องค์การประกอบด้วยระบบย่อยอะไรบ้าง

“Learning inside must be equal to or greater than change outside the organization or the organization is in decline, & may not survive”. Reg Revans.

Marquardt กล่าวว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ หมายถึง องค์กรซึ่งมีบรรยากาศของการเรียนรู้รายบุคคลและกลุ่ม มีวิธีการเรียนรู้ที่เป็นพลวัต มีการสอนคนของตนเองให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อช่วยให้เข้าใจในสรรพสิ่ง สามารถเรียนรู้ จัดการ และใช้ความรู้เป็นเครื่องมือไปสู่ความสำเร็จควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มี5 ระบบย่อย ได้แก่ ระบบย่อยการเรียนรู้(Learning Subsystem) ระบบย่อยองค์กร (Organization Subsystem) ระบบย่อยคน (People Subsystem) ระบบย่อยความรู้ (Knowledge Subsystem) ระบบย่อยเทคโนโลยี (Technology Subsystem)ในปี 2002Michael J. Marquardt (อ้างใน วีรวุธ มาฆะศิรานนท์, 2548) ได้วิเคราะห์องค์กรแห่งการเรียนรู้ในเชิงระบบ ที่มีความครอบคลุมในเนื้อหาที่กว้างและครบสมบรูณ์ขึ้นกว่าในปี 1994 พบว่าการที่องค์กรจะสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้นั้น องค์กรนั้นๆ จะต้องมีความรู้และความเข้าใจใน 5 ระบบย่อย ที่ทำงานอย่างสัมพันธ์กัน ก่อให้เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ดังนี้                    

1) ระบบย่อยการเรียนรู้ (Learning Subsystem)                       

2) ระบบย่อยองค์กร (Organization Subsystem)                       

3) ระบบย่อยคน (People Subsystem)                       

4) ระบบย่อยความรู้ (Knowledge Subsystem)                       

5) ระบบย่อยเทคโนโลยี (Technology Subsystem)  

โดยลักษณะขององค์กรแห่งการเรียนรู้ในเชิงระบบ (Characteristics of the Systems Learning Organization) องค์กรที่สามารถประสานระบบย่อยทั้ง 5 เข้าด้วยกันจะมีสมรรถนะที่ดีเยี่ยมดังนี้                                               

1. คาดการณ์และปรับตัวให้เข้ากับอิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น                  

2. เร่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ ผลงาน กระบวนการและบริการใหม่ๆได้เร็วยิ่งขึ้น                       

3. มีความชำนาญในการเรียนรู้จากคู่แข่งและผู้ร่วมงานมากขึ้น                       

4. ทำให้การถ่ายโอนความรู้จากส่วนหนึ่งขององค์กร ไปยังอีกส่วนหนึ่งได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม                       

5. เรียนรู้จากความผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น                       

6. ใช้บุคลากรทุกระดับให้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มที่                       

7. ลดเวลาในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ลง                       

8. กระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องได้ทั่วทั้งองค์กร                       

9. ดึงดูดบุคลากรที่ดีที่สุดให้ทำงานกับองค์กร                       

10.เพิ่มความผูกพันและความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากร                                  

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก