ข้อใดคือข้อแตกต่างระหว่างตลาดทั่วไปและตลาดในทางเศรษฐศาสตร์

ตลาดในระบบเศรษฐกิจนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากตลาดทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยทำให้สินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค และยังช่วยให้ผู้บริโภคมีสินค้าและบริการมาบำบัดความต้องการได้อย่างทั่วถึง ซึ่งในบทนี้จะศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดในทางเศรษฐศาสตร์

ความหมายของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์

ตลาด หมายถึง การซื้อขายสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือภาวะการณ์ในการซื้อขายสินค้านั้นๆ ซึ่งก็หมายถึงว่า การซื้อขายไม่จำเป็นต้องมีตลาดเป็นตัวตน ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องมาพบกัน เพียงแต่ใช้เครื่องมือสื่อสารตกลงกัน

1. สถานที่ที่มีผู้ซื้อและผู้ขายมาติดต่อซื้อขายกัน เช่น ตลาดสระทอง ตลาดพรรณวี ตลาดทุ่งเจริญ

2. การติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อผู้ขายในทางใดทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ทางโทรศัพท์ โทรสาร internet

คำว่าการตลาด มักจะมีผู้ใช้ปนเปเป็นคำเดียวกับคำว่า ตลาด อยู่เสมอ ซึ่งความเป็นจริงแล้ว การตลาด มีความหมายถึงการประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่จะนำเอาสินค้าและบริการ จากแหล่งผลิตไปถึงมือผู้บริโภค ในเวลา สถานที่ รูปลักษณะ และในจำนวนที่ต้องการ 

        กิจกรรมทางการตลาดในปัจจุบันยึดเอาผู้บริโภคเป็นหลักสำคัญ โดยถือว่าผู้บริโภคเป็นต้นกำเนิดของความต้องการสินค้า เป็นผู้กำหนดรูปร่าง ขนาด จำนวน และเป็นผู้นำเอาเงินรายได้ไปซื้อสินค้าเพื่อสนองความต้องการ ซึ่งความต้องการมากขึ้นเท่าใดขนาดของตลาดจะกว้างขวางและเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น และเนื่องจากผู้บริโภคมีจำนวนมากและมีความต้องการแตกต่างกัน ดังนั้นการตลาดจึงต้องพยายามหาทาง ที่จะสนองความต้องการของผู้บริโภคในด้านต่างๆดังนี้ คือ

     1. เพื่อให้ผู้บริโภคมีสินค้าไว้อุปโภคบริโภคตลอดเวลา

     2. เพื่อนำสินค้าไปขายถึงถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค

     3. เพื่อให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ตามลักษณะที่ต้องการ

ความสำคัญของตลาด

1.ช่วยให้ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ช่วยลดความสินเปลืองทรัพยากรผลิตสินค้าที่เกินความต้องการ

2. ช่วยให้ผู้บริโภคมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น

3. ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวสูงขึ้น เนื่องจากตลาดมีการจ้างงาน

หน้าที่ของการตลาด

    การตลาด ซึ่งรวมถึงการรับเสี่ยงภัยและการขนส่ง ย่อมมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในฐานะเป็นขั้นหนึ่งของกระบวนการผลิต ทั้งนี้ก็เพราะ การผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นถือว่าจะมีผลผลิต ก็ต่อเมื่อสินค้าได้ถึงมือผู้บริโภคแล้วเท่านั้น จึงพอสรุปหน้าที่ได้ ดังนี้

•  แสวงหาอุปสงค์และคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับอุปสงค์

•  เสริมสร้างให้เกิดอุปสงค์

•  สนองความต้องการอุปสงค์

1. การจัดหาสินค้า คือการจัดหาสินค้าและบริการมาเพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้า

2. การเก็บรักษาสินค้า การเก็บรักษาสินค้าเพื่อไว้จำหน่ายแก่ผู้บริโภคนั้นมีเหตุผลประการ คือ ประการแรก เก็บรักษาไว้เพื่อรอเวลาในการจำหน่ายให้ได้ราคาดีเพราะถ้าจำหน่ายใน ช่วงนั้นราคายังต่ำเนื่องจากในช่วงนั้นมีสินค้าเหล่านั้นอยู่มากส่วนประการที่สอง เก็บรักษาไว้เพื่อให้มีคุณภาพเหมาะสมแก่การบริโภคเช่น สุรา ถ้าได้มีการเก็บไว้นานๆจะทำให้รสชาติ น่ารับประทานมากขึ้น

3. การขายสินค้าและบริการ เป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของตลาดแต่ความหมายของการขายสินค้านั้นอาจมองกว้างไปถึงการส่งเสริมการขายและการโฆษณาชักชวนให้มีการซื้อ หรือ กระทำอย่างใดก็ตามที่เป็นการชักจูงให้ผู้ซื้อซื้อสินค้ามากขึ้นเพื่อเพิ่มยอดขายสินค้าและบริการให้สูงขึ้น และมีกำไรมากขึ้นด้วย

4. การกำหนดมาตรฐานสินค้า

5.การขนส่งการที่สินค้าจากผู้ผลิตจะถึงมือผู้บริโภคได้ก็ต้องอาศัยการขนส่งทำการขนส่งสินค้าจากโรงงานหรือแหล่งที่ทำการผลิตออกสู่ตลาดและสู่ผู้บริโภค

6.การป้องกันการเสี่ยงภัย หน้าที่ของตลาดที่ตามมาเนื่องจากการมีสินค้าไว้เพื่อจำหน่ายอีกอย่างหนึ่งคือการเสี่ยงต่อภัยที่จะเกิดขึ้น เช่น อัคคีภัย อุทกภัย สินค้าสูญหาย สินค้าราคาต่ำลง โจรกรรม

        7.การเงิน หน้าที่ทางการเงินของตลาดจะเข้ามามีบทบาทในทุกขั้นตอนของตลาด

ประเภทของตลาด

ในการแบ่งตลาดนั้นสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ กล่าวคือ ประเภทของตลาดแบ่งตามชนิดของผลผลิต ตลาดแบ่งตามชนิดของผลผลิตแบ่งได้ดังนี้

        1.    ตลาดปัจจัยการผลิต (factormarket)คือตลาดที่ทำการซื้อขายปัจจัยที่จะนำไปใช้ทำการผลิตสินค้าหรือบริการต่างๆ

        2.    ตลาดสินค้า (product market) คือตลาดที่ทำการขายสินค้าหรือบริการซึ่งผู้ซื้อจะนำไปใช้ในการอุปโภคบริโภคโดยตรง

        3.    ตลาดการเงิน (financial market) เป็นแหล่งให้ผู้ผลิตซึ่งมีความต้องการเงินลงทุนได้กู้ยืมเงินไปลงทุนตลาดการเงินยังแบ่งออกเป็น 

            3.1 ตลาดเงิน (money market) เป็นศูนย์กลางการกู้ยืมเงินทุนระยะสั้นโดยมีระยะเวลาการชำระคืนไม่เกิน ปี

          3.2.ตลาดทุน (capital market) เป็นศูนย์กลางการกู้ยืมเงินทุนระยะยาว โดยมีระยะเวลาการชำระคืนเกิน 1 ปี เรายังสามารถแบ่งตลาดทุนออกเป็นตลาดแรก (primary market) กับตลาดรอง (secondary market) ตลาดแรกเป็นตลาดที่มีการซื้อขายหุ้นใหม่ (ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรก) ส่วนตลาดรองเป็นตลาดที่มีการซื้อขายหุ้นที่ผ่านการจำหน่ายมาแล้วครั้งหนึ่ง ตัวอย่างของตลาดรอง ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand, SET) 

ความแตกต่างระหว่างตลาดเงินและตลาดทุน

        1.    ตลาดเงินเป็นการระดมเงินทุนและให้กู้ยืมในระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ส่วนตลาดทุนจะเป็นการระดมเงินทุนและให้กู้ยืมในระยะยาวเกิน ปี

        2.    การให้กู้ยืมในตลาดเงินจะมีความเสี่ยงต่ำกว่าการให้กู้ยืมในตลาดทุน

ทั้งนี้ เพราะระยะเวลาในการให้กู้ยืมแตกต่างกัน(ระยะสั้นจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าระยะยาว)

        3.    ตราสารที่ใช้ในการกู้ยืม 

            3.1 ตลาดเงินใช้หลักทรัพย์ระยะสั้น เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน ตั๋วเงินคลัง เป็นต้น 

            3.2 ตลาดทุนใช้หลักทรัพย์ระยะยาว เช่น หุ้นกู้ หุ้นทุน พันธบัตร เป็นต้น

        4.    การกู้ยืมเงินทุนในตลาดเงินส่วนใหญ่จะใช้ไปเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนของการดำเนินการของธุรกิจ แต่ถ้าเป็นการระดมเงินทุนในตลาดทุนจะใช้ไปเพื่อการลงทุน เช่น การขยายขนาดการผลิต การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เป็นต้น

ปัจจัยที่ใช้กำหนดขนาดของตลาดขนาดของตลาดจะใหญ่หรือเล็กเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างเป็นตัวกำหนด ปัจจัยต่างๆประกอบด้วย 

1.ลักษณะของสินค้า  ลักษณะต่างๆของสินค้าที่เป็นตัวกำหนดตลาดของสินค้า ได้แก่

            1.     สินค้าที่เป็นของเน่าเสียง่าย เช่น ผักสด ผลไม้สด อาหารทะเล ดอกไม้สด เป็นต้น ตลาดของสินค้านี้แคบ ไม่กว้างขวางเท่าที่ควร

            2.     สินค้าที่มีน้ำหนักหรือปริมาตรมากแต่มูลค่าต่ำ เช่น นุ่น หิน ทราย ตลาดของสินค้าพวกนี้จะแคบเช่นกัน

            3.     สินค้าที่เคลื่อนย้ายไม่สะดวก สินค้าบางอย่างบอบบาง แตกชำรุดง่าย และขนส่งย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ยากลำบาก เป็นผลให้สินค้าพวกนี้มีตลาดแคบ

            4.     สินค้าประเภทแรงงาน ตลาดแรงงานเป็นตลาดที่แคบ

            5.     มาตรฐานของสินค้า

         2. การสื่อสารและการคมนาคม เป็นปัจจัยที่มีผลทำให้ขอบเขตของตลาดกว้างหรือแคบได้ กล่าวคือ สินค้าใดที่สามารถขนส่งจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคได้ด้วยระบบการขนส่งที่สะดวกรวดเร็วและประหยัด 

        3. นโยบายของรัฐบาล นโยบายต่างๆของรัฐที่เกี่ยวข้องกับตลาดของสินค้า และบริการจะมีผลทำให้ขอบเขตของตลาดขยายหรือแคบลงได้ และถือว่าเป็นผลโดยตรง นโยบายต่างๆ

        4. ความต้องการของผู้บริโภค ตลาดจะสามารถขยายตัวออกไปได้กว้างขวางเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้านั้นๆ

        5. การกระจายรายได้ของประชาชนในประเทศนั้นๆ ถ้าประชาชนของประเทศส่วนใหญ่ยากจน มีรายได้ต่ำ การขยายตัวของตลาดสินค้าบางชนิดจะทำได้ยาก 

        6. ศาสนา วัฒนธรรม และความเชื่อ การบริโภคสินค้านั้นในบางครั้งก็มีผลสืบเนื่องมาจาก ความเชื่อทางศาสนาหรือวัฒนธรรมด้วย

ลักษณะตลาดในระบบเศรษฐกิจ

ถ้าแบ่งตลาดในทางเศรษฐกิจออกตามลักษณะของการแข่งขันอาจแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ และตลาดที่มีการเข่งขันไม่สมบูรณ์

ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ (competitive market) หรืออาจเรียกว่าตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ (perfect or pure competition) ตลาดประเภทนี้มีอยู่น้อยมากในโลกแห่งความเป็นจริง อาจกล่าวได้ว่าเป็นตลาดในอุดมคติ (ideal market) ของนักเศรษฐศาสตร์ ตลาดที่มีการแข่งขันอย่างเต็มที่ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เป็นผลให้ราคาสินค้า หรือปริมาณซื้อขายถูกกำหนดโดยกลไกตลาด ลักษณะสำคัญของตลาด ลักษณะเด่นของตลาดแบบนี้ คื

1.       ผู้ชื้อและผู้ขายมีจำนวนมาก

2.       สินค้าที่ซื้อขายมีลักษณะคุณภาพมาตรฐานใกล้เคียงกันมาก

3.       การติดต่อซื้อขายจะต้องกระทำได้โดยสะดวก

4.       หน่วยธุรกิจสามารถเข้าหรือออกจากธุรกิจการค้าได้โดยง่าย

5.       การเคลื่อนย้ายสินค้าและปัจจัยการผลิต จะต้องกระทำได้อย่างสมบูรณ์

ตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ (non-perfect competition market) เนื่องจากตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์เป็นตลาดที่หาได้ยากเพราะเป็นตลาดในอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์ ตลาดตามสภาพที่แท้จริงในโลกนี้ส่วนใหญ่เป็นตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ ตลาดที่หน่วยผลิตสามารถกระทำการบางอย่างเพื่อควบคุมราคาผลผลิตของตนได้ หรือเป็นผู้กำหนดราคา (price maker) ได้ ลักษณะสำคัญของตลาด การพิจารณาลักษณะตลาดแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์เราอาจแยกเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน คือ ด้านผู้ขายและด้านผู้ซื้อ ดังต่อไปนี้  

ทางด้านผู้ขาย

1.   ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (monopsonistic competition) ตลาดประเภทนี้คือตลาดที่มีผู้ซื้อเป็นจำนวนมาก แต่ผู้ขายมีความพอใจจะขายให้แก่ผู้ซื้อบางคนเท่านั้น มีผู้ขายและสินค้าจำนวนมาก สินค้าที่ขายมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่ไม่สามารถทำให้แตกต่างกันได้

2.    ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย (oligopsony) คือตลาดที่มีผู้ซื้อเพียงไม่กี่ราย ถ้าผู้ซื้อคนใด เปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อก็จะมีผลกระทบกระเทือนราคาตลาดและผู้ซื้อคนอื่นๆด้วย โดยทั่วไปจะมีผู้ขายเพียง 3-5 รายในตลาดเท่านั้น ส่วนใหญ่มักเป็นพวกอุตสาหกรรมหนัก

3.    ตลาดที่มีการผูกขาดด้านการขายที่แท้จริง (monopsony) เป็นตลาดที่มีผู้ซื้อเพียงคนเดียว ผู้ซื้อจึงอยู่ในฐานะที่จะกำหนดราคาสินค้าเองได้ เรียกว่าเป็นผู้ผูกขาดในการซื้อ ตลาดที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว ผู้ขายจะมีอิทธิพลเหนือราคา

ทางด้านผู้ซื้อ

1. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (monopolistic competition) ตลาดประเภทนี้มีลักษณะที่สำคัญ คือ มีผู้ซื้อและผู้ขายเป็นจำนวนมากและทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างมีอิสระเต็มที่ในการที่จะวางนโยบายการขายและการซื้อของตนโดยไม่กระทบ กระเทือนคนอื่น  แต่สินค้าที่ผลิตมีลักษณะหรือมาตรฐานแตกต่างกันถือเป็นสินค้าอย่างเดียวกันแต่ก็มีหลายตรา หลายยี่ห้อ การบรรจุหีบห่อ การโฆษณาต่างกันตลาดประเภทนี้มีผู้ซื้อจำนวนมากแต่ผู้ขายพอใจขายให้แก่ผู้ซื้อบางคนเท่านั้น จึงมีทางควบคุมราคาได้บ้าง

2. ตลาดที่มีผู้ซื้อน้อยราคา คือ (oligopoly) ตลาดประเภทนี้จะมีผู้ขายเพียงไม่กี่ราย และผู้ขายแต่ละรายจะขายสินค้าเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าทั้งหมดในตลาด ถ้าหากว่า ผู้ขายรายใดเปลี่ยนราคาหรือนโยบายการผลิตและการขายแล้วก็จะกระทบกระเทือนต่อผู้ผลิตรายอื่นๆ ตลาดที่มีผู้ซื้อน้อยมาก ถ้าผู้ซื้อคนใดเปลี่ยนแปลงปริมาณซ้อจะมีผลกระทบกระเทือนราคาตลาดและผู้ซื้อคนอื่น ๆ ด้วย

3. ตลาดผูกขาดที่แท้จริงทางด้านผู้ซื้อ (monopoly) คือตลาดที่มีผู้ขายอยู่เพียงคนเดียว ทำให้ผู้ขายมีอิทธิพลเหนือราคาและปริมาณสินค้าอย่างสมบูรณ์ในการที่จะเพิ่มหรือลดราคาและควบคุมจำนวนขายทั้งหมด (total supply) ได้ตามต้องการ ส่วนมากจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ใช้เงินลงทุนมาก มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กรายอื่นๆไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ เป็นตลาดที่มีผู้ซื้อเพียงคนเดียวผู้ซื้อจึงอยู่ในฐานะเกี่ยงราคาได้ และในที่สุดก็สามารถที่จะกำหนดราคาสินค้าเองได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก