หน่วยงานใดเกี่ยวข้องกับการบัญญัติศัพท์วิชาการและวิชาชีพ

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  ศัพท์ทางวิชาการและวิชาชีพ คือ ศัพท์เฉพาะที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในศาสตร์แขนงต่าง ๆ จำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจความหมาย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

  ใช้คําทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. สามารถบอกความหมายของคำศัพท์วิชาการและคำศัพท์วิชาชีพได้

  2. สามารถจำแนกคำศัพท์วิชาการและคำศัพท์วิชาชีพได้

  3. มีความมุ่งมั่นในการทำงาน

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

  1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

  1.2 ประเมินใบงาน

2. เครื่องมือ

  2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

  2.2 เกณฑ์การประเมินใบงาน

3. เกณฑ์

  3.1 ผลงานมีความถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

  3.2 ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ขึ้นไป

การบัญญัติศัพท์

การบัญญัติศัพท์เป็นวิธีการยืมคำ โดยรับเอาเฉพาะความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาสร้างคำขึ้นใหม่ ซึ่งมีเสียงแตกต่างจากคำในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะศัพท์ทางวิชาการจะใช้วิธีการนี้มาก ผู้ที่ทำหน้าที่ในการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้ มักจะเป็นนักวิชาการสาขาต่าง ๆ หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยขึ้น ใช้แทนคำยืมจากภาษาต่างประเทศโดยตรง คือ ราชบัณฑิตยสถาน แต่ก็มีบางคำที่นักวิชาการแต่ละคนหรือแต่ละหน่วยงานบัญญัติศัพท์ภาษาไทยมาใช้แทนคำภาษาอังกฤษไม่ตรงกัน

หรือคือ คำศัพท์ ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนเอกสารของทางราชการ และการเรียนการสอน ผู้ออกศัพท์บัญญัติในปัจจุบัน

การยืมคำจากภาษาอังกฤษมาสร้างเป็นคำใหม่ เพื่อใช้สื่อสาร โดยวิธีการบัญญัติศัพท์ มีมากมาย ดังตัวอย่าง เช่น

ศัพท์บัญญัติจะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ต่างๆ เช่น
คอมพิวเตอร์ แพทย์ศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเชื่อม พลังงาน ประชากรศาสตร์ พฤกษศาสตร์ ปรัชญา ประกันภัย วรรณกรรม ปรับอากาศ สัทศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปะ เทคโนโลยีสารสนเทศ ยานยนต์ ทันตแพทยศาสตร์ ธรณีวิทยา คณิตศาสตร์

ตัวอย่างศัพท์บัญญัติ

แฟลต , อพาร์ตเม้นต์

=

ห้องชุด

คอมพิวเตอร์

=

คณิตกรณ์

ดีวีดี

=

แผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิตอล

ปริ้นเตอร์

=

เครื่องพิมพ์

อินฟีนีตี้

=

อนันต์

ซิมการ์ด

=

บัตรระบุผู้เช่า

ซิม

=

มอดูลระบุผู้เช่า

จอยสติ๊ก

=

ก้านควบคุม

ซีพียู

=

หน่วยประมวลผลกลาง

คีย์บอร์ด

=

แผงแป้นอักขระ

วิทยุ

จากคำ

Radio

คมนาคม

จากคำ

Communication

ไปรษณียบัตร

จากคำ

Post card

บรรณาธิการ

จากคำ

Editor

ตำรวจ

จากคำ

Police

โทรเลข

จากคำ

Telegram

โทรศัพท์

จากคำ

Telephone

ขอบคุณที่มา

//www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter3-4.html
//namtanclassicbear.wordpress.com/ใช้คำทับศัพท์และศัพท์บ/

วิดีโอ YouTube

ขอขอบคุณที่มาจาก YouTube : //youtu.be/eQg6pkFU_wQ

        คำศัพท์ทางวิชาการ หมายถึง คำศัพท์ที่กล่าวถึงหรืออธิบายเรื่องราวที่เป็นความรู้ทางวิชาการแขนงต่าง ๆ ศัพท์วิชาการเป็นคำที่ผู้ศึกษาวิชาการนั้น ๆ จะเข้าใจร่วมกันได้ดี ส่วนมากเป็นคำที่รับมาจากภาษาต่างประเทศ

                ตัวอย่างคำศัพท์ทางวิชาการ

                     ศัพท์ภาษาไทย เช่น การเปรียบเทียบแบบอุปลักษณ์ จินตภาพ

                     ศัพท์คณิตศาสตร์ เช่น เรขาคณิต องศา

                     ศัพท์วิทยาศาสตร์ เช่น เอนไซม์ วิตามิน เซลล์

                     ศัพท์สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น ชาติพันธ์ วัฒนธรรม

                     ศัพท์สุขศึกษาและพลศึกษา เช่น สุขสมรรถนะ สรรถภาพทางกาย

                     ศัพท์การงานอาชีพและเทคโนโลยี เช่น อุปกรณ์รับเข้า หน่วยความจำหลัก หน่วยประมวลกลาง

                     ศัพท์ศิลปะ (ดนตรี นาฏศิลป์ ทัศนศิลป์) เช่น คอนแชร์โต กระบวนเพลง

            คำศัพท์วิชาชีพ หมายถึง คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น แพทย์ นักกฎหมาย ครู นักปกครอง

               ตัวอย่างคำศัพท์ทางวิชาชีพ

                    ศัพท์วิชาชีพครู เช่น การปฏิรูปการศึกษา ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

                    ศัพท์ทันตแพทย์ เช่น โรคปริทันต์

                    ศัพท์กฎหมาย เช่น คดีอาญา คดีแพ่ง

                    ศัพท์แพทย์ เช่น อัลซไฮเมอร์ วัคซีน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก