ปุ๋ยสูตร 15-15-15 กับ 16-16-16 ต่างกันอย่างไร

จำว่า ใบ-ดอก-ผล จะได้ไม่ งง

เราปลูกต้นไม้ก็หวังอยากให้ต้นไม้เจริญเติบโต ออกดอก ออกผล นอกจะการรดน้ำแล้ว การให้ปุ๋ยก็เป็นปัจจัยหลัก ที่ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโต เพราะในปุ๋ยมีธาตุอาหารที่ต้นไม้ต้องการ แต่จะเลือกปุ๋ยเคมี ใส่ต้นไม้ ก็ดันมีสูตรปุ๋ย ที่เป็นตัวเลข ทำให้เรา งง อีก เช่น 46-0-0 หรือ 15-15-15 เรามาทำความเข้าใจ ทั้งตัวเลข และ ตำแหน่งตัวเลขว่าบอกอะไรกันบ้าง อาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2563 เวลา 12.00 น.

บอกต่อ : 252

89

90

73


สูตรปุ๋ยเคมี จะมีตัวเลข ตัวเลข 3 ตัวโดยมีขีดคั่นกลาง เป็นตัวเลขที่ใช้บอกสัดส่วนปริมาณธาตุอาหารหลัก 3 ชนิดของปุ๋ย ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) เป็น N P K ธาตุอาหาร 3 ตัวนี้ พืชต้องการในปริมาณมากเมื่อเทียบกับธาตุอื่น ๆ และในดินมักมีไม่เพียงพอ ต่อพืชที่ต้องนำไปใช้ มาดูกันว่า ตัวไหนบำรุงอะไรกันครับ

N ไนโตรเจน ช่วยในเรื่อง บำรุงใบ เร่งให้แตกยอด ช่วยให้ใบพืชมีสีเขียว ช่วยทำให้พืชตั้งตัวได้เร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต
P ฟอสฟอรัส ช่วยในเรื่อง บำรุงให้ออกดอก เร่งการออกผล สร้างเมล็ด ช่วยให้ราก ดูดธาตุอาหารไปใช้ได้ดี ช่วยให้รากใหญ่ แข็งแรง กระจายตัวดี
K โพแทสเซียม ช่วยในเรื่อง บำรุงผล ให้ผลใหญ่ขึ้น รสชาติหวานขึ้น สีสวยสด เนื้อของผลมีคุณภาพ เพราะจะช่วยสร้างแป้ง น้ำตาล โปรตีน



เข้าใจสูตรปุ๋ยได้ง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่น สูตรปุ๋ย 15-15-15 จะบอกปริมาณ N-P-K ถ้าต้องการบำรุงพืชส่วนไหน ก็จำว่า N-P-K = ใบ-ดอก-ผล (N ไนโตรเจน บำรุงใบ, P ฟอสฟอรัส บำรุงเพื่อออกดอก, K โพแทสเซียม บำรุงเพื่อจะให้ออกผล) จะแนะนำสูตรปุ๋ยเบื้องต้นไว้ให้ลองนำไปใช้กันนะครับ
สูตรปุ๋ยบำรุงใบ 46-0-0 เหมาะกับไม้ใบ และ สนามหญ้า
สูตรปุ๋ยบำรุงดอก 12-24-12, 8-24-24 เร่งดอก และ เพิ่มธาตุอาหารที่จะนำไปบำรุงผล
สูตรปุ๋ยบำรุงผล 8-24-24, 13-13-21 บำรุงผลเหมาะกับ พืชผักผลไม้
ไม้ดอกไม้ประดับในบ้านทั่วไป แนะนำ ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ครับ



ข้อดีของปุ๋ย NPK : ปุ๋ยแบบนี้ส่วนมากจะละลายน้ำได้ดี จึงง่ายต่อการดูดซึมของพืช สามารถปรุงแต่งให้มีสารอาหารที่ต้องการอย่างไรก็ได้ โดยมีคุณภาพที่แน่นอน เคยใช้แบบไหนก็สามารถหาแบบที่เหมือนของเดิมใช้ได้ตลอด ที่สำคัญหาซื้อได้ง่ายตามตลาดทั่วไป

ข้อเสียของปุ๋ย NPK : ไม่ใช่แค่เฉพาะปุ๋ย NPK เท่านั้น แต่ปุ๋ยทุกชนิดในกลุ่มของปุ๋ยเคมีมักจะส่งผลกระทบที่คล้ายคลึงกันก็คือ อาจทำให้อินทรียวัตถุที่มีอยู่แล้วในดินลดปริมาณน้อยลง เมื่อใช้ปุ๋ยแบบนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จะมีผลต่อสภาพดินโดยตรงนั่นคือ ดินจะแห้งแข็งและระบายน้ำได้ไม่ดีเหมือนเดิม ความเป็นกรด-ด่างก็จะไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ต้องมีการพักหน้าดินและฟื้นฟูกันใหม่ด้วยการใช้ปุ๋ยธรรมชาติ หรือการปลูกพืชที่สามารถปรับปรุงสภาพดินได้ดี เช่น พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น



พืชต้องการธาตุอาหาร 16 ชนิด ได้แก่ ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี แมงกานีส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน

............................................
คอลัมน์ “มหัศจรรย์ พรรณไม้”
เขียนโดย ‘เอกลักษณ์ ถนัดสวน’


ย้อนกลับ

15-0-0+25.6CaO เป็นแคลเซียมเกรดละลายน้ำง่าย พืชนำไปใช้ได้เร็ว เพราะแคลเซียม มีไนเตรท (ปุ๋ยตัวหน้า) นำเข้าสู่ต้นพืชได้ดีขึ้น ใส่ตัวนี้คู่กับสูตรเสมอในทุเรียนเล็ก ยอดเดินดี รากชุดใหม่สมบูรณ์ กิ่งก้านแข็งแรง แต่ไม่ต้องใช้บวกกันทุกรอบนะครับ ผมไม่รู้ทุเรียนเล็กแค่ไหน ใส่ปุ๋ยบ่อยแค่ไหน

ถ้าใส่สองเดือนครั้ง ก็บวกกันปีละสามรอบพอ ที่เหลือสูตรเสมอเพียว ๆ
ถ้าใส่เดือนละครั้ง ก็บวกกันปีละ 3-4 รอบพอ ที่เหลือสูตรเสมอเพียว ๆ
หากไม่มั่นใจอัตรา ให้ทดลองจากการใส่ทีละน้อยก่อน อย่ารีบ ถ้าปุ๋ยเข้มข้นเกินจะแก้ไขยาก ใบแห้งไหม้ รากเสียหายครับ

�ʹ���Թ���͡���ͻ��� ��繻��µ������� 15-15-15 (�ا���ʵԡ��) �Ѻ 16-16-16 (�ا�բ��) �ТͶ����� �����ͧ��ǹ���ҧ�ѹ�ѧ䧤�Ѻ ���� ��ҧ���������÷���ҧ�ѹ 1-1-1

�ҡ�س : the fish lover

- [ 19 �.�. 51 07:59:46 ]

ต่างกันตรงที่ หนึ่งกระสอบคุณจะได้ธาตุสารอาหาร N-P-K เพิ่มขึ้นมาอย่างละ อีก 0.5 กิโลกรัม เพราะปุ๋ยหนึ่งกระสอบจะหนัก 50 กิโลกรัมสูตรแต่ละสูตรจะเที่ยบที่ 100 กิโลกรัม หรือ 100 % จะมี ธาตุอาหารแต่ละชนิดอยู่ 15 หรือ 16 ตามระบุไว้ข้างกระสอบ

เวลานำไปใช้ในน้ำหนักเท่ากัน สูตร 16-16-16 จะได้ธาตุอาหารมากกว่า สูตร 15-15-15

สมมุติใส่ปุ๋ยลงไป 1 กิโลกรัม ถ้าเป็นสูตร 16-16-16 ก็จะได้ธาตุอาหาร N-P-K อย่างละ 0.16/2= 0.08 กิโลกรัมครับ ก็จะได้ N-P-K อย่างละ 80 กรัมต่อปุ๋ยที่เราใช้ ไป 1000 กรัมหรือ 1 กิโลกรัม

ถ้าเป็น 15-15-15 ก็จะได้ 75 กรัมต่อปุ๋ย 1 กิโลกรัมครับ

บันทึกการเข้า

จงลำบากไปก่อนแล้วจะสบายเมื่อปลายมือ

rungrojj

เกษตรกรมือใหม่


ออฟไลน์

กระทู้: 444

« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 08:09:38 PM »

มีความลับที่ไม่ลับมาบอก ปุ๋ยที่มาจากประเทศรัสเซียส่วนใหญ่จะเป็น 16-16-16 แทบจะทั้งหมดแต่ต้องมาใส่กระสอบ 15-15-15 เพราะความนิยมหรือความคุ้นเคยของตลาดจะมีมากกว่าและราคาก็จะถูกกว่า และปุ๋ยกองเดียวกันก็ถูกมาใส่ในกระสอบ 16-16-16 ด้วยสำหรับคนที่ต้องการสูตรสูงและราคาก็จะสูงไปด้วย เพราะตามพรบ.ปุ๋ยกำหนดแต่ธาตุอาหารขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่าข้างกระสอบ ก็เป็นผลประโยชน์ของผู้ซื้อ ส่วนที่ผลิตในประเทศหรือมาจากแหล่งอื่นไม่แน่ใจครับ 

บันทึกการเข้าKENETIC_E®

"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ"
เกษตรกรมือใหม่

ออฟไลน์

กระทู้: 3083


จักสร้างฝันให้เป็นจริงจงได้

« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 08:15:51 PM »

ขอบคุณทุกท่านทุกๆ ความเห็นนะครับ....
ถ้าทำมาแค่อยากให้ราคากับสัดส่วนสูตรต่างกัน(กระสอบละยี่สิบบาท/%เนื้อปุ๋ยใน1กระสอบไม่ให้เท่ากัน)
คงไม่ใช้เหตุผลหลักกระมังครับ.....มีเหตุผลอื่นอีกก็แจ้งเข้ามานะครับ
ขอบคุณครับ

บันทึกการเข้า

"If tomorrow never comes."  อาจไม่มีพรุ่งนี้ให้ได้เห็น...
กระทู้ส่วนตัว :  สวน(ป่า)ออมรัก  *ขออภัย จำกัดสิทธิ์การใส่ Link-URL ในลายเซ็น*

KENETIC_E®

"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ"
เกษตรกรมือใหม่

ออฟไลน์

กระทู้: 3083


จักสร้างฝันให้เป็นจริงจงได้

« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 08:39:16 PM »

เท่าที่สังเกตุดูปุ๋ยสองสูตรนี้จะต่างกันเพียงสี 15 จะเป็นสีเทา ส่วน 16 จะย้อมสีฟ้า
น่าจะมีเหตุผลอื่นมากกว่านี้ นอกเหนือจากเหตุผลทางการตลาดอย่างท่านว่าน่ะครับ....

มีความลับที่ไม่ลับมาบอก ปุ๋ยที่มาจากประเทศรัสเซียส่วนใหญ่จะเป็น 16-16-16 แทบจะทั้งหมดแต่ต้องมาใส่กระสอบ 15-15-15 เพราะความนิยมหรือความคุ้นเคยของตลาดจะมีมากกว่าและราคาก็จะถูกกว่า และปุ๋ยกองเดียวกันก็ถูกมาใส่ในกระสอบ 16-16-16 ด้วยสำหรับคนที่ต้องการสูตรสูงและราคาก็จะสูงไปด้วย เพราะตามพรบ.ปุ๋ยกำหนดแต่ธาตุอาหารขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่าข้างกระสอบ ก็เป็นผลประโยชน์ของผู้ซื้อ ส่วนที่ผลิตในประเทศหรือมาจากแหล่งอื่นไม่แน่ใจครับ 

ทางด้านวิชาการล่ะครับมีเหตุผลอื่นอีกไหมครับที่ต้องกำหนดสูตรให้มีความใกล้เคียงกันขนาดนี้ด้วยน่ะครับ
ขอบคุณครับ

บันทึกการเข้า

"If tomorrow never comes."  อาจไม่มีพรุ่งนี้ให้ได้เห็น...
กระทู้ส่วนตัว :  สวน(ป่า)ออมรัก  *ขออภัย จำกัดสิทธิ์การใส่ Link-URL ในลายเซ็น*

loopalike

เกษตรกรมือใหม่

ออฟไลน์

กระทู้: 109

« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 09:06:41 PM »

15-15-15 มีไนเตรตร้อยละ60%
16-16-16 มีไนเตรตร้อยละ 40%

ข้อมูลจากปุ๋ยยี่ห้อดัง

บันทึกการเข้าmztiger

เกษตรกรมือใหม่

ออฟไลน์

เพศ:


กระทู้: 504

----------------

« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 09:56:05 PM »

ปุ๋ยสูตร คิดอะไรไม่ออกครับ สูตรเสมอ / ปุ๋ย ตัวกลาง ก็ไม่จำเป็นเลย เน้นหน้ากับหลังพอ สูตรนี้พึ่งเรียนมา

บันทึกการเข้า

น้ำจะท่วมสวนจนมิด แต่เราต้องเริ่มต้นใหม่^^ ติดต่อ086-990-0281 บุญชัย mizuri001@hotmail.com /ทิ้งเบอร์ได้ทางข้อความ. (ซื้อมะม่วง ปิดก่อนครับ)

Chonpratan

เกษตรกรมือใหม่

ออฟไลน์

เพศ:
กระทู้: 6139

« ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 11:22:52 PM »

ตัวกลางก็จำเป็นต่อต้นไม้เหมือนกันนะครับ. ช่วยให้ระบบรากและลำต้นแข็งแรง

บันทึกการเข้า

กลอง...จะเสียงดังเสียงดีได้...ต้องมีคนตี
หากกลองดังเองได้...เรียกกลองผีสิง จ๊า.

phalikhit

เกษตรกรมือใหม่

ออฟไลน์

กระทู้: 11612

« ตอบ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 06:47:47 PM »

15-15-15 มีไนเตรตร้อยละ60%
16-16-16 มีไนเตรตร้อยละ 40%

ข้อมูลจากปุ๋ยยี่ห้อดัง


มีวิธีคำนวณอย่างไรครับ

บันทึกการเข้าKENETIC_E®

"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ"
เกษตรกรมือใหม่

ออฟไลน์

กระทู้: 3083


จักสร้างฝันให้เป็นจริงจงได้

« ตอบ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 07:16:03 PM »

ผมเพียงอยากทราบข้อแตกต่างในการใช้น่ะครับ เพื่อที่เราจะได้ประโยชน์สูงสุดในการใช้ปุ๋ยเคมีน่ะครับ
ใครพอจะทราบบ้างว่าทำไมต้องเป็น 15-15-15 หรือ 16-16-16 ทั้งที่ทั้งสองก็เป็นสูตรเสมอและใกล้
เคียงกันด้วยน่ะครับ?....มันน่าจะมีเหตุผลในการกำหนดสูตรนะครับ ใช่ว่าจะกำหนดสูตรตามกระแสตลาด
กระมังครับ.....
ขอบคุณครับ

บันทึกการเข้า

"If tomorrow never comes."  อาจไม่มีพรุ่งนี้ให้ได้เห็น...
กระทู้ส่วนตัว :  สวน(ป่า)ออมรัก  *ขออภัย จำกัดสิทธิ์การใส่ Link-URL ในลายเซ็น*

Henry

เกษตรกรมือใหม่

ออฟไลน์

กระทู้: 462

« ตอบ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 09:35:05 PM »

ปุ๋ยส่วนมาก ไม่ได้มีเเต่ NPK อย่างเดียว

ลองดูธาตุอาหารรองที่ติดมาข้างกระสอบด้วยนะครับ

หลาย ๆครั้งที่ผมต้องซื้อ 21-0-0 1เพื่อต้องการ S ที่ผสมมาด้วย

บันทึกการเข้าloopalike

เกษตรกรมือใหม่

ออฟไลน์

กระทู้: 109

« ตอบ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 09:47:29 PM »

15-15-15 มีไนเตรตร้อยละ60%
16-16-16 มีไนเตรตร้อยละ 40%

ข้อมูลจากปุ๋ยยี่ห้อดัง


มีวิธีคำนวณอย่างไรครับ


ขอโทษครับข้อมูลผิดนั่งเทียนเขียนไปนิด

อันนี้ข้อมูลจริงๆครับ บ่ได้คำนวณ
YaraMila 15-15-15 has balanced nitrogen, with almost 50% coming from nitrate nitrogen.
YaraMila® 16-16-16 has balanced nitrogen, with over 40% coming from nitrate nitrogen.

การเลือกใช้ก็ไม่มีข้อสำคัญอะไรมากครับนอกจากดีเทลเล็กๆน้อยๆ เช่น ถ้าใช้ 15-15-15 ไนโตรเจนน้อยกว่าก็จริงแต่บังเอิญอยู่ในรูปไนเตรตมากกว่าผลที่ได้ก็คือ พืชได้รับไนโตรเจนเร็วกว่า แตกใบเร็วกว่า และมีของแถมเป็นกำมะถัน
ส่วนตัวผมเลือกใช้ 16-16-16 เพราะพืชปลูกผมไม่เน้นไนโตรเจนแบบพรวดพราด และยังมีของแถมที่ผมชอบสุดๆคือ แมกนีเซียม+แคลเซียม โดยเฉพาะแคลเซียมมีมากถึง 8.5%  ชอบๆๆ ^^

ปล.อีกครั้งข้อมูลจากปุ๋ยยี่ห้อดัง...ยี่ห้ออื่นไม่เกี่ยว

บันทึกการเข้าkamisama

เกษตรกรมือใหม่

ออฟไลน์

เพศ:
กระทู้: 1758

Virus Alert!!!!!!!

« ตอบ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2012, 05:47:48 AM »

ปุ๋ยสูตรเดียวกันต่างยี่ห้อกัน ราคาก็ไม่เท่ากันด้วยนะครับ ขึ้นอยู่กับสารอาการรอง ที่เสริมเข้าไป อ่านที่กระสอบได้ครับ ว่าเสริมอะไรไปบ้าง 

บันทึกการเข้าBoY NakonChuM

เกษตรกรมือใหม่

ออฟไลน์

กระทู้: 1323

« ตอบ #15 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2012, 06:41:10 PM »

ผมเพียงอยากทราบข้อแตกต่างในการใช้น่ะครับ เพื่อที่เราจะได้ประโยชน์สูงสุดในการใช้ปุ๋ยเคมีน่ะครับ
ใครพอจะทราบบ้างว่าทำไมต้องเป็น 15-15-15 หรือ 16-16-16 ทั้งที่ทั้งสองก็เป็นสูตรเสมอและใกล้
เคียงกันด้วยน่ะครับ?....มันน่าจะมีเหตุผลในการกำหนดสูตรนะครับ ใช่ว่าจะกำหนดสูตรตามกระแสตลาด
กระมังครับ.....
ขอบคุณครับ


การกำหนดสูตรไม่ได้มาจากกระแสตลาดหลอกครับ มันเป็นส่วนผสมจากแหล่งตั้งต้นที่เค้าได้มา อย่างเช่นปุ๋ยบางตัวจากค่ายตะวันออกกลางก็จะมีส่วนผสมที่เข้ามาแล้วได้อัตราส่วนที่ใกล้เครียงแล้วนำไปผสมกับฟิลเลอร์ก็จะได้ออกมาจากอัตราส่วนหนึ่ง ส่วนปุ๋ยบางยี่ห้อที่มาจากค่ายยุโรปเหนือยก็จะได้เรโชในอัตราส่วนหนึ่ง ก็เลยเป็นที่มาที่ไปของการกำหนดสตูรว่าเค้าผสมออกมาแล้วเรโชจะไปใกล้ในสูตรใด อย่างเช่นแร่โปแตส จะได้จากภาคอีสานเรา มีโปรแตสเซียมในสัดส่วนหนึ่ง แต่แร่โปรแตสที่ได้จากซีเรีย มีโปรแตสเซียมอยู่อีกส่วนหนึ่ง เมื่อผสมกันแล้วได้เรโชที่ไม่เท่ากัน บริษัทไหนมีสูตรหรือแหล่งแร่ตั้งต้นที่นำมาผสมแล้วออกมาเป็นเรโชใดมันก็กำหนดสูตรของเค้าให้ใกล้เคียงกับท้องตลาดที่มีอยู่แต่แรกเพื่อง่ายต่อการทำตลาดและเข้าใจของเกษตรกร

ถ้าใครเคยใช้ปุ๋ยสูตรน้ำจะรู้ดีว่าจะไ่ม่ใช่ 15-15-15 หรือ 16-16-16 เพราะพวกนี้ละลายน้ำได้ไม่หมด แร่ธาตุที่เค้านำมาผลิตปุ๋ยนั้นไม่สามารถใช้แหล่งแร่ที่ไ้ด้จากการขุดได้ ต้องใช้แหล่งแร่ธาตุที่มาจากการผลิตก๊าซธรรมชาิติิ สูตรที่ละลายน้ำได้หมดหรือใช้กับระบบน้ำได้อาจจะเป็น 8-8-8 หรือไม่ก็ 4-4-4 เราจะใช้เท่าไรต่อน้ำ 1 ลิตรก็แล้วแต่ตัวเรากำหนดหรือสูตรที่เราเคยใช้อยู่ ส่วนแร่ธาตุรองเช่นแม๊กนีเซีย สังกระสี อะไรต่างๆ ก็จะเป็นผลพลอยได้จากการที่แหล่งแร่นั้นมีตัวธาตุรองผสมอยู่ อย่างเช่นแหล่งกำเนิดแร่โปรแตสเซียมในภาคอีสารเรามันจะมี แม๊กนีเซียผสมอยู่ด้วย เมื่อเอาแร่จากไทยไปผสมก็จะได้ ธาตุรองเป็นของแถมมาด้วย ก็กลายเป็นข้อดีไป แต่การผสมปุ๋ยก็ต้องมีสูตรเคมีเข้าร่วมด้วย เช่นแร่บางอย่างเมื่อผสมกันแล้วอาจจะมีผลทางบวกหรือลบก็ได้ เรื่องพวกนี้ก็ต้องให้พวกเคมีเป็นคนดูครับผมก็จำได้คราวๆ ได้ประมาณนี้ แหละครับ...

ปุ๋ยสูตร 16

ต่างกันตรงที่ หนึ่งกระสอบคุณจะได้ธาตุสารอาหาร N-P-K เพิ่มขึ้นมาอย่างละ อีก 0.5 กิโลกรัม เพราะปุ๋ยหนึ่งกระสอบจะหนัก 50 กิโลกรัมสูตรแต่ละสูตรจะเที่ยบที่ 100 กิโลกรัม หรือ 100 % จะมี ธาตุอาหารแต่ละชนิดอยู่ 15 หรือ 16 ตามระบุไว้ข้างกระสอบ เวลานำไปใช้ในน้ำหนักเท่ากัน สูตร 16-16-16 จะได้ธาตุอาหารมากกว่า สูตร 15-15-15.

ปุ๋ยเคมีแต่ละสูตรแตกต่างกันอย่างไร

ปุ๋ยสูตรตัวเลขตัวแรกมาก เน้นบำรุงใบ กิ่ง และลำต้น โดยเฉพาะพืชผัก – ปุ๋ยสูตร ตัวเลขตรงกลางมาก เน้นบำรุงราก และการสร้างเซลล์พืช จึงควรมีสูตรปุ๋ยนี้ในทุกชนิดพืชที่ใช้ – ปุ๋ยสูตร ตัวเลขที่สามมาก เน้นบำรุงผลหรือหัว เช่น มันสำปะหลัง มันฝรั่ง อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงคือ “ช่วงเวลาที่ใส่ปุ๋ย” ต้องเหมาะสม เช่น

ปุ๋ยสูตร 16

ปุ๋ยสูตร 16-16-16 เป็นสูตรเสมอช่วยบำรุงทุกส่วนไม่ว่าจะเป็น ต้น ดอก หรือผล มีธาตุอาหารหลักในสัดส่วนที่เท่ากันคือ ไนโตรเจน 16% ฟอสฟอรัส 16% และโพแทสเซียม 16% ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ เกษตรกรนิยมเป็นอย่างมาก สามารถนำไปใช้ได้กับพืช ทุกชนิด ช่วยเสริมสร้างความพร้อมให้ทุกส่วน ของพืช ธาตุอาหารรอง

ปุ๋ยสูตร 16 ช่วยอะไร

ประโยชน์ : ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตในทุกๆส่วนของพืช เหมาะกับการใช้ในพืชที่คลอบคลุมหลากหลายชนิด ง่ายต่อการใช้ แต่ให้คุณภาพที่คุ้มค่าทั้งในด้านการเติบโตของระบบราก ลำต้น ใบ ดอก ละผลผลิตของพืช ปุ๋ยเร่งต้น เร่งใบ เร่งราก เร่งดอก ดอกสมบูรณ์ พืชที่แนะนำให้ใช้ : พืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอกและไม้ประดับ พืชผัก

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก