อุปกรณ์ ใด ต่อไปนี้ ไม่ต้อง ติด ตั้ง ไดรเวอร์

บทความรวมความรู้เกี่ยวกับไดรเวอร์ หรือโปรแกรมควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การใช้งานอุปกรณ์บางตัว ถ้าไม่ติดตังไดรเวอร์ ก็จะทำงานไม่ได้

การติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มความสามารถให้คอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น การติดตั้งเครื่องสแกนเนอร์และโมเด็มทำให้สามารถรับส่ง แฟ็กซ์ติดต่อกับบุคคลอื่นๆ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้ สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์บางชิ้น เมื่อ นำมาเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วก็สามารถใช้งานได้ทันที แต่บางชิ้นต้องทำการติดตั้งไดรเวอร์ ให้ก่อน ไดรเวอร์ในที่นี้ก็คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาเชื่อมต่อ กับคอมพิวเตอร์

สำรวจอุปกรณ์ที่มีอยู่
อุปกรณ์ภายนอก
อุปกรณ์ภายนอก เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ แสกนเนอร์ โมเด็มภายนอก กล้อง ดิจิตอล เครื่องอ่านสื่อบันทึกข้อมูล มือถือ ฯลฯ อุปกรณ์บางตัวต้องติดตั้งไดรเวอร์จึงจะใช้งานได้ แต่บาง ตัวไม่ต้องติดตั้ง เพราะขณะลงโปรแกรม Windows XP หรือ Vista จะมีการติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ บางตัวไปแล้ว
1. อุปกรณ์พื้นฐานบางตัว Windows จะติดตั้งไดรเวอร์ให้อัตโนมัติ เช่น ซีดีรอมไดรว์ แฟลชไดรว์ เมาส์ คีย์บอร์ด จึงสามารถใช้งานได้เลย
2. อุปกรณ์บางตัว เช่น คอมพิวเตอร์มือถือ, โมเด็มภายนอก, แสกนเนอร์, เครื่องพิมพ์ ต้องลง ไดรเวอร์ ไม่เช่นนั้นจะใช้งานไม่ได้

 

อุปกรณ์ภายใน
ต้องเปิดเคสออกหรืออาจดูด้านหลังเคส ก็พอจะรู้ว่าเครื่องนั้นๆ มีอุปกรณ์อะไรบ้าง โดยดูที่พอร์ต หรือรูสำหรับเสียบอุปกรณ์ต่างๆ
1. พอร์ตเครื่องพิมพ์ สำหรับต่อกับเครื่องพิมพ์แบบพอร์ตขนาน ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์รุ่นเก่า ส่วน รุ่นใหม่จะใช้พอร์ต USB มากกกว่า
2. ช่องต่อเมาส์ เมาส์ส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งไดรเวอร์ให้อัตโนมัติ
3. ช่องต่อคีย์บอร์ด เช่นเดียวกับเมาส์ ไม่ต้องติดตั้งไดรเวอร์
4. พอร์ต USB เช่นเดียวกับเมาส์ ไม่ต้องติดตั้งไดรเวอร์
5. ช่องต่อการ์ดเน็ตเวิร์ค ส่วนใหญ่ไม่ต้องติดตั้งไดรเวอร์ให้กับการ์ดเน็ตเวิร์ค สามารถใช้งาน ได้ทันที หลังจากได้ลงโปรแกรม Windows เสร็จแล้ว
6. การ์ดเสียง ส่วนใหญ่ไม่ต้องติดตั้งไดรเวอร์ จะสามารถใช้งานได้เลย นอกเสียจากจะเป็นการ์ด เสียงพิเศษราคาแพงๆ คุณสมบัติการทำงานที่ต้องการการควบคุมแบบพิเศษด้วยโปรแกรมเฉพาะตัวหรือต่อ ภายนอก แยกต่างหาก

 

คอมพิวเตอร์แบบ All in One
ตำแหน่งอุปกรณ์ที่อยู่ในแนวเดียวกัน ก็แสดงว่าเป็นอุปกรณ์ประเภทออนบอร์ด มีอุปกรณ์ที่จำเป็นๆ เช่น โมเด็ม การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค ติดมากับเมนบอร์ด (All In One)ในกรณีนี้ ก็จะให้แผ่นซีดี ไดรเวอร์เพียงแผ่นเดียว มีครบทุกไดรเวอร์ทั้งการ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็ม เป็นต้น การติดตั้งก็ง่ายกว่า คอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะอย่างนี้ จะเป็นคอมพิวเตอร์ราคาประหยัด ประสิทธิภาพจะสู้แบบรวมหลายอุปกรณ์ มาประกอบกันไม่ได้

 

คอมพิวเตอร์แบบแยกอุปกรณ์
มาดูอีกสักตัวอย่าง เป็นตัวอย่างที่ 2 อุปกรณ์ต่างๆ ติดตั้งอยู่คนละแนว ไม่เหมือนแบบแรก จะแยก เป็นชิ้นๆ กรณีนี้ก็จะต้องมีแผ่นซีดีไดรเวอร์ของใครของมัน เครื่องคอมพิวเตอร์แบบนี้ จะมีประสิทธิภาพ ในการใช้งานสูงกว่า แต่ราคาเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ก็แพงกว่า
1. ช่องต่อเครื่องพิมพ์ โดยมาตรฐานจะติดมากับเมนบอร์ดอยู่แล้ว
2. ช่องต่อเมาส์ แป้นพิมพ์ และพอร์ต USB ก็เช่นเดียวกัน จะติดมากับเมนบอร์ด
3. ช่องต่อการ์ดจอ อยู่คนละแนว แสดงว่าเป็นการ์ดแยกต่างหาก ประสิทธิภาพในการแสดงผล ภาพจะเร็วกว่าแบบออนบอร์ด
4. การ์ดทีวีจูนเนอร์

 

DetailsCategory: คู่มือประจำบ้าน ลงโปรแกรม ด้วยตนเองHits: 2635
  • Prev
  • Next

บทความโพสต์ล่าสุดในเว็บ

การเขียน จดบันทึก ลงสมุดโน้ตในมือถือแอนดรอยด์ด้วยแอป Foxit

ในมือถือหรือแท็บเล็ตแอนดรอยด์เราสามารถที่จะทำไฟล์ PDF เป็นสมุดโน้ตเปล่า มีเส้นบรรทัด เอาไว้เขียน จดบันทึก เรื่องราวต่างๆ วิธีที่เรียน สิ่งที่จะต้องทำ ฯลฯ แต่จะมีเรื่องสำคัญที่จะต้องรู้ก็คือ หน้าจอมือถือแอนดรอยด์เครื่องนั้นรองรับการเขียนบนหน้าจอได้ดีแค่ไหน และปากกาที่จะใช้เขียนบนหน้าจอต้องเป็นแบบใด ถ้าไม่รองรับเขียน เขียนยาก เส้นติดๆ ขาดๆ

อ่านเพิ่มเติม..


แนะนำอุปกรณ์สำหรับใช้ในการอาบน้ำแบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย

บทความนี้จะพาไปแนะนำให้รู้จักอุปกรณ์ ของใช้ สำหรับอาบน้ำ ใช้ในห้องน้ำแบบต่างๆ ประโยชน์ในการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย ซึ่งอุปกรณ์บางประเภทอาจจะไม่จำเป็น หรือบางอย่างสามารถหาซื้อได้ในราคาถูกกว่า แต่ประโยชน์ใช้งานไม่ต่างกัน

หากคุณเคยใช้งานคอมพิวเตอร์ คุณอาจจะเคยได้ยินคำว่า ไดร์เวอร์ (Driver) กันมาบ้าง พบเห็นได้บ่อย ๆ ตอนติดตั้งโปรแกรม หรือ เวลาใช้งานคอมพิวเตอร์ไปสักพักจู่ ๆ ก็มีหน้าต่างแจ้งเตือนเกี่ยวกับ Driver ขึ้นมา แต่ก็ไม่เข้าใจว่าอยู่ดีว่า Driver ที่เห็นมันคืออะไร เพราะบางครั้งเราไม่ต้องติดตั้ง Driver ก็เห็นว่ามันใช้ได้แบบไม่มีปัญหา แล้วจะติดตั้งไปทำไม ? จริงไหม ?

บทความเกี่ยวกับ Hardware อื่นๆ

ซึ่งในบทความนี้เองจะมาคลายความสงสัยเกี่ยวกับ Driver และความหมายของ Driver รวมไปถึง การทำงานของมัน มีอุปกรณ์อะไรที่ต้องใช้ไดร์เวอร์บ้าง รวมไปถึงเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ Driver ? ถ้าหากไม่มี Driver เราจะยังใช้งานคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ได้ไหม ? หากใครพร้อมแล้ว มาอ่านไปพร้อม ๆ กันเลย

จริงๆ แล้ว Driver ก็คือ โปรแกรม หรือ กลุ่มไฟล์ ที่มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการสื่อสาร ระหว่าง ระบบปฏิบัติการ (Operating System), อุปกรณ์ (Device), ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ (Hardware Component), และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ (Application Software) ให้สามารถทำงานร่วมกันได้

ขอบคุณรูปภาพจาก : //www.digitalcitizen.life/

ซึ่งในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เราใช้งานนั้น จะมี Driver หลายตัวเป็นตัวช่วยในการประสานงานคำสั่ง, เป็นตัวขับเคลื่อน, และ ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ถูกติดตั้งไว้ภายในและภายนอก รวมไปถึงแอปพลิเคชันโปรแกรมต่าง ๆ ที่ติดตั้งไว้

หากไม่มี Driver ละก็ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ จะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ พอใช้งานไปสักพัก การสั่งการต่าง ๆ อาจจะเกิดอาการผิดเพี้ยน หรือ ไม่สามารถใช้งานได้เลย

"ไดร์เวอร์ (Driver)" เปรียบเสมือนคนขับ ที่มีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุม
สามารถรับคำสั่งจากผู้ใช้ และทำให้อุปกรณ์ชิ้นนั้นทำงานบนคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง

สำหรับ Driver นั้น ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลจาก ระบบปฏิบัติการ (OS) ไปยัง ฮาร์ดแวร์ หรือ แอปพลิเคชัน เพื่อสั่งว่าอุปกรณ์และซอฟต์แวร์นั้น ๆ ควรทำงานอย่างไร ในอีกมุมนึง Driver ก็เปรียบเสมือนตัวที่คอยแปลคำสั่ง (Translate) การสื่อสารระหว่างระบบปฏิบัติการให้กลายเป็นรูปแบบที่อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สามารถเข้าใจตรงกันได้

ยกตัวอย่างการกดเล่นวิดีโอบน YouTube

ลองจินตนาการง่าย ๆ ว่าคุณกำลังจะกดเล่นวิดีโอสักคลิปบน Youtube คุณเริ่มกดไปที่ "ปุ่ม Play" บนวิดีโอ YouTube ที่อยู่บนเบราว์เซอร์ ซึ่งเบราว์เซอร์ที่ว่าก็คือโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันตัวหนึ่ง รับข้อมูลการคลิกจากเมาส์และส่งข้อมูลคำขอไปยังระบบปฏิบัติการ ทีนี้ระบบปฏิบัติการของเราก็รู้แล้ว ว่าเราต้องการจะเล่นวิดีโอ

เมื่อระบบรู้ว่ามีคำสั่งให้เล่นวิดีโอ จากนั้นก็วิดีโอบนเว็บเบราว์เซอร์จะเกิดการบัฟเฟอร์ของวิดีโอขึ้น ในขั้นตอนนี้ระบบปฏิบัติการของเราจะขอความช่วยเหลือและสื่อสารกับอุปกรณ์หลายส่วนมากมายเลยล่ะ ทั้งส่งคำขอไปยัง การ์ดเครือข่าย เพื่อรับส่งข้อมูลของวิดีโอจากเซิร์ฟเวอร์, ขอการแสดงผลวิดีโอจากการ์ดจอในเครื่อง, และ ขอให้การ์ดเสียง เล่นเสียงส่วนที่เลือกบนวิดีโอที่เรากำลังเปิดอยู่

สุดท้ายระบบปฏิบัติการและชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเราก็รู้ ว่าข้อมูลไหนที่ควรรับ วิดีโอส่วนไหนที่ควรแสดงบนจอ และ การ์ดเสียงก็รู้ว่าควรเล่นเสียงตรงไหนไปยังลำโพงของเรานั่นเอง การทำงานทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ เพราะมี Driver เป็นตัวกลางในการสื่อสารกับอุปกรณ์อื่น ๆ อยู่นั่นเอง 

มีอุปกรณ์ใดบ้างที่ ต้องใช้ Driver ?

ในส่วนของอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (Computer Hardware) ที่ใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการ หรือ มีฟีเจอร์ที่เครื่องไม่รู้จัก ล้วนจำเป็นต้องมี Driver ทั้งนั้น ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวที่ว่า ก็จะประกอบไปด้วย ชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ (Hardware) และ อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ (Peripherals) เช่น

  • ตัวอ่านข้อมูลจากการ์ด (Card Reader)
  • จอยควบคุมเกม (Game Controller)
  • โมเด็ม (Modem)
  • กล้องเว็บแคม (Webcam)
  • กล้องดิจิทัล (Digital Camera)
  • ชิปเซ็ตบนเมนบอร์ด (Motherboard Chipset)
  • การ์ดเครือข่าย (Network Card)
  • การ์ดเสียง (Sound Card)
  • การ์ดจอ (Video Card)
  • เครื่องพิมพ์ (Printer)
  • เครื่องสแกน (Scanner)
  • เครื่องอ่านเทป (Tape Drive)

มีอุปกรณ์อะไรที่ไม่จำเป็น ต้องใช้ Driver ?

อุปกรณ์บางอย่าง ก็ไม่จำเป็น ต้องติดตั้ง Driver เพราะมันมี ไดร์เวอร์ทั่วไป (Generic Driver) ที่ทำให้เราสามารถใช้งานฟังก์ชันพื้นฐานของอุปกรณ์นั้น ๆ ได้ โดยไม่ต้องใช้ Driver หรือ ซอฟต์แวร์ใด ๆ เพิ่มเติม เช่น

  • หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
  • เครื่องใส่แผ่นซีดี (CD Drive)
  • พัดลม (Fan)
  • ฮาร์ดดิกส์ (Harddisk)
  • แรม (RAM)
  • คีย์บอร์ด (Keyboard)
  • เมาส์ (Mouse)
  • จอภาพ (Monitor)
  • ฮีทซิงก์ระบายความร้อน (Heat Sink)
  • เพาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
  • ลำโพง (Speaker)
  • แฟลชไดร์ฟ (Flash Drive)
  • เครื่องสำรองไฟ (UPS)

อย่างไรก็ตาม หากอุปกรณ์ชิ้นดังกล่าง มีฟีเจอร์ ที่ระบบปฏิบัติการเราไม่รู้จัก อุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ ก็อาจจะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เช่น แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด เราสามารถใช้งานพิมพ์ตัวอักษรได้ตามปกติ แต่ถ้าคีย์บอร์ดนั้นมีปุ่มเสริม หรือ ฟีเจอร์พิเศษอื่น ๆ เราก็จำเป็นต้องติดตั้ง Driver เพิ่มอยู่ดี

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราไม่ติดตั้ง Driver ?

ถ้าเราไม่ได้ติดตั้ง Driver ไว้ อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้อาจจะทำงานได้ไม่ถูกต้อง สั่งการผิดเพี้ยน หรือ ใช้งานไม่ได้เลย ถึงแม้อุปกรณ์บางชนิดอาจจะใช้งานได้ แต่ก็ใช้งานได้เพียงแค่ฟังก์ชันพื้นฐาน ส่วนฟังก์ชันพิเศษที่มีบนอุปกรณ์จะไม่มีสามารถใช้งานได้

ยกตัวอย่างเช่น เมาส์ (Mouse) ทั่วไป ถ้าเราเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ถึงแม้จะไม่ได้ลง Driver เราก็จะใช้งานคลิก เลื่อนเมาส์ ได้ตามปกติโดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็น เมาส์เกมมิ่ง (Gaming Mouse) แบบมี "ปุ่ม Marco " แบบเสริมหลาย ๆ ปุ่ม ถ้าเราเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เราอาจจะใช้งานปุ่มอื่น ๆ ไม่ได้ จนกว่าจะติดตั้งไดร์เวอร์และซอฟต์แวร์เสริม จึงจะสามารถใช้งานได้ทุกฟังก์ชัน

อีกตัวอย่างนึงที่พบได้บ่อย ๆ ก็ คือ เครื่องพิมพ์ (Printer) ที่วางขายอยู่ในท้องตลาด หากเราเสียบเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์และสั่งพิมพ์งาน โดยที่ไม่มี Driver เครื่องพิมพ์ก็จะนิ่งเงียบ ไม่ทำงาน เพราะคอมพิวเตอร์ไม่สามารถสื่อสารกับเครื่องพิมพ์ได้ หรือ คุยกันไม่รู้เรื่องนั่นเอง

ถ้าไม่ติดตั้งไดร์เวอร์ อุปกรณ์ และ ซอฟต์แวร์ จะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือ ใช้งานไม่ได้เลย

เราจะสามารถหา Driver ได้จากที่ไหน ?

ในปัจจุบัน Driver หลัก ๆ จะถูกติดตั้งมาพร้อมกันกับระบบปฏิบัติการ (OS) แบบอัตโนมัติ เราไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม เพียงแค่เสียบอุปกรณ์เข้ากับเครื่อง ตัวระบบก็จะทำการค้นหา Driver เองโดยอัตโนมัติ ถ้าพบ Driver ที่ต้องการตัวเครื่องก็จะทำการติดตั้งและเราก็จะใช้งานอุปกรณ์ได้เลยทันที

แต่ที่ถ้าอุปกรณ์ที่เราใช้ไม่เหมาะกับ Driver ทีที่มีบนเครื่อง หรือ เราติดตั้ง Driver ผิดรุ่น สิ่งที่พอจะทำได้ก็คือ "หา Driver จากแผ่นที่ติดมากับอุปกรณ์ หรือ เว็บไซต์ของอุปกรณ์นั้น ๆ" ซึ่งผู้ผลิตจะเป็นคนปล่อยให้ดาวน์โหลด Driver ที่ผู้ใช้งาน สามารถหาโหลดมาติดตั้งเพื่อใช้บนเครื่องของตัวเองได้นั่นเอง


ขอบคุณรูปภาพจาก www.nvidia.com

การค้นหาทำได้โดย พิมพ์ชื่อยี่ห้อผลิตภัณฑ์ ตามด้วยชื่อรุ่นเฉพาะ เช่น "Driver Nvidia GTX1050" เป็นต้น และก่อนดาวน์โหลดอย่าลืมตรวจสอบเวอร์ชันของ Driver เสียก่อน (เช่น Version 461.92) ว่าใหม่ล่าสุดหรือไม่ และ โหลดมาตรงกับระบบปฏิบัติการ (เช่น Windows 10 หรือ 11) ที่เราใช้ด้วยหรือเปล่า


ขอบคุณรูปภาพจาก : //support.microsoft.com

ขอแนะนำว่าไม่ควร เพราะเราไม่จำเป็นต้องอัปเดต Driver บ่อย ๆ ถ้าอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์ของเราใช้งานได้ไม่มีปัญหา ก็ไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลด Driver มาติดตั้งเอง อีกทั้งซอฟต์แวร์และอุปกรณ์สมัยนี้จะแจ้งเตือนให้เราอัปเดต Driver เอง ถ้ามีเวอร์ชันใหม่ก็ลองอัปเดตดูได้

อีกกรณีนึง ถ้าอุปกรณ์ที่เราใช้งานขัดข้อง และ มีปัญหาบ่อย แต่อุปกรณ์ไม่ได้พัง ก็แสดงว่า Driver ที่ใช้อาจจะมีปัญหาได้ ลองเข้าไปดาวน์โหลด Driver เวอร์อื่น ๆ จากทางผู้พัฒนาดู ถ้ามีรายละเอียดการแก้ไข ปัญหาบัคจุกจิก ที่เราประสบพบเจออยู่ พอติดตั้ง Driver ใหม่ ปัญหาเหล่านี้ก็อาจจะหายไปได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก