้าเมืองราด  และพ่อขุ

บางกลางหาว  เจ้าเมืองบางยาง  ได้ร่วมกันรวบรวมคนไทย  และกำลังเข้าต่อสู้กับขอมจนสามารถขับไล่ขอมไปได้

 มีขวัญและกำลังใจดี    การที่คนไทยมีผู้นำที่เข้มแข็งมีความสามารถ  ทำให้มีขวัญและกำลังใจดี  มีความเชื่อมั่นว่าจะต่อสู้เอาชนะขอมได้  ต่างก็มีความปรารถนาที่

จะขับไล่ขอมออกไป  เพื่อจะได้มีความเป็นอิสระและมีเอกราชสมบูรณ์  จึงได้ผนึกกำลังกันต่อสู้และเอาชนะขอมได้สำเร็จ

 รับความเป็นอิสระ    คนไทยมีนิสัยรักอิสระไม่ชอบให้ผู้ใดกดาขี่ข่มเหงบังคับ  ดังนั้นเมื่อพ่อขุนบางกลางหาว  และพ่อขุนผาเมืองได้ร่วมมือกันขับไล่ขอมเพื่อให้

คนไทยได้รับอิสรภาพ  จึงได้รับความร่วมมือร่วมใจจากชาวไทยทุกคนด้วยดี  จนสามารถาขับไล่ขอมและปลดปล่อยกรุงสุโขทัยเป็นอิสระได้ในที่สุด

 บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์   เมืองสุโขทัยเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตรมีการเพาะปลุก  การเลี้ยงสัตว์  และการจับสัตว์น้ำ  ทำให้ผู้คนเข้ามาอาศัย

ตั้งบ้านเรือนกันเป็นชุมชนที่ค่อนข้างหนาแน่น  เมืองสุโขทัยจึงพร้อมด้วยเสบียงอาหาร  และกำลังคน


2. ปัจจัยภายนอก

 ขอมมักจะรุกรานและแผ่อำนาจเข้าไปในอาณาจักรอื่นๆ  ต้องทำสงครามรบพุ่งเป็นระยะเวลายาวนาน  โดยเฉพาะกับอาณาจักรจามปา   กษัตริย์ขอมต้องทำสงคราม

ยึดเยื้อหลายรัชกาล  ต้องเสียกำลังคน  เสบียงอาหาร  ทรัพยากรและขาดการทำนุบำรุงบ้านเมือง  ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจประชาชนท้อแท้เบื่อหน่าย

 การที่ขอมขยายอาณาเขตออกไปไกล  ทำให้ไม่สามารถออกไปไกล  ทำให้ไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้อย่างถาวร  แม้จะแก้ปัญหา  โดยตั้งเมืองใหญ่ให้เป็นศูนย์

อำนาจ  เช่น  ลพบุรี  สุโขทัย  แต่การปกครองก็มิได้มีประสิทธิภาพในที่สุดก็ไม่สามารถรักษาอำนาจของคนในดินแดนชาติอื่นที่ตนยึดครองไว้ได้

 การสร้างปราสาทหรือเทวสถานไว้ประดิษฐานศิวลึงค์   เพื่อการบูชาและการสร้างสาธารณูปโภคของกษัตริย์แต่ละพระองค์  ก็เป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้ขอมเสื่อม

อำนาจ  เพราะต้องใช้แรงงาน  ใช้ทรัพยากรและเสบียงอาหารจำนวนมากมาย  ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจทำให้ต้องเก็บภาษีจากประชาชนมากขึ้น  ประชาชนจึงไม่ร่วมมือกับทางราชการ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้  อาณาจักรขอมจึงเสื่อมลง  เปิดโอกาสให้คนไทยได้ร่วมกันกำจัดอำนาจอิทธิพลของขอมได้สำเร็จ









พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย

ราชวงศ์พระร่วงปกครองอาณาจักรสุโขทัย  โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรก  และมีพระมหากษัตริย์สืบต่อมารวม  9  พระองค์  ตลอดเวลาเกือบ  200  ปี  ดังนี้


รัชกาลที่

พระนาม

ปีที่ขึ้นครองราชย์  (พ.ศ.)

ปีที่สวรรคต  (พ.ศ.)

1

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

1792

ไม่ปรากฏ

2

พ่อขุนบานเมือง

ไม่ปรากฏ

1822

3

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

1822

1841

4

พระยาเลอไทย

1841

ไม่ปรากฏ

5

พระยางั่วนำถม

ไม่ปรากฏ

1890

6

พระมหาธรรมราชาที่ 1  (ลิไทย)

1890

1911

7

พระมหาธรรมราชาที่ 2

1911

1942

8

พระมหาธรรมราชาที่ 3  (ไสยลือไทย)

1942

1962

9

พระมหาธรรมราชาที่ 4  (บรมปาล)

1962

1981




รัชกาลที่ 1   พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

ตำนานพระพุทธสิหิงค์  กล่าวว่า  เป็นชาวเมืองนครชุม  (กำแพงเพชร)   ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์นั้น  ศิลาจารึกระบุว่ามาจากเมืองบางยาง  และเป็นพระสหายกับ

พ่อขุนผาเมือง    พระราชกรณียกิจที่สำคัญ  ได้แก่

การขยายอาณาเขต     ในระยะเริ่มต้นอาณาจักรในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั้น  มีอาณาเขตไม่กว้างขวางนัก  มีเมืองสุโขทัยกับเมืองศรีสัชนาลัย (เมืองสวรรคโลกเก่า)  เป็นราชธานีทั้งสองเมือง นอกจากนี้ก็มีหัวเมืองขึ้นทางริมลำน้ำปิง  ยม  น่าน  เพียงไม่กี่เมือง

เมื่ออาณาจักรสุโขทัยได้รับการสถาปนาขึ้นมาเป็นอิสระจากขอมได้นั้น  เจ้าเมืองต่างๆ  ในดินแดนใกล้เคียงกับสุโขทัยยอมรับในความสามารถของผู้นำสุโขทัย  จึงอ่อนน้อมโดยสันติรวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัย  แต่เจ้าเมืองบางเมืองคิดว่าตนมีอนาจเข้มแข็งพอ  จึ่งมิได้อ่อนน้อมต่อกรุงสุโขทัย  และก่อสงครามขึ้นเพื่อแข่งขันการมีอำนาจ  ในบรรดาเจ้าเมืองประเภทหลังนี้  ปรากฏว่าขุนสามชน  เจ้าเมืองฉอด (เมืองฉอดปัจจุบันเป็นเมืองร้าง  อยู่ที่ด่านแม่สอดทางทิศตะวันตกของจังหวัดตาก)  ได้ยกทัพมาตีเมืองตากอันเป็นเมืองในอาณาเขตของสุโขทัย  พ่อาขุนศรีอินทราทิตย์จึงยกทัพไปปราบ  เกิดสงครามครั้งสำคัญขึ้น  ในการรบครั้งนี้พระราชโอรสองค์เล็ก  ซึ่งมีชันษา  19  ปี  ได้เข้าชนช้างกับขุนสามชนจนได้รับชัยชนะ  ทำให้กองทัพเมืองฉอดแตกพ่ายไป  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงประทานนามพระราชโอรสว่า  พระรามคำแหง  เพื่อเป็นการบำเหน็จ  ศึกครั้งนี้ทำให้เกียรติยศชื่อเสียงของพระโอรสแผ่ไปทั่ว

นับแต่นั้นมาพระรามคำแหงได้เป็นกำลังสำคัญของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ในการทำศึกสงคราม  สร้างกำลังรบให้สุโขทัยเข้มแข็งพอที่จะป้องกันตนและปราบศัตรูได้ราบคาบ  เป็นผลดีแก่อาณาจักร  คือ มีความมั่นคง  และมีอำนาจทางการเมืองเหนืออาณาจักรอื่นๆ  และเป็นรากฐานให้ชาติบ้านมีความเจริญก้าวหน้าสืบต่อมา

การปกครอง    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จัดระเบียบการปกครองยึดนโยบายการป้องกันประเทศเป็นสำคัญ  แต่คำนึงถึงสิทธิหน้าที่ของประชาชนพลเมือง  โดยปกครองประชาชนในฐานะบิดากับบุตร  ทั้งบิดาและบุตรมีหน้าที่เป็นทหารป้องกันประเทศในยามสงคราม  แต่ยามสงบพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำในการบริหารราชการแผ่นดิน  ด้วยการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร  ราษฎรมีหน้าที่รับใช้ชาติบ้านเมืองของตน  โดยการประกอบอาชีพให้มีรายได้และเสียภาษีอากรให้แก่รัฐ

รัชกาลที่ 2  พ่อขุนบานเมือง

พระราชโอรสองค์ใหญ่สของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์   ขึ้นครองราชย์ปีใดไม่ปรากฏ  ระหว่างครองราชย์ได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ไว้ในอำนาจ  โดยมีพระอนุชาคือ  พระรามคำแหง  เป็นกำลังสำคัญ

รัชกาลที่ 3  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์   พระอนุชาของพ่อขุนบานเมือง  ขึ้นครองราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822   ในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง   กรุงสุโขทัยมีการเปลี่ยนแปลงและเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าไปจากเดิมมาก  เป็นต้นว่ามีการปกครองเข้มแข็ง  ใกล้ชิดราษฎรไพร่ฟ้าประชาชนมีความอยู่ดีกินดี  มีการนำชลประทานมาใช้ทางการเกษตร  ทำให้ได้ผลดีขึ้น  การอุตสาหกรรมมีความก้าวหน้า  มีการติดต่อค้าขายกับต่างปรเทศ  การเศรษฐกิจ  และการเมืองมั่งคง  ทำให้มีอำนาจทางการเมืองแผ่ไปกว้างใหญ่ไพศาล  จนได้รับการเทิดพระเกียรติด้วยพระนามว่า  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช   ในภายหลังพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่ควรนำมากล่าวมีดังนี้

1. ทรงเป็นนักรบ      พระองค์ทรงชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์  ทรงเข้มแข็งในการศึกสงคราม  ทรงเป็นแม่ทัพไปปราบเมืองต่างๆ  ในรัชกาล

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนบานเมือง  จนเป็นที่เกรงขามของอาณาจักรอื่นๆ  เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์มีหลายเมืองที่ยอมอ่อนน้อมโดยพ่อขุนรามคำแหงมิได้ส่งกองทัพไปรบ  ได้แก่  เมืองหงสาวดี  เมืองสุพรรณภูมิ  (สุพรรณบุรี)    เมืองราชบุรี   เมืองเพชรบุรี   เมืองหลวงพระบาง   เมืองเวียงจันทร์  และเมืองนครศรีธรรมราช  เป็นต้น  ทำให้มีอาณาเขตแผ่ออกไปกว้างขวางมาก  คือ

ทิศเหนือ    มีอาณาเขตครอบคลุมาเมืองแพร่  น่าน  ปัว  ถึงเมืองหลวงพระบาง

ทิศใต้         มีอาณาเขตครอบคลุมเมืองคณฑี (กำแพงเพชร)    พระบาง (นครสวรรค์)    แพรก (ชัยนาท)   สุพรรณภูมิ   ราชบุรี   เพชรบุรี  จดฝั่งทะเลสุดเขตแหลมมลายู

ทิศตะวันออก      มีอาณาเขตครอบคลุมเมืองสระหลวง  สองแคว (พิษณุโลก)     ลุมบาจาย (หล่มเก่า)    สคา  และข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเมืองเวียงจันทร์และเวียงคำ

ทิศตะวันตก     มีอาณาเขตถึงเมืองฉอด   ทวาย   ตะนาวศรี   หงสาวดี   และชายฝั่งทะเล

2. ทรงอุปการะเกื้อกูลเมืองที่ขอพึ่งบารมี       เมืองใดที่มาขอพี่งพระบรมโบธิสมภารหรือยอมอ่อนน้อมโดยดี  ทรงช่วยเหลืออุปการะ  พระราชทานข้าวของเงินทองและไพร่

พล   ช้าง  ม้า  เมืองใดที่ยอมเป็นประเทศราช   ทรงใช้หลักธรรมในการปกครอง   เพื่อให้ประชาชนพลเมืองอยุ่เย็นเป็นสุข   บางเมืองที่เป็นของคนไทยและมิได้เป็นภัย  ก้มิได้รุกราน  เช่น    เมืองแพร่    เมืองน่าน   แม้แต่เมืองละโว้ก็ยังคงเป็นอิสระอยู่ได้

3. ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826      ทำให้ไทยมีตัวหนังสือประจำชาติ  มีความเจริญรุ่งเรืองทางวรรณกรรม   ก่อให้เกิดวรรณคดีล้ำค่าสืบมา

4. ทรงเป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภก      ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบต่อจากรัชกาลก่อน   โดยนิมนตร์พระภิกษุที่เคร่งครัดในทางพระวินัยและพระปรมัตถ์จากเมือง

นครศรีธรรมราชมาเป็นผู้สั่งสอน  เพื่อให้พระพุทธศาสนาเป็นแบบเดียวกัน  คือ  แบบเถรวาท   หรือ  หินยาน    พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทหรือหินยานได้เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

5. ทรงเป็นนักปกครองที่เข้าถึงประชาชน        ทรงเป็นผู้นำสร้างชาติให้มั่นคงเป็นแบบอย่างต่อมาคือ  การใกล้ชิดประชาชน  ผู้ใดเดือดร้อนต้องการร้องทุกข์ขอควา

ช่วยเหลือให้เข้าไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูวัง  จะเสด็จออกมารับเรื่องร้องทุกข์ด้วยพระองค์เอง  จึงทำให้บ้านเมืองสงบร่มเย็นเป็นสุข

6. ทรงมีนโยบายอุปถัมภ์หัวเมืองต่างๆ       ทรงให้ความอุปถัมภ์สนับสนุนหัวเมืองตามโอกาสเป็นต้นว่า  ยกพระราชธิดาให้เป็นมเหสีของ  มะกะโท  (พระเจ้าฟ้ารั่ว)  ผู้นำ

อาณาจักรมอญซี่งเข้ามาสวามิภักดิ์   นอกจากนี้ยังช่วยเหลือหัวเมืองในการสร้างบ้านสร้างเมือง  ด้วยความยุติธรรมเสนอภาคกัน  ทำให้ผู้ครองเมืองต่างๆ  สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ  ไม้กล้าล่วงละเมิดอำนาจพากันเป็นมิตรไมตรี  ไม่รุกรานอาณาจักรสุโขทัย โดยเฉพาะทรงเป็นมิตรสนิทกับพ่อขุนมังรายแห่งอาณาจักรล้านนา  ทำให้ปราศจากศึกศัตรูทางทิศเหนือ

รัชกาลที่ 4    พระยาเลอไทย

พระราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ครองราชย์ประมาณ  40  ปี   พระยาเลยไทยทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา  ทรงศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน  มุ่งปฎิบัติจนแตกฉาน  มุ่งปฏิบัติธรรม  บำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง  การศึกษาพระธรรมและภาษาบาลีได้เริ่มขึ้นและเจริญก้าวหน้าในรัชกาลนี้

รัชกาลที่ 5  พระยางั่วนำถม

พระอนุชาของพระยาเลอไทย  เมื่อราชาภิเษกแล้วได้ทรงแต่งพระยาลิไทย (พระราชโอรสของพระยาเลอไทย)   ไปปกครองเมืองศรีสัชนาลัย  อันเป็นเมืองที่ถือว่ารัชทายาทแห่งราชบัลลังกืจะพึงครองก่อนเป็นพระมหากษัตริย์  ในรัชกาลนี้ได้มีการปราบปรามเมืองต่างๆ  ที่แข็งเมืองมาตั้งแต่รัชกาลพระยาเลอไทยแต่ไม่สำเร็จ  ทั้งยังไม่สามารถแก้ไขความเสื่อมโทรม  และความแตกแยกภายในได้  ตอนปลายรัชกาลจึงเกิดจลาจลขึ้น  พระยาลิไทยองค์รัชทายาทจึงยกกำลังจากเมืองศรีสัชนาลัย  เข้าเมืองสุโขทัยเพื่อปราบจลาจล

รัชกาลที่ 6   พระมหาธรรมราชาที่ 1   (ลิไทย)

พระราชโอรสของพระยาเลอไทย  (รัชกาลที่ 4)   หลังจากปราบการจลาจลในกรุงสุโขทัยได้สำเร็จ  และขึ้นครองราชยืแล้วทรงพิจารณาเห็นว่า  เกิดความแตกแยกและขาดความไว้วางใจกันในอาณาจักร  จึงทรงริเริ่มรวบรวมกำลังอำนาจ   สร้างความสามัคคีเพื่อพัฒนาบ้านเมืองใหม่  ทำให้สุโขทัยเข้มแข็งขึ้น  พระราชกรณียกิจที่สำคัญ  ได้แก่

1.การปกครอง      พระมหาธรรมราชาที่ 1  (ลิไทย)    ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประชาชนในฐานะธรรมราชาหรือพระราชาผู้ทรงธรรม   ทรงยึดมั่นใน

หลักธรรมของพระพุทธศาสนาในการปกครองบ้านเมืองคือ   ทรงปกครองด้วยหบักทศพิธราชธรรม   ซึ่งมิได้มุ่งเน้นที่พระมหากษัตริย์เท่านั้น  แต่หมายรวมถึงข้ารราชบริพาร  ที่ทำหน้าที่แทนพระองค์ในกิจการทั้งหลายอันเกี่ยวกับการปกครอง  มีการชักชวนสงเสริมให้ประชาชนเลื่อมใสศัทธาในหลักธรรมและนำไปปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ

2. การป้องกันอาณาจักร     ใน  พ.ศ.  1893    เมืองสุพรรณภูมิและเมืองละโว้ (ลพบุรี)    ได้รวมกันตั้งอาณาจักรอยุธยาขึ้น   มีพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์ประกาศเป็น

อาณาจักรอิสระไม่ขึ้นต่อสุโขทัย  และเมืองลาว  ก็ได้ขยายอาณาเขตเข้ามาจดแดนของอาณาจักรสุโขทัย   ทรงตระหนักในภัยที่อาจเกิดขั้นได้    จึงได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ  ผนึกกำลังรักษาบ้านเมืองไว้ได้อย่างปลอดภัย  นอกจากนี้พระองค์พยายามฟื้นฟูอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นที่ยอมรับของอาณาจักรใกล้เคียง  ด้วยการสร้างกำลังกองทัพทำศึกสงครามมยกทัพไปตีเมืองแพร่    และปราบหัวเมืองต่างๆ  อาณาเขตของสุโขทัยในสมัยของพระองค์ลดลงจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงมากกว่าครี่ง  มีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ      ถึงเมืองแพร่

ทิศใต้        ถึงเมืองพระบาง   โดยมีเมืองชากังลาว   เมืองปากยม   เมืองนครพระชุทม    เมืองสุพรรรณภาว    และเมืองพานร่วมาอยู่ด้วย

ทิศตะวันออก     ถึงแดนอาณาจักรล้านช้างโดยมีเมืองสระหลวง   เมืองสองแคว   เมืองราด   เมืองลุมบาจาย   และเมืองสคารวมอยู่ด้วย

ทิศตะวันตก    ถึงเมืองฉอด

3. เศรษฐกิจ        ด้วยเหตุที่อาณาจักรอยุธยาและเมืองลาว   มีกำลังอำนาจเข้มแข็ง   อาจขยายอำนาจและอาณาเขตเข้ามาในอาณาจักรสุโขทัย  จำเป็นต้องสะสมเสบียง

อาหาร  จึงทำนุบำรุงการประกอบอาชีพโดยเฉพาะทางการเกษตรกรรม   ได้มีการขยายพื้นที่การทำกินของราษฎรเพิ่มขึ้น   มีการตัดถนนจากเมืองสองแควไปถึงเมืองสุโขทัย   เพื่อใช้ในการคมนาคม   และใช้พื้นที่สองฟากถนนทำสวนผักผลไม้  ทำไร่  ทำนา  เป็นการเพิ่มผลผลิต เมื่อไม่เกิดสงครามจึงเป็นผลดีในทางเศรษฐกิจของอาณาจักร

4. ศาสนา      ทรงศรัทธาพระพุทธศาสนามาก   พระองค์ทรงผนวชอยู่หนึ่งพรรษา   โดยทรงอาราธนาพระมหาสามัสังฆราชชาวลังกา  ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่เมืองนครพัน

(ปัจจุบันคือ  เมทืองเมาะตะมะ  หรือมะตะบัน)   มาเป็นพระอุปัชฌาย์ในการผนวชของพระองค์  พระองค์ทรงบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง  มีการสร้างพระพุทธบาทโดยจำลองรอยพระพุทธบาทมาจากประเทศลังกา   สร้างสถูปเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่เมืองนครชุม   และสร้างศาสนสถานอื่นๆ เป็นการชักชวนให้ประชาชนจากเมืองต่างๆ   มานมัสการสถานศักดิ์สิทธิ์ที่พระองค์สร้างขึ้น  ช่วยให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธา  และง่ายแก่การเผยแผ่ปฏิบัติธรรมะ  ส่งผลให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ

5.วรรณคดี      ทรงนิพนธ์หนังสือ   เตภูมิกถา (เตภูมิกถา  หรือ  ไตรภูมิพระร่วง)   หนังสือเล่มนี้  จัดเป็นวรรณคดีล้ำค่าที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน  พระองค์ทารงนิพนธ์

เพื่อนนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาเผยแผ่เพื่อประพฤติปฏิบัติ  เป็นการปลูกฝังธรรมะให้ประชาชนรู้จักประพฤติในทางที่ชอบและดีงาม  มีการนำสวรรค์และนรกมาแสดงเป็นรูปธรรมเพื่อให้ประชาชนเห้นผลของการประพฤติดี  ประพฤติชั่ว  ปรากฏว่ามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนมาก

รัชกาลที่ 7   พระมหาธรรมราชาที่ 2

พระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 1  (ลิไทย)    เหตุการณ์สำคัญในรัชกาลนี้ คือ  กรุงสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา ใน พ.ศ. 1921    ขณะที่พระมหาธรรมราชาที่ 2   ขึ้นครองราชย์นั้น  พระบรมราชาธิราชที่ 1   (ขุนหลวงพะงั่ว)  แห่งอาณาจักรอยุธยา  มีพระราชประสงค์จะรวมชนชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นเป็นปึกแผ่นเป็นอาณาจักรเดียวกัน  จึงยกทัพรุกรานอาราจักรสุโขทัยหลายครั้ง ครั้งสำคัญ  คือ  ใน  พ.ศ.  1921  ได้ยกไปตีเมืองชากังราวพระมหาธรรมราชาที่ 2  ทรงเห็นว่า  จะสู้รบต่อไปไม่ได้จึงยอมอ่อนน้อมต่ออยุธยา  พระบรมราชาธิราชที่ 1  (ขุนหลวงพะงั่ว)   จึงโปรดให้ครองสุโขทัยต่อไปในฐานะเมืองประเทศราช  จนกระทั่งถึง พ.ศ. 1931   สุโขทัยจึงประกาศตนเป็นอิสระจากอยุธยา


รัชกาลที่ 8  พระมหาธรรมราชาที่ 3      (ไสยลือไทย)

พระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 2   ในรัชสมัยนี้พระองค์ได้ทำสัญญากับเจ้าเมืองน่าน  ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกั้นเมื่อถูกอาณาจักรอื่นรุกราน  สุโขทัยาจึงมีความสงบในระยะเวลาหนึ่ง

พระองค์ทรงมีพระราชโอรส 2   พระองค์  คือ  พระยาบาลเมือง  กับ  พระยาราม  แต่มิได้ทรงแต่งตั้งให้พระองค์ใดเป็นรัชทายาท  ดังนั้นเมื่อเสด็จสวรรคต  พระยาบาลเมือง  กับพระยาราม  จึงชิงราชสมบัติกันเป็นโอกาสให้สมเด็จพระอินทราชา  แห่งอาณาจักรอยุธยา  เสด็จมาระงับการจลาจล  และไกล่เกลี่ยการแย่งชิงราชสมบัติครั้งนี้  ทารงอภิเษกให้พระยาบาลเมืองสงบเรียบร้อย  พระอินทรราชาทรางขอพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3  อภิเษกสมรสกับเจ้าสามพระยาพระราชโอรสของพระองค์  นับเป็นครั้งแรกที่ราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยกับราชวงศ์สุพรรณภูมิแห่งกรุงศรีอยุธยามีความเกี่ยงดองเป็นเครือญาติกัน

รัชกาลที่ 9  พระมหาธรรมราชาที่ 4  (บรมปาล)

พระยาบาลเมืองได้รับการอภิเษกให้ครองกรุงสุโขทัย  (ในฐานะปรแทศราชของอยุธยา)   ทารงพระนามว่า  พระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชา   นับว่าพระองค์ได้ทรงเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4  ต่อจากพระราชบิดา (พระมหาธรรมราชาที่ 3)

เมื่อพระองค์สวรรคตใน  พ.ศ. 1981   สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่  2   (เจ้าสามพระยา)   แห่งกรุงศรีอยุธยา  ได้ทรงส่งพระราเมศวร  (พระราชโอรสซึ่งประสูติจากพระอัครชายาที่เป็นพระธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3)    ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก  ซี่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย   ทำให้อาณาจักรสุโขทัยรวมกับอาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรเดียวกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  และนับเป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัย






การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย

การปกครองสมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบราชาธิปไตย  ที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเด็ดขาด  ในตอนต้นของการตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตร  แต่ตอนปลายสมัยเป็นการปกครองแบบธรรมราชา  และมีการสร้างความสัมพันธ์กับอาณาจักรอื่น  เพื่อพัฒนาอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นเจริญรุ่งเรือง

อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง  จำนวนพลเมืองยังไม่มาก  และอยู่ในระหว่างก่อร่างสร้างตัว  การปกครองในระยะเริ่มแรกจึงมีลักษณะเป็นระบบครอบครัว  ผู้นำของอาณาจักรมีฐานะเป็นพ่อขุน  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน  ผู้ปกครองเปรียบเสมือนบิดาของประชาชนทั้งปวง  ต่อมาภายหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป  จึงเริ่มใช้วิธีการปกครองที่เป็นแบบแผนมากขึ้น  ความสัมพันธ์ของผู้นำอาณาจักรกับประชาชนแตกกต่างไปจากเดิม  มีความพยายามเพิ่มพูนพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ให้สูงขึ้น  ทรงมีฐานะเป็น ธรรมราชา  และทรงให้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธา  มาเป็นหลฃักในการปกครอง

ลักษณะการปกครอง

ลักษณะการาปกครองสมัยสุโขทัยแบ่งได้  2  ระยะ  คือ  การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น  เริ่มจากรัชสมัยพ่อขุนศรึอินทราทิตย์ไปถึงสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  กับการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย  นับจากรัชสมัยพระยาเลอไท  ไปจนกระทั่งอาณาจักรสุโขทัยหมดอำนาจลง

การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น  พ.ศ. 1792 – 1841

เมื่อขอมมีอำนาจปกครองสุโขทัยอยู่นั้น  การปกครองมีลักษณะคล้ายนายปกครองบ่าว  ซึ่งขัดกับลักษณะนิสัยของคนไทยที่รักความเป็นอิสรเสรี  เมื่อขับไล่ขอมไปได้  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดระบลบการปกครองเสียใหม่  เป็นการปกครองเสมือนหนึ่งประชาชนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน  โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว  คือ  พระมหากษัตริย์ปกครองประชาชนในลักษณะบิดาปกครองบุตร  หรือที่มีผู้เรียกว่า  เป็นการปกครองในระบบ  ปิตุราชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้

1. รูปแบบการปกครองเป็นการปกครองแบบราชาธิปไตย  คือ  พระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด  ทรงเป็น

ผู้ใช้อำนาจอธิปไตย

2. พระมหากษัตริย์ทรงมีความสัมพันธ์กับราษฎรเสมือนบิดากับบุตร  มิได้มีฐานะแตกต่างจากราษฎรมากนัก  กล่าวคือ

พระมหากษัตริย์เปรียบได้กับหัวหน้าครอบครัวหรือพ่อ  พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยตอนต้น  มักใช้พระนามว่า  พ่อขุน  เช่น  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์   พ่อขุนผาเมือง  พ่อขุนรามคำแหง  เป็นต้น  อันสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนว่ามีความใกล้ชิดกัน

3. ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ  นอกจากพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเสมือนบิดาของราษฎรแล้ว

ยังมีการจัดระบบการปกครอง  ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้าน  อยู่ในความดูแลของ  พ่อบ้าน  ผู้อยู่ในปกครองเรียกว่า  ลูกบ้าน  หลายบ้านรวามเป็น  เมือง  มีผู้ปกครองเรียกว่า  พ่อเมือง   เมืองหลายเมืองรวมกันเป็น  ประเทศ  อยู่ในปกครองของ พ่อขุน  แสดงให้เห็นว่านอกจากพ่อขุนผู้เป็นประมุขสูงสุดแล้ว  ยังมีผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายจากพ่อขุน  ทำหน้าที่เป็นกลไกทางการปกครองอีกด้วย

4.พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง  และทรงชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก  ดังจะเห็นได้จากข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง  ซึ่งกล่าวไว้

ดังนี้  “..........พ่อขุนรามคำแหง  เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัยนี้  ปลูกไม้ตาลนี้ไว้สิบสี่ข้าว  จึ่งให้ชางฟันขดานหินตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้  วันเดือนดับเดือนโอกแปดวัน  วันเดือนเต็มเดือนบ้างแปดวัน  ฝูงปู่ครู  เถร  มหาเถร  ขึ้นนั่งเหนือขดานหินสูดธรมแก่อุบาสกฝูงท่วยจำศีล......

การที่พ่อขุนรามคำแหงทรงให้พระเถระทังหลายนำหลักธรรมทางพระพุทะศาสนามาเผยแผ่  สั่งสอนราษฎรให้เป็นผู้ประพฤติดีประพฤติชอบตามหลักธรรม  ก็เพื่อจะให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาพุทธ  โดยพระองค์ทรงนำทางเป็นตัวอย่าง  คือ  ทรงให้พระเถระเทศนาสั่งสอนที่กลางดงตาลในวันสิ้นเดือน  (วันเดือนดับ)   วันขึ้นแปดค่ำ  (เดือนโอกแปดวัน)   วันเพ็ญ (วันเดือนเต็ม)   และวันแรมแปดค่ำ (เดือนบ้างแปดวัน)   เป็นประจำ  เป็นการนำธรรมะมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจทำให้เกิดความสามัคคีเป็นประโยชน์ต่อการปกครอง  ดังศิลาจารึกที่กล่าวไว้ดังนี้    “.......คนในเมืองสุโขทัยนี้  มักทาน  มักทรงศลี  มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้  ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง  ลูกเจ้าลูกขุน  ทั้งสิ้นทั้งหลาย  ทั้งผู้ชายผู้หญิง  ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา  ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน.........

การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย   พ.ศ. 1841 – 1981

หลังจากพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จสวรรคต  ใน พ.ศ. 1841  แล้ว  อาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสาย  พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาคือ  พระยาเลอไท  และพระเจ้างั่วนำถม  ไม่อาจรักษาความมั่นคงของอาณาจักรไว้ได้  เมืองหลายเมืองแยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงสุดขทัย  สภาพการเมืองภายในเกิดปํญหาการสืบราชสมบัติ  รูปแบบการปกครองแบบบิดากับบุตร  หรือแบบปิตุราชาธิปไตย  เริ่มเสื่อมคลายลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงเพียงพอ

ความระส่ำระสายในอาณาจักรสุโขทัย  มีขึ้นตลอดระยะเวลาประมาณ  50  ปี  หลังจากพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคต  ถึงขนาดทำให้การขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าลิไทยย   ต้องใช้กำลังปราบปราม

เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทยย)   ขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890  นั้น  ทรงตระหนักถึงความไม่มั่นคงภายใน  ประกอบกับเวลานั้นอาณาจักรอยุธยาที่ตั้งขึ้นใหม่ก็กำลังแผ่อำนาจจนน่ากลัวจะเกิดอันตรายแก่กรุงสุโขทัย  พระมหาธรรมราชาที่ 1  (ลิไทยย)   คงจะทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารอย่างเดียวไม่อาจทำได้  เพราะอำนาจทางทหารของกรุงสุโขทัยในรัชสมัยของพระองค์ไม่เข้มแข็งพอ  จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย  โดยทรงทำนุบำรุงส่งเสริมทางพระพุทธศาสนา  ทรงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่พสกนิกร  และได้ทรงสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วไป  เพื่อเป็นที่เคารพบูชาของประชาราษฎรให้เกิดเลื่อมใสศรัทธายึดหลักธรรมะของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต  สร้างความสามัคคีกลมเกลียวมั่นคงขึ้นในแผ่นดิน

การปกครองทีอาศัยพระพุทธศาสนานี้  เรียกว่า  การปกครองแบบธรรมราชา  พระมหากษัตริย์แบบธรรมราชาต้องทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม  ความจริงแนวความคิดเรื่องธรรมราชานี้มีแทรกอยู่ทั่วไปในนโยบายการปกคอรงอาณาจักรต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนา  รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยก่อนรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทยย)   ด้วย  แต่นับได้ว่าพระมหาธรรมราชาที่ 1  (ลิไทย)   ทรงเป็นผู้นำแนวความคิดเรื่องธรรมราชามาปฏิบัติ  ให้เป็นระบบอย่างจริงจัง

พระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมาล้วนทรงพระนามว่า  พระมหาธรรมราชา   และทรงปกครองราษฎรในแบบ  ธรรมราชา  เหมือนกันทุกพระองค์  จนถึงรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 4  (บรมปาล)  ซึ่งเป็นรัชกาลที่ 9  และเป็นรัชกาลสุดท้ายของราชอาณาจักรสุโขทัย


การปกครองราชธานีและหัวเมืองต่างๆ

เมืองต่างๆ ในอาณาจักรสุโขทัย  แบ่งออกเป็น  4  ชั้น  แต่ละชั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจปกครองดังนี้

1. เมืองหลวง หรือราชธานี       อาณาจักรสุโขทัยมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  เมืองหลวงหรือราชธานีเป็นที่ประทับของ

พระมหากษัตริย์  พระราชวังและวัดจำนวนมากตั้งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง  ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง  การศาสนา  วัฒนธรรม  ศิลปะและขนบประเพณีทั้งปวง  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองเอง

2.เมืองลูกหลวง      เมืองลูกหลวงเป็นเมืองหน้าด่าน  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  หัวเมืองชั้นใน  ตั้งอยู่รอบราชธานีทั้ง  4  ทิศ

ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ  2  วัน  เมืองลูกหลวง  มีดังนี้

ทิศเหนือ            ได้แก่    เมืองศรีสัชนาลัย  (สวรรคโลก)

ทิศตะวันออก    ได้แก่    เมืองสองแคว  (พิษณุโลก)

ทิศใต้                 ได้แก่    เมืองสระหลวง  (พิจิตรเก่า)

ทิศตะวันตก       ได้แก่    เมืองนครชุม  (ปากคลองสวนหมาก กำแพงเพชร)

เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้รั้บการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองส่วนเมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองลูกหลวงที่มีฐานะเป็นเมืองอุปราช  ตลอดสมัยสุโขทัย

3.เมืองพระยามหานคร     เมืองพระยามหานครเป็นหัวเมืองชั้นนอก  ห่างจากราชธานีออกไป  มากกว่าเมืองลูกหลวง

พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งผู้เหมาะสมและมีความสามารถไปปกครองดูแล  เมืองเหล่านี้ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์  มีวิธีการปกครองลักษณะเดียวกับเมืองชั้นใน  เมืองพระยามหานครในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมีหลายเมือง  เช่น  เมืองพระบาง (นครสวรรค์)   เมืองเชียงทอง  (ตาก)   เมืองบางพาน (กำแพงเพชร)   เมืองบางฉลัง  (กำแพงเพชร)  เป็นต้น

4. เมืองประเทศราช     เมืองประเทศราช ได้แก่   เมืองทีอยู่นอกอาณาจักร  ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติ  พระมหากษัตริย์

สุโขทัยทรงดำเนินนโยบายปกครอง   ให้ชาวพื้นเมืองเป็นกษัตริย์หรือเป็นเจ้าเมืองปกครองกันแอง   โดยไม่เข้าไปยุ่งเกียวกับการปกครองภายใน  ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น  ยามปกติเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ (ส่วย)  มาถวายต่อพระมหากษัตริย์สุโขทัยทุกปี   ยามสงครามจะต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารไปช่วย  สมัยพ่อขุนรามคำแหง  มีเมืองประทเศราชหลายเมือง  คือ

ทิศเหนือ                           ได้แก่     เมืองแพร่    เมืองน่าน

ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ   ได้แก่     เมืองเช่า  (หลวงพระบาง)    เมืองเวียงจันทร์

ทิศตะวันตก                      ได้แก่     เมืองทวาย  เมืองเมาะตะมะ   เมืองหงสาวดี

ทิศใต้                                 ได้แก่     เมืองนครศรีธรรมราช    เมืองมะละกา    เมืองยะโฮร์

หากวิเคราะห์วิธีแบ่งเขตการปกครองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง   โดยจัดให้มีเมืองลูกหลวงวงล้อมกรุงสุโขทัยวอันเป็นเมืองราชธานี  จะมีลักษณะเป็นเสมือนกำแพงชั้นที่ 1    ส่วนเมืองพระยามหานครเป็นเสมือนกำแพงชั้นที่ 2    และเมืองประเทศราชเป็นเสมือนกำแพงชั้นที่ 3


ความสัมพันธ์กับอาณาจักรอื่นๆ

เมื่อเริ่มตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น  กล่าวได้ว่าเมืองสุโขทัยอยู่ท่ามกลางอาณาจักรหรือหัวเมืองที่เป็นของชนชาติไทยกลุ่มอื่นหรือชนชาติอื่นซึ่งต่างเป็นอิสระมี่อำนาจมากบ้างน้อยบ้าง

สาเหตุที่สุโขทัยเสื่อมอำนาจลงเป็นจริงตามข้อใดมากที่สุด *

ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทำให้อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจลงมากที่สุด มีเมืองขึ้นเป็นจำนวนมาก มีศาสนาหลายศาสนา มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น มีระบอบการปกครองที่อ่อนแอ

สุโขทัยล่มสลายในปี พ.ศ.ใด

อาณาจักรสุโขทัย
ประวัติศาสตร์
• สถาปนา
พ.ศ. 1781
• เป็นรัฐร่วมประมุขกับกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 1981
• ถูกผนวกเข้ากับกรุงศรีอยุธยาแล้วสิ้นสุดลง
พ.ศ. 1981
อาณาจักรสุโขทัย - วิกิพีเดียth.wikipedia.org › wiki › อาณาจักรสุโขทัยnull

เหตุอะไรทำให้ขอมเสื่อมอำนาจลงจนเป็นเหตุให้ไทยสามารถตั้งอาณาจักรสุโขทัยได้

Content. ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนากรุงสุโขทัย ขอมเริ่มเสื่อมอำนาจ ในพ.ศ. 1762 นั้น ถือเป็นปีที่สิ้นสุดพระราชอำนาจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นกษัตริย์ขอมที่มีพระบรมเดชานุภาพมากพระองค์หนึ่ง ทำให้สุโขทัยปราศจากศัตรูอันเข้มแข็งและไม่ต้องหวั่นเกรงว่าจะถูกขอมยกทัพเข้ามาปราบปรามในช่วงที่กำลังจะก่อร่างสร้างราชธานี

เพราะเหตุใด การเพาะปลูกตามธรรมชาติในอาณาจักรสุโขทัยจึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไหร่นัก

พื้นที่ของอาณาจักรสุโขทัยส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกเพราะบางส่วนเป็นพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ทำให้เกิดน้ำท่วมนองอยู่ทั่วไป และมีหนองบึงมาก พื้นที่ที่เหมาะจะทำการเกษตรมีแห่งเดียวคือ พื้นที่ที่ครอบคลุมบริเวณเมืองสองแคว(พิษณุโลก) ส่วนการที่มีลำน้ำขนาดใหญ่ไหลผ่านถึง 3 สายคือ ลำน้ำปิง ผ่านเมืองตากและชากังราว (กำแพงเพชร) ลำน้ำ ...