ในสมัยใดที่เปลี่ยนวันขึ้น

ไลฟ์สไตล์

01 ม.ค. 2565 เวลา 0:15 น.12.2k

ชวนรู้ประวัติและความเป็นมาของ "ปีใหม่สากล" ที่ตรงกับวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ใครเป็นคนบัญญัติขึ้นมากันแน่? และมนุษย์เริ่มมีการใช้ "ปฏิทิน" เพื่อนับวันเวลาในรอบปีมาตั้งแต่เมื่อไร? หาคำตอบได้ที่นี่!

ก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ในปี 2565 กันแล้ว ขอให้เป็นปีที่ดีของคนไทยทุกคน และร่วมกันสู้วิกฤติโควิด "โอมิครอน" ให้ผ่านพ้นไปด้วยกันได้อีกครั้ง 

เนื่องในโอกาสที่เริ่มต้นปีใหม่ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนทุกคนไปรู้จักประวัติ "ปีใหม่สากล" อย่างวันที่ 1 มกราคม ของทุกปีว่าเริ่มต้นมีมาตั้งแต่เมื่อไร

  • "วันปีใหม่" เกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรบาบิโลน

ขอย้อนพาไปดูความหมายของ "วันขึ้นปีใหม่" กันก่อนสักนิด โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ระบุเอาไว้ว่าคำว่า "ปี" หมายถึง ระยะเวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่ง โดยใช้เวลาราว 365 วัน หรือ 12 เดือนตามสุริยคติ ดังนั้นคำว่าวันขึ้นปีใหม่ จึงหมายถึงวันแรกของการโคจรของโลกในรอบใหม่นั่นเอง

ส่วนจุดเริ่มต้นของ "วันปีใหม่สากล" นั้น ว่ากันว่าเริ่มขึ้นในสมัยที่ชาวบาบิโลเนีย (ผู้คนในอาณาจักรกรุงบาบิโลน เป็นอาณาจักรที่พูดภาษาแอกแคดโบราณในภาคกลางตอนใต้ของเมโสโปเตเมีย) เริ่มคิดค้นการใช้ "ปฏิทิน" โดยอาศัยระยะต่างๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดให้เท่ากับเป็น 1 ปี พอเริ่มนับเวลารอบใหม่ก็กำหนดให้วันแรกที่นับเป็น "วันขึ้นปีใหม่"

แต่ในสมัยนั้น ชาวเมืองต้องการให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทิน กับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี 

  • ยุค "จูเลียต ซีซาร์" ปรับปฏิทินให้ 1 ปีมีแค่ 12 เดือน

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายครั้ง เพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น

จนถึงสมัยของกษัตริย์ "จูเลียต ซีซาร์" ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ "โยซิเยนิส" มาปรับปรุงการกำหนดช่วงระยะเวลาใหม่ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน หรือ 12 เดือนเท่านั้น และในทุกๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า "อธิกสุรทิน"

จากการปรับปรุงปฏิทิน ทำให้พบว่าในวันที่ 21 มีนาคม ตามปีปฏิทินของทุกๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือ เป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกในองศาที่พอดีเป๊ะ! 

ในวันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลา "กลางวัน" และ "กลางคืน" เท่ากันอย่างละ 12 ชั่วโมงเท่ากัน เรียกว่า "วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม" (Equinox in March)

  • เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นตัวกำหนด "ปีใหม่สากล"

ต่อมาในยุคของ "พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13" ประมาณปี พ.ศ. 2125 พบว่าวัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม เหมือนในอดีต

ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้)

ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า "ปฏิทินเกรกอเรี่ยน" จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปี หรือ"วันปีใหม่สากล" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

  • "ปีใหม่ไทย" ถูกปรับตาม "ปีใหม่สากล"

ในอดีตวันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้ง คือ

  • ครั้งที่ 1 ถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม ยึดตามปฏิทินจันทรคติเป็นหลัก
  • ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน ยึดตามปฏิทินจันทรคติเป็นหลัก
  • ครั้งที่ 3 ได้ถือเอาปฏิทินสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ (วันสงกรานต์) ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา

ต่อมาเมื่อไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางการจึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก และในปี พ.ศ. 2479 ก็ได้มีการจัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด ในสมัยนั้นเรียกกันว่าเป็น "วันตรุษสงกรานต์"

  • ครั้งที่ 4 ได้ปรับเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับนานาประเทศทั่วโลก โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2484 เป็นต้นมา

สำหรับการพิจารณาเปลี่ยน "วันขึ้นปีใหม่" ในครั้งนั้น เกิดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเรื่องนี้ขึ้นมา ซึ่งมี "หลวงวิจิตรวาทการ" เป็นประธานกรรมการ หลังจากหารือกันแล้วเสร็จ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากเดิม 1 เมษายน ให้เป็นวันที่ 1 มกราคมแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็นวันขึ้นปีใหม่สากลครั้งแรกในไทย

-------------------------------------

อ้างอิง : gotoknow.org

ความหมาย

วันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ปี หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน และ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

ประวัติความเป็นมา

ในสมัยโบราณนั้น แต่ละชาติต่างก็ไม่มีวันขึ้นปีใหมที่ตรงกัน เช่นในประเทศเยอรมัน ชาวเยอรมันในสมัยโบราณจะมีวันขึ้นปีใหมในปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นเวลาที่กำลังมีอากาศหนาวเย็น ประชาชนที่แยกย้ายออกไปหากินในที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ในช่วงฤดูร้อน หลังจากเก็บเกี่ยวพืชผล และ นำขึ้นยุ้งฉางเสร็จแล้ว ก็จะมาร่วมฉลองขึ้นปีใหม่ในระยะนี้ ต่อมาเมื่อชาวโรมันได้เข้ามารุกราน จึงได้เลื่อนการฉลองปีใหม่มาเป็น วันที่ 1 มกราคม ชาติโบราณ เช่น ไอยคุปค์ เฟนิเชียนและอิหร่าน เริ่มปีใหม่ราว วันที่ 21 กันยายน รวมถึงชาวโรมันก็เริ่มปีใหม่วันนี้เช่นเดียวกัน

ครั้งมาถึงสมัยของซีซาร์ที่ใช้ปฏิทินแบบยูเลียน จึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม แต่

  • พวกยิวจะขึ้นปีใหม่ อย่างเป็นทางการประมาณวันที่ 6 กันยายน ถึงวันที่ 5 ตุลาคม และ ทางศาสนาเริ่มวันที่ 21 มีนาคม
  • ชาวคริสเตียนในยุคกลางจะเริ่มปีใหม่ในวันที่ 25 มีนาคม
  • คนอังกฤษ เชื้อสายแองโกลซักซอนได้เริ่มปีใหม่วันที่ 25 ธันวาคม

ภายหลังเมื่อพระเจ้าวิลเลี่ยม ( William the Conqueror ) ได้เป็นราชาธิราชแห่งเกาะอังกฤษ จึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคมต่อมาเมื่อถึงยุคกลางชาวอังกฤษก็เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 25 มีนาคม เช่นเดียวกับชาวคริสเตียนอื่น ๆ แต่ต่อมาเมื่อมีการใช้ปฏิทินแบบกรีกอเรียน ชาวคริสเตียนิกายโรมันคาทอลิกก็กลับมาขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคมกันอีก

ประวัติความเป็นมาของไทย

           ประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่  รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่สำหรับพระราชพิธีปีใหม่นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าเสด็จ เข้าไปรับพระราชทานเลี้ยง ณ ท้องพระโรงกลางพระที่นังจักรีมหาปราสาทพระราชทาน ฉลากแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการบางคน ครั้นพระราชทานสิ่งของตามฉลากแล้วเสด็จพระราชดำเนินมา ที่ชาลาหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทอดพระเนตรละคร หลวงแล้วเสด็จ ฯ กลับ

           สมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทนรัตนโกสินทรศก ตั้งแต่  พ.ศ. ๒๔๕๕ และต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๖ โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศก สงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์ สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่าพระราชพิธีตรุษสงกรานต

            ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ ๘ คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ใน พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ ๑ มกราคม ใกล้เคียงวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปี และเป็นการสอดคล้อง ตามจารีตประเพณีโบราณของไทยต้องตามคติแห่งพระบวร พุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑  พ.ศ. ๒๔๘๔ ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31 เป็นต้นไป

            ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช  เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์โปรดให้ยกการพระราชกุศลสดับปกรณ์ผ้าคู่ในวัน ขึ้นปีใหม่ไปใช้ในพระราชพิธีสงกรานต์ ซึ่งฟื้นฟูขึ้นใหม่ตาม โบราณราชประเพณีซึ่งเป็นเทศกาล สงกรานต์ในวันที่ ๑๓ - ๑๔ - ๑๕ เมษายน

            สำหรับ พิธีของราชการและประชาชนสำหรับงานของทาง ราชการและประชาชนในวันขึ้นปีใหม่ก็จะมีตั้งแต่คืนวันที่ ๓๑ ธันวาคม จนถึง วันที่ ๑ >มกราคมเช่นเคยยึดถือมาเดิม คือในวันสิ้นปี หรือวันที่ ๓๑  ธันวาคม ทางราชการหรือ ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ จัดให้มีการรื่นเริง และมหรสพ มีพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน พรปีใหม่ แก่ประชาชน สมเด็จพระสังฆราชประทานพรปีใหม่ แก่พุทธศาสนิกชนและบุคคลสำคัญของบ้านเมือง เช่น ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี ประธาน ศาลฎีกากล่าวคำ ปราศรัย พอถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. วัดวาอารามต่างๆ จะจัด พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ย่ำฆ้อง กลอง ระฆัง เพื่อแสดง ความยินดีต้อนรับรุ่งอรุณแห่งชีวิตของประชาชนในปีใหม่ โดยทั่วกัน ตอนเช้าวันที่ ๑ มกราคมก็จะมีการทำบุญตักบาตร สุดแท้แต่การจัด บางปีมีการจัดร่วมกัน บางปีบางท้องที่ก็ไป ทำบุญตักบาตรกันที่วัด หรือที่ใดๆ บางท่านบางครอบครัว ก็มีการทำบุญตักบาตร    หรือการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน ที่สำนักงานของตน

การทำบุญ

เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับไฟและธงชาติตามสถานที่สำคัญๆ ครั้นถึงวันที่ 31 ธันวาคม ก็จะมีการทำบุญเลี้ยงพระไปวัดเพื่อประกอบกิจกุศลต่าง ๆ เช่น ฟังพระธรรมเทศนา ถือศีลปฏิบัติธรรมแต่บางคนก็แค่ทำบุญตักบาตร ตอนกลางคืนบางแห่งอาจจัดเทศกาลกินเลี้ยงที่ครื้นเครงสนุกสนาน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เช้าวันที่ 1มกราคม จะมีการทำบุญตักบาตร ไปท่องเที่ยวหรือเยี่ยมเยียน ญาติผู้ใหญ่ผู้ที่เคารพนับถือ มีการมอบของขวัญและบัตรอวยพรให้แก่กัน สำหรับในต่างจังหวัด จะมีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัดอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ญาติที่ล่วงลับ กลางคืนมีการละเล่นพื้นบ้านหรือจัดมหรสพมาฉลอง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก