กองทุน คนพิการ จ่าย เมื่อ ไหร่

  • ระบบรายงานผลการจ้างงานคนพิการ (สำหรับเจ้าหน้าที่ฯ)

คำนวณเงิน

ประจำปี  
จำนวนลูกจ้างทั่วประเทศ
(ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2564 )
คน อัตราส่วนที่ต้องรับคนพิการ 100 :1 = 0 คน
รับคนพิการเข้าทำงานแล้ว คน ให้สัมปทานฯ ตาม ม.35 คน/สัญญา
จำนวนเงินที่ต้องจ่าย(เงินต้น) 0.00 บาท
จำนวนงวด    
 

หมายเหตุ: 1. โปรแกรมช่วยคํานวณการส่งเงินเข้ากองทุนฯเท่านั้น
2. กรุณาตรวจสอบความถูกอีกครั้ง ก่อนการส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

Help | About | Contact | © Copyright 2022 NEP

รายละเอียด สิทธิ/สวัสดิการ/บริการ 29 กันยายน 2563 เข้าชม: 48874

กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

ความเป็นมาของกองทุน

กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 มาตรา 23 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งใน สํานักงาน เรียกว่า “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” เพื่อเป็นทุน สําหรับการใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครองและพัฒนาสมรรถภาพคนพิการ การศึกษาและการ ประกอบอาชีพของคนพิการ รวมทั้งการส่งเสริมและการสนับสนุนการดําเนินงานของ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ โดยจัดสรรให้อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง

วิสัยทัศน์

"การบริหารจัดการเงินทุนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเสริมพลังคนพิการ มุ่งส่งเสริมสังคมแห่งความเท่าเทียม"

พันธกิจ

"สร้างการเข้าถึงโอกาศที่เท่าเทียมผ่านนวัฒตกรรม และความร่วมมือของทุกภาคส่วน ภายในหลักธรรมาธิบาล ด้วยใจบริการ โดยยึดคนพิการเป็นศูนย์กลาง"

รูปแบบการให้บริการ

         1.การให้บริการกู้ยืมเงิน  เป็นการบริการคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการ เพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพหรือขยายกิจการ รายบุคคลรายละไม่เกิน 60,000 บาท รายกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 1 ล้านบาท ผ่อนชำระภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย ทั้งนี้ หากมีผู้ประสงค์จะกู้ยืมเงินเกินกว่าวงเงินที่กำหนด ให้มีการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป โดยไม่เกิน 120,000 บาท

         2. การสนับสนุนโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  เป็นตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2552

         3.ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนพิการมีงานทำ มีรายได้เพียงพอสำหรับการดำรงชีพ ลดภาระของสังคม และพัฒนาให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ของความเป็นมนุษย์

ดาวน์โหลด

คู่มือการปฏิบัติตามกฏหมายการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐ

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

  • แผนปฎิบัติการกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ปี พ.ศ.2566-2570
  • แผนปฎิบัติการกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประจำปีบัญชี 2566

รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตระหนักดีถึงความสำคัญของคนพิการ และปรารถนาที่จะเห็นคนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงสนับสนุนให้คนพิการทุกประเภทมีอาชีพ อันเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ และเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้ผลักดันให้เกิดการบัญญัติกฎหมายเพื่อเป็นกลไกระดับชาติในการส่งเสริมการสร้างอาชีพให้แก่คนพิการ ได้แก่ “พระราชบัญญัติส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม” และ “กฎกระทรวง เรื่องการกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทํางาน และจํานวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนําส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม” ของกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นการกำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐ ต้องดำเนินการตามเงื่อนไข ดังนี้

  1. ให้รับคนพิการเข้าทำงานในอัตราส่วนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการ 100 คนต่อคนพิการ 1 คน (เศษของ 100 คน ถ้าเกิน 50 คนต้องรับคนพิการเพิ่มอีก 1 คน) กรณีไม่ได้รับคนพิการเข้าทำงานตามจำนวนที่กำหนด ให้ส่งเงินเข้า “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” แทน (ตามนัย พ.ร.บ.ฯ มาตรา 33 -34 และ กฎกระทรวงฯ ข้อ 3)
  2. กรณีที่ไม่ประสงค์ดำเนินการตามข้อ 1 จะต้องให้สัมปทานแก่คนพิการในเข้าไปจำหน่ายสินค้าหรือบริการในพื้นที่ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน จัดสิ่งอำนวยความสะดวก จัดล่ามภาษามือหรือความช่วยเหลืออื่นใด (ตามนัย พ.ร.บ.ฯ มาตรา 35)
  3. กรณีที่ดำเนินการตามข้อ 1 หรือข้อ 2 แล้ว แต่ปฏิบัติไม่ครบตามเงื่อนไขที่กฎหมายกําหนด ให้ส่งเงินเข้ากองทุนฯ ตามจํานวนวันที่ไม่ได้ปฏิบัติให้ครบตามเงื่อนไข เว้นแต่ได้มีการดําเนินการตามที่กฎหมายกําหนดภายใน 45 วัน โดยนับตั้งแต่วันที่ไม่ได้ปฏิบัติให้ครบตามเงื่อนไข (ตามนัยกฎกระทรวงฯ ข้อ 6)

ที่มา: //esanunity.com/?p=12804

ที่ผ่านมา การที่หน่วยงานภาคเอกชนและภาครัฐรับคนพิการเข้าทำงานหรือได้ดําเนินการอย่างอื่นแทนตามกฎหมาย ถือว่าได้ช่วยส่งเสริมสวัสดิภาพของคนพิการ เป็นส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาประเทศ และยังเป็นการแบ่งเบาภาระรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้พิการเป็นอย่างมาก แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะการระบาดรอบสองตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน WFH ส่งผลกระทบโดยตรงต่อนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการอย่างกว้างขวาง รัฐบาลจึงได้เร่งหาวิธีการบรรเทาภาระรายจ่ายของนายจ้างในการส่งเสริมการจ้างงานและสวัสดิการของคนพิการ

ด้วยเหตุนี้ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการนำส่งเงินเข้ากองทุนฯ จากเดิมที่กำหนดให้ส่งเงินภายใน 45 วัน (ตามข้อ 3 ข้างต้น) เป็น ภายใน 90 วัน และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้างและเจ้าของสถานประกอบการ โดยมติดังกล่าว เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม “กฎกระทรวง กำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทํางาน และจํานวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนําส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560” ซึ่งเป็นหนึ่งอีกมาตรการที่รัฐบาลเร่งดำเนินการเพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงวิกฤตโควิด-19

ท่านสามารถอ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ที่ เว็บเพจของ กระทรวงแรงงาน และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือ ติดต่อ 0 2354 3388 (กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก