เรื่องอิเหนามีที่มาจากชนชาติใด

บทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีที่มาจากนิทานอิงพงศาวดารชวา  ซึ่งแพร่หลายเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ปรากฏเป็นบทนิพนธ์เรื่องอิเหนาเล็กของเจ้าฟ้ามงกุฏ และเรื่องอิเหนาใหญ่หรือดาหลังของเจ้าฟ้ากุณฑล  พระธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ซึ่งเป็นยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงรวบรวมเรื่องอิเหนาเล็กสมัยอยุธยามาเรียบเรียงขึ้นใหม่เพื่อรักษาเป็นสมบัติของชาติ  ทรงนำอิเหนาเล็กมาพระราชนิพนธ์เป็นบทละคร

บทละครเรื่องอิเหนา  พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1  ฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 6 ตอน ดังนี้

1. ตอนตั้งวงศ์เทวา จนถึงอิเหนาไปอยู่เมืองหมันหยาครั้งแรก

2. ตอนเข้าห้องจินตะหรา  จนถึงอิเหนาตอบสารกุเรปันตัดอาลัยบุษบา

3. ตอนวิหยาสะกำเที่ยวป่า จนถึงท้าวหมันหยารับสารกุเรปัน

4. ตอนศึกกะหมังกุหนิง

5. ตอนเข้าเมืองมะละกา  จนถึงอุณากรรณขึ้นเขาประจาหงัน

6. ตอนย่าหรันตกไปเมืองมะงาดา  จนถึงระเด่นดะราหวันตามย่าหรันมาเมืองกาหลัง

พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. อิเหนา. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2516.

‘อิเหนา’ สุดยอดวรรณคดีในรูปแบบร้อยแก้ว

วรรณคดีนอกจากจะเป็นหนังสือเก่าแก่ที่ได้รับความนิยมมาเป็นเวลานานแล้ว วรรณคดีแต่ละเรื่องยังได้สะท้อนวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ รวมไปถึงวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นนั้น ๆ ออกมาได้อย่างชัดเจนอีกด้วย และหลายคนอาจกำลังสับสนว่าจริง ๆ แล้ว วรรณคดีกับวรรณกรรมเหมือนกันหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบมาฝากทุกคนกัน

วรรณคดีและวรรณกรรมแตกต่างกันอย่างไร

วรรณคดีทุกเล่มจะต้องผ่านการเป็นวรรณกรรมมาก่อน ซึ่งเมื่อวรรณกรรมเล่นนั้นมีการใช้ภาษาได้เป็นอย่างดี และสละสลวย มีอายุมาอย่างยาวนาน ได้รับความนิยมมาโดยตลอด และเป็นที่ยอมรับจากนักอ่านทุกคนจึงจะถูกยกให้เป็นวรรณคดี ในเวลาเดียวกันวรรณกรรมเป็นเพียงหนังสือทั่วไป จะเน้นความสำคัญเพียงแค่ด้านใดด้านหนึ่ง แบบที่คนนิยมอ่าน ฉะนั้น วรรณกรรมและวรรณคดีจึงไม่ใช่หนังสือประเภทเดียวกันนั่นเอง

[advanced_iframe iframe_hide_elements=”header,footer,#filterWrapper,.bread”  src=”//www.shopat24.com/search/?q=%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2&qc=&ms=true/&utm_source=blog&utm_medium=iframe” change_iframe_links=”a” change_iframe_links_target=”_blank”]

แต่เมื่อพูดถึงวรรณคดีขึ้นชื่อของไทยที่เป็นที่รู้จัก ‘อิเหนา’ จะต้องเป็นวรรณคดีเล่มแรก ๆ ที่หลายคนเอ่ยถึง ซึ่งแต่เดิมอิเหนาเป็นเคยเป็นนิทานพื้นบ้านที่ชาวชวาแต่งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองพระมหากษัตริย์ มีชื่อเรียกว่า ‘ปันจี อินู กรัตปาตี’ หรือ ‘ปันหยี’ สำหรับในประเทศไทยจะมี ฉบับมาลัต ที่มีความตรงกันกับฉบับของชวา โดยใช้ภาษากวีของชวาโบราณในการแต่ง

โดยในประเทศไทยได้เกิดข้อสันนิษฐานต่าง ๆ นานา ว่าจุดเริ่มต้นมาจากที่ใด แต่จุดเริ่มต้นที่มีหลักฐานชัดเจนคือข้อสันนิษฐานที่ว่าเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ ผู้ที่เป็นราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับเจ้าฟ้าสังวาล พระองค์ทั้งสองได้รับฟังนิทานชวาเรื่องอิเหนามาจากนางกำนัลชาวมลายูที่เดินทางมาจากปัตตานี เมื่อพระราชธิดาทั้งสองได้ฟังก็ทรงปลาบปลื้มและจึงได้ทรงแต่งเรื่องอิเหนา (ฉบับภาษาไทย) ขึ้นมาพระองค์ละเรื่อง คือ อิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) และอิเหนาเล็ก (อิเหนา)

เรื่องราวของอิเหนา ฉบับร้อยแก้ว

สำหรับใน ShopAt24 ก็มีหนังสืออิเหนา ฉบับร้อยแก้วจำหน่ายอยู่ด้วยเช่นกัน โดยหนังสือเล่มนี้ได้มีการถ่ายสุดยอดวรรณคดีของไทยให้ออกมาในรูปแบบของร้อยแก้ว เป็นผลงานการแต่งของ ศ.ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ทำความเข้าใจกับสุดยอดวรรณคดีเรื่องนี้แบบเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน

ทำความรู้จักอิเหนา วรรณคดีขึ้นชื่อของไทย

ในเรื่องอิเหนา จะเป็นการเล่าถึงกษัตริย์ 4 พระองค์ นามว่า กุเรปัน ดาหา กาหลัง สิงหัดส่าหรี ที่เป็นชื่อของแต่ละเมือง พร้อมด้วยนครหมันหยาที่เกี่ยวดองเป็นญาติกัน ซึ่งเมื่อมเหสีเอกของท้าวกุเรปันคลอดบุตรออกมา องค์ปะตาระกาหลาซึ่งเป็นเทวาบนนสวรรค์ก็ได้มอบกริซให้กับโอรสผู้วาสนาสูงชื่อว่า ‘อิเหนา’ จากนั้นพระกุเรปันจึงได้ขอหมั้น ‘นางบุษบา’ ธิดาของท้าวดาหาให้กับอิเหนาลูกชาย

แต่แล้วเรื่องกลับพลิกผันเมื่ออิเหนาไปพบรักกับ ‘นางจินตะหรา’ ธิดาของท้าวหมันหยา และขอถอนหมั้นนางบุษบา (ทั้งที่ยังไม่เห็นหน้า) ทันที ขณะเดียวกัน ‘จรกา’ รูปชั่วตัวดำก็รีบเข้ามาขอนางบุษบาเป็นเมีย ท้าวดาหาก็ยกให้ทันทีเพราะแค้นใจอิเหนา

ต่อมา เทวาบนนสวรรค์ก็ได้ดลบันดาลให้ ‘วิหยาสะกำ’ โอรสของท้าวกะหมังกุหนิงต้องการอยากได้ตัวนางบุษบา เมื่อท้าวดาหายกนางให้ไม่ได้จึงเกิดเป็นศึกแย่งชิงตัวนาง ทำให้ท้าวดาหาต้องขอความช่วยเหลือจากจรกาและอิเหนา เมื่อสู้รบเสร็จฝ่ายท้าวดาหาเป็นผู้ชนะ นั่นจึงทำให้อิเหนาได้เจอนางบุษบาหญิงรูปงามเป็นครั้งแรก แล้วความวุ่นวายต่าง ๆ ก็เริ่มก่อตัวขึ้นอีกครั้ง…

นี่เป็นเพียงแค่น้ำจิ้มของเรื่องอิเหนาเท่านั้น ซึ่งหากใครต้องการอ่าน เล่าเรื่องอิเหนา ฉบับร้อยแก้ว สามารถสั่งซื้อได้แล้วที่หน้าเว็บไซต์ ShopAt24.com ที่มาพร้อมกับคูปองส่วนลด และโปรโมชั่นจัดส่งฟรี ที่ 7-11 ให้คุณได้คุ้มค่า

อ่านเพิ่มเติม :

  • The New Gate การ์ตูนมังงะสุดฮิต ซื้อที่ไหนถูกสุด
  • ซีเอ็ดบุ๊ค จัดโปรโมชั่นหนังสือดีน่าอ่าน ลดสูงสุด 20%
  • แนะนำ 7 หนังสือน่าอ่าน เพิ่มความรู้ ผ่อนคลายสมอง
  • หนูน้อยหมวกแดง เทพนิยายสุดมหัศจรรย์
  • แว่นตาสำหรับอ่านหนังสือมีวิธีเลือกอย่างไร

เรื่องอิเหนามีต้นกำเนิดจากชาติใด

เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “ปันจี อินู กรัตปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปันหยี” (Panji) ส่วน ...

เรื่องอิเหนามีที่มาจากชนชาติใด และมีมาตั้งแต่สมัยใด

บทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีที่มาจากนิทานอิงพงศาวดารชวา ซึ่งแพร่หลายเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ปรากฏเป็นบทนิพนธ์เรื่องอิเหนาเล็กของเจ้าฟ้ามงกุฏ และเรื่องอิเหนาใหญ่หรือดาหลังของเจ้าฟ้ากุณฑล พระธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นยุค ...

วรรณคดีเรื่องอิเหนาเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด

วรรณคดีเรื่อง "อิเหนา" มีบ่อเกิดมาจาก "นิทานปันหยี" อิเหนาสำนวนแรกของไทยปรากฏขึ้นในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๐๑) เล่าโดยหญิงข้าหลวงมลายู หลังจากนั้นพระราชธิดาองค์โตได้ทรงพระนิพนธ์บทละครในเรื่อง "ดาหลัง" (อิเหนาใหญ่) พระราชธิดาองค์เล็กทรงพระนิพนธ์บทละครในเรื่อง "อิเหนา" ทั้งสอง ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก