เมื่อทำการรัน run โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยโปรแกรม dev-c++ โปรแกรมที่ถูก run จะทำงานใน mode ใด

Dev C++ คืออะไร

เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาโปรแกรม เรียกว่า IDE (Integrated Development Environment) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมใช้ในการสร้างโปรแกรม โดยจะมี Editor สำหรับเขียนโค้ดของโปรแกรมและมีตัวแปลภาษามาพร้อม

ในการเรียนการสอนวิชานี้จะใช้ IDE คือ Bloodshed Dev-C++ ซึ่งสามารถเขียนได้ทั้งภาษา C และภาษา C++ เป็นชุดพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เป็นฟรีแวร์และทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ Windows ทั้ง 32 บิต และ 64 บิต

การใช้งาน DevC++ เบื้องต้น

โปรแกรม Dev-C++ ประกอบด้วย 6 ส่วนหลัก ๆ คือ

  1. ส่วนของไตเติลบาร์ (Title Bar) เป็นแถบที่อยู่บนสุดของโปรแกรม มีสีน้ำเงิน และจะมีชื่อของชุดพัฒนาโปรแกรมภาษาซี คือ Dev-C++
  2. ส่วนของเมนูบาร์ (Menu Bar) ส่วนนี้เป็นส่วนของเมนูคำสั่งต่าง ๆ 11 รายการคือ File Edit Search View Project Execute Debug Tools CVS Window Help
  3. ส่วนของทูลบาร์ (Tool Bars) เป็นส่วนของเครื่องมือ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนและพัฒนาโปรแกรม ซึ่งจะคล้ายกับการใช้เมนู แต่สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ บนแถบเครื่องมือแทนการทำงานผ่านเมนู
  4. ส่วนของการแสดง Project/Classes/Debug เป็นส่วนที่อยู่ทางด้านซ้ายของโปรแกรม ใช้เพื่อแสดง Project หรือ Class ต่าง ๆ ของโปรแกรม
  5. ส่วนของพื้นที่การเขียนโปรแกรม (Editor) เป็นส่วนของพื้นที่ทำงานในการเขียนโค้ดโปรแกรมภาษา C
  6. ส่วนแสดงสถานะของโปรแกรม (Status) อยู่ด้านล่างสุด ใช้เพื่อบอกสถานะต่าง ๆ ในขณะที่กำลังพัฒนาโปรแกรม เช่น จำนวนบรรทัดทั้งหมด หรือสถานะการพิมพ์แทรก/พิมพ์ทับ

1. การสร้างไฟล์ใหม่

สร้างไฟล์ใหม่ผ่านเมนู File -> New ->Source File หรือใช้คีย์ลัดกดปุ่ม Ctrl+N สังเกตความเปลี่ยนแปลงของชื่อของหน้าต่าง พื้นที่แสดงรายการไฟล์ และพื้นที่แสดงซอร์สโค้ดทำการเขียนโค้ด (Coding) โปรแกรมลงบนพื้นที่การเขียนโปรแกรม (Editor) ทำการบันทึก (Save) โดยไปคลิกที่เมนู File → Save หรือกดปุ่มคีย์ลัด Ctrl + Sทำการบันทึกชื่อไฟล์ว่า helloworld

2. การ Complie (คอมไพล์) โปรแกรม

การ Complie คือ การตรวจสอบ Source Code ที่เขียนว่าถูกต้องตามโครงสร้างของภาษาหรือไม่ วิธี Complie คือ Execute → Complie หรือ กดคีย์ลัดที่แป้นพิมพ์ F9ในกรณีมีข้อผิดพลาด อาจจะเขียน Source Code ผิด ซึ่งก็จะทำให้ Complie ไม่สำเร็จและโปรแกรม Dev-C++ จะแสดงบรรทัดที่อาจเกิดการผิดพลาดมาให้ดูในกรณีโค้ดโปรแกรมถูกต้อง โปรแกรม Dev-C++ จะทำการแปลงเป็นไฟล์นามสกุล .exe เพื่อเอาไว้เรียกทำงานต่อไป

3. การเรียกโปรแกรมทำงาน (รันโปรแกรม

การรันโปรแกรม คือ การเรียกโปรแกรมที่เราเขียนขึ้นมาทำงาน วิธีการ Run คือคลิกที่เมนู Execute → Run หรือคีย์ลัด F10 ภาพแสดงตัวอย่างผลการ Run โปรแกรม ซึ่งจะปรากฎให้เห็นบน Dos Mode

วิธีส่งเสริมหรือสนับสนุนช่วยในการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมยังไง

โปรแกรม Dev c++ สามรถเขียนแล้วแสดงผมได้เลยเป็นโปรแกรมเขียนโค้ดเบื้องต้นเรียนรู้ได้ง่ายเข้าใจง่าย

Dev c++

จัดทำโดย

นายชัยรัตน์ แก้วกันหา 1610900068

นายณัฐพรรษ ภูมิอภิรัตน์ 1610900795

เสนอ

อาจารย์ทศพล บ้านคลองสี่

วิชา CS122 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562

Dev c++

SUBMITTED BY

CHAIRAT KAEWGANHA 1610900068

NATTAPAT PUMAIRAT 1610900795

SUBMITTED BY

TODSAPON BANKLONGSI

CS122 COMPUTER

SCHOOL OF ENGINEERING

BANGKOK UNIVERSITY

SEMESTER 1 YEAR 2019

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาซี

การสร้างโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ขึ้นมาโปรแกรมหนึ่ง ในภาษาซีมีขั้นตอนดังนี้

               1. สร้างตัวโปรแกรมที่เป็นตัวอักษรหรือเรียกว่า ซอร์สไฟล์ (Source file) โดยมีนามสกุลเป็น .c  หรือ .cpp ขึ้นมาก่อน โดยใช้โปรแกรมที่สามารถเขียนไฟล์ที่เก็บอักขระใดๆ ได้ อักษรหรืออักขระใดๆ นั้นจะต้องอยู่ในรูปแบบของการโปรแกรมภาษา

              2. คอมไพล์เลอร์ของภาษาซี (C Compiler) จะทำการแปลงซอร์สไฟล์ จากอักขระใดๆ ให้เป็นรหัสที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ และเก็บไว้ในอีกไฟล์หนึ่งเรียกว่า ไฟล์วัตถุประสงค์ (Object file) ที่มีนามสกุล .obj

              3. ตัวเชื่อม (Linker) จะทำการตรวจสอบว่าในโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้น มีการเรียกใช้งานฟังก์ชันมาตรฐานใด จากห้องสมุดของภาษาซี (C Library) บ้างหรือไม่ ถ้ามี ตัวเชื่อมจะทำการรวมเอาฟังก์ชันเหล่านั้นเข้ากับ Object file แล้วจะได้ไฟล์ที่สามารถทำงานได้ โดยมีนามสกุลเป็น .exe

รู้จักโปรแกรมที่ใช้เขียนภาษาซี

          ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างโปรแกรมด้วยภาษาซี เราควรจะรู้จักตัวแปลภาษาของภาษาซี หรือโปรแกรมที่ใช้เขียนภาษาซีเสียก่อน ดังนี้

– Turbo C/C++ ผลิตโดยบริษัท Borland เป็นซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่หลายประการดังนี้ สร้างและแก้ไขโปรแกรมภาษาซี (Create, Edit), แปลภาษาซีเป็นภาษาเครื่อง (Compiler), ทำงานโปรแกรม (Run), ตรวจสอบจุดบกพร่องของโปรแกรม

– Borland C++

– Visual C++

– Visual Studio Express

– Visual Studio Ultimate

-Dev C++

ส่วนประกอบของโปรแกรม Dev-C++   โปรแกรม Dev-C++ ประกอบด้วย 6 ส่วนหลักๆ คือ

           (1) ส่วนของไตเติลบาร์ (Title Bar) เป็นแถบที่อยู่บนสุดของโปรแกรม มีสีน้ำเงิน และจะมีชื่อของชุดพัฒนาโปรแกรมภาษาซี คือ Dev-C++  

           (2) ส่วนของเมนูบาร์ (Menu Bar) ส่วนนี้เป็นส่วนของเมนูคำสั่งต่าง ๆ 11 รายการคือ File Edit   Search   View   Project   Execute   Debug    Tools CVS   Window   Help

           (3) ส่วนของทูลบาร์ (Tool Bars)  เป็นส่วนของเครื่องมือ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนและพัฒนาโปรแกรม ซึ่งจะคล้ายกับการใช้เมนู แต่สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ บนแถบเครื่องมือแทนการทำงานผ่านเมนู

           (4) ส่วนของการแสดง Project/Classes/Debug  เป็นส่วนที่อยู่ทางด้านซ้ายของโปรแกรม ใช้เพื่อแสดง Project หรือ Class ต่าง ๆ ของโปรแกรม

           (5) ส่วนของพื้นที่การเขียนโปรแกรม (Editor)  เป็นส่วนของพื้นที่ทำงานในการเขียนโค๊ดโปรแกรมภาษา C

           (6) ส่วนแสดงสถานะของโปรแกรม (Status)  อยู่ด้านล่างสุด ใช้เพื่อบอกสถานะต่าง ๆ ในขณะที่กำลังพัฒนาโปรแกรม เช่น จำนวนบรรทัดทั้งหมด หรือสถานะการพิมพ์แทรก/พิมพ์ทับ

การใช้งานเมนูต่างๆ

เมนู  File   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

New –> เพื่อสร้างไฟล์ใหม่

Open Project or File –> เพื่อเปิดไฟล์หรือโปรเจ็กซ์ที่ได้ทำงาน และบันทึกไว้แล้ว

Save –> เพื่อบันทึกไฟล์

Save As –> เพื่อบันทึกไฟล์เป็นชื่อใหม่ หรือเพื่อบันทึกลงในโฟลเดอร์อื่น

Save All –> เพื่อบันทึกไฟล์หรือโปรเจ็กซ์ทั้งหมด ที่เปิดทำงานอยู่

Close –> เพื่อปิดไฟล์ที่กำลัง Active อยู่

Close All –> เพื่อปิดไฟล์หรือ โปรเจ็กซ์ทั้งหมด ที่เปิดอยู่

Exit –> เพื่อปิดโปรแกรม Bloodshed Dev-C++

เมนู  Edit   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

Undo –> เลิกทำหรือยกเลิกการทำงาน

Redu –> ให้ทำซ้ำงานที่เพิ่งทำผ่านไป

Cut –> ตัดข้อความที่ทำแถบสีนำไปไว้ใน คลิปบอร์ด

Copy –> คัดลอกข้อความที่ทำแถบสี นำไปไว้ใน คลิปบอร์ด

Paste –> ให้วาง ปะ หรือ แปะ ข้อความที่ได้ Cut หรือ Copy ไว้แล้ว มาวางลงในตำแหน่งของเคอร์เซอร์

Insert –> ทำการแทรก

                    1. วันที่ (Date/Time) ลงใน Editor

                    2. Comment header ส่วนที่เป็นหมายเหตุในการพัฒนาโปรแกรมลงบนส่วนหัวของ Editor

Select All –> เลือกโค้ด หรือข้อความทั้งหมด ที่อยู่ใน Editor

เมนู  Search   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

Find –> ค้นหาคำ หรือข้อความใน Editor

Search Again –> ให้ค้นซ้ำ หรือค้นหาต่อไปอีก

Replace –> ให้แทนที่คำที่ค้นหา ด้วยคำใหม่

เมนู  View   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

Project/Class Browser –> เพื่อแสดงหรือไม่แสดง Project/Class Browser

Statusbar –> เพื่อแสดงหรือไม่แสดง Statusbar

Toolbars –> เพื่อแสดงหรือไม่แสดง Toolbars ต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย

Main Toolbar

Edit Toolbar

Search Toolbar

Compile and run Toolbar

Project Toolbar

Options Toolbar

Special Toolbar

Class Toolbar

เมนู  Project   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

New file–> เพื่อสร้างไฟล์ใหม่ในโปรเจค        

Add to Project –> เพื่อ add ไฟล์เข้าไปเก็บไว้ในโปรเจค

Remove from Project –> เพื่อย้ายไฟล์ออกจากโปรเจค

เมนู  Execute   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

          Compile (Ctrl+F9) –> สั่งให้ทำการ Compile ซอร์สโค้ด เมื่อ Compile แล้วจะได้ไฟล์ใหม่ที่มีส่วนขยายเป็น .exe

          Run (Ctrl+F10) –> สั่งให้โปรแกรมทำงาน

          Compile & Run (F9) –> ให้ทำการ Compile และ Run โปรแกรม

          Rebuild All (Ctrl+F11) –> ให้สร้างไฟล์ .exe ใหม่ แทนที่ไฟล์เดิม

เมนู  Debug

เมนู  Tools ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

          Editor Options –> เป็นการตั้งค่าสภาพแวดล้อมให้กับ Editor เช่น ให้มีหมายเลขบรรทัดเป็นต้น

เมนู  CVS

เมนู  Window   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

          Close All –> ปิดวินโดว์ส ของ Editor ทั้งหมด

          Full Screen Mode –> ให้วินโดว์สแสดงแบบเต็มจอ ถ้าต้องการยกเลิกแบบ Full Screen ให้ click ที่ X เพื่อนปิดวินโดว์ส

          Next –> ให้แสดงวินโดว์สของ Editor ถัดไป

          Previous –> ให้แสดงวินโดว์สของ Editor ก่อนหน้า

เมนู  Help    ส่วนใหญ่เป็นเมนูเกี่ยวกับการ ขอความช่วยเหลีอ ซึ่งก็ไม่สามารถ ให้รายละเอียดได้เพียงพอ ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

          Help on Dev-C++ –> ขอความช่วยเหลือในโปรแกรม Dev-C++

          Customize Help Menu–> ปรับแต่ง Help Menu  เช่น การเพิ่มเมนูเข้าไป Help Menu

          Tip of the day –> แนะนำเทคนิคการใช้งานโปรแกรม

          About Dev-C++ –> รายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรม Dev-C++

การนำภาษาซีไปใช้งาน

          แรกเริ่มเดิมที ภาษาซีได้ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้งานเกี่ยวกับการสร้างระบบปฏิบัติการเป็นหลัก แต่เนื่องจากข้อดีหลายๆ ประการและความง่ายของภาษา ทำให้ภาษาซีได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อาทิ

  • สร้างระบบปฏิบัติการ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์(Unix)
  • งานทางด้านควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เนื่องจากภาษาซีมีความง่ายและสามารถติดต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้สะดวก ดังนั้นจึงถูกนำมาใช้เพื่อควบคุมอุปกรณ์เครื่องจักรกล อุปกรณ์ไอที หรือสร้างเป็นไดรเวอร์ของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
  • สร้างโปรแกรมสำหรับจัดพิมพ์เอกสาร
  • สร้างตัวแปรภาษาอื่นๆ
  • สร้างโปรแกรมสำหรับใช้งานทั่วไป เช่น โปรแกรมคำนวณบัญชี โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก