ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

แบบฝึกหัดพร้อมเฉลย ภูมิปัญญาไทย

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยมีความสำคัญต่อสังคมไทยอย่างไร

ตอบ ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และทำให้คนไทย เกิดความรักและความภาคภูมิใจใน   ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยที่บรรพบุรุษสร้างสรรค์ไว้

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยคืออะไร

ตอบ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อม ทำให้คนไทยคิดและแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ และปัจจัยลักษณะของสังคมและวัฒนธรรมไทย โดยมีวังและวัดเป็นศูนย์กลางการสร้างศรรค์ศิลปวัฒนธรรมของไทย

ตัวอย่างภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาชาติไทย

ตอบ –การแพทย์แผนไทย ในสมัยรัชการที่ 1-3 เป็นองค์ความรู้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่มีมาแต่โบราณและสืบทอดมาถึงปัจจุบัน

     วัดพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย และเป็นแหล่งรวมงานช่างชั้นสู.ที่มีแต่โบราณ


Popular posts from this blog

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา อดีต-ปัจจุบัน

ข้อแตกต่างของพระพุทธศาสนา ระหว่างสมัยโบราณกับปัจจุบัน วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โบราณ - ด้วยการแสดงธรรมหรือการเทศน์ โดยอาศัยพระสงฆ์หรือผู้รู้ เป็นผู้อบรมสั่งสอน -       การศึกษาแบบ “มุขปาฐะ” ถ่ายทอดกันโดยอาศัยการบอก หรือการท่องจำสืบต่อกันมา ปัจจุบัน - ด้วยการแสดงธรรมหรือการเทศน์ โดยอาศัยพระสงฆ์หรือผู้รู้ เป็นผู้อบรมสั่งสอน -       ผ่านสื่อเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ ศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โบราณ – พระมหากษัตริย์ ผู้ปกครองและนักคิด ปัญญาชน เช่น พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยส่งพระธรรมฑูต 9 สาย ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นต่างๆ ของชมพูทวีป ปัจจุบัน – ศูนย์กลางการแผ่แผ่พระพุทธศาสนา คือ ผ่านองค์กรทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ วัด พุทธศาสนสถาน สมาคม

ม.3 บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ภาษาไทย(สอบกลางภาค) บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก ประพันธ์โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ใช้พระนามแฝง ว่า พระขรรค์เพชร (พระนามแฝงของท่านมีมากมาย เช่น บทละครพูด ทรงใช้ ศรีอยุธยา,พระขรรค์เพชร บันเทิงคดี ทรงใช้ พันแหลม,รามจิตติ,นายแก้ว นายขวัญ) ลักษณะคำประพันธ์ เป็นบทละครพูดขนาดสั้น มีลักษณะยาว ๑ องก์(ตอน) ระยะเวลาในการแต่ง ราวปี พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘ คุณค่าของบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก ๑.ข้อคิดคติธรรม      ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๒.ด้านความรู้      มาตราเงินไทยในสมัยนั้นมีหน่วยเป็นชั่งและบาท      รูปแบบของการเขียนบทละครพูด      การใช้บทสนทนาในการดำเนินเรื่อง      เทคโนโลยีในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการถ่ายภาพ ๓.ด้านสังคมและวัฒนธรรม      สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งงาน การรดน้ำอวยพรและการให้ของรับไหว้      ค่านิยมให้ลูกสาวแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย      สังคมไทยยกย่องคนที่ทำมาหากินอย่างสุจริต และไม่ยอมรับผู้ที่ไม่ซื่อสัตย์ ทำผิดกฎหมาย      ทำให้ทราบหน่วยเงินที่ใช้ในสมัยนั้น ๔.ด้านวรรณกรรม      มีการใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ทำให้เห็นอิทธิพ

การสร้างภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยานั้นมีอยู่มากมายหลายชนิดที่ทำให้คนไทย สมัยอยุธยาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ท่ามกลางสภาพแวดล้อม ที่มีความหลากหลาย ซึ่งภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยาเน้นให้เห็นถึงความสามารถ และสติปัญญาในการแก้ไขปัญหาสำหรับการดำรงชีวิต ของคนไทยสมัยนั้น ภูมิปัญญาไทย เหล่านั้นมีทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรม และสิ่งที่เป็นรูปธรรม และมีมากมายหลายประเภท เช่น ด้านการเมือง การปกครอง ด้านภาษาและวรรณกรรม และด้านศิลปกรรม เป็นต้น ในพัฒนาการทางด้านต่างๆ ก็มีภูมิปัญญาแฝงอยู่ด้วย เช่น

 1. ภูมิปัญญาที่เป็นนามธรรม ซึ่งเป็นคติความเชื่อของข้อห้าม ข้อปฏิบัติในวิถีชีวิตของผู้คน เช่น 

- ความเชื่อทางไสยศาสตร์ ซึ่งปรากฏในวรรณกรรม เรื่องลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย

- ความเชื่ออันเนื่องมาจากศาสนา เช่น เรื่องบุญ-กรรม การประพฤติในศีลในธรรม การทำบุญกุศลเพื่อการเกิดใหม่ที่ดีในภพหน้า เป็นต้น 

  2. ภูมิปัญญาในด้านการเมืองการปกครองในสมัยอยุธยา คือ  

 ก) การสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นศูนย์รวมของคนไทย ให้มีความเข้มแข็ง และมีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพของราษฎร  เมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงนำลัทธิเทวราชา 

เอาจากเขมรมาดัดแปลงกับสังคมไทย  ทำให้สถานะ ของพระมหากษัตริย์เปรียบเสมือน เป็นสมมติเทพ ขณะเดียวกันพระมหากษัตริย์ก็ยังทรง เป็นธรรมราชา ตามแบบอย่างสุโขทัย  

 ข) การควบคุมกำลังคนสำหรับป้องกันราชอาณาจักร และสำหรับราชการแผ่นดิน การที่อาณาจักรมีอาณาเขตกว้างขวางมาก และมีผู้คนจำนวนมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีศึกสงครามกับอาณาจักร ใกล้เคียงกำลังไพร่พลจึงมีความสำคัญต่ออาณาจักรอยุธยา การจัดระบบไพร่ในสมัยอยุธยาจึงเป็นภูมิปัญญาไทย ที่สำคัญคือชายฉกรรจ์ทุกคนที่เรียกว่า "ไพร่" ต้องสังกัดมูลนาย มิฉะนั้นไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เมื่อลงทะเบียนสักเลกสังกัดมูลนายแล้ว ต้องมีการกำหนดระยะเวลา ในการใช้แรงงานของชายฉกรรจ์เหล่านี้ทั้งในยามสงบ และในยามสงครามที่เรียกว่า "การเข้าเวร" โดยมีกำหนดเวลาปีละ 6 เดือน คือใช้แรงงานให้กับหลวง 1 เดือน  และออกเวรมาอยู่กับครอบครัว 1 เดือนสลับกันไป การจัดระบบไพร่ทำให้ทางราชการ ทราบจำนวนของไพร่พลผ่านทางมูลนาย  และสามารถเกณฑ์ผู้คนที่เป็นไพร่พลเหล่านี้ได้ 

3. ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรม ส่วนใหญ่เนื่องมาจากพระพุทธศาสนาของผู้คนในอาณาจักร ซึ่งแบ่งเป็นด้านต่างๆ คือ 

 ก) ประติมากรรม เกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูป แบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 นิยมสร้าง พระพุทธรูปศิลปะอู่ทองที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย ปางมารวิชัยและสมาธิ ประดิษฐานไว้กลางแจ้งเช่นที่วัดมงคลบพิตร วัดพนัญเชิง และวัดธรรมิกราช ลักษณะของพระพุทธรูปแบบอู่ทอง คือ มีไรพระศกและชายจีวรปลายตัดเป็นเส้นตรง ระยะที่ 2 นิยมสร้างพระพุทธรูปประทับยืน ทรงเครื่อง เช่นที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ และระยะที่ 3

ข) สถาปัตยกรรม ระยะแรกนับตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนถึงแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ นิยมสร้างแบบศิลปะลพบุรีหรืออู่ทองเป็นพระปรางค์ เช่น พระปรางค์ที่วัดพุทไธศวรรย์ วัดพระราม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดราชบูรณะ ระยะที่ 2 เมื่อสมเด็จพระบรมไตร-โลกนาถ เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลกจึงได้รับแบบอย่างสถาปัตยกรรม ศิลปะสุโขทัยเข้ามาด้วย โดยมักสร้างพระสถูปอันเป็นหลักของพระอาราม เป็นเจดีย์แบบทรงลังกา มากกว่าการสร้างพระปรางค์ เช่น เจดีย์ใหญ่ 3 องค์ ในวัดพระศรีสรรเพชญ พระเจดีย์ใหญ่วัดชัยมงคล ระยะที่ 3 ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ทรงนิยมถ่ายแบบอย่างพระปรางค์ และสถาปัตยกรรมของขอมมาสร้างในอยุธยา เช่น ที่วัดไชยวัฒนาราม และนิยมสร้างพระเจดีย์เหลี่ยมหรือเจดีย์ย่อมุม ไม้สิบสองขึ้นด้วย องค์ที่งดงามมากคือที่วัดชุมพลนิกายาราม และในสมัยพระนารายณ์มหาราช มีชาวฝรั่งเศสเข้ามารับราชการในกรุงศรีอยุธยา จึงมีการสร้างตำหนักและอาคาร 2 ชั้นที่ก่อด้วยอิฐ ซึ่งมีความมั่นคงและถาวรมากขึ้น ต่างจากเดิมที่ใช้อิฐ หรือศิลาเฉพาะการสร้างศาสนสถานเท่านั้น ระยะที่ 4 ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 การสร้างเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองยังเป็นที่นิยมกัน เช่น เจดีย์วัดภูเขาทอง โบสถ์วิหารสมัยอยุธยาตอนปลาย มักทำฐานและหลังคาเป็นเส้นอ่อนโค้ง มักใช้เสากลมก่ออิฐสอปูน ตรงหัวเสาจะมีบัวทำเป็นบัวตูม เป็นต้น

ค) จิตรกรรม จิตรกรรมในสมัยอยุธยา ส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ในระยะแรกได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะแบบลพบุรี สุโขทัยและลังกา โดยมีบางภาพที่มีลักษณะแข็งและหนัก ใช้สีดำ ขาว เหลือง และแดง มีการปิดทองบนภาพบ้างเล็กน้อยเช่นภาพเขียนบนผนังในกรุพระปรางค์วัด ราชบูรณะ ระยะต่อมามักเป็นภาพวาดเกี่ยวกับเรื่องไตรภูมิมีภาพพุทธประวัติประกอบนิยม ใช้สีเบญจรงค์บนพื้นขาวหรือสีอ่อน ในสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช จนสิ้นสุดสมัยอยุธยาจิตรกรรมอยุธยา แสดงให้เห็นถึงลักษณะของจิตรกรรมไทยบริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์ สีที่วาดนิยมใช้หลายสี นิยมปิดทองลงบนรูป และลวดลาย แต่การเขียนภาพต้นไม้ ภูเขา และน้ำ แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะจีนอยู่บ้าง                                               

              การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยธนบุรี                    


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี
กรุงธนบุรีมีอายุเพียง  15  ปีแต่ก็ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีคุณค่าอันสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  โดยเกิดจากปัจจัยสำคัญ  คือ
1.การรับอิทธิพลด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสืบทอดมาจากอยุธยา  เช่น  ด้านศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ
2.การรับอิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตก  มีผลต่อภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรีน้อยมาก  ถึงแม้จะมีการเผยแผ่คริสต์ศาสนา  แต่สิ่งที่สำคัญมากคือ  ความต้องการอาวุธปืนที่ใช้ในการป้องกันประเทศ  ดังปรากฏหลักฐานที่บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา  ได้ถวายปืน  50  กระบอก    เพื่อแลกกับไม้ฝางของไทย

       ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการพิจารณาทำเลที่ตั้งของราชธานี

อยู่ริมแม่น้ำและอยู่ใกล้ทะเล  การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเลือกชัยภูมิให้เมืองธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ของไทยเพื่อป้องกันมิให้พม่าโจมตีได้  เพราะแถบนี้น้ำลึก  ถ้าข้าศึกยกทัพมาทางบกไม่มีทัพเรือเป็นกำลังด้วยแล้วยากที่จะเข้ามาตีกรุงธนบุรีได้  ประกอบกับธนบุรีมีป้อมปราการมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  เป็นเมืองขนาดย่อม  ทัพบกและทัพเรือของธนบุรี ย่อมสามารถรักษาราชธานีไว้ได้  แต่ถ้ารักษาไม่ได้  ก็สามารถยกทัพกลับไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองจันทบุรีดังเดิม  นอกจากนี้การที่กรุงธนบุรีตั้งปิดปากน้ำย่อมป้องกันมิให้หัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของธนบุรีสามารถไปมาค้าขายหรือแสวงหาอาวุธจากต่างประเทศได้ยากขึ้น  ขณะที่ทางธนบุรี
       
         ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาการดำรงชีวิต

สมัยธนบุรีได้ประสบกับภาวะสงครามและการขาดแคลนข้าว    ทำให้เป็นปัญหาของสังคมไทยในขณะนั้น  จึงมีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการดำรงชีวิต  เช่น

1. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ปัญหาด้วยการโปรดให้ผู้คนที่อดอยากเข้ามารับพระราชทานข้าวปลาอาหาร  ขณะนั้นข้าวสารที่พ่อค้าสำเภาจีนนำมาขายมีราคาแพงมากแต่พระองค์ก็ซื้อข้าวสารแจกจ่ายราษฎรข้าวมาขายเพื่อหวังผลกำไรเป็นจำนวนมาก  เมื่อข้าวสารในท้องตลาดมีมากจึงส่งผลให้มีข้าวสารมีราคาถูกลง

2. พระองค์ทรงให้บรรดาข้าราชการทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยหันไปทำนาเพิ่มปีละ  2  ครั้ง  ทั้งนาปีและนาปรัง  ทำให้มีข้าวบริโภคมากขึ้น  ครั้นเมื่อเกิดหนูชุกชุมกัดกินข้าวในยุ้งฉางและทรัพย์สินของราษฎรเสียหายก็ทรงรับสั่งให้จับหนูมาส่งกรมนครบาล  ทำให้จำนวนหนูลดลง ภูมิปัญญานี้ส่งผลถึงปัจจุบันทำให้ประเทศไทยติดอันดับในการส่งออกข้าวไปขายยังต่างประเทศ

3.ให้ขุดคูเมืองทั้งสองฟากซึ่งเดิมเป็นสวนปลูกผักผลไม้ให้ขุดออกเป็นที่ท้องนา  เรียกว่าทะเลตม  เพื่อไว้ทำนาใกล้พระนคร  สำหรับเป็นเสบียงในยามขาดแคลนข้าว   แต่เมื่อข้าศึกยกมาก็สามารถทำเป็นที่ตั้งค่ายไว้ต่อสู่กับข้าศึกได้สะดวกต่อการค้าขายทางทะเลกับต่างประเทศ และสามารถแสวงหาอาวุธได้ง่ายเพราะอยู่ติดทะเล

                          ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยด้านศิลปกรรม

เนื่องจากสมัยธนบุรีเป็นราชธานีในระยะเวลาสั้น ๆ  และต้องตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมด้านศิลปกรรมจึงมีอยู่บ้าง  เช่น เรือ  การต่อเรือเจริญมากเพราะมีการต่อเรือรบ เรือสำเภา ตลอดจนเรือกระบวนไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก สถาปัตยกรรม  กรุงธนบุรีเป็นยุคของการสร้างบ้านแปลงเมือง  จึงมีการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก  อาทิ  พระราชวัง ป้อมปราการ กำแพงพระนคร พระอารามต่าง ๆ  ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยนี้ล้วนสืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ฐานอาคารจะมีลักษณะอ่อนโค้งดุจรูปเรือสำเภา  ทรงอาคารจะสอบชะลูดขึ้นทางเบื้องบน  ส่วนประกอบอื่น ๆ ของอาคารก็ไม่แตกต่างจากอยุธยามากนัก  เป็นที่น่าเสียดายว่าสถาปัตยกรรมสมัยธนบุรีมักได้รับการบรูณะซ่อมแซมในสมัยหลังหลายครั้งด้วยกัน  ลักษณะในปัจจุบัน จึงเป็นแบบสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่บูรณะครั้งหลังสุด  เท่าที่ยังปรากฏเค้าเดิมในปัจจุบัน ได้แก่ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ กำแพงพระราชวังเดิม พระตำหนักท้องพระโรง และพระตำหนักเก๋งคู่ในพระราชวังเดิมที่ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากจีน  พระอารามทั้งในพระนครและหัวเมืองที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ในรัชกาลนี้ล้วนแต่ได้รับการบรูณะใหม่ในรัชกาลต่อมาเช่นกัน  ที่ยังแสดงลักษณะศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี  ได้แก่  พระอุโบสถและพระวิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม  พระอุโบสถและพระวิหารเดิมวัดราชคฤห์ พระอุโบสถเดิมวัดอินทาราม  ตำหนักแดง วัดระฆังโฆสิตาราม  และพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม ประณีตศิลป  กรุงธนบุรีมีนายช่างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อย่างพร้อมมูล ทั้งช่างรัก ช่างประดับ ช่างแกะสลัก ช่างปั้นและช่างเขียน  งานประณีตศิลป์ชิ้นสำคัญสมัยนี้ ได้แก่ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ 4 ตู้ ในหอวชิรญาณ  ซึ่งได้มาจากวัดราชบูรณะ วัดจันทาราม และวัดระฆังโฆสิตาราม  ช่างหล่อคนสำคัญปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า  โปรดให้หลวงวิจิตรนฤมล  ปั้นพระพุทธรูปให้ต้องตามพุทธลักษณะที่โปรดให้สอบสวน  แล้วหล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนองค์หนึ่งปางสมาธิองค์หนึ่ง  งานแกะสลัก  ได้แก่พระแท่นบรรทมในพระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม  ในพระวิหารวัดอินทาราม  และตั่งจากอำเภอแกลง จังหวัดระยอง  ซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ จิตรกรรม  ภาพจิตรกรรมสมัยธนบุรีอาจดูได้จาก ตำราภาพไตรภูมิ (ฉบับหลวง)  มีการวาดภาพเกี่ยวกับไตรภูมิหรือโลกทั้งสาม  เพื่อปลูกฝังให้คนไทยเกิดความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ  ประพฤติกรรมดี ละเว้นความชั่ว  ซึ่งเก็บรักษาอยู่ ณ หอสมุดแห่งชาติ  และลวดลายรดน้ำที่ปรากฏบนตู้พระไตรปิฎกและภาพจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์19

                                                     วรรณกรรม
 วรรณกรรมสำคัญที่เกิดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี เช่น
1. บทละครเรื่องรามเกียรติ์  พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี
2. ลิลิตเพชรมงกุฎ  ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน)
3. อิเหนาคำฉันท์  ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน)
4. กฤษณาสอนน้องคำฉันท์  ประพันธ์โดยพระยาราชสุภาวดี  และพระภิกษุอินท์


      การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น        

ด้านศาสนา
- พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย ดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมต่างๆ เช่น
- การบวงสรวง เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา การสร้างรูปเคารพ เช่น พระพรหมที่โรงแรมเอราวัณ ก็มีผู้ที่นับถือไปกราบ
- ไหว้และบนบานกันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ พระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่ให้การรับรอง
- พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐมีความเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ส่วนอิทธิพลทาง
- พระพุทธศาสนา ก็สามารถเห็นได้จากการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธสาสนาของชาวพุทธทั่วไป

ด้านการปกครอง
สำหรับคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูและพระพุทธศาสนาในเรื่องสมมติเทพ ทศพิธราชธรรม ก็ยังคงมีอิทธิพลต่อการปกครองของไทยเหมือนกับสมัยก่อน

ด้านกฎหมาย
กฎหมายธรรมศาสตร์ของอินเดียที่ไทยรับผ่านมอญก็ยังคงเป็นเค้าของกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นกฎหมายไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

กฎหมายตราสามดวง

ด้านศิลปวัฒนธรรม
ดังจะเห็นได้จากวัดวาอาราม พระปรางค์ เจดีย์ต่างๆ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดอรุณราชวราราม ซึ่งสร้างขึ้นอย่างสวยงาม


ด้านวรรณกรรม
ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมอินเดียเป็นภาษาไทย  เช่น  รามเกียรติ์ เวตาล  หรือศกุนตลา  ซึ่งรัชกาลที่ 6 พระราชนิพนธ์ขึ้นก็มีเค้าโครงมาจากวรรณกรรมอินเดีย

รามเกียรติ์


ด้านภาษา
ได้แก่  ภาษาบาลี  สันสกฤต  ก็มีอิทธิพลต่อภาษาไทยเป็นอย่างมาก

ด้านอาหาร
อาหารอินเดียซึ่งมีส่วนผสมของเครื่องเทศก็ได้รับความนิยมจากคนไทยด้วยเช่นกัน  เช่น แกงกะหรี่ มัสมั่น โรตี ข้าวหมกไก่

ด้านศาสตร์และความเชื่อ

1.พระมหากษัตริย
 ในฐานะองค์สมมติเทพ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นสมมติเทพตามติของศาสนาพราหมณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นสมมติเทพ เช่น การสร้างที่ประทับ พระที่นั่งพระราชวัง การประกอบพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์

2.การสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม
รัชกาลที่ 1 ได้พยายามสร้างราชธานีให้เหมือนกรุงศรีอยุธยา แม้แต่วัดวาอารามก็ให้มีชื่อ เหมือนกับวัดในสมัยอยุธยา อาทิ การสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้อยู่ในเขตพระราชฐานเป็นพุทธาวาส ก็เลียนแบบวัดพระศรีสรรเพชญ อยุธยาสร้างวัดมหาสุทธาราม ( วัดสุทัศน์เทพวราราม ) เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน พระศรีศากยมุนี โดยสร้างเลียนแบบ วัดพนัญเชิง

3.การสังคายนาพระไตรปิฏก
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้มีการชำระพระไตรปิฎก แต่ทำไม่สำเร็จเพราะสิ้นรัชกาลเสียก่อน ในปี พ.ศ.2331 รัชกาลที่ 1 โปรดให้ดำเนินการต่อ โดยมี สมเด็จพระสังฆราช ( ศรี ) เป็นประธาน ได้มีการคัดเลือกพระสงฆ์ที่มีความรู้ทางพระปริยัติธรรม กับราชบัณฑิต มาช่วยกันสังคายนาพระไตรปิฎก ณ วัดพระศรีสรรเพชญ ( วัดนิพพานาราม )เมื่อสังคายนาพระไตรปิฎกเรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้คัดลอก สร้างเป็นพระไตรปิฏกฉบับหลวงขึ้น เรียกว่า ฉบับทองใหญ่ แล้วนำไปไว้ในหอพระมณเทียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมาภายหลังได้สร้างขึ้นอีก 2 ชุด เรียก ฉบับทองชุบ และฉบับรองทรงหรือ ฉบับข้างลาย แล้วโปรดให้คัดลอกแจกจ่ายไปตามวัดต่าง ๆ

4.การรวบรวมพระพุทธรูปโบราณ
บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ มีพระพุทธรูปที่หล่อทิ้งไว้ กลางแดดกลางฝนตามวัดร้างต่าง ๆ มากมายไม่มีผู้ใดดูแลเอาใจใส่จึงโปรดให้อัญเชิญมาไว้ที่ กรุงเทพฯ พระพุทธรูปส่วนใหญ่นำมาประดิษฐานอยู่ที่ วัดโพธิ์ พระพุทธรูปที่สำคัญ ที่อัญเชิญมา ได้แก่ พระพุทธสิงหิงค์ อัญเชิญมาจาก เชียงใหม่ มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในวังหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปัจจุบัน พระศรีศากยมุนี อัญเชิญมาจากวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย มาประดิษฐาน ในวิหารหลวงวัดสุทัศน์ ฯ พระพุทธเทวปฏิมากร อัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า ( วัดคูหาสวรรค์ ) ธนบุรี มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ( วัดโพธิ์ ) พระโลกนาถ อัญเชิญมาจาก วัดพระศรีสรรเพชญ จังหวัดอยุธยา มาประดิษฐานในพระวิหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ( วัดโพธิ์ ) พระศรีสรรเพชญ อัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ จังหวัดอยุธยาแต่เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่ชำรุดเพราะถูกพม่าเผาเพื่อลอกเอาทองไป จึงอัญเชิญมาบรรจุไว้ ในพระมหาเจดีย์ ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลามราม แล้วพระราชทานนาม ว่า พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ ซึ่งถือกันว่า เป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1พระพุทธรูปที่สำคัญอีกองค์คือ พระแก้วมรกต ได้อัญเชิญมาจากวัดอรุณราชวราราม มาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระราชทานนามว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พร้อมทั้งได้สร้างเครื่องทรงไว้ 2 ชุด คือ เครื่องทรงฤดูร้อนและเครื่องทรงฤดูฝน

5.การตรากฎหมายสงฆ์
เนื่องจากมีพระสงฆ์ ประพฤติผิดพระธรรมวินัยหลายเรื่อง ทำให้เป็นที่เสื่อมศรัธาแก่ประชาชน เมื่อขึ้นเสวยราชสมบัติ ได้โปรดให้ตรากฎหมายสงฆ์ขึ้น อาทิ ห้ามพระเทศน์ตลกคะนอง ห้ามพระสงฆ์รับฝากสมบัติหรือพัวพันสมบัติของฆราวาส ห้ามพระสงฆ์หากินจุกจิกกับฆราวาส

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก