กัณฑ์จุลพนใช้เพลงหน้าพาทย์ใด

               การตกแต่งสถานที่ที่จะมีเทศน์มหาชาติทำให้เกิดการสร้างสรรค์งานศิลปะหลายสาขา อาทิ งานหัตถศิลป์และงานจิตรกรรม การตกแต่งศาลาที่จะมีการเทศน์มหาชาตินั้นมักทำให้มีบรรยากาศครึกครื้น มีการประดับประดาด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย และราชวัตรฉัตรธง ให้มีบรรยากาศเหมือนเขาวงกต มีการตกแต่งบูชาด้วยเครื่องแกวลายคราม โลหะเงินทอง ดอกไม้เครื่องผูก ตามประทีปโคมไฟ และที่สำคัญมีฉากประจำกัณฑ์ เขียนเป็นรูปภาพแสดงเรื่องในกัณฑ์นั้นๆ แขวนไว้ด้วย

เพลงประจำกัณฑ์มหาชาติ-- สาธุการ (ทศพร)-- ตวงพระธาตุ (หิมพานต์) --พญาโศก (ทานกัณฑ์)-- พญาดิน (วนประเวศน์)-- เซ่นเหล้า (ชูชก)-- คุกพาทย์ (จุลพล)-- เชิด (มหาพน)-- โอดเชิดฉิ่ง (กุมาร) -- ทยอยโอด (มัทรี)-- เหาะ (ลักบรรพ)-- กราวน์นอก (มหาราช)-- ตระนอน (ฉกษัตริย์ )-- ทะแยกลองโยน (นครกัณฑ์)

  1. ดนตรีไทย
  2. ศิลปินแห่งชาติ
  3. นักดนตรีไทย

LOCATIONCALL#STATUSEducation Library : Audio-Visual CollectionCD 000100LIB USE ONLY

การเทศน์มหาชาติ หรือการเทศนามหาเวชสันดรชาดก เป็นวรรณคดีอมตะเรื่องหนึ่งของไทยเรา ซึ่งใช้วงปี่พาทย์ประกอบการเทศนา โดยอาจใช้เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ก็จะเหมาะสมอย่างยิ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้มีเสียงดังจากวงปี่พาทย์ช่วยให้ผู้ที่ผู้ไกลๆ ได้มาร่วมอนุโมทนาทั่วกัน

เมื่อพระขึ้นธรรมาสน์ ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงสาธุการ อันเป็นการอัญเชิญพระรัตนตรัย เทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้มาร่วมประชุมร่วมกัน ณ โรงพิธีขณะนั้น ความไพเราะของการเทศน์มหาชาติ ซึ่งรวมทั้งสิ้น 13 กันฑ์นั้น เมื่อพระสงฆ์เทศนาจบกันฑ์หนึ่งๆ แล้ว วงปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงหน้าพาทย์เฉพาะ โดยอาศัยโครงการดำเนินเรื่องตามเนื้อเรื่องของกันฑ์นั้นตามที่โบราณได้กำหนดไว้ ดังนี้

กันฑ์ที่หนึ่ง

ทศพร

พระอินทร์ประสาทพร 10 ประการแก่พระนางผุสดีให้จุติลงมาเป็นพระราชมารดาพระเวชสันดร กาลครั้งนั้นพระนางผสุดีได้บูชาพระทศพรด้วยจุณจันทร์ แล้วพระนางได้ตั้งปณิธานว่า “ภัณเต ข้าแต่สมเด็จพระผู้ทรงพระภาค เอสา ปูชาอันว่าการสักการบูชาอันข้าพระเจ้ากระทำในพระองค์ด้วยผงจุรณแก่นจันทร์นี้ ขอให้ข้าได้สมความยินดีเป็นพุทธมารดาพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในอนาคตกาล อันทรงพระญาณวิเศษปรากฏเหมือนเป็นอย่างพระองค์ฉะนี้” เมื่อจบกัณฑ์นี้ปี่พาทย์บรรเลงเพลง สาธุการ ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าได้อัญเชิญเทพยดาสิ่งศักดิ์ทั้งปวง

กัณฑ์ที่สอง

หิมพานต์

ที่กล่าวถึงพระเวสสันดร พระราชทานช้างเผือกแก่พราหมณ์ที่มาขอ ทำให้ชาวเมืองโกรธแค้นให้เนรเทศไปยังเขาวงกต “อันพระเวสสันดรสุริยวงศ์ พระกรซ้ายทรงจับงวงกุญชรไอยรา พระกรขวาทรงอุทกวารีกุณฑีทอง ท้าวเธอก็ร้องประกาศแก่อมรเทวราชทุกห้องฟ้า ให้ช่วยอนุโมทนาคชาทานแล้งตรัสเรียกพฤฒาจารย์มิได้ช้า หลั่งอุทกธาราให้ตกลงเหนือมือพราหมณ์ ตั้งพระทัยไว้ให้งามดั่งดวงแก้ว แล้วออกอุทานวาจาว่า อทํ ทานํ อันว่า ผลทานของข้าพเจ้าจงสำเร็จ แก่พระสร้อยสรรเพชญโพธิญาณ ในอนาคตกาลโน้นเถิด” ปี่พาทย์บรรเลงเพลง ตวงพระธาตุ

กัณฑ์ที่สาม

ทานกัณฑ์

พระเวสสันดร พระราชทานม้าและราชรถแก่พราหมณ์ที่ตามมาขอนอกเมืองเชตุดรจดหมด ปี่พาทย์บรรเลงเพลง พระยาโศก

กัณฑ์ที่สี่

วนปเวสน์

พระเวสสันดร พระนางมัทรี กัณหา ชาลี กษัตริย์ต้องเดินดง ตั้งพระทัยมุ่งตรงสู่เขาวงกต เพื่อจะทรงบำเพ็ญพรตเป็นฤาษี ปี่พาทย์บรรเลงเพลง พระยาเดิน ซึ่งเพลงนี้ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินเป็นหมู่พร้อมด้วยข้าราชบริพาร

กัณฑ์ที่ห้า

ชูชก

ที่กล่าวถึง ชูชกพราหมณ์เฒ่าพานางอมิตตดา ลูกของเพื่อนที่รับฝากทองแล้วยักยอกไปใช้จนหมด ชูชกจึงไปยึดลูกสาวมาเป็นเมีย กัณฑ์นี้ปี่พาทย์บรรเลงเพลง เส้นเหล้า

กัณฑ์ที่หก

จุลพน

กล่าวถึงเมื่อ ชูชกหลอกพรานเจตบุตรโดยเลห์เพทุบายว่า เป็นทูตหลวงนำพระราชสาสน์จากพระเจ้ากรุงสัญชัยมาถวายพระเวสสันดร ปี่พาทย์บรรเลงเพลง รัวสามลา เพลงนี้เป็นเพลงบรรเลงประกอบการแผลงฤทธิเดช หรือแสดงอาการโกรธเคืองอย่างน่าเกรงขาม

กัณฑ์ที่เจ็ด

มหาพน

ว่าด้วยเรื่อง เฒ่าชูชกเดินทางมาถึงกลางป่าใหญ่ พบกับพระอัจจุตฤาษี ได้หลอกลวงพระฤาษีให้หลงกลว่าเป็นกัลยาณมิตรของพระเวสสันดร จนได้พักค้างคืนที่อาศรม พอรุ่งเช้าพระฤาษีให้กินผลไม้ พร้อมบอกเส้นทาง และสภาพแวดล้อมในป่าที่จะเดินทางไปอาศรมของพระเวสสันดร จบกัณฑ์มหาพน บรรเลงเพลงเชิดกลอง ประกอบกิริยาเดินอย่างเร่งรีบของชูชก

กัณฑ์ที่แปด

กุมาร

ฃพระเวสสันดรตรัสเรียก กัณหาและชาลี ออกจากที่ซ่อนในสระ เพื่อนำไปให้ทานแก่เฒ่าชูชก ปี่พาทย์บรรเลงเพลง ฉิ่งโอด

กัณฑ์ที่เก้า

มัทรี

พระนางมัทรีได้อ้อนวอนทูลขอต่อเทพเจ้าที่มาแปลงร่างเป็นพระยาราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง ให้หลีกเพื่อเดินทางไปสู่ศาลาบำเพ็ญพรตของพระเวสสันดร ปี่พาทย์บรรเลงเพลง ทะยอยโอด ซึ่งเป็นการแสดงถึงการได้รับความสะเทือนใจอย่างรุนแรง เช่น เดินพลางร้องไห้พลาง

กัณฑ์ที่สิบ

สักกบรรพ

กล่าวถึงพระอินทร์จำแลงร่างเป็นพราหมณ์ มาขอพระนางมัทรีกับพระเวสสันดรและถวายคืน พร้อมกับประสาทพร 8 ประการให้แก่พระเวสสันดร ปี่พาทย์บรรเลง เพลง เหาะ เพื่อประกอบการเคลื่อนไหวของเทพยดา

กัณฑ์ที่สิบเอ็ด

มหาราช

เทวดาจำแลงร่างเป็นพระเวสสันดรและพระนางมัทรี ตามมาอุ้มสองกุมาร กัณฑ์นี้ปี่พาทย์บรรเลง เพลง กราวนอก 

กัณฑ์ที่สิบสอง

ฉกษัตริย์

เป็นการกล่าวถึง 6 กษัตริย์ได้พบกัน ณ อาศรมบนเขาวงกต อันมี พระอัยกา พระอัยกี พระเวสสันดร พระนางมัทรี กัณหา ชาลี เมื่อพบกันก็ชวนกันโศกศัลย์ล้มสลบซบเศียรสังเวช ก็บังเกิดอัศจรรย์ทั่วสกลกำเริบสะท้านสะเทือนถึงขอบเขตจักรวาล จึงบันดาลห่าฝนโบกขรวัสสันตวัสสิกธารา ให้ตกลงในที่ชุมนุมขัตติยวงศาทั้งหกกษัตริย์ ก็ค่อยได้สติฟื้นคืนสมปฤดี ปี่พาทย์บรรเลง เพลง ตระนอน ซึ่งเพลงนี้ใช้สำหรับตัวละครที่สูงศักดิ์เข้าบรรทม

กัณฑ์ที่สิบสาม

นครกัณฑ์

หกกษัตริย์นำพยุหโยธา เสด็จกลับจากเขาวงกต แล้วพระเวสสันดรก็ขึ้นคลองนครเชตุดรแทนพระราชบิดา ปี่พาทย์บรรเลง เพลงกลองโยน แล้ว เชิด เมื่อบรรเลงเพลงเชิดจบแล้ว ก็บรรเลงเพลง กราวรำ ติดต่อกันไปเลย เพื่อแสดงถึงการเสร็จพิธีการเทศนามหาชาติ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก