ข้อใดใช้ภาษาเพื่อแสดงทรรศนะ

การใช้ภาษาแสดงทรรศนะ

    ทรรศนะ คือ ความคิดเห็นที่ประกอบด้วยเหตุผลโครงสร้างของการแสดงทรรศนะ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ส่วน คือ

     . ที่มา คือ ส่วนที่เป็นเรื่องราวต่างๆที่ทำให้เกิดการแสดงทรรศนะ

     . ข้อสนับสนุน คือ ข้อเท็จจริง หลักการ รวมทั้งทรรศนะหรือมติของผู้อื่น ที่ผู้แสดงทรรศนะนำมาใส่ เพื่อสนับสนุนทรรศนะของตน

     . ข้อสรุป คือ สารสำคัญที่สุดของทรรศนะ อาจเป็นข้อเสนอแนะ ข้อวินิจฉัย หรือ ประเมินค่า

ความแตกต่างระหว่างทรรศนะของบุคคล

ทรรศนะของคนในสังคม อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ ประการคือ

     . คุณสมบัติตามธรรมชาติของมนุษย์ ได้แก่ เชาว์ ปฏิภาณ ไหวพริบ ความถนัด เป็นต้น จะพัฒนาได้ เต็มที่ต้องอาศัยการส่งเสริม และสนับสนุนจากสิ่งแวดล้อม

     . อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทำให้บุคคลมีลักษณะแตกต่างกันในเรื่องความรู้ ประสบการณ์ความเชื่อและค่านิยมดังนี้

ความรู้ประสบการณ์ จะทำให้บุคคลแสดงทรรศนะได้แตกต่างกันไป

ความเชื่อ  บุคคลแสดงทรรศนะต่างกันตามความเชื่อ ซึ่งได้จากการศึกษาอบรมทางครอบครัว และสิ่งแวดล้อม หรือวัยและประสบการณ์

ค่านิยม  คือ ความรู้สึกที่มีอยู่ในจิตใจแต่ละคน เป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมและอิทธิพลต่อการแสดงทรรศนะของบุคคล

ประเภทของทรรศนะ

    . ทรรศนะเกี่ยวกับข้อเท็จจริง คือ ทรรศนะที่เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ทราบข้อเท็จจริง  การแสดงทรรศนะประเภทนี้ จึงเป็นเพียงการสันนิษฐาน จะน่าเชื่อถือเพียงใดขึ้นกับข้อสนับสนุน

     . ทรรศนะเกี่ยวกับคุณค่า ค่านิยมเป็นทรรศนะที่ประเมินว่าสิ่งใดดีหรือด้อย เป็นประโยชน์หรือ โทษ

     . ทรรศนะเกี่ยวกับนโยบาย เป็นทรรศนะที่บ่งชี้ว่าควรทำอย่างไร อย่างไรต่อไปในอนาคต หรือ ควรแก้ไขปรับปรุงสิ่งใดไปในทางใด อย่างไร การแสดงทรรศนะ เกี่ยวกับนโยบาย มักจะต้องเสนอข้อเท็จจริง เพื่อสนับสนุนนโยบายและประเมินค่านโยบายที่เสนอนั้นด้วย

วิธีใช้ภาษาในการแสดงทรรศนะ

     ภาษาที่ใช้ในการแสดงทรรศนะนั้น จะต้องใช้ถ้อยคำกะทัดรัด ให้คำที่มีความหมายแจ่มชัด การเรียงลำดับ ความไม่สับสน วกวน และต้องใช้ภาษาให้ถูกต้อง กับระดับการสื่อสาร

ลักษณะที่ควรสังเกตในการใช้คำหรือกลุ่มคำในการแสดงทรรศนะ

     . ใช้สรรพนามบุรุษที่ หรือคำนามที่ประกอบกับกริยาวลีที่ชี้ชัดว่า เป็นการแสดงทรรศนะ เช่น พวกเรามีความเห็นว่า ……… , ข้าพเจ้าเข้าใจว่า…………… , ผมขอสรุปว่า……………..

     . ใช้คำหรือวลีที่บ่งชี้ว่าเป็นการแสดงทรรศนะ เช่น คำว่า น่า คง คงจะ ควร พึง ตัวอย่าง เช่น รัฐบาลน่าจะทบทวน……. คณะนักเรียนคงเข้าใจผิดว่า……. , โรงเรียนควรจะต้องคำนึงถึง……..

การประเมินค่าทรรศนะ

     . ประโยชน์และลักษณะสร้างสรรค์ ทรรศนะที่ดีควรก่อให้เกิดประโยชน์ และก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่ ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ขณะเดียวกันก็คงสิ่งดีงามของสังคมไว้

     . ความสมเหตุสมผล ทรรศนะที่ดีจะต้องมีข้อสนับสนุน ที่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้ข้อสรุปน่าเชื่อ

     . ความเหมาะสมกับผู้รับสาระและกาลเทศะ ในการพิจารณา จะต้องพิจารณาด้วยว่าทรรศนะนั้น  แสดงแก่ผู้ใดและในโอกาสใด เพื่อจะประเมินได้ว่า เหมาะสมหรือไม่

       การใช้ภาษา ภาษาที่ใช้ต้องชัดเจน แม่นตรงตามที่ต้องการ และเหมาะสม แก่ระดับการสื่อสารหรือไม่ เพียงใด
ที่มา //blog.eduzones.com/winny/3597

ทรรศนะ หรือ ทัศนะ หมายถึง ความคิดเห็นที่ประกอบด้วยเหตุผล ซึ่งแม้จะแตกต่างหรือขัดแย้งกันก็นับว่ามีประโยชน์ เพราะจะเป็นแนวทางให้ผู้อื่นได้มีโอกาสใช้ดุลพินิจตัดสินใจเลือกวิถีทางแก้ปัญหาได้หลายทางด้วยความสุขุมรอบคอบขึ้น
โครงสร้างของการแสดงทรรศนะ
1. ที่มา หมายถึงเหตุที่ทำให้เกิดการแสดงทรรศนะ
2. ข้อสนับสนุน หมายถึงเหตุผล ซึ่งอาจจะเป็นข้อเท็จจริง หลักการ ทรรศนะหรือมติของผู้อื่นที่นำมาสนับสนุน
3. ข้อสรุป อาจจะเป็นข้อเสนอแนะ ข้อวินิจฉัย ข้อสันนิษฐาน การประเมินค่า
ประเภทของทรรศนะ
1. ทรรศนะเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ทราบข้อเท็จจริง การแสดงทรรศนะประเภทนี้มักเป็นเพียงการสันนิษฐาน จะน่าเชื่อถือเพียงใดขึ้นอยู่กับข้อสนับสนุน
2. ทรรศนะเกี่ยวกับคุณค่าหรือค่านิยม ประเมินว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอย่างไร
3. ทรรศนะเกี่ยวกับนโยบาย บ่งชี้ว่าควรจะทำอย่างไร ทำอะไรต่อไปหรือควรแก้ไขปรับปรุงสิ่งใดไปในทางใด อย่างไร
วิธีใช้ภาษาในการแสดงทรรศนะ
ต้องใช้ถ้อยคำกะทัดรัด มีความหมายแจ่มชัด ไม่วกวน ภาษาที่ใช้แสดงทรรศนะที่ควรสังเกตคือ
1. การใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 1 ประกอบคำกริยาหรือกลุ่มคำกริยาที่ชี้ชัดว่าเป็นการแสดงทรรศนะ เช่น "ดิฉันขอสรุปว่า...." "ข้าพเจ้าขอเสนอแนะว่า...." เป็นต้น
2. การใช้คำหรือกลุ่มคำที่ชี้ชัดว่าเป็นการแสดงทรรศนะ เช่น คง ควร พึง คงจะ ควรจะ น่าจะ เป็นต้น
การใช้ภาษานับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในการแสดงทรรศนะ หากใช้ผิดจะทำให้ผู้รับสารเข้าใจว่าสารที่ส่งนั้นไม่ใช่ทรรศนะ เป็นการเสนอข้อเท็จจริง หรือเป็นการบอกกล่าวเท่านั้น การใช้ภาษาจึงควรมีความแจ่มแจ้งชัดเจน ตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการและเหมาะสมกับระดับการสื่อสาร

       //www.jd.in.th/jdinth/e_learning/th41102/pan05/htm/tad_sana.htm

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก