คำขวัญ ในข้อใด แตก ต่าง จากข้ออื่น

คำขวัญ เป็นสิ่งที่น้องๆ หลายคนคงจะรู้จักดี และต้องเคยแต่งหรือเคยอ่านกันมาบ้าง อย่างเช่น คำขวัญประจำจังหวัดหรือคำขวัญวันเด็ก แต่หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วคำขวัญคืออะไร หรือมีวิธีการแต่งคำขวัญอย่างไร วันนี้เรามีความรู้มาฝากกัน น้องๆ จะได้นำไปใช้ในการแต่งคำขวัญส่งประกวด

การเขียนคำขวัญ ให้น่าสนใจ

เริ่มต้น เราต้องทราบก่อนว่า คำขวัญ หมายถึง ถ้อยคำ ข้อความ หรือบทกลอนสั้นๆ เพื่อให้จำได้ง่าย

ความสำคัญของคำขวัญ : เป็นเครื่องมือที่ใช้เตือนใจ ชักชวน จูงใจคนในสังคมให้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ

องค์ปรกอบของคำขวัญ มี 3 ส่วน ได้แก่

1. ความมุ่งหมายหรือแนวคิด

2. ข้อความหรือเนื้อหา

3. ศิลปะแห่งการใช้ถ้อยคำ

ลักษณะของคำขวัญที่ดี

1. มีเจตนาที่ดี ต่อผู้ฟัง ผู้ปฏิบัติหรือผลประโยชน์ของส่วนรวม เช่น คำขวัญเชิญชวนงดการสูบบุหรี่ คำขวัญเชิญชวนให้ประหยัดน้ำ

2. มีเป้าหมายชัดเจนเพียงเป้าหมายเดียว เช่น เพื่อให้เคารพกฎจราจร หรือเพื่อให้ช่วยรักษาความสะอาดของถนน

3. มีเนื้อหาครอบคลุมเป้าหมาย

4. ไพเราะ สัมผัสคล้องจอง มีพลังโน้มน้าวใจผู้ฟังให้จำและปฎิบัติตาม

การเขียนคำขวัญ มีเขียน 3 แบบ

-การเขียนแบบคำคล้องจอง คือ การเขียนที่ใช้สระเดียวกัน หรือคำสัมผัมเดียวกัน

-การเขียนคำขวัญแบบร้อยกรอง คือ การเขียนคำตามแบบบังคับ ของคำประพันธ์ชนิดนั้นๆ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

-การเขียนคำขวัญแบบร้อยแก้ว คือการเขียนที่เรียบเรียงขึ้นอย่างไพเราะ โดยไม่มีข้อบังคับในเรื่องการสัมผัส เอก โท เขียนง่าย

หลักการง่ายๆ เขียนคำขวัญ

1. ใช้ถ้อยคำสั้น กะทัดรัด มีความหมายลึกซึ้ง ใช้คำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 16 คำ แบ่งเป็นวรรคได้ตั้งแต่ 1-4 วรรค

2. เขียนให้ตรงจุดมุ่งหมาย มีการแสดงความคิดของเราในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างชัดเจน หรือที่เรียกว่ามีใจความสำคัญเพียงอย่างเดียว ว่าจะให้ผู้ฟังคิดหรือปฎิบัติเรื่องอะไร

3. มีการจัดแบ่งจังหวะของคำที่สม่ำเสมอ ทำให้สามารถจดจำได้ง่าย

4. มีการเล่นคำ การเล่นเสียงสัมผัส และการใช้คำซ้ำ มีพลังโน้มน้าวใจ

5. เป็นคำตักเตือนหรือแนะนำให้ปฎิบัติในทางที่ดี

6. ต้องรู้ว่ากลุ่มผู้ใช้คำขวัญเป็นคนกลุ่มใด หากเป็นคำขวัญสำหรับเด็กต้องเขียนให้ง่ายกว่าคำขวัญผู้ใหญ่

7. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียน

ตัวอย่างคำขวัญวันเด็ก

คำขวัญวันเด็ก 2551 โดย พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ “สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม”

คำขวัญวันเด็ก 2560 โดย  พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี “เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง”

ตัวอย่างคำขวัญประจำจังหวัด

คำขวัญของกรุงเทพมหานคร “กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัดวังงามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย”

คำขวัญของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ “เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสับปะรด สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ”

คำขวัญของจังหวัดสมุทรปราการ “ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม”

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คำขวัญ หมายถึง ถ้อยคำ ข้อความ คำคล้องจอง หรือบทกลอนสั้น ๆ เพื่อให้จำได้ง่าย โดยอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

  • ถ้อยคำหรือข้อความ ที่แต่งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ แสดงอุดมคติ หรือเป้าหมายของกลุ่มหรือองค์กรนั้น ๆ เช่น คำขวัญวันเด็ก คำขวัญประจำโรงเรียน เป็นต้น
  • ถ้อยคำหรือข้อความ ที่แต่งขึ้นมาเพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ คุณสมบัติ ความโดดเด่น เช่น คำขวัญประจำจังหวัด

ทั้งนี้ยังอาจใช้คำคม หรือพุทธพจน์ มาเป็น คำขวัญ ก็ได้ เช่น "อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา" (บัณฑิตย่อมฝึกตน), "รกฺเขยฺย อตฺตโนสาธุงฺ ลวณํ โลนตํ ยถา" (พึงรักษาความดีไว้เหมือนเกลือรักษาความเค็มฉันนั้น)

อนึ่ง ยังมี "คำขวัญ" อีกความหมายหนึ่ง ที่ไม่ปรากฏการใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ "คำขวัญ" ที่มีความหมายในปัจจุบันว่า โอวาท เช่น คำขวัญ ของคณบดีคณะต่าง ๆ ที่ปรากฏในหนังสืออนุสรณ์บัณฑิต 2503 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นข้อความกึ่งสุนทรพจน์ มีความยาวมากกว่าคำขวัญ ใน 2 ความหมายข้างบน

คำชี้แจง  จงทำเครื่องหมายกากบาทหน้าข้อความที่ถูกต้อ

๑. คำขวัญในข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น

ก. ไม่มีท่านเราอด  ไม่มีรถท่านเดิน

ข. ทิ้งขยะไม่เลือกที่  หมดราศีไปทั้งเมือง

ค. ต้นไม้คือชีวิต    เจ้าดูดอากาศพิษแทนข้า

ง. ใครจะเป็นพลังของชาติ    หากเยาวชนเป็นทาสยาเสพติด

๒. ข้อใดเป็นคำขวัญ

ก. รู้ไว้ใช่ว่า  ใส่บ่าแบกหาม

ข. น้ำพึ่งเรือ  เสือพึ่งป่า

ค. สุรายาเสพติด   เป็นภัยต่อชีวิต  ปเ็นพิษต่อสังคม

ง.   ปากปราศรัย  น้ำใจเชือดคอ

๓.  ข้อใดไม่เหมาะจะเป็คำขวัญ

ก. ครอบครัวเข้มแข็ง    ประเทศชาติเข้มแข็ง

ข. อาหารไทยมีชื่อ    เลื่องลือไปต่างแดน

ค. สุขภาพดีไม่มีขาย    ถ้าอยากได้ต้องทำเอง

ง. ปฏิบัติตามกฏ    ลดปัญหาจราจร

๔. คำขวัญในข้อใดแสดงเหตุผล

ก. เตือนตนให้มีวินัย     เตือนใจให้มีวัฒนธรรม

ข. สาธารณสมบัติของชาติ    คือเงินทุกบาทของท่าน

ค.  บ้านสะอาด   เมืองสะอาด  คนในชาติมีความสุข

ง.  สร้างสวรรค์ในบ้าน    สร้างวิมานในครัวเรือน

ก. รู้คุณค่าป่าไม้    ต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ข.  มีต้นไม้  มีน้ำ    มีอาหารคนและสัตว์

ค. ต้นไม้สร้างบ้าน    และช่วยการดำรงชีพ

ง. ห่วงอนาคตลูกหลาน    อย่ารุกรานป่าไม้

๖. ข้อใดเป็นคำขวัญที่มีประโยชน์

ก. ทิ้งขยะไม่ถูกที่  สร้างราคีให้บ้านเมือง

ข. ช่วยกันปลุูกต้นไม้  เพื่อขับไล่มลพิษ

ค.บ้านเรือนสะอาด  หมั่นปัดกวาดขยะ

ง. ประหยัดน้ำ  ประหยัดไฟ  เพื่อใช้ยามขาดแคลน

๗. กลวิธีการเขียนคำขวัญในข้อใด ใช้ทั้งการเล่นคำ และการเล่นสัมผัส
       ก. เมาไม่ขับ เร็วแล้วจับ ขับไม่โทร
       ข. ผลิตพืชปลอดภัย นำไทยสู่ครัวโลก
       ค. ช่วยราษฎร์ เสริมรัฐ ยืนหยัด ยุติธรรม
      ง. ลังมวลชน พลังแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด

๘. “ชุ่มคอโดนใจ” เป็นงำนเขียนประเภทใด

     ก. คำคม

     ข.. คำขวัญ 

     ค. โฆษณำ 

     ง. คำแนะนำ

. คำขวัญในข้อใดเหมาะสมกับข้อความนี้

    " ในยามที่เศรษฐกิจวิกฤตเช่นนี้ เป็นเรื่องที่คนไทยต้องต่อสู้กับความนิยมสินค้าต่างประเทศ คนไทยต้องส่งเสริม
    สนับสนุนสินค้าไทย เรามีความสามารถเทียบเท่าระดับโลก ขอเพียงโอกาสให้คนไทยได้พิสูจน์ฝีมือบ้าง "

    ก. ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ
    ข. สินค้าไทยก้าวไกลในต่างแดน
    ค. หากไทยไม่ช่วยไทย ก็แล้วใครจะมาช่วยเรา
    ง. เศรษฐกิจไม่เป็นปัญหา ถ้าสินค้าส่งออกได้

๑๐. จงเติมคำในช่องว่างให้เป็นคำขวัญที่มีความหมาย

เด็กดีมี.............รู้จักให้และแบ่งปัน *

          ก. จิดใจ

          ข.. สดใส

          ค. วินัย

          ง.. ใส่ใจ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก