กระบวนการในการตรวจหาข้อผิดพลาดในโปรแกรมที่เขียนขึ้น เรียกว่าอะไร

การตรวจสอบโปรแกรมต้องมีขึ้นระหว่างการออกแบบโปรแกรม การเขียนโปรแกรม การตรวจทานโปรแกรม เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบถูกต้องตามตรรกะในการประมวลผล รวมทั้งคำสั่งโปรแกรมที่เขียนขึ้นสามารถแปลได้โดยปราศจากข้อผิดพลาดต่างๆ และสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์

ตัวอย่างการตรวจสอบข้อผิดพลาด

เขียนโปรแกรมทายเลขคู่ เลขคี่ โดยผู้ใช้จะต้องตอบคำถามว่า 2 เป็นเลขคู่ใช่หรือไม่ ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้

โปรแกรมคำถามว่า 2 เป็นเลขคู่ใช่หรือไม่”

ถ้าผู้เล่นตอบ “ใช่” ตัวละครจะแสดงคำว่า “ถูกต้อง”

ถ้าผู้เล่นตอบ “ไม่ใช่” ตัวละครจะแสดงคำว่า “ผิด”

แต่โปรแกรมที่เขียนขึ้นมามีข้อผิดพลาด คือ เมื่อผู้ใช้ตอบ “ใช่” โปรแกรมจะแสดงข้อความทั้ง “ถูกต้อง” และ “ผิด”

การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม

          เมื่อพบว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น สามารถหาข้อผิดพลาดโดยพิจารณาคำสั่งจากผังงาน (Flowchart) ที่ได้ออกแบบไว้ ดังนี้

          จากการตรวจสอบ พบข้อผิดพลาดคือ เมื่อโปรแกรมรับคำตอบจากผู้ใช้แล้ว โดยถ้าคำตอบคือ “ใช่” จะแสดงคำว่า “ถูกต้อง” ถ้าคำตอบคือ “ไม่ใช่” จะแสดงคำว่า “ผิด” ซึ่งการตรวจสอบเงื่อนไขในลักษณะนี้ ต้องใช้คำสั่ง ถ้า…แล้ว…มิฉะนั้น แต่ในโปรแกรมใช้คำสั่ง ถ้า อย่างเดียว

การแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม

หลังจากตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมแล้ว สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้ ดังนี้

การเขียนโปรแกรมที่มีเงื่อนไขซ้อนกัน ทำให้สามารถแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้ ซึ่งโปรแกรมที่มีเงื่อนไขจำทำตามลำดับคำสั่งที่แตกต่างกันและได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้โปรแกรมทำงงานได้อย่างถูกต้อง ต้องตรวจสอบว่ามีเงื่อนไขใดบ้าง แล้วเขียนโปรแกรมให้ครอบคลุมทุกเงื่อนไข หากผลลัพธ์ของโปรแกรมไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ให้ตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง เพื่อหาข้อผิดพลาดและแก้ไขโปรแกรมให้ถูกต้อง

สถานการณ์ตัวอย่าง

          การทำกิจวัตรประจำวันของนักเรียนให้นักเรียนหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมการทำกิจวัตรประจำวันของนักเรียนคนนี้

จากการตรวจสอบหาข้อผิดพลาด จากโปรแกรมกิจวัตรประจำวันนี้จะเห็นข้อผิดพลาดของโปรแกรม คือ ควรจะอาบน้ำก่อนแต่งตัวและทานอาหาร

กิจกรรมฝึกทักษะ

ให้นักเรียนช่วยกันตรวจหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมสั่งการให้แมวเหมียวเดินทางกลับบ้านได้อย่างถูกต้อง

1.ให้นักเรียนตรวจสอบว่าแมวเหมียวสามารถเดินทางกลับถึงบ้านได้หรือไม่

ลำดับคำสั่งไหนที่ผิด…………………………………….

2.ถ้าไม่ถูกต้องให้นักเรียนเรียงลำดับคำสั่งใหม่ให้ถูกต้อง

ลำดับคำสั่งที่ถูกต้อง………………………………………

การตรวจสอบคำสั่งขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม

การตรวจสอบข้อผิดพลาดของคำสั่ง

สรุปกิจกรรม

          ในการเขียนชุดคำสั่งหรือโปรแกรมอาจมีข้อผิดพลาดได้ ดังนั้น จึงควรตรวจสอบคำสั่งทั้งหมดว่าเขียนถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามลำดับที่ต้องการหรือไม่ แล้วจึงแก้ไขให้ถูกต้อง

อ้างอิง

DIGITAL KIDS วิทยาการคำนวณ ป.2 หน่วย 2 เรื่อง เขียนโปรแกรมอย่างง่ายโดยใช้ซอฟต์แวร์และสื่อและตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของโปรแกรม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก