ขั้นตอนใด เป็นขั้นตอนแรกในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ

การคิดแห่งอนาคต

     สำหรับการแข่งขันในศตวรรษที่ 21 เรื่องของการออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรมกลายเป็นสาระสำคัญที่นานาประเทศต่างหยิบยกขึ้นมาใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในด้านต่าง ๆ ภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ทำให้กระบวนการคิดที่นำไปสู่การออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรมนั้น กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกประเทศต่างให้ความสนใจ และหาแนวทางในการส่งเสริมให้กับประชาชนในเรื่องนี้ผ่านระบบการศึกษา เพื่อให้ประชาชนในประเทศมีทักษะดังกล่าว ทำให้ทักษะเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากต่อการทำงานในอนาคต

     กระบวนการคิดเชิงออกแบบ คือ กระบวนการคิดเพื่อให้เกิดการพัฒนาแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ ๆ สำหรับการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ตามวิถีทางที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด บนพื้นฐานของการพิจารณาตามความต้องการของมนุษย์เป็นหลัก เพื่อให้เกิดการสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ตอบโจทย์การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินการอยู่ 5 ขั้นตอน ได้แก่

            1. การค้นหา (Discovery) 

            2. การตีความ (Interpretation) 

            3. การระดมความคิด เพื่อการแก้ไขปัญหา (Ideation)

            4. สร้างต้นแบบ และทดลอง (Experimentation) 

            5. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน (Evolution) ได้มีการนำการคิดเชิงออกแบบไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ

กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ

1.การทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง (Empathize)

     การทำความเข้าใจปัญหาที่เราพยายามแก้ไข โดยการสังเกตและมีส่วนร่วม เพื่อให้มีประสบการณ์และเข้าใจถึงแรงจูงใจและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ซึ่งการเอาใจใส่นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อกระบวนการออกแบบ เพราะมันช่วยให้เราสามารถตั้งสมมติฐานได้เหมาะสมกับบริบทและสภาพแวดล้อมนั้น ๆ

2.การระบุปัญหาและกรอบของปัญหา (Define)

     การนำข้อมูลทั้งหมดที่หาได้จากขั้นแรกมาวิเคราะห์และสังเคราะห์รวมกัน เพื่อตกผลึกเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาออกมา แล้วจึงนำมาอธิบายถึงปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งขั้นนี้จะช่วยให้การรวบรวมแนวคิดเพื่อนำไปสร้างองค์ประกอบสำหรับการแก้ปัญหา สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.การหาแนวทางแก้ไข (Ideate)

     ขั้นของการเริ่มนำไอเดียที่ได้มาสร้างให้เป็นรูปธรรม ด้วยการคิดนอกกรอบ เพื่อมองหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ ซึ่งอาจใช้วิธีการระดมสมองสำหรับกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนได้คิดอย่างอิสระและขยายขอบเขตแนวทางแก้ปัญหาออกไป จากนั้นจึงรวบรวมไอเดียทั้งหมดที่ได้ แล้วเลือกเฟ้นเฉพาะวิธีที่คิดว่าดีหรือเหมาะสมที่สุด

4.สร้างต้นแบบ (Prototype)

     การสร้างผลิตภัณฑ์หรือแนวทางต้นแบบโดยลดขนาด ฟังก์ชัน หรือลดทอนรายละเอียดต่าง ๆ ลง เพื่อตรวจสอบว่าสามารถแก้ปัญหาได้ตามแนวคิดหรือไม่ โดยเป้าหมายของขั้นนี้คือการรวบรวมข้อมูล เพื่อพิจารณาว่าแนวคิดที่นำมาสร้างแนวทางแก้ปัญหาทั้งหมดนั้น เหมาะสมหรือไม่ มีจุดบกพร่องตรงส่วนไหน หรือมีอะไรที่ต้องปรับปรุงบ้าง เพื่อให้สามารถตอบสนองกับความต้องการและนำไปแก้ปัญหาได้ดีที่สุด

5.ทดลองใช้ (Test)

     การทดสอบแนวทางแก้ไขปัญหาหรือผลิตภัณฑ์ทั้งหมดอย่างเข้มงวดอีกครั้ง โดยนำไปใช้งานและเก็บข้อมูล รวมถึงข้อเสนอแนะ

ต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

ประโยชน์ของระบบการคิดเชิงออกแบบ

  • ฝึกกระบวนการแก้ไขปัญหาตลอดจนหาทางออกที่เป็นลำดับขั้นตอน : ปกติเราอาจจะมีการหาทางแก้ปัญหาแบบสะเปะสะปะ ไม่มีการหาสาเหตุ หรือไม่มีการมองรอบด้าน กระบวนการนี้จะทำให้เรามองอย่างรอบคอบและละเอียดมากขึ้น ทำให้เราเข้าใจปัญหาได้อย่างถ่องแท้ และแก้ไขได้ตรงจุด
  • มีทางเลือกที่หลากหลาย : การคิดบนพื้นฐานข้อมูลที่มีหลากหลาย ตลอดจนพยายามคิดหาวิถีทางหรือแชร์ไอเดียที่ดีออกมาหลากหลายรูปแบบ ทำให้เรามองเห็นอะไรรอบด้าน และมีตัวเลือกที่ดีที่สุด ก่อนนำไปใช้แก้ปัญหาจริง หรือนำไปปฎิบัติจริง
  • มีตัวเลือกที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด : เมื่อเรามีตัวเลือกหลากหลายเราก็จะรู้จักคิดวิเคราะห์ และการคิดวิเคราะห์นี้เองจะทำให้เราสามารถเลือกทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุดได้ มีประสิทธิภาพมากกว่า
  • ฝึกความคิดสร้างสรรค์ : การแชร์ไอเดีย ตลอดจนระดมความคิดนั้น จะทำให้สมองเราฝึกคิดหลากหลายรูปแบบ หลากหลายวิธีการ หลากหลายมุมมอง และทำให้เรารู้จักหาวิธีแปลกๆ ใหม่ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการฝึกความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ที่เป็นพื้นฐานที่ดีในการแก้ปัญหา ตลอดจนการบริหารจัดการเช่นกัน
  • เกิดกระบวนการใหม่ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ : มีการคิดมากมายหลากหลายรูปแบบ ตลอดจนแชร์ไอเดียดีๆ มากมาย การที่เราได้พยายามฝึกคิดจะทำให้เรามักค้นพบวิธีใหม่ๆ เสมอ หรือเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้เช่นกัน
  • มีแผนสำรองในการแก้ปัญหา : การคิดที่หลากหลายวิธีนอกจากจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์เลือกวิธีที่ดีที่สุดได้แล้วนั้นก็ยังทำให้เรามีตัวเลือกสำรองไปในตัวโดยผ่านกระบวนการลำดับความสำคัญมาเรียบร้อยแล้ว ทำให้เราสามารถเลือกใช้แก้ปัญหาได้ทันท่วงทีหากวิธีการที่เลือกไม่ประสบความสำเร็จ
  • องค์กรมีการทำงานอย่างเป็นระบบ : เมื่อบุคลากรถูกฝึกให้คิดอย่างเป็นระบบแบบแผนแล้วจะปลูกฝังระบบการทำงานที่ดี นั่นย่อมส่งผลให้องค์กรมีการทำงานอย่างเป็นระบบ และทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรและองค์กรไปในตัว

     ปัจจุบันมีการนำกระบวนการคิดเชิงออกแบบมาใช้ในการดำเนินงานในภาคธุรกิจต่าง ๆ อย่างมากมาย ซึ่งสิ่งนี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้น เพราะทำให้องค์กรมีแนวคิดสมัยใหม่และสอดคล้องกับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 และด้วยการแก้ไขปัญหาที่มองถึงความต้องการและความจำเป็นเอย่างเข้าอกเข้าใจ ทำให้วิธีการหรือนวัตกรรมต่าง ๆ ที่คิดค้นออกมานั้นตอบสนองกับความต้องการ และทำให้กลายเป็นสิ่งที่ได้รับการตอบรับที่ดี ดังนั้นเพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพมากขึ้นในการแข่งขันกับนานาประเทศ การปลูกฝังให้นักเรียนมีกระบวนการคิดเชิงออกแบบนั้น ก็นับเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้นักเรียนมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นในอนาคต

* * * * * * * * *

ที่มาของข้อมูล : บทเรียนออนไลน์ , trueplookpanya

แผนกวิชาการระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ

กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) 1. Empathize – เข้าใจปัญหา 2. Define – กำหนดปัญหาให้ชัดเจน.
ขั้นตอนที่ 1 : ค้นพบ – Discover..
ขั้นตอนที่ 2 : บ่งชี้ / กำหนด – Define..
ขั้นตอนที่ 3 : พัฒนา – Develop..
ขั้นตอนที่ 4 : นำไปปฎิบัติจริง – Deliver..

กระบวนการคิดเชิงออกแบบประกอบด้วยขั้นตอนใดบ้าง

Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ คือ กระบวนการทำความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้ นำเสนอทางแก้ไข ปัญหาแบบใหม่ที่อาจไม่เคยคิดมาก่อน ผ่าน 5 ขั้นตอน ได้แก่การเข้าใจ นิยาม สร้างสรรค์ จำลอง และ ทดสอบ (Empathize Define Ideate Prototype & Test) โดย Design Thinking ถือว่าเป็นกระบวนการ สร้างนวัตกรรมอย่างหนึ่ง

กระบวนการคิดเชิงออกแบบคืออะไร

Design Thinking คือ การคิดเชิงออกแบบ คือการคิดแก้ปัญหาที่สามารถนำไปสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ การคิดเชิงออกแบบนั้นต่างจาก “ความคิดสร้างสรรค์”(creativity) คือ Design Thinking จะคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 อย่างประกอบกัน คือ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และ “คน” การคิดเชิงออกแบบจึงมีอีกชื่อคือ Human centered design ที่คนเป็น ...

Empathise เป็นขั้นตอนเกี่ยวกับอะไร

1. Empathize 'Empathy (การเข้าอกเข้าใจ)' คือกระบวนการที่ หยิบปัญหา, ความสนใจ หรือพฤติกรรมของ User (ผู้ใช้งาน) มาเป็นจุดโฟกัสในการทำความเข้าใจ ขั้นตอนนี้จะเป็นเหมือนการสังเกตและการถามผู้ใช้งาน สิ่งที่ผู้ใช้คิด สิ่งที่ผู้ใช้พูด สิ่งที่ผู้ใช้รู้สึก

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก