ดาวประกายพรึกมองเห็นเวลาใด

           ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และถ้าเราอยู่บนดาวศุกร์เวลา 1 วัน จะไม่ยาวเท่ากับเวลาที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ นี่คือลักษณะพิเศษที่ดาวศุกร์ไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงใดๆ นอกจากนี้ดาวศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ในขณะที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ 243 วัน แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก เพราะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกยาวนาน 58.5 วันของโลก ดาวศุกร์เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 225 วัน 1 ปีของดาวศุกร์จึงยาวนาน 225 วันของโลก

ใกล้จะถึงปีใหม่ พ.ศ. 2555 สัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้า ผู้เขียนจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการปรากฏของดาวเคราะห์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า 5 ดวง สำหรับท้องฟ้าประเทศไทย

ใกล้จะถึงปีใหม่ พ.ศ. 2555 สัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้า ผู้เขียนจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการปรากฏของดาวเคราะห์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า 5 ดวง สำหรับท้องฟ้าประเทศไทย

ดาวพุธ

ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์และเคลื่อนที่เร็วที่สุด เรามีโอกาสสังเกตดาวพุธได้เฉพาะในเวลาพลบค่ำหรือรุ่งสาง เวลาที่สังเกตดาวพุธได้คือ ช่วงที่ดาวพุธทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากพอสมควร พ.ศ. 2555 มีช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาเช้ามืดอยู่ 4 ช่วง ช่วงแรกคือต้นเดือน ม.ค. (ต่อเนื่องมาจากเดือน ธ.ค. 2554) ช่วงที่ 2 คือเดือน เม.ย. ถึงต้นเดือน พ.ค. เป็นช่วงที่ดาวพุธทำมุมห่างดวงอาทิตย์มาก ช่วงที่ 3 อยู่ในกลางเดือน ส.ค. ช่วงสุดท้ายคือปลายเดือน พ.ย. ถึงต้นเดือน ธ.ค. เป็นช่วงที่มีดาวศุกร์กับดาวเสาร์มาอยู่สูงเหนือดาวพุธ

ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำมี 3 ช่วง ช่วงแรกอยู่ในต้นเดือน มี.ค. ช่วงที่ 2 กลางเดือน มิ.ย. ถึงต้นเดือน ก.ค. ดาวพุธทำมุมห่างดวงอาทิตย์มาก แต่อาจมีอุปสรรคจากเมฆฝน ช่วงสุดท้ายคือกลางเดือน ต.ค. ถึงต้นเดือน พ.ย.

เมื่อสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นดาวพุธมีการเปลี่ยนแปลงคล้ายดิถีของดวงจันทร์ หากปรากฏในเวลาหัวค่ำ ดาวพุธจะเปลี่ยนแปลงจากสว่างเกือบเต็มดวงไปสว่างเป็นเสี้ยว และมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนเวลาเช้ามืดจะเปลี่ยนแปลงจากเป็นเสี้ยวไปสว่างเกือบเต็มดวง และมีขนาดเล็กลง

ดาวศุกร์

ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุด เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ เรียกว่า “ดาวประจำเมือง” เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เรียกว่า “ดาวประกายพรึก” หรือ “ดาวรุ่ง” ดาวศุกร์ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์สูงสุดไม่เกิน 47 องศา เมื่อสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นดาวศุกร์เปลี่ยนแปลงรูปร่างเช่นเดียวกับดาวพุธ แต่เห็นได้ชัดกว่าเนื่องจากขนาดที่ใหญ่กว่ามาก

 

ดาวศุกร์เป็นดาวประจำเมืองมาตั้งแต่เดือน ต.ค. 2554 โดยเคลื่อนตัวออกห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นทุกวัน ค่ำวันที่ 910 ก.พ. 2555 ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวยูเรนัสด้วยระยะห่างน้อยกว่า 1 องศา กลางเดือน มี.ค. จะเห็นดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี วันที่ 27มี.ค. เป็นวันที่ดาวศุกร์ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด คืนวันที่ 3 เม.ย.ดาวศุกร์อยู่ท่ามกลางดาวฤกษ์หลายดวงของกระจุกดาวลูกไก่

ปลายเดือน พ.ค. เป็นช่วงสุดท้ายที่มีโอกาสเห็นดาวศุกร์ในเวลาหัวค่ำ หลังจากนั้นดาวศุกร์จะใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนสังเกตได้ยาก ช่วงที่ดาวศุกร์หายไปนี้ ดาวศุกร์จะเคลื่อนมาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในเช้าวันพุธที่ 6 มิ.ย. 2555 สามารถสังเกตเห็นได้เป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่ของโลก โดยปรากฏเป็นดวงกลมดำเคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์ มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 33 เท่า ประเทศไทยสังเกตได้ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลาประมาณ 11.50 น.

หลังจากนั้น 12 สัปดาห์ ดาวศุกร์เริ่มกลับมาปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดเป็นดาวประกายพรึก จันทร์เสี้ยวมาอยู่เคียงข้างดาวศุกร์ในวันที่ 18 มิ.ย. ปลายเดือน มิ.ย. ถึงต้นเดือน ก.ค. ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีเป็นครั้งที่ 2 ของปี แต่ห่างมากกว่าครั้งก่อน

วันที่ 15 ส.ค. ดาวศุกร์ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด กลางเดือน ก.ย. ดาวศุกร์จะผ่านใกล้กระจุกดาวรังผึ้ง ซึ่งเป็นกระจุกดาวในกลุ่มดาวปู เช้ามืดวันที่ 3 ต.ค.ดาวศุกร์จะอยู่ใกล้ดาวหัวใจสิงห์ด้วยระยะห่างประมาณครึ่งองศา วันที่ 27 พ.ย.ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวเสาร์ เมื่อถึงสิ้นปีดาวศุกร์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนปรากฏอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้า แต่ยังพอสังเกตได้หากท้องฟ้าโปร่ง

ดาวอังคาร

ดาวอังคารได้ชื่อว่าดาวแดง เนื่องจากปรากฏบนท้องฟ้าเป็นดาวสว่างสีแดง ชมพู หรือส้ม ต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่นและดาวฤกษ์ส่วนใหญ่บนท้องฟ้า บรรยากาศอันเบาบางทำให้เราสามารถส่องกล้องมองเห็นพื้นผิวดาวอังคารได้ ยกเว้นช่วงที่เกิดพายุฝุ่นปกคลุม และบางช่วงสามารถเห็นน้ำแข็งที่ขั้วดาว

ช่วงที่สังเกตดาวอังคารได้ดีที่สุดคือขณะที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลกที่สุด ตรงกับช่วงที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ซึ่งเกิดขึ้นเฉลี่ยทุก 2 ปี 2 เดือน ปีนี้ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 4 มี.ค. 2555 การที่ดาวอังคารกำลังเข้าใกล้โลกมากขึ้นในช่วงต้นปี ทำให้ขนาดและความสว่างของดาวอังคารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ครึ่งแรกของเดือน ม.ค. ดาวอังคารอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต จากนั้นย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาว ก่อนถอยหลังกลับมาอยู่ในกลุ่มดาวสิงโตอีกครั้งในต้นเดือน ก.พ.

ต้นเดือน มิ.ย. จะเห็นดาวอังคารอยู่สูงกลางฟ้าในเวลาหัวค่ำ ปลายเดือน มิ.ย.ดาวอังคารออกจากกลุ่มดาวสิงโตเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาว คืนวันที่ 14 ส.ค. ดาวอังคารเคลื่อนมาอยู่ตรงกลางระหว่างดาวเสาร์กับดาวรวงข้าว เมื่อถึงต้นเดือน ก.ย. ดาวอังคารจะเข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่ง แล้วย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวแมงป่องและคนแบกงูในช่วงต้นเดือนและปลายเดือน ต.ค. ตามลำดับ

กลางเดือน พ.ย. ดาวอังคารเข้าสู่กลุ่มดาวคนยิงธนู ปลายเดือน ธ.ค. เข้าสู่กลุ่มดาวแพะทะเล 2 เดือนสุดท้ายของปี 2555 เป็นช่วงที่มีเวลาสังเกตดาวอังคารได้ไม่นานนัก เนื่องจากมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 40 องศา

ปรากฏการณ์ท้องฟ้า

(11–18 ธ.ค.)

เวลาพลบค่ำ ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นดาวสว่างที่สุด 2 ดวง จะเริ่มปรากฏให้เห็นตั้งแต่ท้องฟ้ายังไม่มืดสนิท ดาวศุกร์อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนูบนท้องฟ้าด้านทิศตะวันตก สัปดาห์นี้ตกลับขอบฟ้าในเวลาประมาณ 2 ทุ่ม ดาวพฤหัสบดีอยู่บริเวณแนวรอยต่อระหว่างกลุ่มดาวแกะกับกลุ่มดาวปลา เริ่มปรากฏทางทิศตะวันออก จากนั้นขึ้นไปอยู่สูงใกล้จุดเหนือศีรษะในเวลาเกือบ 3 ทุ่ม แล้วคล้อยต่ำลงไปตกลับขอบฟ้าในเวลาประมาณตี 3

ดาวอังคารอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ราวเที่ยงคืนครึ่ง ดาวอังคารจะขึ้นมาอยู่เหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกด้วยมุมเงย 10 องศา จากนั้นเคลื่อนสูงขึ้นไปอยู่เหนือศีรษะในเวลาเช้ามืด ดาวเสาร์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว เริ่มเห็นได้ทางทิศตะวันออกหลังจากดาวพฤหัสบดีตกลับขอบฟ้าไปแล้วไม่นาน ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ๆ ทางขวามือของดาวเสาร์คือ ดาวสไปกา หรือชื่อไทยว่า ดาวรวงข้าว เป็นดาวสว่างในกลุ่มดาวหญิงสาว เมื่อใกล้สว่าง ดาวเสาร์จะทำมุมสูงเหนือขอบฟ้าประมาณ 40 องศา ปลายสัปดาห์อาจเห็นดาวพุธอยู่ใกล้ขอบฟ้าทางทิศตะวันออก เยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีตำแหน่งอยู่บริเวณหัวแมงป่อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก