ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2565 ได้ถึงวันไหน

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

11 เม.ย. 2565 เวลา 10:04 น. 10.4k

ยื่นภาษีไม่ทัน 2565 กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เมื่อพ้นกำหนดเวลา กรมสรรพากร ปรับเท่าไหร่และขอลดค่าปรับได้หรือไม่เช็คที่นี่

ครบกำหนดยื่นแบบภาษีบุคคธรรมดา 2565 ตามที่ กรมสรรพากร ได้กำหนดให้ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2564  ด้วยกันสองแบบดังนี้

  • แบบกระดาษ  ภ.ง.ด.90/91 ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี
  • ยื่นภาษีออนไลน์ 2565  ภายใน 8 เมษายน 2565

กรมสรรพากร แจ้งว่า กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เมื่อพ้นกำหนดเวลา

1.บุคคลธรรมดาที่ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี

หรือยื่นแบบฯ เกินกำหนดเวลา

          ต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร แต่สามารถขอลดค่าปรับได้ 

2.  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 /91 ผ่านอินเทอร์เน็ต กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ

          หากท่านมิได้ชำระเงินภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี ถือว่ามิได้ยื่นแบบ  ท่านต้องไปยื่นแบบ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา  และชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1

3.ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เกินกำหนดเวลา

3.1  กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ  ให้ชำระเงินภาษี  พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1

3.2  กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ  ให้ชำระค่าปรับตามข้อ 1 เพียงอย่างเดียว 

4.  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพิ่มเติมภายหลังกำหนดเวลาการยื่นแบบ

4.1 กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ  ให้ชำระเงินภาษี  พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ

4.2 กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ  ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มและค่าปรับ

5.  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ขอผ่อนชำระเงินภาษี

          หากท่านมิได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนดเวลา จะหมดสิทธิ์การผ่อนชำระและต้องชำระภาษีอากรที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ

6. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 มีภาษีชำระไว้เกิน แต่ไม่ได้แจ้งความประสงค์ขอคืนเงิน ไม่ว่าจะเป็นการยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือยื่นแบบฯ ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

         ให้ท่านยื่นคำร้องขอคืนเงินตามแบบ ค.10 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยแนบเอกสารแล้วแต่กรณี ดังนี้

6.1  หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

6.2  แบบ ล.ย.03 (ถ้ามี)

6.3 ใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดา/มารดา (ถ้ามี)

6.4  ใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองค่าเบี้ยประกันชีวิตของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)

6.5  หนังสือรับรองการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)

6.6  ใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ/กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (ถ้ามี)

6.7  หนังสือรับรองการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัยของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)

6.8  หนังสือรับรองการจ่ายเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม (ถ้ามี)

6.9  ใบเสร็จรับเงินบริจาคการกุศลของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)

6.10 สำเนาทะเบียนบ้าน

6.11 ใบสำคัญการสมรส (ถ้ามี)

6.12  หนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)

6.13 ใบเสร็จรับเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

6.14  หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นขอคืน

7.กรณีรับคืนเงินภาษีอากรเกินไป และได้รับหนังสือทวงถามให้นำเงินไปคืน

          ให้ผู้ขอคืนนำเงินไปคืนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม หากผู้ขอคืนไม่นำส่งเงินคืนที่ได้รับเกินไปภายในกำหนดเวลา ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามมาตรา 224 แห่งประมวลแพ่งและพาณิชย์ โดยนับตั้งแต่วันที่เริ่มผิดนัด

8.การขอคัดแบบ ภ.ง.ด.90/91

8.1  กรณียื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต ท่านสามารถ  พิมพ์แบบฯ-ใบเสร็จรับเงิน  ได้ทางเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th. หัวข้อ ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ==> พิมพ์แบบฯ-ใบเสร็จรับเงิน ถัดจากวันที่ยื่นแบบฯ ประมาณ 2 วันทำการ  หรือยื่นคำร้องขอคัดแบบฯ ได้ด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ที่ สำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ อาคารกรมสรรพากร ชั้น 27 เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400  เอกสารประกอบการขอคัดแบบฯ มีดังนี้

(1) แบบคำร้องขอคัดแบบแสดงรายการ สามารถ Download  ได้จากเว็บไซต์ www.rd.go.th ==> ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ==> แนะนำบริการ ==> แบบฟอร์มต่างๆ

(2)  หลักฐานการแสดงตน  ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง  กรณีบุคคลต่างด้าว ที่ได้ลงลายมือชื่อรับรอง

(3) กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน ให้จัดทำหนังสือมอบอำนาจเพื่อขอคัดแบบฯ และปิดอากรแสตมป์ 10 บาท พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจที่ได้ลงลายมือชื่อรับรองแล้ว

8.2  กรณียื่นแบบฯ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ท่านสามารถขอคัดแบบฯ ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่  เอกสารประกอบการขอคัดแบบฯ มีดังนี้

(1)  แบบการขอใช้บริการข้อมูลข่าวสารของราชการกรมสรรพากร สามารถ Download ได้จากเว็บไซต์ www.rd.go.th ==> Download ==> แบบแสดงรายการภาษี คำร้อง/คำขอต่างๆ ==> อื่นๆ

(2)  หลักฐานการแสดงตน  ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง  กรณีบุคคลต่างด้าว ที่ได้ลงลายมือชื่อรับรอง

(3)  กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน ให้จัดทำหนังสือมอบอำนาจเพื่อขอคัดแบบฯ และปิดอากรแสตมป์ 10 บาท พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจที่ได้ลงลายมือชื่อรับรองแล้ว.

ที่มา: กรมสรรพากร 

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2565 เดือนไหน

เหลือเวลาอีกไม่มากแล้ว สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี 2565 (ภ.ง.ด.94) ซึ่งผู้มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีครึ่งปี จะต้องยื่นภาษีสำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน พ.ศ.2565 ภายในวันที่ 30 กันยายน หรือยื่นแบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร ถึงวันที่ 10 ตุลาคม เพื่อป้องกันการถูกเรียกเก็บภาษี ...

ยื่นภาษีออนไลน์ 2566 ได้ถึงวันไหน

เช็คความพร้อม ยื่นภาษีเงินได้ปี 2566 ของเงินได้ปี 2565 ต้องยื่นแบบภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม-8 เมษายน 2566 ส่วนผู้ที่จะยื่นเอกสารเสียภาษีแบบกระดาษ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566.

อะไรที่ลดหย่อนภาษีได้บ้าง 2565

รวม ค่าลดหย่อน ปีภาษี 2565.
ค่าลดหย่อนส่วนตัว ฿60,000..
ค่าลดหย่อนคู่สมรส คนละ ฿60,000 และกฎหมายอนุญาตให้มีได้สูงสุด 1 คน.
ค่าลดหย่อนบุตร ... .
ค่าลดหย่อนบิดามารดา ... .
ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ ... .
ค่าฝากครรภ์และทำคลอด ... .
เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป/เงินฝากแบบมีประกันชีวิต ... .
เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา.

ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี 2565 ได้ถึงวันไหน

​ ให้ความยินยอมต่อ บลจ. ทุกราย ที่ซื้อกองทุน SSF RMF ในปีภาษี 2565 ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2565 เพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าในการยื่นแบบ ภ.ง.ด. ช่วงต้นปี 2566.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก