สื่อ ใน ข้อ ใด ที่ เข้าถึง และ มี อิทธิพล ต่อพฤติกรรม ของ มนุษย์ มาก ที่สุด

การสื่อสารเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับทุกคน และยิ่งในปัจจุบันยังมีช่องทางมากมายให้เราได้สื่อสารกัน แน่นอนว่า “สื่อหลัก” ยังคงเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในการสื่อข่าวสารได้ในวงกว้าง

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2563

 
 

     การสื่อสารเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับทุกคน และยิ่งในปัจจุบันยังมีช่องทางมากมายให้เราได้สื่อสารกัน แน่นอนว่า “สื่อหลัก” ยังคงเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในการสื่อข่าวสารได้ในวงกว้าง แต่ถึงอย่างไรนั้น ประชาชนอย่างเราก็ทำหน้าที่เป็นสื่อได้ โดยผ่านช่องทางออนไลน์ที่เข้าถึงได้ง่ายในยุคดิจิทัล แล้วอย่างนี้สิ่งที่ “สื่อ” ควรหันมาสนใจและคำนึกถึงคืออะไร?

     ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นในประเทศไทยทั้งในแง่สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ผศ.อัญรินทร์ อมรอิสริยาชัย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เล่าถึงบทบาทสำคัญของสื่อ ณ เวลานี้ว่า สื่อแต่ละช่องแต่ละแพลตฟอร์มมีลีลาการนำเสนอที่ต่างกัน แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ “ลีลาของเราเป็นกลางไหม?” หรือชักนำ คุกรุ่นอารมณ์ นำไปสู่การสรุปความที่อาจไม่เป็นกลางหรือไม่ รวมถึงการให้ข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เช่น COVID-19 ฝุ่น PM 2.5 ภัยแล้ง การถูกเลิกจ้าง ความเห็นต่าง การแสดงออกทางการเมือง สิ่งเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ระดับการส่งผลทั้งกว้างและใกล้ตัวเรา สื่อมวลชนสามารถให้ความรู้แก่ประชาชนได้เพื่อขับเคลื่อนสังคม เช่น การนำเสนอเรื่องราวหรือแนวทางการปรับตัวต่าง ๆ ต่อความไม่แน่นอน

     ปรากฏการณ์ที่ข้อมูลข่าวสารเพิ่มและไหลอย่างรวดเร็วนั้นเกิดจากสื่อที่มีมากขึ้นรวมถึงสื่อออนไลน์ และเป็นธรรมชาติของตัวสื่อที่ง่ายต่อการบริโภคและง่ายต่อการส่งต่อ ทุกวันนี้ บางทีสื่อกระแสหลักยังเอาประเด็นจากสื่อออนไลน์ เอามาต่อยอด มันจึงง่ายมากต่อการสร้างความรู้สึกร่วมต่อคนรุ่นใหม่ เกิดแรงกระเพื่อมไปสู่การแสดงออกของคนรุ่นใหม่เมื่อได้เจอ Community เดียวกัน สื่อเองก็ต้องตามให้ทัน และต้องกรองข่าวให้ดีเสียก่อน

     “ถ้าเราพูดถึงทฤษฎีสื่อที่มันคลาสสิกมากคือสื่อต้องกำหนดวาระข่าวสาร มี Agenda ชัดเจน แต่ตอนนี้เน้นเร็วท่ามกลางสถานการณ์อันเปราะบาง เราต้องมามองใหม่ เรื่องเร็วมันดี เราทำได้เร็วกว่า ลึกกว่า มันดีต่อการ Engage แต่ความสำคัญของมันควรตกเป็นเรื่องรอง ต้องเน้นเรื่องความถูกต้องเหมาะสมและระวังว่ามันส่งผลกระทบต่อใครบ้าง” อาจารย์คณะวารสารศาสตร์ฯ กล่าว

     ผศ.อัญรินทร์ มองว่า ยอด Engagement สำหรับสื่อออนไลน์เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะส่งผลต่อยอดการมองเห็น ยอดไลก์และฟอลโลว์ ส่งผลต่อระดับความน่าเชื่อถือ เหมือนกับข่าวในโทรทัศน์ ช่องไหนที่ Rating สูง จะดูน่าเชื่อถือ ทำให้คนผลิตเนื้อหาจำเป็นต้องให้คนมีส่วนร่วม มีการคลิกเข้าไปอ่านไปดู แต่จริง ๆ แล้วก็สามารถ Engage แบบอื่นได้ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของคนเปลี่ยนแปลง คนกระหายใคร่รู้มากขึ้น เป็น Information Seeker ทุกคนสนุกกับการสาวสืบข้อมูลออนไลน์เพราะใคร ๆ ก็เข้าถึงได้ แต่ก็ควรสร้าง Engagement ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ หัวข้อและเนื้อหาน่าสนใจ มีความถูกต้อง และคนจะ Engage ได้จริงเมื่อคนอ่านได้ประโยชน์จริง ๆ ยกความรู้ อารมณ์ จิตใจ เป็นการ Engage อย่างยั่งยืน สื่อเองก็จะได้ความน่าเชื่อถือในระยะยาว

     เมื่อพูดถึงสิ่งสำคัญที่สื่อขาดหายไป ผศ.อัญรินทร์ ให้ความคิดเห็นว่า สื่อหลายแห่งพยายามปรับตัว จึงเกิดปรากฏการณ์การเล่าข่าวขึ้น ทำให้ข่าวดูสนุกและน่าสนใจ ซึ่งการเล่าข่าวและวิธีการถ่ายทอดเนื้อหาข่าวสารในปัจจุบันมันดุเดือด ในบางสถานการณ์มันเลวร้ายสำหรับใครบางคน หรือเร้าให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ ฉะนั้น สิ่งที่หายไปคือ “ความระมัดระวังในการนำเสนอ” อาจเป็นเพราะโฟกัสเป้าหมายในการสร้าง Engagement หรือ Rating จนมองข้ามรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคนดู เรื่องจำเป็นไม่ถูกขยายความ เช่น การให้ความรู้ในแง่มุมกฎหมายที่ประชาชนควรรู้ สื่อต้องเข้าใจความเห็นต่าง พฤติกรรม ทัศนคติ และผู้ชม เพราะระดับการแสดงออกมันมีมากขึ้น ต้องทันสมัย ทันเทคโนโลยี พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง

     “การเล่า การรายงานข่าว มีกระบวนการรีเช็กตัวเองว่าชี้นำเกินไปหรือไม่ เช่น เรากำลัง Live ในสถานการณ์หนึ่ง โอกาสในการชี้นำหรือปลุกความรู้สึกมันมีสูงมาก สื่อต้องรับผิดชอบต่อสิ่งพวกนี้ เพราะสื่อมีส่วนในการบ่มเพาะของทุก Generation ที่ดูอยู่ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่ Reach น้อย แต่ Impact มาก” ผศ.อัญรินทร์ กล่าว

     อาจารย์คณะวารสารศาสตร์ฯ ฝากถึงสื่อรุ่นใหม่ว่า สื่อต้องระวัง และมีจริยธรรมในการนำเสนอ ตระหนักเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา เพราะสิ่งที่จะถ่ายทอดผ่านเรา มันมีผลต่อคนรับเสมอ จงอย่ามองแค่จะสร้าง Rating ยอด Engagement อย่ามุ่งไปที่เรื่องแข่งขันทางด้านเนื้อหา ความหวือหวาและความน่าสนใจอย่างเดียว แต่อย่าลืมมองถึงผลกระทบที่ผู้เสพหรือผู้รับสารจะได้รับด้วย มีความ “ช้า” บ้างก็ได้ ระวังเรื่องการเร้าอารมณ์ มันอาจจะเร้าในสิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นก็ได้

Article Sidebar

เผยแพร่แล้ว: มิ.ย. 30, 2021

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการสื่อสาร การเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศ

Main Article Content

ศุภฤกษ์ โพธิไพรัตนา

คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการสื่อสารและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศของเยาวชนยุคดิจิทัลในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีกระบวนการศึกษาเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเยาวชน อายุตั้งแต่ 13-22 ปี จำนวน 20 คน ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และเครื่องบันทึกเสียงระหว่างการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลจากการนําข้อมูลการสัมภาษณ์ซึ่งอยู่ในรูปแบบบันทึกเสียงอิเล็กทรอนิกส์มาถอดความ และใช้วิธีการจับประเด็นที่สําคัญโดยดึงเฉพาะคําพูดที่เกี่ยวกับประเด็นที่ต้องการใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analyzing) และวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) โดยถอดเนื้อหาจากบทสัมภาษณ์  

            ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการสื่อสารมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศของเยาวชนเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันเยาวชนสามารถเข้าถึงสื่อทางเพศได้อย่างอิสระ จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลทำให้เกิดการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศในกลุ่มเยาวชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากเยาวชนในยุคดิจิทัลที่มีพฤติกรรมการใช้สื่อ และเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้มากมาย เพื่อใช้ในการเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ และนำมาใช้ในชีวิตจริง ไม่ว่าจะเป็นการหาคู่ การพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางเพศ อ่านศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเพศ รวมไปถึงการหาสถานที่นัดพบ หรือสถานที่ให้บริการทางเพศ และการจัดปาร์ตี้ระหว่างกลุ่มคนโสดคนเหงา และเยาวชนยังเข้าใช้สื่อในการแสวงหาข้อมูลต่างๆในแต่ละวันในประเด็นต่างๆ ซึ่งได้แก่ การเข้าเปิดรับหาความบันเทิง หาข้อมูลความรู้ และท่องอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงสื่อเกี่ยวกับประเด็นทางเพศ ซึ่งตัวสื่อมีเนื้อหาที่ล่อแหลมเยอะขึ้น การเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และมีช่องทางในการเข้าถึงผ่านทางสื่อต่างๆบนอินเทอร์เน็ต มือถือสมาร์ตโฟน แอปพริเคชั่น สื่อละคร ซีรี่ย์ และภาพยนต์ที่มีเนื้อหาทางเพศ หนังสือนิตยสารทั้งแบบเอกสารหรือแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีเป้าหมายในการเข้าใช้สื่อเหล่านี้คือ เพื่อผ่อนคลาย เพื่อความบันเทิง และเพื่อใช้ในการแสวงหาข้อมูลเพื่อตอบสนองในความอยากรู้อยากเห็นของตน หรือหาคำตอบที่ไม่สามารถถามกับครอบครัว หรือบุคคลอื่นตรงๆ ได้

อีกทั้งยังพบว่าอีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิส่งผลต่อการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศของเยาวชน คือ ปัจจัยภายในหรือปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ทัศนคติ ความเชื่อ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเพศ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านเพื่อน ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้ต่างมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศที่ส่งผลสอดคล้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันในแต่ละปัจจัย ดังนั้นการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศในหมู่เยาวชนจึงได้รับอิทธิพลจากการใช้สื่อ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน สภาพแวดล้อม และทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยมที่ส่งผลต่อทัศนคติจึงก่อให้เกิดพฤติกรรมทางเพศ


คำสำคัญ พฤติกรรมการสื่อสาร, การเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

References

รายการอ้างอิง

ภาษาไทย
วรรณศิริ ประจันโน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤตกิรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ตามแนวคิดการให้ข้อมูล
ข่าวสาร แรงจงูใจและทักษะพฤติกรรม. (พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะ
พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา).
นวลพรรณ อิศโร. (2559).ปัจจัยทำนายพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดจันทบุรี.
(วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา).
เมธิกา ศรีสด และพิมลพรรณ อิศรภักดี. (2559). การยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานของคนไทย.
(สถาบันวิจัยประชากรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).
นางวิพรรษา คำรินทร์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนศึกษา
สงเคราะห์. (การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
เนตรนภา พรหมมา. (2556).ปัจจัยคาดทำนายความตั้งใจมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสของนักศึกษาชายชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย.
(คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา).
วรา เหลืองชัยกุล. (2556). กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส : กรณีศึกษานักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี. (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ).
อาจารย์วิชชา สันทนาประสิทธิ์. (2555). บทบาทของภาพยนตร์กับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นไทย: กรณีศึกษา นักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา).

สื่อในข้อใดมีอิทธิพลต่อการสร้างความรุนแรงในสังคมมากที่สุด

1) โทรทัศน์ เป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อประชาชนสูงสุด เพราะสามารถเข้าถึงได้ง่ายกับคนทุกเพศทุกวัย โดยมีการนำเสนอภาพที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว และการใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา ความขัดแย้ง หรือความไม่เข้าใจ เช่น การทะเลาะวิวาท ต่อสู้กัน ยิงกัน เป็นต้น

อิทธิพลของสื่อประเภทใดส่งผลต่อการใช้ความรุนแรงของวัยรุ่นมากที่สุด *

๑) สื่อลามก เช่น หนังสือโป๊หนังสือการ์ตูนลามก หนังสือที่มีภาพ โป๊วีซีดีลามกซึ่งสื่อเหล่านี้หาซื้อได้ง่าย และเมื่อวัยรุ่นส่วนใหญ่ได้เสพสื่อ เหล่านี้แล้ว ก็เป็นเหตุที่จะนาไปสู่การกระทารุนแรงทางเพศได้

อิทธิพลของสื่อชนิดใด ส่งผลต่อเจตคติทางเพศของวัยรุ่นมากที่สุด

4.สื่อมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปลูกฝัง เจตคติทางเพศ โดยเฉพาะในกลุ่มวันรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นหรือ อยากลองสิ่งใหม่ๆ เช่น ป้ายโฆษณา แผ่นพับ วิทยุ ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ เว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ต ฯลฯบางชนิดมี ข้อมูลทางเพศโดยตรง บางชนิดก็จะ แอบแฝงอยู่ ซึ่งอาจทาให้วัยรุ่นมีความเชื่อ และทัศนคติทางเพศที่ไม่ถูกต้อง

อิทธิพลในข้อใดมีอิทธิพลกับวัยรุ่นมากที่สุด

สถาบันทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมากที่สุดคือ กลุ่มเพื่อน เพื่อนเป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อพฤติกรรมของวัยรุ่น ทั้งความคิด ค่านิยม การเรียนรู้ วัยรุ่นมักเลือกคบเพื่อนที่มีรสนิยม ทัศนคติคล้ายคลึงกันเด็กชายจะรวมกลุ่มกับ เด็กชายด้วยกันก่อน เด็กหญิงก็จะรวมกลุ่มและมีกิจกรรมร่วมกัน เพราะการมีเพื่อน สนิทเป็นสิ่งสาคั ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก