สาเหตุสำคัญในการเคลื่อนย้ายของประชากรในทวีปยุโรป คืออะไร

มนุษย์สายพันธุ์โฮโมเซเปียนส์ได้ย้ายถิ่นฐานของตนมาตั้งแต่ช่วงของการเริ่มต้นเผ่าพันธุ์ โดยอุทกภัย ความแห้งแล้ง และการขาดแคลนน้ำเป็นสาเหตุในการอพยพของพวกเขา

การอพยพของมนุษย์ คือการเคลื่อนย้ายจากประเทศ สถานที่ หรือถิ่นฐานหนึ่งไปยังสถานที่หนึ่ง นับตั้งแต่มนุษย์ยุคแรกได้เริ่มกระจายตัวจากทวีปแอฟริกา มนุษย์ก็ยังคงย้ายถิ่นฐานอยู่เช่นเดิม กระทั่งในทุกวันนี้ จำนวนประชากรโลกร้อยละ 3 หรือประมาณ 258 ล้านคนอยู่อาศัยนอกถิ่นกำเนิดของพวกเขา ไม่ว่าจะด้วยความเต็มใจหรือถูกสถานการณ์บังคับ การอพยพก็ได้มีส่วนสร้างโลกของเราให้เป็นอย่างทุกวันนี้

การอพยพครั้งแรก

การอพยพของมนุษย์ ครั้งแรกสุดนั้นเกิดขึ้นโดยมนุษย์ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา การกระจายตัวของพวกเขาไปยังมหาทวีปยูเรเซียและที่อื่น ๆ ยังคงเป็นข้อถกเถียงในทางวิทยาศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่ระบุว่าเป็นของมนุษย์โฮโมเซเปียนส์ ในประเทศเอธิโอเปียซึ่งมีอายุประมาณ 200,000 ปีมาแล้ว

ทฤษฎีการออกจากแอฟริกายืนยันว่าเมื่อ 60,000 ปีที่แล้ว มนุษย์โฮโมเซเปียนส์ได้กระจายตัวไปทั่วมหาทวีปยูราเซียอันเป็นสถานที่รวมตัวกัน และมนุษย์โฮโมเซเปียนส์ได้แทนที่บรรพบุรุษของพวกเขาอย่างมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลในท้ายที่สุด แต่ทว่าทฤษฎีนี้ก็ถูกท้าทายโดยหลักฐานของการอพยพจากทวีปแอฟริกา สู่มหาทวีปยูราเซียเมื่อ 120,000 ปีที่แล้ว ในอีกแง่หนึ่ง มีแนวคิดว่ามนุษย์ยุคแรกได้อพยพสู่ทวีปเอเชียผ่านทางช่องแคบที่ตั้งอยู่ในแผ่นดินปลายแหลมของแอฟริกา (บริเวณคาบสมุทรโซมาลี) ซึ่งในปัจจุบันคือประเทศเยเมน หรือได้อพยพผ่านทางคาบสมุทรไซนาย หลังจากได้กระจายตัวไปจนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ก็มีความคิดว่ามนุษย์ยุคแรกได้อพยพสู่ทวีปออสเตรเลีย ที่ในขณะนั้นยังแบ่งปันพื้นที่ร่วมกับเกาะนิวกินี จากนั้นได้อพยพไปยังทวีปยุโรป และทวีปอเมริกา

มนุษย์ยุคใหม่เริ่มอพยพออกจากทวีปแอฟริกาเมื่อ 60,000 ปีที่แล้ว โดยแผนที่ฉบับนี้คือเส้นทางอพยพ

ผู้อพยพเหล่านี้ถูกกระตุ้นโดยภูมิอากาศ แหล่งอาหาร และปัจจัยทางสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เมื่อเวลาผ่านไปและวัฒนธรรมการเร่ร่อนได้ลดลง สงครามและการล่าอาณานิคมได้กลายมาเป็นเชื้อไฟของการย้ายถิ่นฐาน คนกรีกโบราณขยายอาณาจักรไปยังบรรดาอาณานิคมหลายแห่ง ชาวโรมันโบราณได้ส่งพลเมืองของตนไปยังพื้นที่ทางเหนือสุดของเกาะอังกฤษ และจักรพรรดิจีนก็ได้ใช้การทหารขยายชายแดนของตน และให้ถิ่นพำนักกับผู้ลี้ภัยสงครามในพื้นที่ชายแดนอันห่างไกล

เหตุผลที่ต้องหนี

การอพยพเกิดเป็นรูปร่างและซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากสงคราม การค้าทาส และการถูกบุกรุกข่มแหง ชาวยิวได้หลบหนีไปจากดินแดนบรรพบุรุษหลังจากเกิดกระแสการขับไล่และการทำลายนครเยรูซาเลมในคริสตศักราช 70 จนเกิดการกระจายตัวของผู้พลัดถิ่น ชาวแอฟริกันอย่างน้อย 12 ล้านคนตกเป็นทาสและถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานไปยังทวีปอเมริกาในช่วงของการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในช่วงปีคริสตศักราช 1500 จนถึงช่วงทศวรรษ 1860 และเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดในปี 1945 ผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นับแสนคนและพลเรือนจากที่อื่น ๆ ได้เป็นผู้ที่ย้ายเข้าไปในยุโรปตะวันออก ดินแดนปาเลสไตน์ในอาณัติของอังกฤษที่ต่อมาคือประเทศอิสราเอล และประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ในช่วงที่สงครามเวียดนามสิ้นสุดลง มีคนเวียดนามกว่า 125,000 คน อพยพไปสหรัฐอเมริกาและในช่วงที่ต้องเผชิญกับวิกฤตด้านมนุษยธรรม

พวกเขาเหล่านั้นไม่ใช่กลุ่มสุดท้าย การอพยพยังคงดำเนินมาจนถึงศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด ซึ่งถูกขับเคลื่อนจากภาวะขาดแคลนอาหาร ภัยธรรมชาติ และการทารุณทางสิทธิมนุษยชน ในปี 2013 ผู้อพยพจากภูมิภาคแอฟริกาเหนือ และภูมิภาคตะวันออกกลางไปยังทวีปยุโรปมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ผู้อพยพเหล่านี้ต้องการหลีกหนีความยากจน และความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในบ้านเกิด วิกฤตการณ์ผู้อพยพได้ขยายไปถึงการลดลงของทรัพยากรในทวีปยุโรป เป็นการเติมเชื้อไฟแห่งความกลัวและความโกรธเคืองชาวต่างชาติแม้แต่ในรัฐที่ยอมรับพวกเขาเข้ามา นอกจากนี้ ผู้อพยพชาวโรฮีนจากว่าแสนคนก็จำต้องอพยพจากประเทศเมียนมาอันเป็นบ้านเกิดของพวกเขามานานนับร้อยปี ไปยังประเทศบังกลาเทศ

ในอนาคต การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอาจเติมเชื้อไฟให้เกิดการย้ายถิ่นในระดับมหาศาล จากรายงานของธนาคารโลกในปี 2018 พบว่าผู้คนมากกว่า 143 ล้านคนอาจกลายเป็นผู้อพยพเนื่องจากภาวะภูมิอากาศในเร็ว ๆ นี้ อันมีสาเหตุมาจากอุทกภัย ความแห้งแล้ง และการขาดแคลนน้ำ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ดูเหมือนว่าการอพยพจะยังดำเนินต่อไปตราบเท่าที่ยังมีมนุษย์ และตราบเท่าที่พวกเขายังมีสถานที่ที่จะไป

อ่านเพิ่มเติม รอยเท้าเก่าแก่ 85,000 ปี ร่องรอยการอพยพมนุษย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมัยการย้ายถิ่นเวลาสถานที่เหตุการณ์

แผนที่แสดงการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึงที่ 5 อย่างง่าย

ประมาณ ค.ศ.375–568 หรือหลังจากนั้น[1]
ทวีปยุโรปและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน
การบุกรุกของชนเผ่าในช่วงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน

สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป หรือ สมัยการรุกรานของบาร์บาเรียน (อังกฤษ: Migration Period หรือ Barbarian Invasions, เยอรมัน: Völkerwanderung) เป็นสมัยของการอพยพของมนุษย์ (human migration) ที่เกิดขึ้นประมาณระหว่างปี ค.ศ. 300 ถึงปี ค.ศ. 700 ในทวีปยุโรป,[2] ที่เป็นช่วงที่คาบระหว่างยุคโบราณตอนปลายไปจนถึงยุคกลางตอนต้น การโยกย้ายครั้งนี้มีสาเหตุมาจากทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสถานะภาพของจักรวรรดิโรมันและที่เรียกว่า “พรมแดนบาร์บาเรียน” ชนกลุ่มที่อพยพโยกย้ายในยุคนี้ก็ได้แก่ชนกอธ, แวนดัล, บัลการ์, อาลัน, ซูบิ, ฟรีเซียน และ แฟรงค์ และชนเจอร์มานิค และ ชนสลาฟบางกลุ่ม

การโยกย้ายถิ่นฐานของผู้คน--แม้ว่าจะมิได้เป็นส่วนหนึ่งของ “สมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน” โดยตรง--ก็ยังคงดำเนินต่อไปจนหลังจาก ค.ศ. 1000 โดยการรุกรานไวกิง, แมกยาร์, ชนเตอร์คิค และการรุกรานของมองโกลในยุโรปซึ่งมีผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อทางตะวันออกของยุโรป

ช่วงแรก: การโยกย้ายถิ่นฐานช่วงแรกระหว่าง ค.ศ. 300 ถึง ค.ศ. 500[แก้]

สมัยนี้ได้รับการบันทึกเป็นบางส่วนโดยนักประวัติศาสตร์กรีกและโรมัน และยากต่อการยืนยันจากหลักฐานทางโบราณคดี แต่ระบุว่าชนเจอร์มานิคเป็นผู้นำของบริเวณต่างๆ เกือบทั้งหมดที่ขณะนั้นอยู่ภายใต้การครอบครองของจักรวรรดิโรมันตะวันตก [3]

วิซิกอธเข้ารุกแรนดินแดนโรมันหลังจากการปะทะกับฮั่นในปี ค.ศ. 376 แต่สถานภาพของชนอิสระของวิซิกอธอาจจะไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ในปีต่อมาองค์รักษ์ของฟริติเกิร์นผู้นำของวิซิกอธก็ถูกสังหารระหว่างที่พบปะกับ ลูพิซินัสนายทหารโรมันที่มาร์เชียโนโพลิส[4] วิซิกอธจึงลุกขึ้นแข็งข้อ และในที่สุดก็เข้ารุกรานอิตาลีและตีกรุงโรมแตกในปี ค.ศ. 410 ก่อนที่จะเข้าไปตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรไอบีเรียและก่อตั้งอาณาจักรของตนเองที่รุ่งเรืองอยู่ได้ราว 200 ปี หลังจากนั้นการตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่เป็นของโรมันก็ตามมาด้วยออสโตรกอธที่นำโดยพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชผู้ทรงเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอิตาลีด้วยพระองค์เอง

ในบริเวณกอลชนแฟรงค์ผู้ซึ่งผู้นำเป็นพันธมิตรของโรมันอย่างเหนียวแน่นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ก็เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนโรมันอย่างสงบในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 และโดยทั่วไปก็เป็นที่ยอมรับว่าเป็นประมุขของชาวโรมัน-กอล จักรวรรดิแฟรงค์ผู้ต่อต้านการรุกรานจากชนอลามานนิ, เบอร์กันดี และวิซิกอธเป็นส่วนสำคัญที่กลายมาเป็นฝรั่งเศสและเยอรมนีต่อมา

การตั้งถิ่นฐานของแองโกล-แซ็กซอนในบริเตนเริ่มขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 หลังจากอิทธิพลของโรมันบริเตนสิ้นสุดลง[5]

ช่วงที่สอง: การโยกย้ายถิ่นฐานช่วงที่สองระหว่าง ค.ศ. 500 ถึง ค.ศ. 700[แก้]

ช่วงนี้เป็นช่วงของการเข้ามตั้งถิ่นฐานของชนสลาฟกลุ่มต่างๆ ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกโดยเฉพาะในบริเวณเจอร์มาเนีย ชนบัลการ์ที่อาจจะมีรากฐานมาจากกลุ่มชนเตอร์กิคที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 พิชิตดินแดนทางตะวันตกของบอลข่านของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ส่วนชนลอมบาร์ดที่มาจากชนเจอร์มานิคก็เข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลีในบริเวณที่ปัจจุบันคือลอมบาร์ดี

ในช่วงแรกของสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ กองทัพรอชิดีนพยายามเข้ามารุกรานยุโรปตะวันออกเฉียงใต้โดยทางเอเชียไมเนอร์ระหว่างครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 7 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 แต่ก็ไม่สำเร็จและในที่สุดก็พ่ายแพ้ในการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลต่อกองทัพของพันธมิตรของจักรวรรดิไบแซนไทน์และบัลการ์ระหว่างปี ค.ศ. 717-ปี ค.ศ. 718 ระหว่างสงครามคาซาร์–อาหรับ คาซาร์หยุดยั้งการขยายดินแดนของมุสลิมเข้ามาในยุโรปตะวันออกโดยทางคอเคซัส ในขณะเดียวกันมัวร์ (ผสมระหว่างอาหรับและเบอร์เบอร์) ก็เข้ามารุกรานยุโรปทางยิบรอลตาร์โดยอุมัยยะห์ และยึดดินแดนจากราชอาณาจักรวิซิกอธในคาบสมุทรไอบีเรียในปี ค.ศ. 711 ก่อนที่จะมาถูกหยุดยั้งโดยชนแฟรงค์ในยุทธการตูร์ในปี ค.ศ. 732 ยุทธการครั้งนี้เป็นการสร้างพรมแดนถาวรระหว่างอาณาจักรในกลุ่มคริสตจักรและอาณาจักรในดินแดนมุสลิมในช่วงหนึ่งพันปีต่อมา ในช่วงสองสามร้อยปีต่อมามุสลิมก็พิชิตดินแดนทางตอนใต้ของอิตาลีได้เป็นบางส่วนแต่ก็มิได้รวมตัวเข้ากับดินแดนในคาบสมุทรไอบีเรีย

อ้างอิง[แก้]

  1. Allgemein Springer (2006), der auch auf alternative Definitionen außerhalb der communis opinio hinweist. Alle Epochengrenzen sind letztlich nur ein Konstrukt und vor allem durch Konvention begründet. Vgl. auch Stefan Krautschick: Zur Entstehung eines Datums. 375 – Beginn der Völkerwanderung. In: Klio 82, 2000, S. 217–222 sowie Stefan Krautschick: Hunnensturm und Germanenflut: 375 – Beginn der Völkerwanderung? In: Byzantinische Zeitschrift 92, 1999, S. 10–67.
  2. Precise dates given may vary; often cited is 410, the sack of Rome by Alaric I and 751, the accession of Pippin the Short and the establishment of the Carolingian Dynasty.
  3. Also Jordanes(6th century), an Alan or Goth by birth, wrote in Latin.
  4. cf. Wolfram (2001, pp. 127ff.)
  5. cf. Dumville (1990)

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ประวัติศาสตร์ยุโรป
  • การพลัดถิ่น
  • ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก