บริเวณใดเหมาะสำหรับเพาะปลูก

ไร่เทพเป็นตัวช่วยให้กับเกษตรกรทั่วทุกภาคของประเทศไทย ที่เป็นประเทศเกษตรกรรม โดยมีการปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามมีพืชหลายชนิดที่เป็นพืชนิมปลูกในพื้นที่ต่างๆ โดยแบ่งตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ การปลูกพืช ภูมิอากาศ พืชที่นิยมปลูกในแต่ละภูมิภาคอาจแบ่งได้ดังนี้

1. พืชนิยมปลูกภาคเหนือของประเทศไทย
ที่ตั้งอยู่บนภูเขาสูงมีการปลูกพืชระบบหมุนเวียนตามฤดูกาล ปัจจุบันการผลิตข้าวนาขั้นบันไดเป็นระบบการเกษตรที่ยั่งยืนบนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบน และสามารถสร้างผลผลิตสูงกว่าการปลูกข้าวไร่ โดยจะมีการปลูกข้าวอยู่ในระดับปานกลาง เพียงร้อยละ 10.3 ของพื้นที่การปลูกข้าวบนที่สูง การปลูกพืชหมุนเวียนเป็นระบบการปลูกพืชที่สามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินในช่วงเวลาหนึ่งลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรคและแมลงและเป็นรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรได้ และมีการปลูก ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวโพด ฝ้าย ข้าวฟ่าง ข้าวโพด และอื่นๆ รวมถึงผลไม้ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง เป็นต้น การปลูกพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ จึงทำให้มีความหลากหลายของพืชพรรณต่างๆ ด้วยพื้นที่ชลประทาน 10% ในช่วงฤดูแล้งเกษตรกรจึงนิยมปลูก โดยจะการปลูกข้าวที่ใช้ปลูกในฤดูแล้ง หรือ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วฝักยาว ยาสูบ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดอ่อน หอมหัวใหญ่ กระเทียม มะเขือเทศ แตงโม เป็นต้น ดังนั้นการปลูกพืชโดยทั่วไปในพื้นที่นี้จึงเป็นการปลูกข้าวและการปลูกไม้ผลเป็นหลัก

2.พืชนิยมปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (ภาคอีสาน)
การเพาะปลูก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำการเพาะปลูกมากที่สุด แต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำสุด เนื่องจากดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น การปลูกข้าว พืชไร่ที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ปอ ฝ้าย โดยพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.เกิดปัญหาดินเค็ม ขาดความอุดมสมบูรณ์ 2.ขาดแคลนน้ำมากที่สุด เนื่องจากดินเป็นดินปนทรายไม่อุ้มน้ำ 3.การบุกรุกป่าไม้ของประชากรเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการเพาะปลูก หรือเพื่อการค้า ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรัพยากรดิน ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินทรายและขาดธาตุอาหาร ใต้ดินมีเกลือหินทำให้ดินเค็มและแห้ง ไม่เหมาะในการเพาะปลูกพืช และทำนา ดังนั้นไร่เทพจึงมีส่วนสำคัญในการช่วยปรับปรุงดิน ทำให้โครงสร้างของดินดี ดินโปร่ง ร่วนซุย น้ำและอากาศถ่ายเทสะดวก รากพืชแผ่ขยายได้ง่าย ผสมน้ำราดโคนต้น จะช่วยปรับสภาพดินเหนียวให้คลายตัวออก สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดินให้พืชกลับนำมาใช้ใหม่ได้ใหม่อย่างเต็มที่ในดินทรายจะช่วยอุ้มน้ำ รักษาความเป็นกรด ด่าง ไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็ว เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินปนทรายไม่สามารถอุ้มน้ำได้ จึงทำให้ขาดแคลนน้ำเป็นสำคัญ จึงต้องอาศัยการชลประทานเข้ามาช่วยมีการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเก็บกักน้ำ

3. พืชนิยมปลูกภาคกลางของประเทศไทย
รูปแบบการทำเกษตรกรรมในภาคกลางเป็นทำการเกษตรกรรมแบบผสมผสานคือมีการปลูกพืชและเลี้ยงปศุสัตว์ควบคู่กัน สามารถปลูกพืชอายุสั้น เช่น ข้าว (โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปรัง) พืชไร่ พืชผักมากกว่า 1 ครั้งในรอบปี โดยจังหวัดที่มีความถี่ของการใช้พื้นที่เพื่อเพาะปลูก ค่อนข้างสูง สำหรับกลุ่มพืชไร่ที่เพาะปลูกในภาคกลางที่สำคัญประกอบด้วย ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย สับปะรด ทานตะวัน และข้าวฟ่าง ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทั้งภาค ดังนี้ อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง สับปะรด และข้าวฟ่าง

4.พืชนิยมปลูกภาคใต้ของประเทศไทย
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคใต้ ได้แก่ ยางพารา มะพร้าว กาแฟ ปาล์มน้ำมัน ข้าวและไม้ผล ต่าง ๆ แม้ว่าข้าวจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอสำหรับบริโภค ส่วนพืชไร่และพืชผัก ต่าง ๆ มีปลูกกันน้อย เช่นเดียวกันกับการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น โค กระบือ ก็ยังมีเป็นส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดการถือครองพื้นที่การเกษตร อย่างไรก็ตาม บริเวณพื้นที่ที่น่าจับตามองว่าจะเป็นแหล่งที่จะพัฒนาการเลี้ยงโคได้ดี เนื่องจากมีศักยภาพทางด้านพื้นที่และความพร้อมของประชากร หากได้รับการสนับสนุนทางด้านปัจจัยการผลิต เงินทุน อัตรา ดอกเบี้ยและระยะเวลาผ่อนชำระหนี้นานจากรัฐบาล น่าจะทำให้การพัฒนาการเลี้ยงโค-กระบือในภาคใต้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความต้องการโค-กระบือของตลาดทั้งภายในประเทศและนอกประเทศยังอยู่ในระดับสูง

ลักษณะพื้นที่ปลูกอ้อยที่เหมาะสม

        

1. สภาพพื้นที่เหมาะสม

- พื้นที่ดอน หรือที่ลุ่มไม่มีน้ำท่วมขัง


- ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร


- ความลาดเอียงไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์


- ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ


- การคมนาคมสะดวกอยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 60 กิโลเมตร

2. ลักษณะดิน

- ดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย


- ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสที่เป็น ประโยชน์มากกว่า10 ส่วนในล้านส่วน โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มากกว่า 80 ส่วนในล้านส่วน


- ระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร


- การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี


- ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5-7.0


- ค่า อีซีหรือความเค็มไม่เกิน 4.0 เดซิซีเมนต่อเมตร

ตารางแสดงค่ามาตราฐานความเหมาะสมของดินที่ปลูกอ้อย

3. สภาพภูมิอากาศ

- อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 30-35 องศาเซลเซียส และต้องการอุณหภูมิกลางคืน  18-22 องศาเซลเซียส ในช่วงสุกแก่ หรืออ้อยอายุ 10-11 เดือน


- ปริมาณน้ำฝน 1,200-1,500 มิลลิเมตร/ปี กระจายสม่ำเสมอในช่วงอ้อยอายุ 1-8 เดือน และมีช่วงปลอดฝน 2 เดือน ก่อนการเก็บเกี่ยว


- มีแสงแดดจัด

4. แหล่งน้ำ

- มีน้ำเพียงพอสำหรับใช้เมื่อจำเป็นสำหรับแปลงพันธุ์ควรมีน้ำเพียงพอใช้ตลอดฤดูปลูก


- ค่าอีซีหรือความเค็มไม่เกิน 0.75 เดซิซีเมน/เมตร 


- ต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่มีพิษปนเปื้อน

5. วางแผนการผลิต

อ้อยเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมน้ำตาล จำเป็นต้องวางแผนการผลิตให้พอเพียงกับความต้องการใช้ตลอดฤดู


- ผู้ปลูกต้องติดต่อขอโควต้าส่งอ้อยเข้าโรงงาน ที่อยู่ใกล้ไร่อ้อยมากที่สุด เพื่อจัดการปัจจัยการผลิตให้พอเพียงกับความต้องการใช้ตลอดฤดูปลูก


- จดทะเบียนเป็นผู้ปลูกอ้อย ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527


- วางแผนการปลูกอ้อยให้มีอายุเก็บเกี่ยวสอดคล้องกับช่วงเปิดหีบอ้อยของโรงงาน คือ ระหว่างเดือน ธ.ค.-เม.ย.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก