ข้อใด “ไม่ใช่” คุณสมบัติของภาพราสเตอร์

ไฟล์ราสเตอร์คือรูปภาพที่สร้างขึ้นจากสี่เหลี่ยมมีสีเล็กๆ ที่เรียกว่าพิกเซล ซึ่งพิกเซลจำนวนมากสามารถรวมตัวกันเป็นรูปภาพที่มีรายละเอียดสูงอย่างภาพถ่ายได้ยิ่งรูปภาพมีพิกเซลมากเท่าไร ก็ยิ่งมีคุณภาพมากเท่านั้น และยิ่งมีน้อย คุณภาพก็ยิ่งต่ำลงทั้งนี้ จำนวนพิกเซลในรูปภาพจะขึ้นอยู่กับประเภทของไฟล์ (เช่น JPEG, GIF หรือ PNG)

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับไฟล์ประเภทราสเตอร์

ไฟล์เวกเตอร์คืออะไร

ไฟล์เวกเตอร์ใช้สมการคณิตศาสตร์ เส้น และเส้นโค้งพร้อมกับจุดที่กำหนดไว้บนตารางในการสร้างรูปภาพทั้งนี้ ไฟล์เวกเตอร์จะไม่มีพิกเซลอยู่สูตรคณิตศาสตร์ของไฟล์เวกเตอร์จะนำเอารูปทรง เส้นขอบ และการถมสีมาสร้างรูปภาพเนื่องจากสูตรคณิตศาสตร์สามารถปรับเปลี่ยนให้มีขนาดใดก็ได้ คุณจึงสามารถขยายหรือย่อรูปภาพเวกเตอร์ได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของรูปภาพ 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับไฟล์ประเภทเวกเตอร์

ไฟล์ราสเตอร์และไฟล์เวกเตอร์แตกต่างกันอย่างไร

ไฟล์ราสเตอร์และเวกเตอร์ต่างก็เป็นรูปแบบไฟล์ยอดนิยมที่ใช้สำหรับเนื้อหาภาพ แต่ไฟล์ทั้งสองประเภทนี้แสดงรูปภาพด้วยวิธีที่ต่างกัน จึงมีหลายเรื่องที่คุณควรพิจารณาเมื่อต้องตัดสินใจว่าจะใช้ไฟล์ประเภทไหนความแตกต่างหลักๆ ระหว่างราสเตอร์กับเวกเตอร์ ได้แก่

ความละเอียด

หนึ่งในความแตกต่างหลักๆ ระหว่างไฟล์ราสเตอร์และเวกเตอร์ก็คือความละเอียด ความละเอียดของไฟล์ราสเตอร์จะเรียกเป็นหน่วย DPI (จุดต่อนิ้ว) หรือ PPI (พิกเซลต่อนิ้ว)หากคุณซูมเข้าไปดูหรือขยายขนาดรูปภาพแบบราสเตอร์ คุณจะเริ่มเห็นพิกเซลแต่ละพิกเซล 

ไฟล์ราสเตอร์แสดงสีได้หลากหลายกว่า ทำให้แก้ไขสีได้ดีกว่า รวมถึงแสดงแสงและเงาได้ละเอียดกว่าเวกเตอร์ แต่เมื่อปรับขนาดจะทำให้รูปภาพสูญเสียคุณภาพวิธีง่ายๆ ในการระบุว่ารูปภาพนั้นเป็นแบบราสเตอร์หรือเวกเตอร์ก็คือการขยายขนาดรูปภาพหากรูปภาพเบลอหรือแตกเป็นพิกเซล ไฟล์ดังกล่าวก็น่าจะเป็นไฟล์ราสเตอร์

ส่วนไฟล์รูปภาพแบบเวกเตอร์นั้นไม่มีปัญหาเรื่องความละเอียดของภาพคุณสามารถปรับขนาด ปรับสัดส่วน หรือปรับรูปทรงของเวกเตอร์ได้อย่างไม่จำกัดโดยไม่ทำให้รูปภาพเสียคุณภาพไฟล์เวกเตอร์เป็นที่นิยมสำหรับรูปภาพที่ต้องปรากฏในหลากหลายขนาด เช่น โลโก้ที่ต้องอยู่ทั้งในนามบัตรและบนป้ายโฆษณา

การใช้งาน

ภาพถ่ายดิจิทัลโดยทั่วไปเป็นไฟล์ราสเตอร์ กล้องดิจิทัลจำนวนมากจะถ่ายและบันทึกภาพถ่ายเป็นไฟล์ราสเตอร์โดยอัตโนมัติ และรูปภาพที่คุณเห็นบนโลกออนไลน์ก็มักจะเป็นแบบราสเตอร์เช่นกันนอกจากนี้ ไฟล์ราสเตอร์ยังเป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไปสำหรับการแก้ไขรูปภาพ ภาพถ่าย และกราฟิกอีกด้วย

ส่วนไฟล์เวกเตอร์นั้นเหมาะสำหรับภาพประกอบดิจิทัล กราฟิกที่มีความซับซ้อน และโลโก้มากกว่าเนื่องจากเวกเตอร์จะยังมีความละเอียดคงเดิมเมื่อมีการปรับขนาด จึงเหมาะสำหรับสิ่งพิมพ์หลากหลายรูปแบบ

บางโครงการอาจต้องใช้รูปภาพทั้งแบบราสเตอร์และเวกเตอร์ ยกตัวอย่างเช่น โบรชัวร์อาจใช้กราฟิกเวกเตอร์สำหรับโลโก้บริษัทแต่มีภาพถ่ายเป็นไฟล์ราสเตอร์ เป็นต้น

ขนาดไฟล์

โดยปกติแล้ว ไฟล์ราสเตอร์จะมีขนาดใหญ่กว่าไฟล์เวกเตอร์ไฟล์ราสเตอร์สามารถเก็บพิกเซลได้เป็นล้านๆ พิกเซลและมีรายละเอียดมากจนน่าเหลือเชื่อ ซึ่งไฟล์ขนาดใหญ่อาจส่งผลต่อพื้นที่เก็บข้อมูลของอุปกรณ์และทำให้โหลดหน้าเว็บได้ช้าลงอย่างไรก็ตาม คุณสามารถบีบอัดไฟล์ราสเตอร์เพื่อการจัดเก็บและปรับให้เหมาะสมกับเว็บได้ ซึ่งจะทำให้คุณแชร์ไฟล์ได้รวดเร็วและง่ายดายขึ้น

ไฟล์เวกเตอร์นั้นมีขนาดเบากว่าไฟล์ราสเตอร์มาก เนื่องจากมีเพียงสูตรทางคณิตศาสตร์ที่เป็นตัวกำหนดการออกแบบเท่านั้น

ความเข้ากันได้และการแปลงไฟล์

คุณสามารถเปิดไฟล์ราสเตอร์ได้ในแอปและเว็บเบราว์เซอร์มากมาย คุณจึงสามารถดู แก้ไข และแชร์ไฟล์ประเภทนี้ได้ง่ายส่วนไฟล์เวกเตอร์นั้นไม่สามารถเข้าถึงได้ง่ายเท่ากับไฟล์ราสเตอร์ ไฟล์เวกเตอร์หลายๆ ประเภทต้องอาศัยซอฟต์แวร์เฉพาะทางในการเปิดและแก้ไขไฟล์อย่างไรก็ดี คุณก็สามารถแปลงไฟล์เวกเตอร์เป็นราสเตอร์หรือแปลงไฟล์ราสเตอร์เป็นเวกเตอร์ได้เมื่อต้องการ แม้จะยุ่งยากไปบ้างก็ตาม

ประเภทและนามสกุลไฟล์

โดยปกติแล้ว ซอฟต์แวร์ของคุณจะระบุประเภทไฟล์ว่าเป็นราสเตอร์หรือเวกเตอร์ซึ่งไฟล์ราสเตอร์และเวกเตอร์ต่างก็มีหลากประเภทหลายนามสกุล โดยแต่ละประเภทก็มีฟีเจอร์เฉพาะตัวที่แตกต่างกัน มาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทไฟล์บางส่วนที่พบได้บ่อย

ภาพบนคอมพิวเตอร์ หรือกราฟิคคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ ภาพแบบบิตแมป (bitmap) และภาพแบบเวกเตอร์(vector) ความเข้าใจความแตกต่างของกราฟิค ทั้งสองประเภทจะช่วยให้คุณสามารถเลือกใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ และตรงตาม จุดประสงค์สูงสุดในการใช้งาน

ภาพแบบเวกเตอร์จะต่างจากภาพแบบบิตแมป ซึ่งคุณจะได้พบกับภาพแบบนี้บนโปรแกรม สำหรับวาดภาพเช่น Adobe Illustrator,Macromedia Freehand ภาพแบบเวกเตอร์จะประกอบด้วย เส้นสาย ลวดลายต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ของลักษณะทางเรขาคณิตเพื่อ สร้างรูปทรงต่าง ๆ ที่คุณเห็น ซึ่งเรียกว่าเวกเตอร์ (vectors)

ข้อดีของภาพแบบเวกเตอร์ที่มีเหนือภาพแบบบิตแมป คือ คุณสามารถเคลื่อนย้าย ปรับขนาด เปลี่ยนสี รูปทรง โดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพ เพราะภาพแบบเวกเตอร์ เป็นภาพที่ไม่ขึ้นกับ ความละเอียด นั่นคือสามารถปรับขนาดและพิมพ์ที่ความละเอียดใด ๆ โดยไม่สูญเสียรายละเอียด และคุณภาพ ดังนั้นภาพแบบเวกเตอร์จึงเหมาะกับภาพลายเส้นต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร โลโก้

Raster Graphic

โปรแกรมปรับแต่งภาพส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในท้องตลาดทุกวันนี้ มักจะทำงานกับภาพแบบบิตแมป หรือที่เรียกกันว่าแบบราสเตอร์ (raster) ภาพแบบบิตแมปนี้จะใช้ กริดของตารางเล็ก ๆ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “พิกเซล” (pixel) สำหรับแสดงภาพ แต่ละพิกเซลก็จะมีค่าของตำแหน่งและค่าสีของตัวเอง ด้วยเหตุที่พิกเซลมีขนาดเล็กเราจึงเห็นว่าภาพ มีความละเอียดสวยงามไม่มีลักษณะของกรอบสี่เหลี่ยมให้เห็น แต่ถ้าเราขยายขนาดของภาพ ก็จะเห็นกรอบเล็ก ๆ หรือพิกเซลที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ ดังนั้นนเมื่องคุณทำงานกับภาพแบบมิตแมป จึงเป็นทำงานกับพิกเซลเล็ก ๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ ไม่ใช่วัตถุหรือรูปทรงที่เห็น ภาพแบบบิตแมปเป็นภาพที่ขึ้นอยู่กับความละเอียด (resolution)

นั่นคือ มีจำนวนพิกเซลที่แน่นอนในการแสดงภาพ ดังนั้นจากตัวอย่างในภาพที่ 1 คุณจะเห็นว่าเมื่อภาพถูกขยาย หรือพิมพ์ด้วยความละเอียดไม่มากพอภาพจะสูญเสียรายละเอียด และปรากฏเป็นรอยหยักอย่างชัดเจนอย่างไรก็ตามภาพแบบบิตแมป ถือเป็นรูปแบบที่เหมาะกับภาพที่มีเฉดและสีสันจำนวนมาก เช่น ภาพถ่าย หรือภาพวาด

Pixel

พิกเซล (Pixel) เป็นการผสมผสานของคำว่า “Picture” และ “element” คือหน่วย พื้นฐานของภาพ ภาพบิตแมปทุก ๆ ภาพประกอบขึ้นด้วยพิกเซล แต่ละพิกเซลจะมีลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่เก็บข้อมูลของสีโดยถูกกำหนตำแหน่งไว้บนเส้นกริดของแนวแกน x และ y ในลักษณะคล้ายแผนที่ (map) นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่าบิตแมป (bitmap) เช่น พิกเซลของ ภาพ 8 บิต จะเก็บข้อมูลของสี 8 บิต ที่จอภาพจะใช้ในการแสดงผล ดังนั้นภาพภาพหนึ่งจึงประกอบด้วยพิกเซลเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งคุณสามารถมองเห็นได้เมื่อ ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จำนวนของพิกเซล

ที่แสดงต่อหน่วยของความยาวในภาพจะถูกเรียกว่าความละเอียด ของภาพ โดยปกติจะวัดเป็นพิกเซลต่อนิ้ว (ppi : pixel per inch) ภาพที่มีความละเอียดสูงจะประกอบไปด้วยพิกเซลจำนวนมากที่มีขนาดเล็กกว่าภาพเดียวกันที่มีความละเอียดน้อยกว่า ตัวอย่าง เช่น ภาพขนาด 1 x 1 นิ้ว ที่ความละเอียด 72 ppi จะประกอบด้วยพิกเซล 5,184 พิกเซล (ความกว้าง 72 พิกเซล x ความยาว 72 พิกเซล = 5,184) และภาพเดียวกันที่ความละเอียด 300 ppi จะประกอบด้วยพิกเซล 90,000 พิกเซลที่มีขนาดของพิกเซลเล็กกว่า (300 x 300 = 90,000) แน่นอน ว่าภาพที่มีความละเอียดมากกว่าก็จะใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่า

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก