เหตุผลในข้อใดที่ทำให้เกิดการประกาศใช้กฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 มากที่สุด

สาระสำคัญ กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561

กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ออกตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีสาระสำคัญดังนี้

1. กฎกระทรวงฉบับนี้ประกาศใช้เป็นการทั่วไป โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 11 ก วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561

2. กฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ ได้ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับเดิม (กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553)

3. การประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย
    3.1 การประเมินและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา
    3.2 มีกลไกในการควบคุมตรวจสอบระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาจัดขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชน ว่าสถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และบรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล

4. สถานศึกษามีหน้าที่ จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ดังนี้
    4.1 กำหนดมาตรฐานการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนด
    4.2 จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้
    4.3 จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
    4.4 ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
    4.5 จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเป็นประจำทุกปี 5. หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา มีหน้าที่ ดังนี้
    5.1 ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะนำสถานศึกษา เพื่อให้การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษามีประสิทธิภาพและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    5.2 รับรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
    5.3 จัดทำประเด็นที่ต้องการให้มีการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบ โดยรวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสีย
    5.4 จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเอง (ตามข้อ 5.3) พร้อมกับประเด็นที่จัดทำไว้ (ตามข้อ 5.4) ให้แก่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เพื่อใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอก
    5.5 เมื่อ สมศ. ได้ดำเนินการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และจัดส่งรายงานพร้อมข้อเสนอแนะให้แก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลแล้ว จะต้องติดตามผลการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 6. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. มีหน้าที่ ดังนี้
    6.1 ดำเนินการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
    6.2 จัดทำรายงานผลการประเมินและการติดตามตรวจสอบ พร้อมข้อเสนอแนะ
ทั้งนี้ สมศ. อาจมอบหมายบุคคลหรือหน่วยงาน ให้ดำเนินการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาได้
    6.3 จัดส่งรายงานและข้อเสนอแนะ (ตามข้อ 6.2) ให้แก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูและ เพื่อให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป

#นักเรียนกฎหมาย

30 กรกฎาคม 2561

ที่มา 
1. กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
2. เว็บไซต์ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)


สาระสำคัญของกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561

1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561

2. ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553

3. การประกันคุณภาพการศึกษา  ยังคงหมายถึงการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณะชนว่าสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและบรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล

4. บทบาทของโรงเรียน

          4.1 จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา

          4.2 จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

          4.3 ดำเนินการตามแผนที่กำหนด

          4.4 จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

          4.5 ติดตามผลการดำเนินการ

          4.6 จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเป็นประจำทุกปี

5. บทบาทของหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา

          5.1 ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะนำสถานศึกษา

          5.2 จัดส่งรายงานของสถานศึกษาพร้อมประเด็นที่ต้องการ ให้มีการประเมินจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานศึกษาแห่งนั้น ได้แก่ สมศ. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอก

          5.3 ติดตามผลการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

6. บทบาทของ สมศ.

          6.1 จัดให้บุคคลหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจาก สมศ.ดำเนินการประเมินและติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

          6.2 จัดส่งรายงานผลการประเมินและการติดตามตรวจสอบให้แก่สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

เหตุผลข้อใดที่ทำให้เกิดการประกาศใช้กฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 มากที่สุด

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่แนวทางในการดำเนินการตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.. ๒๕๕๓ ไม่สอดคล้องกับหลักการประกันคุณภาพการศึกษาที่แท้จริง จึงส่งผลให้การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอกไม่สัมพันธ์กัน เกิดความซ้ำซ้อนและคลาดเคลื่อนจากการ ...

กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษาที่ใช้อยู่ล่าสุดในปัจจุบันประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. ใด

1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561. 2. ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.. 2553.

ข้อใดเป็นความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงฯ

การประกันคุณภาพการศึกษาหมายถึง การประเมินผลและการ ติดตามตรวจสอบคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา “ส านักงาน” หมายถึง ส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ข้อ ๓ สถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด

ปัจจัยในข้อใดที่ทำให้ต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษา

๑. การสร้างความมั่นใจและสร้างความพึงพอใจในคุณภาพการศึกษา ๒. การป้องกันปัญหา ต้องมีการวางแผนและเตรียมการ ๓. การตั้งมั่นบนหลักวิชาในการพัฒนาหลักวิชาชีพ ๔. การดำเนินงานสามารถติดตามตรวจสอบและประเมินตนเองได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก