การบัญชีมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคืออะไร

            4) ��ç�����ҳ (Budgeting) 㹡�èѴ�ӧ�����ҳ�ͧ��áԨ ���繨е�ͧ����¢����ŷҧ��ҹ�ѭ�� ����ʴ��֧�ŧҹ�ʹյ����ҹ�������駡�þ�ҡó��͹Ҥ� ���¨Ѵ��õ�ͧ��ҡó�����������ʹ������ͷ�Һ�֧�Ѵ��ǹ��õ�Ҵ ��й��ʹ������ͻ���ҳ������ҧἹ��ü�Ե ��ШѴ�ӧ�����ҳ��ü�Ե ������ҳŧ�ع ��Ч�����ҳ���Թ��� ����֧����ҳ��á��âҴ�ع��Ч���� ��ʹ��������ҳ�Թʴ ���������Ƿҧ㹡�ú����á���Թ��ҹ��ҧ � �������㹡�ͺ����Ἱ������ҳ����˹� �����š���ҧἹ������ҳ���յ�ͧ����¢����ŷ���繢���稨�ԧ�ʹյ �� �����Ŵ�ҹ�鹷ع��ü�Ե �������¡�â�� ��������㹡�ú����� �繵�

“การบัญชี คือ การจดบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรับ-จ่ายเงิน และสิ่งที่มีค่าเป็นเงินไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เป็นระเบียบถูกต้องตามหลักการ และสามารถแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่งได้”

การทำบัญชี (Bookkeeping) หมายถึง งานประจำที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกและรวบรวมข้อมูลประจำวันเพื่อให้สามารถจัดทำงบการเงินได้ การทำบัญชีเป็นงานย่อยส่วนหนึ่งของการบัญชี บุคคลผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบัญชี เรียกว่า นักบัญชี (Accountant) ส่วนผู้ที่มีหน้าที่บันทึกและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเงินประจำวัน เรียกว่า ผู้ทำบัญชี (Bookkeeper)

ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของการบัญชี
1. ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมรักษาสินทรัพย์ของกิจการได้
2. ช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่า ผลการดำเนินงาน
ที่ผ่านมา กิจการมีกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าใด
3. ช่วยให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่า กิจการในสินทรัพย์ หนี้สิน และ ทุน ซึ่งเป็นส่วนของเจ้าของกิจการเป็นจำนวนเท่าใด
4. การทำบัญชีเป็นการรวบรวมสถิติอย่างหนึ่งที่ช่วยในการบริหารงาน และให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงาน และควบคุมกิจการให้ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
5. เพื่อบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นตามลำดับก่อนหลัง และจำแนกตามประเภทของรายการค้าไว้
6. เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำบัญชีของกิจการต่างๆ

เรื่อง รูปแบบกิจการของธุรกิจ
รูปแบบของกิจการ (Forms of Organization)
การจัดทำงบการเงินในแต่ละธุรกิจจะมีรายการค้าที่แตกต่างกันออกไปบ้าง โดยต้องศึกษาว่ากิจการค้านั้นตั้งขึ้นในลักษณะใดและประกอบธุรกิจในลักษณะอย่างไร กิจการหากแบ่งตามลักษณะของการดำเนินงานเพื่อประกอบการ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. กิจการให้บริการ เรียกว่า ธุรกิจบริการ (Service business) เป็นธุรกิจที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า เช่น โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน บริษัทขนส่ง อู่ซ่อมรถ เป็นต้น
2. กิจการจำหน่ายสินค้า (ซื้อมาขายไป) เรียกว่า ธุรกิจพาณิชยกรรม (Merchandising business) เป็นธุรกิจที่ซื้อสินค้ามาเพื่อจำหน่ายโดยมิได้ทำการผลิตเอง เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
3. กิจการอุตสาหกรรม เรียกว่า ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing business) เป็นธุรกิจที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าเองโดยการซื้อวัตถุดิบมาแปรสภาพให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อนำไปจำหน่าย เช่น บริษัทผลิตยา บริษัทผลิตอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น

รูปแบบกิจการของธุรกิจแบ่งตามลักษณะของการจัดตั้งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship)
2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
3. บริษัทจำกัด (Corporation or Limited Company)

1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship)
เป็นธุรกิจขนาดเล็กใช้เงินทุนไม่มากมีเจ้าของเพียงคนเดียวเป็นผู้นำเงินมาลงทุนและทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานเอง เช่น ร้านค้าปลีก อู่ซ่อมรถ และกิจการบริการวิชาชีพต่างๆ เป็นต้น ผู้เป็นเจ้าของกิจการเป็นผู้มีสิทธิ์ในสินทรัพย์ และเมื่อมีกำไรหรือขาดทุนเกิดขึ้นก็จะเป็นผู้รับส่วนของกำไรหรือขาดทุนทั้งหมดนั้นแต่เพียงผู้เดียว ตลอดจนรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวนเช่นเดียวกัน ในทางกฎหมายกิจการเจ้าของคนเดียวไม่ถือเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นเจ้าของกิจการแต่ในทางบัญชีถือเป็นหน่วยอิสระหน่วยหนึ่งและแยกต่างหากจากผู้เป็นเจ้าของ ข้อดีของธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของกิจการเจ้าของคนเดียวนี้คือ การจัดตั้งและการบริหารงานง่าย รวดเร็ว เนื่องจากการตัดสินใจขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ส่วนข้อเสียคือ การขยายกิจการทำได้ยาก เพราะมีเจ้าของเพียงคนเดียว การกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้จึงขึ้นอยู่กับฐานะและชื่อเสียงของเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว รูปแบบของกิจการชนิดนี้มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา และเสียภาษีในอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2. กิจการห้างหุ้นส่วน (Partnership)
เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงร่วมลงทุนซึ่งทุนที่จะนำมาลงทุนนั้นอาจเป็นเงินสด สินทรัพย์อื่น หรือแรงงานก็ได้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งผลกำไรระหว่างกัน มีการกำหนดเงื่อนไขในการบริหารงานและการแบ่งผลกำไรไว้อย่างชัดเจน
ผู้ลงทุนในห้างหุ้นส่วน เรียกว่า “ผู้เป็นหุ้นส่วน” กิจการร้านค้าปลีกขนาดกลางมักจัดตั้งขึ้นในรูปของห้างหุ้นส่วน
ข้อดีของธุรกิจที่ตั้งขึ้นในรูปแบบกิจการห้างหุ้นส่วนคือ
การตัดสินใจในการบริหารงานเป็นไปอย่างรอบคอบเนื่องจากมีผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมในการตัดสินใจ การขยายกิจการทำได้ง่ายกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว
ส่วนข้อเสียคือ
อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ เนื่องจากต้องรอความเห็นชอบจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ๆ ก่อน
ห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์ (ปพพ.) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้คือ มีหุ้นส่วนประเภทเดียว คือหุ้นส่วนสามัญ
ดังนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน หมายความว่าถ้าห้างหุ้นส่วนเกิดล้มละลายและสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนที่มีอยู่ไม่พอนำมาชำระหนี้ เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามารถฟ้องร้องหุ้นส่วนแต่ละคนให้นำทรัพย์สินส่วนตัวมาชำระหนี้ได้
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้
ถ้าจดทะเบียนจะมีฐานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ถ้าไม่จดทะเบียนจะมีฐานะเป็นคณะบุคคลมิใช่นิติบุคคลมีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา เช่น เดียวกับกิจการเจ้าของคนเดียวและเสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้คือ มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ
2.1 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบในหนี้สินของห้างจำกัดจำนวนเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนนั้น
2.2 หุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัด หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินที่เกิดขึ้นของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน และผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวนหุ้นส่วนพวกนี้เท่านั้นที่จะเป็นผู้บริหารห้างหุ้นส่วนในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เป็นนิติบุคคลและมีหุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวนอย่างน้อย 1 คน เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

3. บริษัทจำกัด (Corporation or Limited Company)
เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยมีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทไม่ต่ำกว่า 7 คน
ผู้เริ่มก่อการตอนจดทะเบียนบริคณฑ์สนธิต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น
ร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของบริษัทจำนวนทุนและจำนวนหุ้นจดทะเบียน และแบ่งทุนออกเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน
บริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นในรูปของนิติบุคคลคือ ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของคือผู้ถือหุ้น (Stockholders or Shareholders)
ผู้ถือหุ้นทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินจำกัดจำนวนเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถืออยู่เท่านั้น
บริษัทจะให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้นครั้งแรกเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 25% ของราคาหุ้นที่ขาย
ผู้ถือหุ้น 1 หุ้นมีสิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น 1 เสียง ถ้ามีหุ้นเป็นจำนวนมากจะมีสิทธ์ออกเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ถืออยู่นั้น
ผู้ถือหุ้นทุกคนไม่มีสิทธิ์เข้ามาจัดการงานของบริษัท เว้นแต่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นกรรมการเพราะการจัดการบริษัทเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทเท่านั้น
ผู้ถือหุ้นได้รับส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล (Dividends)
หุ้นของบริษัทจำกัดอาจเปลี่ยนมือกันได้โดยการจำหน่ายหรือโอนหุ้นให้ผู้อื่น โดยไม่ต้องเลิกบริษัท เนื่องจากผู้ถือหุ้น (เจ้าของ) ทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินของบริษัทจำกัด
จำนวน คุณสมบัติส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจึงไม่เป็นสาระสำคัญ
บริษัทที่จดทะเบียนแล้วจะใช้คำนำหน้าว่า “บริษัท” และคำลงท้ายว่า “จำกัด”
ยกเว้นธนาคารพาณิชย์ จะใช้คำว่า “บริษัท….….จำกัด” หรือไม่ก็ได้
บริษัทจำกัดมี 2 ประเภท คือ
1. บริษัทเอกชนจำกัด (Private Company Limited) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ตามมาตรา 1096 มีผู้เริ่มก่อการไม่ต่ำกว่า 7 คน
2. บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company Limited) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 มีผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทไม่ต่ำกว่า 15 คน และต้องจองหุ้นรวมกันอย่างน้อย 5 % ของทุนจดทะเบียนแต่ละคนถือหุ้นไม่เกิน 10% ของหุ้นที่จดทะเบียน และตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป/ต้องมีคำนำหน้าชื่อว่า”บริษัท” และคำลงท้ายว่า “จำกัด (มหาชน)”

ประเทศไทย หน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานการบัญชีคือ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย เมื่อต้นปี พ.ศ. 2542 ทางสมาคมได้มีการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีใหม่ และยกเลิกมาตรฐานการบัญชีเดิมในหลายฉบับ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนามาตรฐานการบัญชีให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ
แนวคิดพื้นฐานของการบัญชีจะเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการศึกษาแนวทิศทางการบัญชี จะช่วยให้เข้าใจถึงหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ซึ่งโยงไปถึงหลักเกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน และจะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินมีความเข้าใจ และเชื่อถือในข้อมูลทางการบัญชีมากขึ้นด้วย ซึ่งสมาคมนักบัญชี และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้กำหนดไว้ในแม่บทการบัญชี ซึ่งเป็นมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่ที่ใช้แทนมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 เรื่องข้อสมมติขั้นมูลฐานทางการบัญชี ดังนี้

ข้อสมมติทางการบัญชี
1 เกณฑ์คงค้าง
ภายใต้เกณฑ์คงค้าง รายการ และเหตุการณ์ทางบัญชีจะรับรู้ เมื่อเกิดขึ้น ไม่ใช่เมื่อมีการรับ หรือจ่ายเงินสด ซึ่งหมายถึง การบันทึกรายการทางการบัญชีจะบันทึกและแสดงในงบการเงินตามงวดเวลาที่รายการนั้นๆ เกินขึ้นจริง โดยไม่คำนึงว่ามีการรับเงินสด หรือจ่ายเงินสดขณะเกิดรายการนั้นหรือไม่
2 การดำเนินงานที่ต่อเนื่อง
โดยทั่วไปงบการเงินจะจัดทำขึ้นภายใต้ข้อสมมติว่ากิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต ซึ่งหมายถึง กิจการที่ตั้งขึ้นมาแล้ว ย่อมมีวัตถุประสงค์จะดำเนินงานต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่มีกำหนดเวลา ว่าจะเลิกกิจการเมื่อไร หรือนานเพียงพอที่จะปฏิบัติตามแผนงาน และข้อผูกพันต่างๆ ที่ได้ผูกพันไว้จนกว่าจะเสร็จ
ลักษณะเชิงคุณภาพ ลักษณะเชิงคุณภาพ หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพหลักของงบการเงินมี 4 ประการได้แก่ ความเข้าใจได้ ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความเชื่อถือได้ และการเปรียบเทียบกันไป
2.1 ความเข้าใจได้
หมายถึง งบการเงินนั้นจะต้องสามารถเข้าใจได้ทันที่ที่ผู้ใช้งบการเงินใช้ข้อมูล ทั้งนี้อยู่ภายใต้ข้อสมมติที่ว่าผู้ใช้งบการเงินนั้นจะต้องมีความรู้ในเรื่องของธุรกิจพอควร
2.2 ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
ข้อมูลที่ปรากฎในงบการเงินจะต้องเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของ ผู้ใช้งบการเงิน นั่นคือ สามารถทำให้ผู้ใช้งบการเงินประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งยืนยัน หรือชี้ข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงินได้
2.3 ความเชื่อถือได้
ข้อมูลที่แสดงในงบการเงินจะต้องปราศจากความผิดพลาดที่มีนัยสำคัญ และความลำเอียง นั่นคือ จะต้องแสดงรายการ และเหตุการณ์ทางบัญชีอย่างเที่ยงธรรม ตามที่ต้องการให้แสดงหรือควรจะแสดง ตามเนื้อหา และความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ เช่น กิจการอาจจะโอนรถยนต์ให้กับบุคคลอื่น โดยมีหลักฐานยืนยันการโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย แต่ในสัญญายังระบุให้กิจการสามารถใช้ประโยชน์จากรถยนต์ดังกล่าวในอนาคตนั่นต่อไป กรณีเช่นนี้ การที่กิจการจะรายงานว่ามีการขายรถยนต์ จึงไม่สามารถถือได้ว่าเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของรายการที่เกิดขึ้น
ผู้จัดทำงบการเงินจะต้องใช้ความระมัดระวังในการรายงานเหตุการณ์ทางการเงิน เมื่อประสบกับความไม่แน่นอน อันหลีกเลี่ยงไม่ได้เกี่ยวกับเหตุการณ์บางอย่าง เช่น ความสามารถในการเก็บหนี้, การประมาณอายุการใช้งานของสินทรัพย์ ความไม่แน่นอนของหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากสัญญารับประกัน, คดีฟ้องร้อง โดยจะต้องใช้ดุลยพินิจที่จำเป็นในการประมาณการรายได้ ความไม่แน่นอน เพื่องบการเงินแสดงจำนวนที่สูงหรือต่ำจนเกินไป นอกจากนี้ ข้อมูลในงบการเงินที่เชื่อถือได้ต้องครบถ้วน ภายใต้ข้อจำกัดของความมีนัยสำคัญ และต้อทุนในการจัดทำ
เหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญ หมายถึง เหตุการณ์ซึ่งถ้าหากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่มีโอกาสรับทราบแล้วอาจจะตัดสินผิดไปในกรณีที่รับทราบ ในทางปฏิบัติความมีนัยสำคัญของรายการมักจะกำหนดโดยคิดเทียบเป็นร้อยละของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือกำไรสุทธิ แล้วแต่กรณี
2.4 การเปรียบเทียบกันได้
ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาต่างกัน เพื่อคาดคะเนถึงแนวโน้มของฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการนั้น และต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินระหว่างกิจการเพื่อประเมินฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน โดยผู้ใช้งบการเงินต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการบัญชีที่ใช้ในการจัดทำงบการเงิน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 จะถูกยกเลิกแล้ว แต่ในเนื้อหาบางส่วนโดยเฉพาะข้อสมมติขั้นมูลฐาน ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ศึกษาวิชาการบัญชีต้องทำความเข้าใจ
ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี คือ ข้อกำหนดทางการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับกันโดยไม่มีการพิสูจน์ โดยปกติมักกำหนดขึ้นจากการประมวลจากหลักและวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ กัน ในบางครั้งข้อกำหนดดังกล่าวมีลักษณะที่ไม่มีเหตุผล ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชีเป็นหลักเกณฑ์ที่สำตัญในการจัดทำงบการเงิน หากผู้ใช้งบการเงินไม่เข้าใจถึงข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี ก็ยากที่จะเข้าใจว่าทำไมนักบัญชีจึงเสนอข้อมูลในลักษณะเช่นนั้น โดยปกตินักบัญชีที่จัดทำงบการเงินจะไม่กล่าวถึงข้อสมมติดังกล่าวซ้ำอีก ทั้งนี้ เพราะเป็นที่เข้าใจกันว่าข้อสมมติขั้นมูลฐานนั้น ได้รับการยอมรับและใช้กันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากในการจัดทำงบการเงินไม่ได้ใช้ข้อสมมติดังกล่าว ก็จำเป็นต้องเปิดเผยให้ทราบพร้อมด้วยเหตุผล เท่าที่ผ่านมาข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี ถูกกำหนดขึ้นโดยประมวลมาจากหลักและวิธีปฏิบัติต่าง ๆ กัน จนข้อสมมตินั้น ๆ ได้ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป คณะกรรมการของสมาคมวิชาชีพการบัญชีและนักวิชาการต่าง ๆ ได้พยายามจัดทำข้อสมมติขั้นมูลฐานดังกล่าว ซึ่งปรากฏว่าทำกันได้หลายแบบ แต่ละแบบจะมีจำนวนข้อสมมติซึ่งเป็นแนวความคิดขั้นมูลฐาน (Concepts) ข้อสมมติขั้นมูลฐาน (Assumption) และหลักการบัญชี (Principles) ต่าง ๆ กัน ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชีที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1 ซึ่งกำหนดให้เริ่มถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับงวดหรือปีสิ้นสุด วันที่ 1 กันยายน 2522 เป็นต้นไป สรุปได้ดังนี้
หลักการใช้หน่วยเงินตราในการบัญชี (The Monetary Unit Assumption) การบัญชีให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลทางการบัญชีอาจเป็นพรรณาโวหารก็ได้ แต่ข้อมูลดังกล่าวจะให้ความหมายไม่ชัดเจนเท่า ข้อมูลที่เป็นตัวเลข เนื่องจาก หน่วยเงินตราใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน และทำหน้าที่เป็นหน่วยวัดราคา ดังนั้นนักบัญชีจึงใช้หน่วยเงินตราในการวัดผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ
หลักความเป็นหน่วยงานของกิจการ (The Entity Concept) ข้อมูลทางการบัญชีเป็นข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานหนึ่ง ๆ ซึ่งแยกต่างหากจากเจ้าของกิจการและกิจการอื่น หน่วยงานในที่นี้ได้แก่หน่วยธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นในรูปของบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วน บุคคลคนเดียวหรือในรูปอื่น ดังนั้นจึงต้องระบุหน่วยของกิจการไว้ในงบการเงินนั้น ๆ ความเป็นหน่วยงานตามข้อสมมติของการบัญชีอาจไม่เหมือนกับความหมายของความเป็นหน่วยงานตามกฎหมาย เช่น บริษัทต่าง ๆ ในเครือเป็นกิจการแยกกันตามกฎหมาย แต่ในการทำงบการเงินรวมนักบัญชีถือว่าบริษัทต่าง ๆ ในเครือนั้นเป็นหน่วยธุรกิจเดียวกัน
หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม (The Objectivity Principle) เนื่องจากงบการเงินทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลหลายฝ่าย ซึ่งอยู่ในสถานะต่าง ๆ กัน นักบัญชีผู้ทำงบการเงินอยู่อีกสถานะหนึ่ง ดังนั้น เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจงบการเงินของกิจการได้ถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด การบันทึกรายการบัญชีและการทำงบการเงิน จึงต้องจัดทำขึ้นโดยอาศัยหลักฐานและข้อเท็จจริงอันเที่ยงธรรมที่บุคคลต่าง ๆ ยอมรับและเชื่อถือได้ หลักฐานดังกล่าวจะต้องปราศจากความลำเอียงหรือไม่มีอคติต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ โดยพยายามหลีกเลี่ยงความคิดเห็นส่วนบุคคลให้มากที่สุด
หลักรอบเวลา (The Time Period Assumption) กระบวนการการบัญชีการเงินให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกิจการสำหรับรอบเวลาหรือรอบบัญชีที่ระบุไว้ ส่วนผู้ใช้งบการเงินทำการประเมินผลและตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการตามวาระและเวลาต่าง ๆ กันตลอดอายุของกิจการ ดังนั้น จึงต้องแบ่งการทำงานของกิจการออกเป็นรอบเวลาสั้น ๆ เพื่อจัดทำข้อมูลไว้เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ โดยปกติรอบเวลาดังกล่าวมักจะกำหนดไว้เท่ากันเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบและมีระบุไว้ชัดในงบการเงิน
หลักการดำเนินงานสืบเนื่อง (The Going Concern Assumption) กิจการที่จัดตั้งขึ้นย่อมมีวัตถุประสงค์ที่จะดำรงอยู่โดยไม่มีกำหนด กล่าวคือ หากไม่มีเหตุชี้เป็นอย่างอื่นแล้ว กิจการที่ตั้งขึ้นย่อมจะดำเนินงานต่อเนื่องกันไปอย่างน้อยก็นานพอที่จะดำเนินงานตามแผนและข้อผูกพันที่ได้ทำไว้จนสำเร็จ นักบัญชีจึงมีข้อสมมติขั้นมูลฐานว่ากิจการไม่ตั้งใจที่จะเลิกดำเนินงาน หรือไม่จำเป็นต้องเลิกดำเนินงาน หรือต้องลดปริมาณการดำเนินงานลงอย่างมาก หากมีเหตุอื่นใดชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์ในภายหน้าจะไม่เป็นไปตามข้อสมมติดังกล่าว ก็จะต้องใช้มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดไว้สำหรับเหตุการณ์นั้น ๆ โดยเฉพาะแทน
หลักราคาทุน (The Cost Principle) หลักราคาทุนเกี่ยวโยงกับหลักความดำรงอยู่ของกิจการ ตามหลักราคาทุนการบันทึกสินทรัพย์และหนี้สินถือเกณฑ์ราคาทุนเดิม ซึ่งหมายถึงราคาอันเกิดจากการแลกเปลี่ยน ราคาทุนเป็นราคาที่เหมาะสมกว่าราคาอื่น ๆ เพราะราคาทุนเป็นราคาที่แน่นอนและสามารถคำนวณได้อย่างตรงไปตรงมาไม่ขึ้นอยู่กับความเห็นของแต่ละคนซึ่งอาจแตกต่างกันได้ อย่างไรก็ตามการใช้ราคาทุนเป็นเกณฑ์ก็มีข้อเสียหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ระดับราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ในกรณีที่มีการใช้ราคาอื่นที่มิใช่ราคาทุน ควรเปิดเผยให้ทราบด้วย
หลักการเกิดขึ้นของรายได้ (The Revenue Realization Principle) หลักการเกิดขึ้นของรายได้เป็นหลักเกี่ยวกับการบันทึกรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้าว่าควรจะถือว่ารายได้เกิดขึ้นเมื่อใด และในจำนวนเงินเท่าใด

โดยทั่วไป นักบัญชีจะลงบันทึกว่ารายได้ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อมีเงื่อนไข 2 อย่างต่อไปนี้
(1) กระบวนการก่อให้เกิดรายได้ได้สำเร็จแล้ว และ
(2) การแลกเปลี่ยนได้เกิดขึ้นแล้ว กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ รายได้เกิดขึ้นในงวด ซึ่งได้มีการส่งมอบสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว สำหรับจำนวนเงินที่บันทึกเป็นรายได้นั้นก็คือจำนวนที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีนักบัญชีถือว่ารายได้เกิดขึ้นโดยใช้หลักเกณฑ์อื่นที่แตกต่างไปจากข้างต้น
หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้ (The Matching Principle) หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของบัญชีคือการจับคู่ผลความสำเร็จ (ตามที่วัดด้วยรายได้) กับความพยายาม (ตามที่วัดด้วยค่าใช้จ่าย) หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้เป็นแนวทางสำหรับตัดสินว่า รายการใดบ้างที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น ๆ วิธีการคือ จะมีการบันทึกรายได้ตามหลักการเกิดขึ้นของรายได้ก่อน ถัดจากนั้นจึงเอาค่าใช้จ่ายไปจับคู่กับรายได้ เมื่อพิจารณาหลักการเกิดขึ้นของรายได้คู่กันไปกับหลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้เราจะได้หลักที่นิยมเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า หลักเงินค้าง (Accrual Basis) ในปัจจุบันนี้สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้บัญญัติศัพท์บัญชีคำนี้แล้วโดยเรียกว่า “เกณฑ์คงค้าง”
หลักเงินค้าง หรือ เกณฑ์คงค้าง (The Accrual Principle) ในการคำนวณกำไรและขาดทุนสำหรับงวด นักบัญชีต้องคำนึงถึงรายได้และค่าใช้จ่ายนั้น และแยกส่วนที่ไม่เป็นของงวดนั้นออก ตามวิธีการบัญชีที่ถือเกณฑ์เงินสด จำนวนเงินที่จ่ายไปทั้งหมดสำหรับงวดอาจถือได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น แต่ตามหลักเงินค้างหรือเกณฑ์คงค้าง รายได้ถือว่าเกิดขึ้นเมื่อเข้าเกณฑ์ 2 ประการดังกล่าวแล้ว และใช้หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับงวด แม้จะยังไม่มีการรับเงินและจ่ายเงินก็ตาม
หลักโดยประมาณ (The Approximation Assumption) การคำนวณกำไรและขาดทุนต้องอาศัยการปันส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายเข้ารอบบัญชีต่าง ๆ เข้ากิจกรรมต่าง ๆ ที่สลับซับซ้อนและเป็นส่วนเข้ากิจกรรมที่มีลักษณะร่วมกัน การคำนวณจึงจำเป็นต้องทำโดยวิธีการประมาณการ การที่การดำเนินงานของกิจการมีลักษณะต่อเนื่องกันมีความสลับซับซ้อนมีความไม่แน่นอนและมีลักษณะร่วมสัมพันธ์กัน ทำให้นักบัญชีไม่อาจคำนวณกำไร และขาดทุนได้ถูกต้องแน่นอนจึงต้องใช้วิธีประมาณการและใช้ดุลยพินิจประกอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หลักความสม่ำเสมอ (The Consistency Principle) การใช้งบการเงินสำหรับระยะเวลาหนึ่ง บางครั้งอาจเพียงพอในการช่วยตัดสินใจ แต่งบการเงินสำหรับระยะเวลาหลาย ๆ ช่วงติดต่อกันไปย่อมจะมีความหมายและให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้ได้ดีกว่าการเปรียบเทียบงบการเงินสำหรับระยะเวลาที่แตกต่าง ย่อมจะเกิดผลและมีประโยชน์ต่อเมื่องบการเงินนั้น ๆ ได้จัดทำขึ้นโดยอาศัยมาตรฐานการบัญชีเดียวกัน ฉะนั้นการปฏิบัติทางบัญชีของกิจการหนึ่ง ๆ จึงต้องยึดหลักความสม่ำเสมอ กล่าวคือ เมื่อเลือกใช้การปฏิบัติบัญชีวิธีใดแล้วจะต้องใช้วิธีนั้นโดยตลอด แต่ทั้งนี้ มิได้หมายความว่าจะเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติบัญชีไม่ได้เลย เพราะเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมในธุรกิจย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
หลักการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ (The Full Disclosure Principle) นักบัญชีมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลการเงินที่สำคัญทั้งหมดต่อผู้ใช้งบการเงิน ในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนว่า การเปิดเผยอย่างเพียงพอควรมีลักษณะอย่างไร โดยทั่วไปนักบัญชีจะตัดสินโดยถือว่า ถ้าไม่เปิดเผยแล้วจะเป็นเหตุให้ผู้ใช้งบการเงินหลงผิดหรือไม่ ความเห็นจึงอาจแตกต่างกันได้มาก ว่ารายการใดบ้างที่ควรเปิดเผย ดังนั้น หลักเกณฑ์ที่ควรนำมาใช้คือ “เมื่อสงสัยให้เปิดเผย” การเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอหมายความรวมถึง รูปแบบการจัดรายการและข้อมูลในงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน คำศัพท์ที่ใช้ การแยกประเภทรายการ เกณฑ์ที่ใช้ในการคำนวณ ฯลฯ ทั้งหมดนี้เน้นถึงลักษณะและชนิดของการเปิดเผยต่าง ๆ ที่จำเป็นที่ทำให้งบการเงินให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ

นอกจากข้อสมมติขึ้นมูลฐานของการบัญชี 12 ข้อข้างต้นแล้ว ยังมี ข้อควรคำนึงในการใช้มาตรฐานการบัญชี (Exceptions to Accounting Principles) เพิ่มเติมเพื่อยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติทางการบัญชีเพื่อให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ดังนี้
หลักความระมัดระวัง (Conservatism) ในการดำเนินกิจการ ความไม่แน่นอนมักเกิดขึ้นเสมอ การทำงบการเงินจึงต้องใช้ความระมัดระวังรับรู้เรื่องความไม่แน่นอนนี้ไว้ด้วย หลักความระมัดระวัง หมายถึงว่าในกรณีที่อาจเลือกวิธีปฏิบัติทางการบัญชีได้มากกว่าหนึ่งวิธี นักบัญชีควรเลือกวิธีที่จะแสดงสินทรัพย์และกำไรในเชิงที่ต่ำกว่าไว้ก่อน หลักโดยย่อคือ “ไม่คาดการณว่าจะได้กำไร แต่จะรับรู้การขาดทุนไว้อย่างเต็มที่ ในกรณีที่สงสัยให้ตัดเป็นค่าใช้จ่ายทันที” อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่าหลักความระมัดระวังจะเป็นเหตุผลสนับสนุนให้กิจการตั้งสำรองลับได้
หลักเนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ (Substance Over Form) นักบัญชีให้ความสนใจในเนื้อหาทางเศรษฐกิจของเหตุการณ์ แม้รูปแบบทางเศรษฐกิจของเหตุการณ์นั้นอาจจะแตกต่างจากรูปแบบทางกฎหมายก็ตาม โดยปกติเนื้อหาทางเศรษฐกิจของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมักจะสอดคล้องกับรูปแบบทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามในบางครั้งเนื้อหากับรูปแบบทางกฎหมายอาจแตกต่างกัน นักบัญชีจึงควรเสนอในงบการเงิน ซึ่งรายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามเนื้อหาและตามความเป็นจริงทางการเงินไม่ใช่ตามรูปแบบทางกฎหมายเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับกิจการทางเศรษฐกิจของเหตุการณ์นั้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
หลักการมีนัยสำคัญ (Materiallity) งบการเงินควรเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสำคัญพอที่จะกระทบต่อการตัดสินใจ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจโดยถูกต้องถึงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินและการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ เหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญหมายถึงเหตุการณ์ ซึ่งหากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับทราบแล้วอาจต้องตัดสินใจผิดไปจากกรณีที่ได้รับทราบ ดังนั้น เมื่อนักบัญชีได้สังเกตเห็นเหตุการณ์ใดซึ่งมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว นักบัญชีต้องรายงานเหตุการณ์นั้นด้วยความระมัดระวัง
หลักการปฏิบัติเฉพาะธุรกิจบางประเภท (Industry Practice) หมายความถึง การยอมให้ใช้วิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับธุรกิจบางประเภท เช่น สถาบันการเงิน เป็นต้น แตกต่างไปจากวิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับธุรกิจทั่วไปได้ เนื่องจากการเน้นถึงความสำคัญของข้อมูลอาจจะให้ตามลำดับไม่เหมือนกัน

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

This entry was posted on กันยายน 3, 2009 at 10:51 am and is filed under Account. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed. You can leave a response, or trackback from your own site.

วัตถุประสงค์หลักของการบัญชีมีอะไรบ้าง

วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชี เพื่อให้เจ้าของกิจการได้ทราบว่าช่วงเวลานั้น ๆ มีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ อยู่เป็นจำนวนเท่าใดและอย่างไร เพื่อเป็นปัจจัยหนึ่งประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของนักธุรกิจและประกอบการตัดสินใจในการบริหารของเจ้าของกิจการ เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตและการสูญหายของสินทรัพย์

การบัญชีมีความสําคัญอย่างไร

1. เพื่อให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมอย่างใกล้ชิดและเมื่อปรากฎข้อบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งก็อาจแก้ไขได้ทันที 2. เพื่อช่วยให้เจ้าของกิจการนำข้อมูลทางการบัญชีไปเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ 3. เพื่อช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการในขณะใดขณะหนึ่งว่ากิจการมีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเป็นจำนวนเท่าไร

หัวใจสําคัญของบัญชีคืออะไร

สมการบัญชี(Accounting Equation) เป็นหัวใจสำคัญของการเริ่มต้นเรียนบัญชีและเป็นหลักการของการจัดทำงบการเงิน(Financial Statement) สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ Assets = Liabilities + Equity.

การทำบัญชีมีความหมายอย่างไร

การบัญชี หมายถึง การจดบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรับ – จ่ายเงิน สิ่งของ และสิทธิที่มีมูลค่าเป็นเงินไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เป็นระเบียบถูกต้องตามหลักการ และสามารถแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่งได้ ประโยชน์ของการบัญชี คือ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก