น้ำมันเครื่อง 10w30 กับ 15w40 ต่างกันอย่างไร

น้ำมันเครื่องสมัยนี้ มีคุณสมบัติดีกว่าเมื่อก่อนมากๆ ไม่จำเป็นต้องหนืดมาก ก็รักษาฟิล์มไว้ได้แม้ที่แรงเครียดสูงๆ

เครื่องยนต์สมัยนี้ก็สร้างด้วยเทคโนโลยีดีกว่าแต่ก่อนมาก ช่องว่างต่างๆ แคบลงเยอะครับ น้ำมันหนียวๆ ไหลยากเกินไป และเพิ่มแรงเสียดทานให้กับเครื่องยนต์ไปเปล่าๆ

ไม่จำเป็นว่าเกินแสนโลแล้วต้องเปลี่ยนมาใช้เกรดที่เหนียวกว่าเสมอไปครับ ขึ้นอยู่กับสภาพของเครื่องยนต์มากกว่า ถ้าใครดูแลดีมาตลอด จริงๆ แล้วแทบไม่มีการสึดหรอเลยด้วยซ้ำกับน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ที่ใช้ตามระยะจริงๆ

รถเก๋งเบนซินของผมอีกคัน 2 แสนโลแล้วครับ ยังฟิตแน่นเหมือนเดิม ใช้เกรดแค่ 30 น้ำมันเครื่องแทบไม่หายเลยในทุกๆ 1 หมื่นโลที่เปลี่ยน

เรื่องน้ำมันเครื่องต้องศึกษากันให้ดี ให้รู้จริง ให้รู้แท้ แล้วจะรู้ว่า เครื่องยนต์ที่พังๆ กันนั้น สาเหตุหลักๆ เลยคือเรื่องน้ำมันเครื่องครับ

 น้ำมันเครื่อง มีกี่ประเภท เลขเบอร์น้ำมันเครื่อง หมายความว่าอะไร รถเก่าควรใช้น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร วันนี้ Autospinn ได้นำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ น้ำมันเครื่อง มาฝากกัน เพื่อให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม

น้ำมันเครื่อง แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร

น้ำมันเครื่อง หรือ Engine Lubricant ถือเป็นสารหล่อลื่นที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งในกระบวนการทำงานของเครื่องยนต์ ซึ่งแน่นอนว่า ผู้ใช้รถเกือบจะทุกคนคงเคยผ่านการ ถ่ายน้ำมันเครื่อง ให้กับรถของตัวเองมาบ้าง แล้วเคยสงสัยไหมว่า น้ำมันเครื่องที่มีอยู่มากมายในท้องตลาดมันต่างกันอย่างไร และแบบไหนที่เหมาะกับรถของคุณกันแน่

 

ประเภทของน้ำมันเครื่อง

ก่อนอื่นเราต้องแบ่งแยกประเภทของน้ำมันเครื่องกันให้ได้ก่อน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด หรือจะเรียกว่า 3 เกรด

1. น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว หรือแบบพื้นฐาน

น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว หรือแบบพื้นฐานนี้ จะมีค่าความหนืดที่เหมาะสมกับอุณหภูมิเดียวตามฉลากบนแกลอน เช่น SAE 50 หรือ SAE40 ซึ่งหมายความว่าน้ำมันเครื่องชนิดนี้จะปกป้องเครื่องยนต์ได้ดีที่สุด ที่อุณหภูมิ 50 หรือ 40 องศา ตามที่ระบุไว้

ซึ่งแบบนี้จะเหมาะกับรถรุ่นเก่าๆ ที่ใช้รอบเครื่องยนต์ต่ำๆ หรือประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเรา ข้อดีคือราคาถูก แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะอายุการใช้งานสั้น

2. น้ำมันเครื่องเกรดรวม หรือ Multi Grad

น้ำมันเครื่องเกรดรวม หรือ Multi Grad เป็นน้ำมันเครื่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความหนืดได้ เช่น ในอุณหภูมิสูงก็จะมีความใส พออุณหภูมิต่ำลงก็ยังสามารถคงความข้นใสเอาไว้ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับการเลือกใช้ในทุกอุณหภูมิของเครื่องยนต์

สังเกตง่ายๆ คือจะระบุค่าความหนีดมาให้ 2 ตัว โดยมีตัวอักษร W คั่นกลาง เช่น SAE 20W50 หรือ API 15W40 เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุด หาซื้อได้ทั่วไป นิยมใช้กับรถรุ่นใหม่

 

3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์" หรือ "Synthetic"

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ หรือ "Synthetic"  คือ น้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันแร่ ซึ่งได้จากกระบวนการทางปิโตรเลี่ยม เพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าน้ำมันแร่ทั่วไป เช่น ความคงทนต่อการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ อายุการเปลี่ยนถ่ายและการใช้งานนานขึ้น มีอัตราการระเหยต่ำลดปัญหาการสิ้นเปลืองหล่อลื่น รวมถึงแบบ กึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic) ที่ผลิตจากการนำน้ำมันแร่มาผสมกับน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์เพื่อเสริมคุณสมบัติให้ดีขึ้นกว่าน้ำมันเครื่องทั่วไป และมีราคาถูกกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์

 

อักษรย่อหน้าค่าความหนืด

ส่วนเจ้าอักษรย่อหน้าค่าความหนืด นั้นคือตัวย่อของสถาบันที่ทำการทดสอบและรับรองคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ซึ่งหลักๆ แล้วจะมีอยู่ 3 สถาบัน คือ

1. API หรือ AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE ซึ่งเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัย และวางมาตราฐานเกี่ยวกับน้ำมันต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

2. SAE หรือ SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS อันนี้คือสมาคมที่ค้นคว้าวิจัยและวางหลักเกณฑ์มาตราฐานต่างๆ เกี่ยวกับรถยนต์ต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

3. ASTM หรือ AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS ซึ่งเป็นสมาคมที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทดสอบวัตถุต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งแบบนี้มีให้เห็นมากนัก

เลขเบอร์น้ำมันเครื่อง

คราวนี้ก็มาทำความเข้าใจกับตัวเลขและตัวอักษรที่เหลือว่ามันคืออะไร ซึ่งตรงนี้ควรใส่ใจเป็นพิเศษเพราะมันมีผลต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์ และมีตัวเลขให้เลือกอยู่หลายชุดยก ตัวอย่างเช่น 0W-40, 5W-40, 10W-40, 5W-50 ซึ่งตัวเลขพวกนี้มันคือ ค่าความหนืด หรือ Viscosity ของน้ำมันเครื่อง

หรือที่ศัพท์เทคนิคเรียกว่า "ค่าความต้านทานการไหล" หรือความข้นเหนียวโดยธรรมชาติที่จะแปรผันตามอุณหภูมิ เช่น เมื่อได้รับความร้อนน้ำมันจะใส และ เมื่อได้รับความเย็นน้ำมันจะข้น

โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ น้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูหนาวและน้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูร้อน โดยที่เบอร์ความหนืดของน้ำมันเครื่องในกลุ่มฤดูหนาว จะมีตัว W ซึ่งย่อมาจาก Winter ต่อท้าย ซึ่งวัดค่าความหนืดที่อุณหภูมิ -30 C ถึง - 5 C ส่วนประเภทนำ้มันเครื่องกลุ่มฤดูร้อนจะวัดค่าความหนืดที่ 100 C ได้แก่ SAE 20,30,40,50 และ 60 เบอร์ที่น้อยจะใสและเบอร์ที่มากกว่าข้นกว่า

จากนั้นมาดูว่า อันไหนเป็น น้ำมันเครื่องสำหรับดีเซลหรือเบนซิน โดยสังเกตจาก มาตรฐาน API ซึ่งถ้าเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินจะมีตัวอักษร S หรือ (Service Stations Classifications) เช่น API-SG , API-SM และ API-SN เป็นต้น แต่ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล จะใช้อักษร C หรือ (COMMERCIAL SERVICE-COMPRESSION IGNITION) เช่น CD , CE หรือ CF4

ส่วนน้ำเครื่องที่ใช้ได้กับเครื่องยนต์ทั้ง 2 ประเภท นั้นจะมีตัวอักษรกำกับอยู่ 2 ส่วน เช่น API SN/CF หมายถึงน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินมาตรฐาน SH และสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ด้วยเพราะผ่านมาตรฐาน CF แต่เหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินมากกว่าสังเกตุไม่ยากคือค่าอะไรขึ้นก่อนแสดงว่าเหมาะกับเครื่องยนต์ประเภทนั้น

เลือกน้ำมันเครื่องอย่างไร รถเก่าควรใช้น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร

ทีนี้มาถึง วิธีเลือกน้ำมันเครื่อง ที่ในบ้านเรานั้นมีเบอร์น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมอยู่หลายเบอร์ด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้กันมากได้แก่เบอร์ SAE 15W/40 และ 20W/50 ซึ่งถ้าจะเลือกใช้เบอร์ที่ต่างไปจากนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ขอให้เลือกเบอร์ความหนืดในช่วงฤดูร้อน หรือเลขตัวหลังที่เป็นเบอร์ 30 ขึ้นไป เพื่อให้ทนกับสภาพอากาศร้อนๆ ในบ้านเรา

แต่โดยหลักๆ แล้วคุณควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดที่เหมาะสมกับสภาพของเครื่องยนต์ และสภาพการใช้งานของคุณ เช่น หากรถของท่านเป็นรถใหม่ ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดใส จะช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น เช่น SAE 10W-30 เป็นต้น แต่หากรถของท่านเป็นรถเก่า มีอาการกินน้ำมันเครื่อง ถ้าจะเลือกใช้ น้ำมันเครื่องสำหรับรถเก่า ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดที่ข้นมากขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาการกินน้ำมันเครื่อง เช่น SAE 20W-50 เป็นต้น

หรือจะให้ชัวร์ ก็ควรที่จะเลือกใช้น้ำมันเครื่องตามมาตรฐานที่คู่มือกำหนด หรือไม่ก็เลือกเกรดสูงกว่า เพราะการใช้น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ได้อีกนานแสนนาน

อ้อเมื่อเลือกกันถูกแล้วก็อย่าลืมเปลี่ยนถ่ายตามกำหนดด้วยนะ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับระยะการเปลี่ยนนั้นเราจะนำมาฝากแน่นอนในครั้งต่อๆ ไป

น้ํา มัน เครื่อง 15W40 ใช้กับรถ อะไร

ปตท ไดนามิค เทอร์โบSAE15W-40 ขนาด 1 ลิตรPTT Dynamic Turbo SAE15W-40 Packed 1 Lites น้ำมันเครื่อง คุณภาพสูง เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เช่น รถปิคอัพ, รถยนต์อเนกประสงค์ MPV และ SUV ... ราคา135 บาท

10 W 30 กับ 10 W 40 ต่างกันยังไง

ยิ่งจำนวนน้อยเท่าไรก็ยิ่งไหลได้ดีเท่านั้น ดังนั้น 5W-30 จะไหลง่ายกว่า 10W-30 ที่อุณหภูมิขณะสตาร์ทและ 10W-30 จะไหลได้ง่ายกว่า 10W-40 ที่อุณหภูมิการทำงานปกติของเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากน้ำมันเครื่องจะหนาขึ้นตามธรรมชาติเมื่อเย็น และบางลงเมื่อได้รับความร้อน น้ำมันที่มีความหนืดต่ำและบางไหลได้ง่ายกว่าเพื่อ ...

10W กับ 15W ต่างกันยังไง

10W คือ ความสามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -20 องศาเซสเซียส โดยไม่เป็นไข 15W คือ ความสามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -10 องศาเซสเซียส โดยไม่เป็นไข 20W คือ ความสามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซสเซียส โดยไม่เป็นไข

ฟอร์ดเรนเจอร์ใช้น้ำมันเครื่อง 10W

ใช้น้ำมันเครื่องเบอร์30มาตลอดทั้ง10w30กับ5w30. ถ้าใช้10w30ถ่าย7-8000โลถ้า5w30ถ่ายทุก10000โลครับปั๊มน้ำมันเครื่องยังใช้แบบเดิม 130.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก