ข้อใดเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้ง 38 แห่ง *

สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสัญลักษณ์ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็น อุ หรือเลข 9 รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร 7ชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน โดยที่วันบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปด มีสีสัญลักษณ์ตราประจำสถาบัน 5 สี คือ

สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ให้กำเนิดและพระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ”
สีเขียว หมายถึง ที่ตั้งของสถาบันทั้ง 36 แห่ง ในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
สีทอง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองทางปัญญา
สีส้ม หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลในทั้ง 36 สถาบัน
สีขาว หมายถึง ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์ แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สีประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำขวัญมหาวิทยาลัย

ปญฺญา โลกสฺมึ ปชฺโชโต : ปัญญาคือแสงสว่างส่องโลก

พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย


“พระพุทธรัชปัญญาบารมี”
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย

“ดอกราชพฤกษ์”

ราชภัฏสัญลักษณ์

ราชภัฏสัญลักษณ์ :  ได้หลอมรวมมาจากสัญลักษณ์เดิมของวิทยาลัยครูจำนวน 38 สถาบัน ให้คงเหลือความเป็นหนึ่งในรูปแบบสัญลักษณ์ใหม่เพียงรูปแบบเดียว โดยคำนึงถึงประโยชน์ในการนำไปใช้เพื่อการสื่อความหมายง่ายต่อการจดจำ  มีจุดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสถาบัน 
การกำหนดรูปแบบสัญลักษณ์ของสถาบันราชภัฏ 
รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ทรงให้กำเนิดสถาบันราชภัฏ
รูปแบบที่เป็นกลาง เกี่ยวข้องกับถิ่นที่ตั้ง ธรรมชาติและความสอดคล้องกับชื่อสถาบันราชภัฏที่ได้รับพระราชทาน

สีน้ำเงิน

แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”

สีเขียว

แทนค่า แหล่งที่ตั้งของสถาบันราชภัฏ 38 แห่ง ในแหล่งธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม

สีทอง

แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา

สีส้ม

แทนค่า ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 38 สถาบัน

สีขาว

แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

การพัฒนารูปแบบตัวอักษร
ของราชภัฏสัญลักษณ์

            แสดงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างชัดเจนในกรณีการปรับเปลี่ยนแผนการศึกษาของชาติที่เด่นชัด โดยพัฒนาระบบการศึกษาที่เริ่มจากบ้าน วัด วัง และโรงเรียนตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดสำคัญเมื่อทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยทรงใช้กระบวนการทางปัญญาแก้ปัญหาของระบบการพัฒนาประเทศ ตัวอักษรจึงเป็น ส่วนประกอบสำคัญในการจัดวางรูปแบบตามสัญลักษณ์ ปรับตัวอักษรไทยให้มีโครงสร้างในลักษณะใกล้เคียงระบบสากล คือใช้อักษรโรมันแบบ Gothic หรือตัวอักษรอังกฤษแบบ Old English ตัวอักษรล้านนาและตัวอักษรขอม พัฒนาประกอบเข้าด้วยกันเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์รูปแบบตัวอักษรให้สามารถแทนค่าความรู้สึกในการสื่อสารร่วมสมัยและแสดงความสูงส่งแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์

การพัฒนารูปแบบตัวอักษร
ของราชภัฏสัญลักษณ์

          อัญเชิญดวงตราพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันโดยมีอุณาโลมสีทองขอบสีส้มประดับบนเศวตฉัตร 3 ชั้นล่าง ด้านล่างของเศวตฉัตร ในวงกลมเปลี่ยนจักรซึ่งหมุนรอบอุณาโลมเดิมเป็นลายไทยสีทองบนพื้นเขียว พร้อมทั้งขอพระราชทานพระปริมาภิไธยย่อ “ภปร” สีทอง ขอบสีส้มประดับในวงกลมซึ่งมีพื้นสีน้ำเงินเส้นขอบสีขาว เปลวของดวงตราลัญจกรสีทองขอบสีส้มสามสิบหกเปลวอยู่เหนือพื้นที่ภายในวงรีสีน้ำเงิน วงรีนอกของดวงตราด้านบนเป็นชื่อเดิมภาษาไทยของสถาบันราชภัฏทั้ง 38 แห่ง รวมทั้งสภาสถาบันราชภัฏ และมีลายประจำยามปิดหน้าและท้ายตัวอักษร ด้านล่างเป็นชื่อภาษาอังกฤษ ตัวอักษรสีทองบนพื้นเขียวและล้อมวงรีทั้งด้านในและด้านนอกด้วยเส้นสีทองทับ 

ความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระราชลัญจกร

        “พระราชลัญจกร” แบ่งออกได้ 3 ประเภท ประกอบด้วย พระราชลัญจกรประจำแผ่นดินหรือที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าตราแผ่นดิน สำหรับประทับ กำกับพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ หรือกำกับนามผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

          พระราชลัญจกรประจำพระองค์ หมายถึง พระตราที่ใช้ประทับกำกับพระปริมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ที่ไม่เกี่ยวด้วยราชการ แผ่นดิน
พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันเป็นรูปกลมรี ตั้งแปลงไปกว่าพระราชลัญจกรองค์อื่น ๆ ดังกล่าวแล้วลายกลางเป็นรูปพระมหาอุณาโลมอยู่ภายในวงจรรอบวงจักรีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ

          การที่ผู้กำหนดรูปแบบพระราชลัญจกร ดังนี้ มีอธิบายว่า หมายถึง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินโดยที่ผู้แทนทั้งแปดน้อมนำแผ่นดิน และความเป็นใหญ่มาถวายเป็นสัญลักษณ์ แห่งวันบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณีที่เสด็จประดับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ และสมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษกโดยทิศทั้งแปด และครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยทรงรับน้ำอภิเษกจากสมาชิกรัฐสภา แทนที่จะทรงรับจากราชบัณฑิตดั่งในรัชกาลก่อนเนื่องมาจากพระปรมาธิปไธย “ภูมิพล” ซึ่งหมายถึง กำลังแผ่นดิน เมื่อจะกำหนดรูปแบบออกมาไม่มีอะไรเหมาะเท่าพระที่นั่งอัฐทิศ ซึ่งเป็นพระแท่นแปดเหลี่ยมซึ่งถึงจะอย่างไรก็ได้ชื่อว่าตั้งอยู่บนแผ่นดิน เป็นกำลังแผ่นดิน

          พระราชลัญจรประจำพระองค์ ดังกล่าวข้างต้นนั้น สำหรับใช้ประทับกับพระปรมาภิไธยในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน เช่น ประทับในประกาศนียบัตรเหรียญรัตนาภรณ์ เป็นต้น

ตราสัญลักษณ์ ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ เรียกว่าอะไร

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ พิจารณาจากดวงตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 เพื่อกำหนดรูปแบบสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏ และได้รับพระราชทานมาเป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วพระราชอาณาจักร ซึ่งมีรายละเอียดที่สมควร นำมากล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้คือ เป็นรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ให้กำเนิดสถาบัน

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นรูปอะไร

ราชภัฏสัญลักษณ์ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็น อุ หรือเลข 9 รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร 7ชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน โดยที่วันบรมราชาภิเษกตามโบราณ ...

ความหมายของตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร คือข้อใด

ตราประจำมหาวิทยาลัย คือ พระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วย วงจักร กลางวงจักร มีอักขระเป็นอุ หรือเลข 9 รอบวงจักร มีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเสวตฉัตร 7 ชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ หมายความว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพ ในแผ่นดิน โดยที่วันพระบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีได้ ...

ราชภัฏมช มีคณะอะไรบ้าง

เนื้อหา.
8.1 ระดับปริญญาตรี 8.1.1 คณะครุศาสตร์ 8.1.2 คณะวิทยาการจัดการ 8.1.3 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8.1.4 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 8.1.5 คณะเทคโนโลยีการเกษตร 8.1.6 วิทยาลัยนานาชาติ.
8.2 ระดับปริญญาโท และ ระดับปริญญาเอก 8.2.1 บัณฑิตวิทยาลัย.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก