เส้นชนิดใดใช้สำหรับเขียนขอบรูป ขอบเกลียว

1 4 from Pannathat Champakul


ความหมายของภาพตัด

         ภาพตัด หมายถึง การผ่าหรือตัดเนื้อวัสดุงานเพื่อแสดงรายละเอียดรูปร่างชิ้นงานภายใน เช่น รูเจาะ รูคว้าน ร่องลิ่ม หรือแสดงลักษณะประกอบกันของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านแบบ ดังรูป 9.1



รูปที่ 9.1 ตัวอย่างภาพตัดที่แสดงรายละเอียดข้างใน

ในการเขียนแบบ การฉายภาพรายละเอียดเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับงานเขียนแบบซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตชิ้นงานสามารถทำได้ถูกต้องยิ่งขึ้น ดังนั้น เทคนิคในการเขียนแบบที่สามารถแสดงรายละเอียดภายในชิ้นส่วนต่างๆ คือ การสมมุติว่า ให้ชิ้นงานถูกตัดออกและภาพที่สมมุติให้ตัดนั้นเรียกว่า ภาพตัด โดยสมมุติให้มีแผ่นกระจกระนาบตัดผ่านผ่านตรงกลางวัตถุ ดังรูป 9.2 โดยแผ่นตัดเหมือนกับคมมีด แยกชิ้นงานออกเป็น 2 ส่วน

รูปที่ 9.2 แสดงการตัดชิ้นงานตามแนวตัด

ส่วนประกอบของภาพตัด
การเขียนภาพตัดเป็นการเขียนแบบภาพฉายด้านที่ต้องการแสดงให้เห็นรายละเอียดภายในชิ้นงานซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
                สัญลักษณ์เส้นลายตัด จะเขียนด้วยลายเส้นเต็มบางเอียงทำมุม 45 องศากับแนวระดับ โดยมีระยะห่างระหว่างเส้นเท่ากันสม่ำเสมอในพื้นที่หน้าตัด ดังรูป 9.3




รูปที่ 9.3 ลักษณะเส้นลายตัดแบบต่าง

เส้นแนวตัด เป็นเส้นสมมติว่าตัดชิ้นงานผ่านแนวระนาบ แทนด้วยเส้นลูกโซ่หนัก ส่วนทิศทางการมองภาพจะเขียนด้วยหัวลูกศร ซึ่งเขียนด้วยเส้นเต็มหนักชี้เข้าหาเส้นแนวตัด ที่ปลายทั้งสองข้างมีตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่แสดงกำกับอยู่ข้างลูกศรด้วย ดังรูป 9.4


รูปที่ 9.4 ลักษณะของเส้นแนวตัด


ชนิดของภาพตัด
ภาพตัดที่เขียนในแบบงานมีหลายชนิด การที่จะเขียนภาพตัดชนิดไหนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของงานแต่ละชนิด และความต้องการแสดงรายละเอียดส่วนใดของงาน ภาพตัดที่เขียนในแบบงาน มีดังนี้
      1 ภาพตัดเต็ม (FULL SECTION)
ภาพตัดเต็ม เป็นภาพที่ต้องการแสดงรายละเอียดภายในตลอดเต็มหน้าของชิ้นงานเสมือนผ่าแบ่งครึ่งชิ้นงานให้แยกออกจากกัน ดังรูป 9.5 แนวตัดในชิ้นงานระนาบเดียว หรือหลายระนาบ จะเรียกว่า ระนาบตัด ที่ทำให้เกิดพื้นที่ที่เรียกว่า พื้นที่ภาพตัด


รูปที่ 9.5 แสดงพื้นที่ระนาบตัดชิ้นงานให้แยกจากกัน

เส้นที่แสดงตำแหน่งแนวตัด การเขียนแบบภาพฉาย เพื่อให้ทราบว่าแบบของชิ้นงานถูกตัดที่ตำแหน่งใด เส้นแสดงแนวตัดจะใช้เส้นศูนย์ใหญ่เขียนไว้ที่ขอบนอกทั้งสองข้างของชิ้นงาน ดังรูป 9.6 และยื่นออกมานอกของชิ้นงานประมาณ 10 มม. ที่ปลายเส้นแนวตัด จะมีลูกศรชี้ไปยังภาพที่แสดงภาพที่ถูกตัดหรือส่วนที่ไม่ได้ตัดออก โดยลูกศรห่างจากขอบงาน 8 มม. (สามารถเปลี่ยนระยะห่างตามความเหมาะสมของขนาดภาพฉาย)


รูปที่ 9.6 แสดงภาพฉายปกติและภาพฉายแบบตัดเต็ม




2 ภาพตัดครึ่ง (HALF SECTION)
เป็นภาพที่ตัดวัตถุออก 1 ใน 4 ส่วนของภาพ ภาพตัดครึ่งนี้ส่วนมากจะใช้ตัดวัตถุที่สมมาตรกัน เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยตัดแยกตามเส้นศูนย์กลาง ส่วนที่ไม่ถูกตัดจะเขียนเป็นภาพปกติ ไม่ใช้เส้นประในภาพตัดครึ่ง จะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น (ดังรูป 9.7)


รูปที่ 9.7 ลักษณะของภาพตัดครึ่ง

การกำหนดขนาดจะเขียนเส้นกำหนดขนาดที่มีหัวลูกศรเพียงข้างเดียว และอีกด้านหนึ่งจะลากเส้นเลยเส้นศูนย์กลางไปพอประมาณ (ดังรูป 9.8)


รูปที่ 9.8 ลักษณะของภาพตัดครึ่ง

ภาพตัดครึ่ง (HALF SECTION)
1. ในภาพตัดครึ่งไม่ต้องแสดงเส้นประในภาพซีกที่ไม่ได้ถูกตัดซึ่งจะเป็นภาพที่แสดงรายละเอียดภายนอกของชิ้นงาน
2. เส้นแบ่งซีกระหว่างครึ่งที่ถูกตัด กับซีกที่ไม่ถูกตัดให้แบ่งด้วยเส้นผ่านศูย์กลาง (เพราะชิ้นงานจริงไม่ถูกตัดจริงๆ เป็นการตัดตามจินตนาการเท่านั้น)
3. การวางภาพตามมาตรฐานยุโรป ถ้าภาพตัดวางในแนวนอน นิยมให้ซีกด้านที่ถูกตัดอยู่ทางด้านล่างของเส้นผ่านศูนย์กลาง
4. การกำหนดขนาดรูเจาะ สามารถกำหนดขนาดโดยใช้เส้นกำหนดขนาด ซึ่งมีหัวลูกศรข้างเดียว ปลายหางของลูกศรจะต้องลากให้เกินเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กน้อย

3 ภาพตัดเยื้องศูนย์ (OFFSET SECTION)

ภาพตัดเยื้องจะมีลักษณะพิเศษคือระนาบตัดเยื้องจะไปตามส่วนที่จะตัดส่วนที่สำคัญต่างๆ ของชิ้นงาน ภาพตัดเยื้องมีข้อดีคือ สามารถแสดงรูปร่างลักษณะ รูเจาะ หรือส่วนที่อยู่ภายในที่มีตำแหน่งไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกัน มาร่วมแสดงให้เห็นในแนวเดียวกัน (ดังรูป 9.9)

รูปที่ 9.9 แนวตัดและภาพชิ้นงานที่ได้จากการตัด OFFSET

การเขียนภาพฉายที่ได้จากการตัด OFFSET


รูปที่ 9.10 แสดงภาพฉายที่ได้จากการตัดตามแนว A-A และ B-B

จากรูป 9.10 จะเห็นว่า ถ้าตัดตรงตามแนว A-A จะได้ภาพเกิดขึ้นภาพหนึ่ง และตัดตามแนว B-B จะได้ภาพเกิดขึ้นอีกภาพหนึ่ง ซึ่งจะต้องเขียนถึง 2 ภาพ เพื่อที่จะแสดงรายละเอียดภายในของรูปทั้งสอง
ดังนั้นวิธีการตัดแบบ OFFSET จึงเป็นลักษณะการนำเอาภาพที่เกิดขึ้นจากการตัดตรงทั้งสองแนวมารวมไว้ในภาพเดียวกัน และเขียนเส้นแนวตัดที่ทำให้เกิดภาพตามแนวตัด A-B โดยยกเว้นไม่ต้องเขียนเส้นแสดงรอยต่อของแนวตัดทั้งสองนั้น ดังรูปที่ 9.11 และรูป 9.12


รูปที่ 9.11 แสดงการตัดแบบ OFFSET



รูปที่ 9.12 ภาพฉายและการแสดงแนวตัด OFFSET

4. ภาพตัดลักษณะพิเศษ
          4.1 ภาพตัดเฉพาะส่วน (PARTIAL SECTION)
ภาพตัดเฉพาะส่วนเป็นภาพตัดเพื่อแสดงรายละเอียดลักษณะรูปร่างที่อยู่ภายในชิ้นงานเฉพาะ บางทีก็เข้าใจแบบงานได้ เช่น บริเวณรูเจาะ ร่องลิ่ม การเขียนภาพตัดเฉพาะส่วนทำได้โดยการเขียนเส้นมือเปล่า (FREE HAND) เฉพาะบริเวณที่ต้องการแสดงรายละเอียด ดังรูป 9.13


รูปที่ 9.13 ภาพตัดเฉพาะส่วน

4.2 ภาพตัดหมุนข้าง (ROTATED SECTION)
ภาพตัดหมุนข้าง เป็นภาพการเขียนเพื่อแสดงรูปร่างหน้าตัดของชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นท่อนยาว ทำได้โดยตัดบริเวณนั้น แล้วหมุนหน้างานไป 90 องศา เพื่อสามารถเข้าใจลักษณะหน้าตัดนั้นอย่างชัดเจน หรือยังสามารถเห็นลักษณะรูปร่าง สัดส่วนของชิ้นงานได้ตามปกติ ดังรูป 9.14


รูปที่ 9.14 ภาพตัดหมุน

4.3 ภาพตัดหมุนเคลื่อน (REMOVEL SECTION)
ภาพตัดหมุนเคลื่อน เป็นภาพตัดที่ใช้ในกรณีที่ชิ้นงานมีรายละเอียดแต่ละช่วงแตกต่างกัน และต้องการแสดงให้เห็นพื้นที่หน้าตัดของแต่ละช่วงนั้น เพราะไม่สามารถแสดงโดยภาพตัดหมุนข้างได้ จะทำให้ยุ่งยากในการอ่านแบบ จึงจำเป็นต้องยกออกมาแสดงให้เห็น ดังรูป 9.15


รูปที่ 9.15 ภาพตัดหมุนเคลื่อน

4.4 ภาพตัดหมุนโค้ง (ALIGNED SECTION)
ภาพตัดหมุนโค้ง เป็นภาพตัดที่แสดงรายละเอียดของส่วนที่เอียงหรือบิดไปจากแนวศูนย์กลาง โดยการหมุนโค้งหรือลากเส้นฉายให้มาอยู่ในระนาบเดียวกัน ดังรูป 9.16


รูปที่ 9.16 ภาพตัดหมุนโค้ง

4.5 ภาพตัดย่อส่วน (CONVENTIONAL SECTION)
สำหรับวัตถุที่มีรูปร่างยาวมากๆ เช่น งานเพลากลม ท่อกลม แท่งโลหะ ถ้าเขียนความยาวจริงทั้งหมดลงไปในกระดาษเขียนแบบจะไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากกระดาษเขียนแบบมีพื้นที่จำกัด ในลักษณะเช่นนี้ สามารถแก้ไขได้โดยใช้วิธีการตัดย่อส่วน การตัดย่อส่วนนี้จะย่อเฉพาะความยาว หน้าตัดของงานยังคงเดิมโดยจะย่อตรงกลางรูป มาตราส่วนต่างๆ ยังคงเหมือนเดิม ลักษณะการตัดย่อรูปจะมีการเขียนแตกต่างกันไปตามลักษณะของวัตถุนั้นดังรูป 9.17


รูปที่ 9.17 การตัดชิ้นงานย่อส่วนชนิดต่างๆ

5. ชิ้นงานที่ได้รับการยกเว้นการตัด
การเขียนแบบในชิ้นงานบางประเภท เช่น ซี่ล้อ หรือแขนพวงมาลัย จะเห็นว่า ถ้าตัดในแนวของการตัดจริงๆ จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการอ่านและเขียนแบบอย่างมาก ดังนั้นในงานเขียนแบบจึงนิยม เขียนแบบ ดังรูป 9.18 และ 9.19


รูปที่ 9.18 แสดงให้เห็นแนวตัดผ่านแขวนพวงมาลัยข้างเดียว แต่มีแขน 5 อัน
ในงานเขียนแบบจะเขียนให้มีเพียง 2 อัน เพื่อให้สมมาตรกัน


รูปที่ 9.19 แสดงให้เห็นแนวตัดผ่านพวงมาลัย 2 อัน แม้ว่าแขนพวงมาลัยมีจำนวนไม่เท่ากัน
แต่ภาพสมมาตรเหมือนกัน

ชิ้นงานที่ยกเว้นไม่แสดงการตัด ได้แก่ ส่วนที่เป็นปีก (ดังรูป 9.20) เพราะถ้าแสดงลายตัดแล้วจะไปเหมือนกับรูปทรงตัน ชิ้นงานอีกประเภทหนึ่งที่ยกเว้นไม่แสดงการตัด คือ ชิ้นส่วนที่ไม่มีรายละเอียดภายใน เช่น ชิ้นส่วนจับยึดต่างๆ เพลาในสุด เป็นต้น ดังรูป

เส้นชนิดใดใช้เขียนเส้นขอบรูป

2. เส้นขอบหรือเส้นกรอบ (Border line) เป็นเส้นแสดงกรอบรูป เพื่อก าหนดให้ เห็นถึงขอบเขตที่จะเขียนรูปให้อยู่ภายในกรอบที่ก าหนด เส้นกรอบเป็นเส้นที่หนาและหนักมาก มี ความหนาของเส้น 0.5 - 1 มม. ดังรูปที่2.2 เมื่อติดกระดาษลงบนโต๊ะเขียนแบบแล้ว เราจะตีกรอบ ให้เส้นห่างจากขอบกระดาษ 1 ซม. โดยรอบทั้ง 4 ด้านของกระดาษเขียนแบบ เพื่อก า ...

เส้นลายตัดควรเลือกใช้ เส้นชนิดใด

ส่วนประกอบของภาพตัด การเขียนภาพตัดเป็นการเขียนแบบภาพฉายด้านที่ต้องการแสดงให้เห็นรายละเอียดภายใน ชิ้นงานซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้ 1. สัญลักษณ์เส้นลายตัด จะเขียนด้วยลายเส้นเต็มบางเอียงทามุม 45 องศากับแนวระดับ โดยมีระยะห่างระหว่างเส้นเท่ากันสม่าเสมอในพื้นที่หน้าตัด

เส้นชนิดใดใช้เขียนเพื่อแสดงแนวการตัดเฉพาะส่วน

1. เส้นแสดงแนวการตัดให้เขียนด้วยเส้นศูนย์กลางใหญ่ มีขนาดเส้น 0.5 ที่ปลายเส้นจะมี ลูกศรชี้ทิศทางการมองภาพและมีตัวอักษรก ากับไว้เพื่อเป็นการแสดงว่าภาพฉายที่ตัดมาแล้วเป็น ของแนวตัดใด

เส้นประใช้งานลักษณะใด

2. เส้นประ (HIDDEN LINE / DOTTED LINE) คือ เส้นที่ขีดสั้น ๆ ต่อเนื่องกันไป แต่ละเส้นยาว นิ้ว ห่างกัน นิ้ว ใช้แสดงภาพในส่วนที่ถูกบังหรือมองเห็นให้มองเห็น ยาว ระยะห่าง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก