บุคคล ประเภท ไหน ไม่ใช่ ข้าราชการ

ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่คอยปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อย 4 ประเภท ได้แก่

Show
  • ประเภทบริหาร
  • ประเภทอำนวยการ
  • ประเภทวิชาการ
  • ประเภททั่วไป

ความหมายในแต่ละประเภทของข้าราชการไทย

ข้าราชการพลเรือนในส่วนพระองค์

ข้าราชการพลเรือนในส่วนพระองค์ หมายถึง ข้าราชการพลเรือนที่อยู่ในสังกัดสำนักพระราชวัง จะมีหน้าที่เกี่ยวกับงานในพระองค์พระมหากษัตริย์ โดยจะได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ซึ่งการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์นั้นจะเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษานั้น หมายถึง ข้าราชการพลเรือนที่อยู่ในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ถูกสังกัดเอาไว้ในกระทรวงศึกษาธิการ แต่ไม่นับรวมถึงสถานศึกษาของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนของราชการ ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา โดยสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยได้ 3 ประเภท ดังนี้

  • ประเภทวิชาการ
  • ประเภทผู้บริหาร
  • ประเภททั่วไป

ส่วนการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จะดำเนินการโดยสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง โดยอิสระซึ่งในปัจจุบันไม่มีการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแล้ว เหลือแต่เพียงการบรรจุและแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัย เข้ามาแทนที่

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หมายถึง ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุ และแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการในส่วนสถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถแบ่งออกให้เข้าใจได้ง่าย เป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • ข้าราชการผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา ได้แก่
    • ครูผู้ช่วย
    • ครู
    • อาจารย์
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • รองศาสตราจารย์
    • ศาสตราจารย์
  • ข้าราชผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ได้แก่
    • รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
    • ผู้อำนวยการสถานศึกษา
    • รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
    • ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
    • ตำแหน่งที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
  • บุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ
    • บุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ จะประกอบไปด้วยตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ และตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดเอาไว้ ซึ่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จะมีคณะกรรมการกลางในการบริหารงานบุคคล และคอยกำกับดูแลข้าราชการ คือ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ ก.ค.ศ.

ข้าราชการฝ่ายทหาร

ข้าราชการทหาร หมายถึง บุคคลที่เข้ารับราชการทหารประจำการ หรือข้าราชการกลาโหม และพลเรือนที่ถูกบรรจุลงในอัตราทหาร ทั้งในหน่วยงานทางการทหารซึ่งจะสังกัดกระทรวงกลาโหมหรือกองทัพไทยก็ตาม โดยข้าราชการทหารจะมีคณะกรรมการข้าราชการทหาร (กขท.) คอยกำกับดูแลเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการทหาร ซึ่งข้าราชการฝ่ายทหารยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • ข้าราชการทหาร
  • ข้าราชการกลาโหมพลเรือน

ข้าราชการตำรวจ

ข้าราชการตำรวจ หมายถึง ข้าราชการที่อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถือเป็นส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง มีฐานะเป็นกรม และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี แบ่งออกเป็น ชั้นประทวน และชั้นสัญญาบัตร

ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม

ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม หมายถึง ข้าราชการที่ถูกบรรจุและแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติราชการในศาลยุติธรรม และสำนักงานศาลยุติธรรม โดยจะมีคณะกรรมการข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) เป็นคณะกรรมการกลางคอยกำกับดูแล ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  • ข้าราชการตุลาการ(ศาลยุติธรรม)
  • ดะโต๊ะยุติธรรม
  • ข้าราชการศาลยุติธรรม

ข้าราชการฝ่ายอัยการ

ข้าราชการฝ่ายอัยการ หมายถึง ข้าราชการที่ถูกบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด จะมีคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) เป็นคณะกรรมการกลางในการกำกับดูแล ข้าราชการฝ่ายอัยการยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • ข้าราชการอัยการ
  • ข้าราชการธุรการ ในหน่วยงานของอัยการ

ข้าราชการรัฐสภา

ข้าราชการรัฐสภานั้นสามารถอธิบายความหมายโดยการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • ข้าราชการรัฐสภาสามัญ คือ ข้าราชการที่ซึ่งรับการบรรจุ และถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประจำ โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ ใช้วิธีการจำแนกและกำหนดประเภทตำแหน่งแบบเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ
  • ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง คือ ข้าราชการซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา

ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง

ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง หมายถึง ข้าราชการที่รับราชการ ดำรงตำแหน่งในศาลปกครอง และสำนักงานศาลปกครอง โดยจะมีคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง เป็นคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ซึ่งข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง จะสามารถแบ่งออกได้ 2 ส่วน ดังนี้

  • ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง
  • ข้าราชการสำนักงานศาลปกครอง

ข้าราชการฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ

ข้าราชการฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ หมายถึง ข้าราชการที่รับราชการ และดำรงตำแหน่งอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยข้าราชการฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  • ข้าราชการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีในศาลรัฐธรรมนูญ
  • ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่ทำหน้าที่ด้านธุรการในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

ข้าราชการสำนักงานป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

ข้าราชการสำนักงานป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หมายถึง ข้าราชการที่อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จะได้รับบรรจุ และแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามปี พ.ศ. 2554 โดยการกำหนดตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำ โดยตำแหน่งของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช.นั้นให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ในคำว่า “ก.พ.” จะให้หมายถึง คณะกรรมการ ป.ป.ช. และ คำว่า “ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี” จะให้หมายถึงสำนักงาน ป.ป.ช. ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. จึงแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • ข้าราชการในสายกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ข้าราชการซึ่งปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย
  • ข้าราชการทั่วไป ซึ่งแบ่งเป็น ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป

ข้าราชการการเมือง

ข้าราชการการเมือง หมายถึง ผู้ที่รับราชการในตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่

  • ข้าราชการการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  • ข้าราชการการเมืองกรุงเทพมหานคร
  • ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น

ข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร

ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร หมายถึง บุคคลที่ซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการ จะได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานคร หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานครแล้วจึงนำมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการกรุงเทพมหานคร โดยข้าราชการประเภทนี้จะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
  • ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร (เดิมเรียกว่า”ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร”) คือ ข้าราชการที่รับราชการในสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร
  • ข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา คือ ข้าราชการที่รับราชการในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดหรือในกำกับของกรุงเทพมหานคร (มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช)

ส่วนบุคลากรกรุงเทพมหานคร ที่บางคนสงสัยว่าเหมื่อนกันกับข้าราชการกรุงเทพไหมนั้น ขอตอบว่าไหม่เหมื่อนกัน โดยชื่อที่ใช้เรียก บุคลากรกรุงเทพมหานคร จะหมายถึงลูกจ้างกรุงเทพมหานครและพนักงานกรุงเทพมหานคร สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้

  • ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร คือ บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานครโดยจะได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณหมวดค่าจ้างของกรุงเทพมหานคร หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานครและกรุงเทพมหานครนำมาจัดเป็นค่าจ้างของลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
  • พนักงานกรุงเทพมหานคร คือ บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดย จะได้รับค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณหมวดค่าตอบแทนของกรุงเทพมหานคร

ข้าราชการส่วนท้องถิ่น

ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึง ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ตามที่มีกฎหมายจัดตั้งเอาไว้ โดยตำแหน่งของข้าราชการส่วนท้องถิ่นนั้นจะมี 4 ประเภท ได้แก่

  • ประเภทบริหารท้องถิ่น มี 3 ระดับ ได้แก่
    • ระดับต้น
    • ระดับกลาง
    • ระดับสูง
  • ประเภทอำนวยการท้องถิ่น มี 3 ระดับ ได้แก่
    • ระดับต้น
    • ระดับกลาง
    • ระดับสูง
  • ประเภทวิชาการ มี 4 ระดับ ได้แก่
    • ระดับปฏิบัติการ
    • ระดับชำนาญการ
    • ระดับชำนาญการพิเศษ
    • ระดับเชี่ยวชาญ
  • ประเภททั่วไป มี 3 ระดับ ได้แก่
    • ระดับปฏิบัติงาน
    • ระดับชำนาญงาน
    • ระดับอาวุโส

*ทั้งนี้ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทจะถูกเรียกชื่อ แตกต่างกันออกไปตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆไป

พนักงานอื่นๆของรัฐ

พนักงานอื่นๆของรัฐ หมายถึง พนักงานที่มีลักษณะงานแบบเดียวหรือคล้ายคลึงกับข้าราชการ จะมีลักษณะการบริหารจัดการบุคลากรแบบเดียวกับข้าราชการพลเรือนวิสามัญในอดีต หรือก็คือจ้างให้รับราชการหรือปฏิบัติงานนั้นๆโดยเฉพาะ หรือไม่ก็ดำรงตำแหน่งประจำแบบข้าราชการ ได้แก่

ข้าราชการมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ประเภทของข้าราชการไทย.
ข้าราชการพลเรือน (ข้าราชการพลเรือนสามัญ และข้าราชการพลเรือนในพระองค์).
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา.
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.
ข้าราชการทหาร.
ข้าราชการตำรวจ.
ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม.
ข้าราชการฝ่ายอัยการ.
ข้าราชการรัฐสภา.

งานอะไรบ้างที่เป็นข้าราชการ

ประเภทของงานข้าราชการ มีอะไรบ้าง.
ข้าราชการพลเรือน.
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา.
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.
ข้าราชการทหาร.
ข้าราชการตำรวจ.
ข้าราชการฝ่ายตุลาการ.
ข้าราชการฝ่ายอัยการ.
ข้าราชการรัฐสภา.

บุคลากรของรัฐ ประกอบด้วย บุคคลประเภทใดบ้าง

๕.๒ บุคลากรภาครัฐ หมายถึง ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงาน ของรัฐ โดยในแนวทางนี้ จำแนกกลุ่มบุคลากรภาครัฐออกเป็น ๕ กลุ่มตามบทบาทหน้าที่ (Roles and Responsibility) ประกอบด้วย (๑) บุคลากรแรกบรรจุ (๒) บุคลากรที่มีประสบการณ์ (๓) บุคลากรที่ทำหน้าที่ หัวหน้างาน (๔) บุคลากรที่ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ...

สอบข้าราชการมีอะไรบ้าง

3 ขั้นตอนหลัก ในการสอบเป็นข้าราชการมีอะไรบ้าง?.
1. การสอบแข่งขัน โดยในขั้นแรกจะเป็นการสอบที่เรารู้จักกันดีคือ การสอบก.พ. ภาค ก. (ความรู้ความสามารถทั่วไป) โดยทางสำนักก.พ. จะจัดสอบขึ้นเป็นประจำทุกปี ประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม.
2. การสอบความรู้ความสามารถประจำตำแหน่ง (ภาค ข.) ... .
3. การสอบก.พ. ภาค ค..