ภูมิปัญญาไทยด้านวรรณกรรมในสมัยอยุธยาคือข้อใด *

ปรากฏบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นบทละครของหลวง โดยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2313 โดยเขียนลงในสมุดไทยและมีการชุบเส้นทอง ในปีพุทธศักราช 2323 ภายหลังจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จกลับจากการไปรวบรวมชุมนุมนครศรีธรรมราช มาอยู่ในพระราชอาณาจักรในปีพุทธศักราช 2312 ทรงโปรดให้มีการฟื้นฟู มโหรสพและการละครขึ้น

บทละครพระราชนิพนธ์เรื่องนี้มีทั้งหมด 5 เล่มสมุดไทย คือ สมุดไทยเล่ม 1 หรือเล่มต้น (ซึ่งพบใหม่) อยู่ที่หอสมุดกรุงเบอร์ลิน สมุดไทยเล่มที่ 2-5 อยู่ที่หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี กรุงเทพ ฯ มีการเขียนเรื่องต่อเนื่อง การแบ่งตอนอาจไม่ตรงตามเล่ม เมื่อเรียงเนื้อหาแล้วได้ ดังนี้

  • ศึกท้าวสัทธาสูรและวิรุญจำบัง
  • ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน
  • ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษาความ
  • ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด
  • ตอนพระมงกุฎ

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ มีการสะท้อนวิถีชีวิตในสมัยนั้น ดังเห็นได้จากฉากที่มีทศกัณฐ์เลี้ยงกองทัพยักษ์ ปรากฏชื่อรายการอาหาร กุ้งพล่า แพนง หมูอั่ว หมูหัน ฯลฯ อีกทั้งปรากฏการแทรกเรื่องของการวิปัสนา กรรมฐาน คุณธรรม สอดแทรกเรื่องตำราพิชัยสงคราม ตลอดบทละคร มีการใส่เพลงหน้าพาทย์ ใช้สำนวนที่กระชับชัดเจน สื่อให้เห็นพระอัจฉริยะภาพในการแต่งพระราชนิพนธ์ของพระองค์

แม้ว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จะทรงกรำศึกสงครามทั้งภายในและภายนอกพระราชอาณาจักรพระองค์ยังทรงเพียรแต่งบทละครไปด้วยในช่วงเวลาเดียวกัน หรืออาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นทั้งนักรบและศิลปิน บทละครเรื่องรามเกียรติ์ทั้ง 5 ตอนถือเป็นวรรณคดีล้ำค่าในสมัยกรุงธนบุรี อีกยังถือเป็นรากฐานให้กัับรามเกียรติ์ในสมัยรัตนโกสินทร์สืบมา

อ้างอิง

เรไร ไพรวรรณ์. (2559). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกท้าวสัทธาสูรและวิรุญจำบัง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช.

                        วัฒนธรรมในสมัยอยุธยาถือเป็นภูมิปัญญาไทยที่ได้สะสม สืบทอด และมีอิทธิพลมาถึงสังคมไทย

ในสมัยต่อมา มีหลายประการ ดังนี้

   

         การเลือกสถานที่ตั้งกรุงศรีอยุธยา สะท้อนถึงภูมิปัญญาอันปราดเปรื่องของผู้นําทางการเมือง การปกครอง

ของไทย โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา เพราะทําเลที่ตั้งที่เหมาะสมทั้งใน ด้านเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์และ

การเมือง การที่กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนเกาะที่มีแม่น้ําล้อมรอบทั้ง 3 สายคือ แม่น้ําเจ้าพระยา แม่น้ําป่าสัก และ

แม่น้ำลพบุรี ซึ่งเป็นแนวป้องกันข้าศึกได้เป็นอย่างดี ประกอบกับ อยู่ในที่ราบลุ่ม เมื่อถึงฤดูน้ําหลาก น้ําจะหลาก

ท่วมบริเวณโดยรอบ ข้าศึกที่ล้อมเมืองอยู่จะตั้งทัพไม่ได้ ต้องถอยทัพกลับไป ในยามสงบกรุงศรีอยุธยาจะเป็น

ศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ํา และการค้าที่สําคัญ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้     

            ทําเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์

กลางอํานาจทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมเป็นเวลากว่า 400 ปี และได้ถ่ายทอดเป็นมรดกทาง ภูมิปัญญาไทยสู่

อาณาจักรธนบุรีและรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน

แผนที่อยุธยา โดย วินเซนโซ โคโรเนลลี (2239/1696)

ซึ่งลอกมาจากแผนที่ของบาทหลวงฝัร่งเศส คูร์ตอแลง (2229-1686)


              การควบคุมกําลังไพร่พลในระบบศักดินาและระบบไพร่ การปกครองของอาณาจักรอยุธยา มีวิวัฒนา

การมาจากรูปแบบการปกครองอาณาจักรโบราณในดินแดนไทยเช่น ทวารวดี เขมร ลพบุรี ที่ได้รับอิทธิพลมาจาก

อินเดีย ซึ่งมีลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างมูลนายซึ่งเป็นชนชั้นผู้ปกครอง กับไพร่ ซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ใน

สังคมเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ออกกฎหมายที่เรียกว่า  “พระไอยการ ตําแหน่งนาพลเรือนและพระไอ

ยการตําแหน่งนาทหารและหัวเมือง” ทําให้เกิดระบบการควบคุมคนอย่าง เป็นระเบียบที่เรียกว่า ระบบศักดินา

และระบบไพร่ขึ้น ระบบศักดินาเป็นข้อกําหนดที่กําหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ สิทธิ และฐานะของชนชั้นต่างๆ 

ในอาณาจักรอยุธยา พระมหากษัตริย์ดํารงตําแหน่งสูงสุด ของแผ่นดินและอยู่เหนือกฎหมายนี้ (ไม่มีศักดินา)แต่ชน

ชั้นอื่นๆ ตั้งแต่เจ้านาย ขุนนาง พระสงฆ์ ไพร่ และทาสต่างมีศักดินากํากับทั้งสิ้น เช่น พระมหาอุปราชมีศักดินา 

100,000 เจ้าพระยาจักรีมีศักดินา 10,000 ไพร่มีศักดินา 10-25 และทาสมีศักดินา 5  มูลนายที่มีศักดินาสูงจะมีฐานะ

ทางสังคมสูงกว่ามูลนายที่มีศักดินาต่ํากว่า ส่วนระบบไพร่เป็นการควบคุมกําลังคนที่กระจายอยู่ในท้องที่ต่างๆ ให้

เข้ามา สังกัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อประโยชน์ในการเป็นแรงงานในระบบเศรษฐกิจในยามสงบ และเป็นไพร่พล ใน

กองทัพในยามสงครามไพร่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ  ไพร่หลวง ที่พระมหากษัตริย์ให้สังกัดกรมกองต่างๆ ต้อง

ถูกเกณฑ์แรงงาน เรียกว่า เข้าเดือนออกเดือน หรือจ่ายเงินหรือสิ่งของที่รัฐต้องการแทนการถูกเกณฑ์ แรงงาน

 ไพร่สม ที่พระมหากษัตริย์จะพระราชทานให้เป็นไพร่ส่วนตัวของมูลนาย ดังนั้นมูลนายกับไพร่ จะมีความสัมพันธ์

กันในลักษณะของการอุปถัมภ์ค้ําชู มูลนายอาศัยไพรในฐานะเป็นแรงงาน เป็นเครื่องเชิดชูตําแหน่งยศถาบรรดา

ศักดิ์ ส่วนไพร่ต้องพึ่งพามูลนายให้คุ้มครองภายใต้กฎหมายสมัยอยุธยา ความสัมพันธ์ ในลักษณะดังกล่าวทําให้

เกิดระบบอุปถัมภ์ในสังคมอยุธยา แม้ปัจจุบันไทยได้ยกเลิกระบบไพร่และศักดินา ไปแล้ว แต่สังคมอุปถัมภ์ยังมี

อิทธิพลต่อวิถีการดําเนินชีวิต วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคม ปัจจุบัน

ขุนนางและไพร่จากหนังสือจดหมายลาลูแบร์

                การควบคุมชาวต่างชาติถือเป็นนโยบายอันแยบยลของการปกครองสมัยอยุธยาเช่นกัน นอกจากการ

อนุญาตให้เสรีภาพทางด้านการนับถือและการประกอบกิจการศาสนา รวมทั้งเสรีภาพในการประกอบ อาชีพแล้ว 

ชาวต่างชาติยังได้รับการคัดเลือกให้มารับราชการได้อีกด้วย เช่น ทหารอาสาญี่ปุ่น อาสาจาม กลุ่มทหารรับจ้างชาว

โปรตุเกส ส่วนทางด้านการควบคุมกําลังไพร่พลชาวต่างชาติ สําหรับชาวมอญ เขมร ลาวที่ได้มาจากการกวาดต้อน

ในสงครามและที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พวกนี้จะตั้งบ้านเรือน อยู่รวมกันเป็นชุมชน เช่น ชุมชนมอญ 

ชุมชนลาว โดยอยู่ในระบบมูลนาย โดยมีหัวหน้าของตนเป็นผู้ควบคุมดูแล ดังนั้นจะถูกเกณฑ์แรงงาน เช่นเดียวกับ

ไพร่พลเมืองอยุธยาโดยทั่วไป ส่วนกลุ่มพวกแขก (แขกมัวร์ แขกเทศ)ชาวตะวันตกมลายู ชาวต่างชาติเหล่านี้ไม่มีข้อ

ผูกพันในการเข้ารับราชการ หรือถูกเกณฑ์แรงงาน ให้ตั้ง บ้านเรือนรวมเป็นชุมชนเช่นกัน และมีหัวหน้าควบคุม

ดูแลซึ่งเป็นชนชาตินั้นๆ นโยบายการควบคุม ชาวต่างชาติเป็นผลทําให้สังคมอยุธยามีลักษณะเป็นสังคมพหุ

วัฒนธรรมที่มีการผสมผสานของผู้คนและ วิถีการดําเนินชีวิต การรับวิทยาการความเจริญทางด้านต่างๆ เช่น อาวุธ

ยุทโธปกรณ์ การก่อสร้าง ศิลปกรรม วิธีการประกอบอาหารแบบตะวันตก

                 การผสมผสานความเชื่อในศาสนา ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ศาสนาที่แพร่หลายบริเวณลุ่ม

แม่น้ําเจ้าพระยามีทั้งพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท นิกายมหายาน และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ความเชื่อพื้นเมือง

ซึ่งนับถือวิญญาณ (นับถือผี) และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาเมื่ออาณาจักรอยุธยาสถาปนาขึ้น และมีอํานาจทางการ

เมืองในลุ่มน้ําเจ้าพระยาได้นําแนวคิดทางด้านการเมืองการปกครองแบบ เทวราชา จากเขมร และ จักรพรรดิราช

กับ ธรรมราชา จากพระพุทธศาสนามาปรับเป็นแบบ สมมติเทพ ทําให้พระมหากษัตริย์อยุธยามีอํานาจสูงสุด

เปรียบเสมือนเทพเจ้าตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผสมผสานกับแนวคิดทางการปกครองตามหลัก

ธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยพระมหากษัตริย์ทรงมี ทศพิธราชธรรม หรือธรรมของพระราชา 10 ประการเป็น

หลักในการปกครอง อันเป็นการเสริมสร้างอํานาจ และความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์

                  ความคิดความเชื่อระหว่างศาสนาพราหมณ์กับพระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 

หลายด้านโดยเฉพาะในพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีถือน้ําพระพิพัฒน์สัตยา (ธรรมเนียมที่เจ้านาย ขุนนาง

แสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ด้วยการดื่มน้ํา) พระราชพิธีโสกันต์ (โกนจุก) ซึ่งผู้ประกอบพิธี คือ พระ

มหาราชครูในพิธีพราหมณ์ และคณะพระสงฆ์ (พระราชาคณะ) เจริญพระพุทธมนต์ควบคู่กันไป หรือ แม้แต่พระนาม

ของพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา เช่น สมเด็จพระรามาธิบดี และนามของ กรุงศรีอยุธยา ก็มีอิทธิพลของคติความ

เชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่อง รามายณะของอินเดีย

            พระพุทธศาสนามีส่วนส่งเสริมสนับสนุนการเมืองการปกครอง เช่นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ 

ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์สุโขทัย และได้เป็นกษัตริย์สมัยอยุธยาพระองค์ทรงผนวชในขณะที่ครองราชย์ ณ วัดจุฬามณี 

เมืองพิษณุโลก เป็นเวลานานถึง 8 เดือน เช่นเดียวกับพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย) ทําให้ชาวพิษณุโลก

และชาวสุโขทัยศรัทธาและเลื่อมใสอันเป็นการนําพระพุทธศาสนามาเป็นเครื่องมือ ในการรวมอาณาจักรสุโขทัย

และอาณาจักรอยุธยาให้เป็นอาณาจักรเดียวกัน กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนา ทําให้ทั้ง 2 เมืองรวมกันอย่าง

แน่นแฟ้น      

                                                                                                                                                                           นโยบายทางด้านศาสนาของพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาในการอุทิศถวายวังให้เป็นวัด เช่น สมเด็จพระ

รามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถวายพระราชวังที่เวียงเหล็กให้เป็นวัดพุทไธศวรรย์หรือสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถ

เมื่อแรกขึ้นครองราชย์ ได้อุทิศถวายบริเวณพระราชวังให้วัดมงคลบพิตรในปัจจุบัน นับเป็นการเกื้อหนุนสถาบัน

พระพุทธศาสนา อันเป็นผลดี เกิดประโยชน์ต่อการปกครองบ้านเมือง เพราะ พระสงฆ์อยู่ใกล้ชิดกับชาวบ้าน มี

บทบาทช่วยพัฒนาสังคม เมื่อได้แจ้งข่าวสารบ้านเมืองก็สามารถอาศัย พระสงฆ์เป็นอย่างดี                  

            ความสําคัญของพระพุทธศาสนา ส่งผลให้พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนางเอาใจใส่ทํานุบํารุง

 พระพุทธศาสนา เช่น ปฏิสังขรณ์วัด กัลปนาที่ดินและผู้คนให้วัด สนับสนุนกิจของพระสงฆ์ และสร้าง วัดวาอาราม

มากมาย ซึ่งนํามาซึ่งศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่เป็นลักษณะเฉพาะของสังคม สมัยอยุธยาสืบทอด

มาในสังคมไทย

                 ศิลปะสมัยอยุธยามีพื้นฐานจากการสั่งสมและผสมผสานวัฒนธรรมที่มาจากเขมร สุโขทัย และล้านนา

 เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น ก่อเกิดเป็นลักษณะเฉพาะของรูปแบบศิลปะคือ ความประณีต งดงาม ผลงานทาง ศิลปะมี

หลากหลายรูปแบบ ทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และประณีตศิลป์

                ภาพจิตรกรรมสมัยอยุธยามีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อสะท้อนศรัทธาความเชื่อใน พระพุทธศาสนา เท่าที่หลง

เหลือในปัจจุบันมีไม่มากนัก


จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น นิยมเขียนภาพประดับ

ศาสนสถานเช่นโบสถ์วิหารแสดงให้เห็น อิทธิพลของ

ศิลปะแบบเขมร ภาพที่นิยมเขียนคือ ภาพพระพุทธรูป

ประทับนั่งเรียงแถวซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ มีเรือนแก้วและ

ซุ้มโพธิ์ สีที่ใช้ระบายมีสีแดงดําเหลือง บางครั้งมีการปิด

ทองประกอบบางส่วนเช่น ภาพผนังลาย ในกรุพระ

ปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง อิทธิพลของศิลปะ

แบบสุโขทัยเริ่มเข้ามาแทนที่ศิลปะแบบเขมร ภาพที่วาด

มีทั้งภาพพระพุทธองค์และภาพประกอบเรื่องที่วาดลง

บน สมุดข่อย ยังไม่นิยมปิดทองประดับภาพ แต่ใช้สี

สดใสกว่าเก่า เรื่องราวที่เขียนจะนํามาจากวรรณคดี

ไตรภูมิ ซึ่งสะท้อน โลกทรรศน์ เรื่องสัณฐานจักรวาล

มักเรียกอีกอย่างว่า สมุดภาพไตรภูมิ

 

ศาลมัจจุราชในนรกจากสมุดภาพ

จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ภาพวาดได้รับ การ

ผสมผสานและปรับปรุงให้เป็นแบบของตนเอง นิยมวาด

ภาพ เล่าเรื่อง เช่น เรื่องในชาดก โดยแทรกภาพวิถีชีวิต

ไว้ด้วย ยังมีภาพวาดบนตู้พระธรรม บนสมุดข่อย สีที่ใช้

ระบายก็มีสีสัน มากขึ้น

 


                  งานประติมากรรมสมัยอยุธยามีอยู่มากมาย ที่สําคัญได้แก่ พระพุทธรูป ซึ่งถือเป็น สัญลักษณ์แทน

พระพุทธองค์ พระพุทธรูปจะมีทั้งการปั้นด้วยปูน สลักจากหินทรายและหล่อจากสําริด ประติมากรรมที่เป็น

พระพุทธรูปในพระอิริยาบถต่างๆ แสดงพระหัตถ์ เรียกว่า “ปาง” ซึ่งสื่อเรื่องราว ในพุทธประวัติเมื่อเสวยพระชาติ

เป็นพระโพธิสัตว์



ประติมากรรมสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น พระพุทธไตร

รัตนนายก (หลวงพ่อโต) วัดพนัญเชิง และ พระพุทธ

รูปซึ่งขุดพบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะส่วนลวด

ลายปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรมส่วนมากเกี่ยวเนื่อง

กับลวดลายกระหนกแบบลพบุรี เช่น   ลายปูนปั้น

ประดับพระปรางค์ วัดมหาธาตุ สําหรับลวดลายที่

เกี่ยวข้องกับอิทธิพลศิลปะพระพุทธไตรรัตนนายก

วัดพนัญเชิง แบบจีนก็พบเช่นกัน เช่น ที่วัดมหาธาตุ

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

พระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง


ประติมากรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง ได้ปรับรูปแบบ

ของศิลปะแบบเขมรและแบบสุโขทัย เข้าด้วยกันจึงเกิด

รูปแบบใหม่ขึ้น ถือเป็นศิลปะรูปแบบสมัยอยุธยาอย่าง

แท้จริง โดยเริ่มตั้งแต่ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

เช่น พระพุทธโลกนาถ (ปัจจุบันอยู่ในพระวิหารวัด

พระเชตุพนวมมงกลาราม กรุงเทพมหานคร) พระพุทธ

ไสยาสน์ วัดขุนอินทประมูล และวัดป่าโมก จังหวัด

อ่างทอง

 

พระพุทธไสยาสน์ วัดขุนอินทประมูล จังหวัดอ่างทาง

ประติมากรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย นิยมสร้าง

พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบราชาธิราช มีทั้งแบบที่

เรียกว่าทรงเครื่องใหญ่และทรงเครื่องน้อย ทั้งนี้เพราะ

ได้ประดิษฐ์ปางพระพุทธรูปเพิ่มขึ้นใหม่อีก ปางหนึ่ง

คือ ปางมหาชมพูบดีในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาท

ทอง สร้างด้วยการแกะสลักหินทรายแบบเขมร

 

พระพุทธศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย

                   ส่วนใหญ่การก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยสมัยอยุธยามักใช้ไม้เป็นวัสดุทก จนจึงสูญหายไปเกือบหมด

ตามกาลเวลา ส่วนที่หลงเหลืออยู่ให้ได้ศึกษากันใน ปัจจุบันเป็นสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา 

เช่น โบสถ์ วิหาร และสถปเจดีย์ต่างๆ ที่ก่อสร้างด้วยวัสดุคงทนประเภทอง.ศิลาแลงรูปแบบสถาปัตยกรรม

เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย คือ


สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ประเภทอาคาร

สำหรับการใช้งานทางศาสนา เช่นพระอุโบสถ วิหาร

นิยมสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานสูง มีแต่ประตส่วน

หน้าต่างใช้เจาะเป็นช่องเล็กๆ แนวตั้งหลายๆ ของให้

แสงผ่านเข้า เช่น วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ จังหวัด

พระนครศรีอยุธยา หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา สิ่ง

ก่อสร้างที่เป็นประธานของวัดนิยมสร้างพระปรางค์ที่

ดัดแปลงมาจากปรางค์ของขอมแต่สงกว่า เรียกว่า ทรง

ฝักข้าวโพด และย่อ มุมมากกว่า เช่นพระปรางค์วัดพุทไธ

ศวรรย์ พระปรางค์วัดพระราม วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง ส่วนใหญ่อาคารที่

เป็นพระอุโบสถและพระวิหารคงเป็นรูปแบบเดิมสิ่งก่อ

สร้างองค์ประธานของวัดได้เปลี่ยนจากสร้างพระปรางค์

มาเป็นพระเจดีย์ทรงกลม หรือทรงลังกาตามแบบนิยม

ของสุโขทัย พระเจดีย์ที่สําคัญ ได้แก่ เจดีย์วัดพระศรี

สรรเพชญ์พระเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล

 

สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย มีความเจริญขึ้น

มากเต้นมาก ทั้งการออกแบบและฝีมือในสมัยพระเจ้า

ปราสาททองโปรดให้จำลองปราสาทนครวัด โดยปรับ

ปรูงให้เป็นแบบไทยสร้างเป็น)วัดไชยวัฒนาราม สร้าง

ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2173 ทั้งยังได้มีการคิดแบบพระเจดีย์ขึ้น

ใมห่ดัดแปลงจากพระเจดีย์ทรงกลมเป็นพระเจดีย์

เหลี่ยม เรียกว่า พระเจดีย์ย่อมมไม่สิบสองโดยโปรดให้

สร้างขึ้นทีวัดชุมพลนิกายารามเกาะบางปะอิน จังหวัด

พระนครศรีอยุธยา

 

การติดต่อกับชาวตะวันตกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทำให้อิทธิพลทางด้านสถาปัตยกรรมแบบยุโรปแพร่

หลายเข้ามาในอาณาจักรอยุธยา ที่โดดเด่นคือ การสร้างซุ้มประตูโค้งแบบโกธิก (Gothic)เช่น ซุ้มประตูทางเข้า

พระบรมมหาราชวังที่จังหวัดลพบุรีอิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบยุโรปแพร่หลายมากโดยเฉพาะเมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่

14 ส่งวิศวกรและสถาปนิกชาวฝรั่งเศสเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา อาคารก่อสร้างแบบยุโรปมีหลาแห่งเช่น พระ

นารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี ป้อมเมืองบางกอกบ้านรับแขกเมือง จังหวัดลพบุรี

                    ได้แก่ การจำหลักไม้ การเขียนลายรดน้ำ การประดับมุกเครื่องเบญจรงค์ การทำเครื่องถมและ

เครื่องทองรูปพรรณ ผลงานเหล่านี้มีความงดงามและเป็นเอกลักษณ์ในรูปแบบของศิลปะแบบอยุธยางานจำหลัก

ไม้ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่บานประตู พระเจดีย์สามองค์ วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นรูปเทวดายืนถือพระ

ขรรค์เหนือเศียรเป็นฉัตร  สร้างในสมัยพระบรมราชาธิราชที่  4  และบานประตูวัดวิหารทอง จังหวัด

พระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปจำหลักด้วยาไม้ มณฑป 5 ยอด ปัจจุบันอยู่ที่พระพุทธบาทจังหวัด

สระบุรี ตู้เก็บหนังสือพระธรรมที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

ลวดลายจำหลักไม้ที่ฐานธรรมาสน์ สมัยอยุธยา

                    งานประดับมุก  เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นใหม่ในสมัยอยุธยา งานประดับมุกที่เก่าแก่และหลงเหลืออยู่

ได้แก่ บานมุกที่ตู้หนังสือซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตประทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

นอกจากนี้มีตุ้มุกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บานประตูศาลาการเปรียญ วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง

                    เครื่องเบญจรงค์  เป็นเครื่องถ้วยชามมีลวดลายและสี 5 สี สมัยอยุธยาพบลวดลายที่เป็นลายก้านขด

และลายก้านแย่ง เครื่องถมมี 2 ประเภท คือ เครื่องถมดำและเครื่องถมตะทอง ซึ่งเป็นเครื่องถมที่มีทองแตะตาม

ลายซึ่งเป็นดอกเป็นช่อ ส่วนเครื่องทองประดับ เช่น พระน้ำเต้าทองคำพระสุพรรณบัฏ เครื่องประดับพระเศียรถัก

ด้วยลวดลายทองคำ

นาฏศิลป์ นาฏศิลป์ในสมัยอยุธยาที่ปรากฏในหลักฐาน

คือ โขนและหนังใหญ่เป็นการละเล่นที่นิยมกันมากนอก

จากนี้มีละคร ซึ่งแต่เดิมเป็นการร้องรำแบบพื้นเมือง ต่อ

มาได้ปรับปรุงการเล่นขึ้น ละครในสมัยอยุธยาแบ่งตาม

ประเภทการเล่นเป็น 3 ประเภท คือ ละครชาตรี ละคร

นอกและละครในและยังมีการละเล่นอีกหลายอย่าง

เช่น รำ หรือระบำ เสภาหุ่นการเล่นเพลง การเล่นสักวา

 

หนังใหญ่เป็นการละเล่นที่สืบทอด

ดุริยางคศิลป์ สมัยอยุธยามีหลักฐานเกี่ยวกับการละเล่น

ดนตรีคือ วงมโหรี เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีครบ

ทุกประเภทคือ ดีด สี ตี เป่า พบหลักฐานว่า สมัยสมเด็จ

พระนารายณ์มหาราช วงมโหรีมีการเพิ่มเครื่องดนตรี 9

ชิ้นคือปี (ไฉน) ทำให้มีเครื่องดนตรี 5 ชิ้น จากเติม 4 ชิ้น

แต่ในการประสมวงจะใช้ขลุ่ยต่อมามีการพัฒนาเครื่อง

ดนตรีเพิ่มขึ้นตามลำดับ

 

ปี่ไฉนเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง

                    บทเพลงในสมัยอยุธยามีลักษณะเป็นกลอนเพลง แบบเพลงกล่อมเด็กหรือเพลงพื้นบ้านร้องคลอกับ

ดนตรี ไม่มีเอื้อน อัตราจังหวะสองชั้น ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า เพลงเนื้อเต็ม ถือกันว่าเป็นเพลงแม่บท และต่อมาได้นำ

มาขยายเป็นเพลงสามชั้นและเพลงเถาในสมัยรัตนโกสินทร์

                    ภาษาไทย หลักฐานทางภาษาสมัยอยุธยามีให้เห็นได้จากงานวรรณกรรม พงศาวดารจดหมายเหตุ 

โดยเฉพาะหนังสือเรื่อง จินดามณี ที่แต่งขึ้นโดยพระโหราธิบดีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นตำรา

แบบเรียนภาษาไทยที่ใช้กันในสมัยอยุธยา สาระสำคัญจะกล่าวถึงคำศัพท์ต่างๆ ที่มาจากภาษาสันสกฤตและคำที่มี

เสียงคล้ายกัน การใช้ ศ ษ ส การใช้ไม้ม้วนซึ่งมีทั้งหมด 20 คำ ยังมีการกล่าวถึงอักษรสามหมู่ มาตราตัวสะกดการ

ใช้เครื่องหมาย การแต่งกาพย์ โคลง ฉันท์และกลบทต่างๆ หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลต่อนักปราชญ์รุ่นหลังที่ได้ใช้เป็น

แบบอย่างในการจัดทำหนังสือเรียนภาษาไทยและการแต่งคำประพันธ์ชนิดต่างๆ  

                    วรรณกรรม สมัยอยุธยาชนชั้นปกครอง คือ พระมหากษัตริย์ และนักประพันธ์ กวี นักปราชญ์ราช

บัณฑิตทั้งหลายต่างสร้างสรรค์ผลงานไว้มากมาย กวีที่โดดเด่น ได้แก่ ศรีปราชญ์ พระมหาราชครูพระโหราธิบดี 

พระศรีมโหสถ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง) งานวรรณคดีที่ยอดเยี่ยมมีหลายประเภททั้งลิลิต โคลง ฉันท์ กาพย์

กลอนเพลงยาวโคลงเบ็ดเตล็ด วรรณคดีเหล่านี้สะท้อนการสร้างสรรค์วัฒนธรรมจากภูมิปัญญาของคนไทยสมัย

อยุธยาได้เป็นอย่างดี                                                             

                  วรรณกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของศาสนา โดยส่วนหนึ่งเชื่อมโยง สถาบัน

พระมหากษัตริย์เข้ากับศาสนาเพื่อสร้างความศรัทธาและความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน จึงเกิด วรรณกรรมเรื่อง

ลิลิตโองการแช่งน้ำ แต่งขึ้นเพื่อให้พราหมณ์ใช้อ่านหรือสวดในพระราชพิธีถือน้ำ พระพิพัฒน์สัตยา มีเนื้อหากล่าว

เชิญเทพเจ้าและภูตผีมาเป็นสักขีพยานมีการสาปแช่งผู้ทรยศและอวยพร ผู้ที่จงรักภักดี และวรรณกรรมเรื่อง ลิลิต

ยวนพ่ายเป็นวรรณกรรมสรรเสริญสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในฐานะเป็นกษัตริย์ผู้มีพระบรมเดชานุภาพเนื้อหา

กล่าวถึงชัยชนะในการทําสงครามครั้งสําคัญๆ 

                  วรรณกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้บ้านเมืองจนมีความเป็น

ปึกแผ่นแล้ววรรณกรรมและวรรณคดีเริ่มได้รับการเอาใจใส่อีกครั้งในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และรุ่งเรือง

มากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งถือเป็นยุคทองของวรรณคดี วรรณคดีส่วนใหญ่ ที่เกิดขึ้นสมัยพระเจ้า

ทรงธรรมยังเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา คือ เรื่อง  กาพย์มหาชาติ แต่งเป็นร่ายยาว มีภาษาบาลีแทรกเป็นระยะ

วรรณคดีที่เกิดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีหลายเรื่อง เช่น เรื่อง สมุทรโฆษคําฉันท์ โคลงทศรถสอน

พระราม โคลงพาลีสอนน้อง โคลงราชสวัสดิ์ ล้วนเป็น บทพระราชนิพนธ์ที่มุ่งปลุกจิตสํานึกในบทบาทและ

หน้าที่ของขุนนางและข้าราชการ 

                 วรรณกรรมและวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางนี้มีการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ เนื้อหาและรูปแบบ มาก

กว่าในสมัยอยุธยาตอนต้น ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ลดการใช้คําบาลีสันสกฤต นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรม ประเภทร้อย

แก้ว คือ พงศาวดาร และตําราเรียนจินดามณี   

                 วรรณกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายมีทั้งร้อยแก้ว และร้อย

กรองที่มีสาระเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา บันเทิง ตําราความรู้ต่างๆ วรรณคดีส่วนใหญ่ เกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้า

อยู่หัวบรมโกศ นอกจากพระองค์จะทรงเป็นกวีแล้ว พระราชโอรสและพระราชธิดา ก็ทรงเป็นกวีเอกด้วย เช่น เจ้า

ฟ้าธรรมธิเบศรได้ทรงนิพนธ์เรื่อง นันโทปนันทสูตรคําหลวง และ พระมาลัยคําหลวง แต่ที่โดดเด่นที่สุดคือ กาพย์

เห่ ไม่ว่าจะเป็นเห่ชมเรือ ชมปลา หรือเห่ครวญ ซึ่งก็มีลีลา โวหารที่แสดงเอกลักษณ์เป็นแบบฉบับในการแต่งกาพย์

เห่เรือในสมัยต่อมา

                  ในสมัยอยุธยาตอนปลายนิยมแต่งวรรณกรรมประเภทนิทานเป็นกลอนบทละคร เช่น ดาหลัง ของเจ้า

ฟ้ากุณฑล อิเหนา ของเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทั้ง 2 เรื่อง เป็นนิยายที่

ทรงได้เค้าเรื่องมาจากนิทานชวา นอกจากนี้มีบทละครนอกอีกหลายเรื่อง เช่น รามเกียรติ สังข์ทอง พิกุลทอง 

วรรณคดีประเภทคําฉันท์มีเพียงเรื่องเดียวคือเรื่อง บุณโณวาทคําฉันท์ ซึ่งพระมหานาค วัดท่าทราย เป็นผู้แต่ง โดย

ภูมิปัญญาด้านวรรณกรรมสมัยอยุธยามีเรื่องอะไรบ้าง

2.3 วรรณกรรม หลังจากเสียกรุงครั้งที่ 2 วรรณกรรมสมัยอยุธยาถูกทำลายไปมาก เหลือเพียง 40–50 เรื่อง เรื่องที่สำคัญมีดังนี้ ลิลิตโองการแช่งน้ำ มหาชาติคำหลวง ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ จินดามณี พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ สมุทรโฆษคำฉันท์ กาพย์เห่เรือ

ภูมิปัญญาด้านวรรณกรรมในสมัยธนบุรีคือข้อใด

วรรณกรรมในสมัยธนบุรีมีไม่มากนัก แต่มีหลายประเภท เช่น วรรณกรรมทางศาสนาและคําสอน ในการดําเนินชีวิต เช่น กฤษณาสอนน้องคําฉันท์ และลิลิตเพชรมงกุฏของหลวงสรวิชิต (หน) วรรณกรรมทาง ประวัติศาสตร์ เช่น นิราศกวางตุ้ง (นิราศพระยามหานุภาพ) และพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)

ภูมิปัญญาไทยในสมัยอยุธยามีความสําคัญอย่างไร

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสมัยอยุธยา เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงทักษะ ในการแก้ไขปัญหาการดารงชีวิตของชาวอยุธยาโดยภูมิปัญญามีคุณค่า และความสาคัญต่อสังคมสมัยอยุธยาและสมัยปัจจุบันหลายด้าน เช่น ภูมิปัญญาช่วยสร้างชาติให้มีความมั่นคง เป็นบ่อเกิดความรัก ความสามัคคีของคนในชาติสร้างความภูมิใจ และศักดิ์ศรีเกียรติภูมิให้แก่ คนไทย

ข้อใดเป็นภูมิปัญญาทางด้านการค้าในสมัยอยุธยา

การค้าในสมัยอยุธยาค่อนข้างเสรี คือ ติดต่อกันในอยุธยาโดยตรงไม่ต้องผ่านองค์กรของรัฐหรือเอกชนไทยที่มีทุนก็จะสามารถค้าสำเภาได้ มีการเก็บภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย มีการตั้งพระคลังสินค้าเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศในลักษณะผูกขาด และพระคลังสินค้ามีอำนาจผูกขาดโดยสมบูรณ์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก