ย่อหน้าแบบใดที่ท่านคิดว่าสามารถจัดลำดับความคิดได้ง่ายที่สุด

การเขียนโครงเรื่อง
โครงเรื่องเป็นการกำหนดแนวทางการเขียน การเรียบเรียงข้อมูล การจัดลำดับความคิด และการจัดลำดับหัวข้อ หลังจากที่ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูล การเขียนโครงเรื่องจึงเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในงานเขียน แต่ก็มิได้หมายความว่าผู้เขียนจะต้องเขียนตามโครงเรื่องที่วางไว้เสมอ เพราะเมื่อลงมือเขียนจริงอาจมีการปรับเปลี่ยนโครงได้ตามความเหมาะสม นอกจากนี้การเขียนโครงเรื่องยังช่วยให้ผู้เขียนไม่สับสนเวลาเขียน หรือเขียนหัวข้อใดข้อหนึ่งยาวเกินไป และอาจจะลืมเขียนบางหัวข้อ ดังนั้นการเขียนโครงเรื่องก่อนที่จะลงมือเขียนจะทำให้งานเขียนมีความสมบูรณ์มากที่สุด
ประโยชน์ของโครงเรื่อง
การเขียนโครงเรื่องมีประโยชน์ในการเขียนหลายประการ ดังนี้
1. โครงเรื่องช่วยในการนำเสนอเนื้อหา ทำให้ผู้เขียนเตรียมเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายในการเขียน รู้จักกำหนดขอบข่ายของเนื้อหา รวมทั้งช่วยให้เห็นแนวทางการเรียบเรียงความคิด ว่าควรจะใช้แบบใด และมีเนื้อหาในประเด็นหรือหัวข้อใดที่เรายังไม่รู้ดีพอหรือยังหารายละเอียดไม่ได้ เราก็สามารถเตรียมความรู้เหล่านี้เพิ่มเติมได้อีกจนเพียงพอ
2. โครงเรื่องช่วยแบ่งหัวข้อได้ชัดเจน การแบ่งหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยอย่างชัดเจนทำให้ผู้เขียนสามารถจัดลำดับเพื่อเชื่อมโยงหัวข้อย่อยกับหัวข้อย่อย หัวข้อใหญ่กับหัวข้อย่อยได้ง่าย
3. โครงเรื่องช่วยเขียนเรื่องอย่างมีเหตุผล ทำให้ผู้เขียนมองเห็นความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆ ในเนื้อหาจากโครงเรื่องได้ชัดเจน ว่ามีประเด็นหรือหัวข้อใดเกี่ยวข้องกันบ้าง และความคิดของประเด็นต่างๆ เหล่านั้นเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร จึงจะทำให้เนื้อหามีน้ำหนักและสมเหตุสมผล
4. โครงเรื่องช่วยในการวางสัดส่วนของเรื่องได้เหมาะสม โครงเรื่องช่วยให้ทราบว่าควรเขียนในประเด็นอะไรบ้าง มีประเด็นใดที่ไม่ควรเขียน หรือประเด็นใดควรนำความคิดหรือรายละเอียดมาสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน จึงจะพอเหมาะกับความยาว ซึ่งจะช่วยให้สัดส่วนของเรื่องเหมาะสม
5. โครงเรื่องช่วยไม่ให้ลืมหัวข้อเรื่องที่จะเขียน ในขณะเขียนเราอาจจะจดจ่อกับเรื่องที่เขียนจนลืมเขียนหัวข้ออื่นๆ ได้ แต่การเขียนโครงเรื่องจะช่วยเตือนความจำให้เราไม่ลืมเขียนหัวข้อ
6. โครงเรื่องช่วยไม่ให้สับสนเวลาเขียน การเขียนโครงเรื่องก่อนลงมือเขียนเปรียบเสมือนการเขียนฉบับร่างของงานเขียน เมื่อลงมือเขียนจึงสามารถเขียนตามหัวข้อต่างๆ ที่ผู้เขียนได้วางโครงเรื่องไว้ทำให้ไม่เกิดความสับสนเวลาเขียน
รูปแบบของการเขียนโครงเรื่อง
1. โครงเรื่องแบบคร่าวๆ เป็นการเขียนโครงเรื่องอย่างคร่าว ๆ ด้วยคำหรือวลีอย่างหยาบ ๆ เพื่อวางแนวเรื่องที่สั้น ๆ เรียงลำดับลดหลั่นกันมา โดยอาจจัดเป็นหัวข้อใหญ่และมีหัวข้อย่อยก็ได้
ตัวอย่าง เรื่อง ภาวะโลกร้อน
- ความหมาย
- สาเหตุ
- ผลกระทบ
- สิ่งแวดล้อม
- เศรษฐกิจ
- สุขภาพ
- การแก้ปัญหา
- ลดการใช้พลังงาน
- ปลูกต้นไม้
- ลดใช้ถุงพลาสติก
2. โครงเรื่องแบบหัวข้อ โครงเรื่องแบบนี้เขียนด้วยคำวลีสั้น ๆ หรืออนุประโยคที่ไม่ได้ความครบถ้วนในตัวเอง และมีตัวเลขหรืออักษรย่อกำกับประเด็นทุกประเด็นที่สังเขปด้วยคำวลีหรืออนุประโยคนั้น ๆ
ตัวอย่าง เรื่อง ภาวะโลกร้อน
1. ความหมายภาวะโลกร้อน
2. สาเหตุภาวะโลกร้อน
3. ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
3.1 ด้านสิ่งแวดล้อม
3.2 ด้านเศรษฐกิจ
3.3 ด้านสุขภาพ
4. การแก้ปัญหา
4.1 ลดการใช้พลังงาน
4.2 ปลูกต้นไม้และรักษาป่าไม้
4.3 ลดการใช้ถุงพลาสติก
3. โครงเรื่องแบบประโยค โครงเรื่องแบบนี้เขียนด้วยข้อความซึ่งเป็นประโยคที่สมบูรณ์และชัดเจน มีเลขหรืออักษรย่อกำกับประโยคทุกประโยคที่เป็นประเด็นของเรื่องนั้น
ตัวอย่าง เรื่อง ภาวะโลกร้อน
1. ความหมายของภาวะโลกร้อน
2. สาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน
3. ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
3.1 ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
3.3 ผลกระทบด้านสุขภาพ
4. การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน
4.1 อนุรักษ์พลังงาน
4.2 อนุรักษ์ป่าไม้
4.3 อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
แนวทางการเขียนโครงเรื่อง
1. การประมวลความคิด คือ รวบรวมข้อมูลเป็นหัวข้อต่างๆ
2. การจัดสรรความคิด คือ จัดหมวดหมู่ข้อมูลและจัดลำดับความสำคัญของแต่ละหัวข้อ
3. การจัดหมวดหมู่หรือแยกประเภทความคิด จัดลำดับของหัวข้อแต่ละหัวข้อให้มีเนื้อหาต่อเนื่องเป็นลำดับและสัมพันธ์กัน ผู้เขียนสามารถจัดลำดับเนื้อหาตามลำดับเวลา ตามประเพณีนิยม ตามความสำคัญน้อยไปสำคัญมากหรือสำคัญมากไปหาสำคัญน้อย เป็นต้น
4. การเขียนโครงเรื่อง เขียนโครงเรื่องให้เป็นระเบียบโดยใช้รูปแบบการเขียนแบบเดียวกันตลอดเนื้อหา และจัดหัวข้อย่อยแต่ละข้อเยื้องไปทางขวา

          //ajsurat.blogspot.com/2014/02/blog-post.html

ย่อหน้าแบบใดที่ท่านคิดว่าสามารถจัดลำดับความคิดได้ง่ายที่สุด *

ย่อหน้าข้างต้นเป็นแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว คือ ย่อหน้าที่มีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้นย่อหน้า แล้วมีประโยคสนับสนุนหลักและประโยคสนับสนุนรองวางอยู่ในตําแหน่งถัดไป จึงทําให้จัดลําดับความคิดได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นการขยายความคิดจากประโยคใจความสําคัญไปสู่รายละเอียดที่จะนํามาสนับสนุน

การเขียนย่อหน้ามีความสําคัญอย่างไร

๓. ประโยชน์ของย่อหน้ามี ๔ ประการ คือ ๑) ช่วยให้ผู้อ่านจับประเด็น หรือใจความ สําคัญของเรื่องได้ง่ายขึ้น ๒) ทําให้ผู้อ่านได้พักสายตาในการอ่าน ๓) ทําให้ผู้อ่านได้มีโอกาส คิดทบทวนเนื้อหาของย่อหน้าที่ได้อ่าน ๔) ทําให้เนื้อหาของเรื่องที่เขียนมีลักษณะสวยงาม

เอกภาพของย่อหน้าคืออะไร

๒. เอกภาพ หมายความว่า ข้อความแต่ละย่อหน้า จะต้องเขียนให้มีความคิด หรือใจความสำคัญเพียงประการเดียว ไม่เปลี่ยนความคิด หรือจุดมุ่งหมาย เป็นหลายอย่างใน ย่อหน้าเดียว

ย่อหน้าที่ดีมีอะไรบ้าง

ย่อหน้าที่ดีจะต้องประกอบด้วย เนื้อหาที่ดี และมีวิธีการเขียนที่ดี คือ เนื้อหาที่ดี 1. มีเอกภาพ คือ แต่ละย่อหน้ามีใจความสำคัญเพียงประการเดียว ส่วนข้อความอื่น ๆ เป็นส่วนขยายรายละเอียด ได้แก่ การอธิบาย ชี้แจง ยกตัวอย่าง หรือสนับสนุน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก