วงเงินสินเชื่อรวมที่มีในปัจจุบัน คืออะไร

ขาดสภาพคล่องทางการเงินยังมีทางออก เพียงมองหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่าง “สินเชื่อส่วนบุคคล” จากสถาบันการเงินที่เป็นธนาคารซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินบางประเภท อาทิ ธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ  

สินเชื่อส่วนบุคคล คือ วงเงินสินเชื่ออเนกประสงค์ที่ให้คุณกู้ยืมเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ ได้ตามต้องการในรูปแบบของวงเงินก้อน โดยอัตราดอกเบี้ยและรูปแบบการชำระคืนเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินเจ้าของสินเชื่อเป็นผู้กำหนด

สำหรับวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น พิจารณาตามรายประจำหรือรายได้ขั้นต่ำต่อเดือนของผู้ยื่นขอสินเชื่อ ประกอบกับความสามารถในการชำระเงิน รวมถึงประวัติการชำระหนี้ต่าง ๆ ของผู้ขอสินเชื่อ นอกจากนี้สินเชื่อส่วนบุคคลบางแห่งอาจกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า ต้องใช้บุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือไม่ต้องค้ำประกัน ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้ขึ้นอยู่กับธนาคารและสถาบันการเงินเป็นผู้กำหนด และปฎิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันผู้คนให้ความสนใจการทำสินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น เพราะตอบโจทย์วัตถุประสงค์ด้านการใช้จ่ายที่หลากหลาย เช่น การลงทุนหรือขยายธุรกิจ เพื่อการศึกษาของตนเองหรือของบุตรหลาน ชำระค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถ หรือต่อเติมที่อยู่อาศัย เป็นต้น

การขอสินเชื่อส่วนบุคคลได้รับเงินก้อน

เงินเดือนเท่าไหร่ขอสินเชื่อส่วนบุคคลได้

ปัจจุบันการขอสินเชื่อส่วนบุคคล ผู้ที่มีเงินเดือนเริ่มต้น 10,000 บาท ก็สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติผู้สมัครและฐานเงินเดือนที่สถาบันการเงินต้องการ หรือสินเชื่อส่วนบุคคลเงินเดือน15000 ก็มีให้เลือกสมัครเช่นเดียวกัน 

โดยวงเงินสินเชื่อบุคคลส่วนใหญ่ ระบุวงเงินอนุมัติไว้ที่สูงสุด 5 เท่าของรายได้ ส่วนระยะเวลาในการผ่อนชำระคืน มีตั้งแต่ภายใน 24 เดือน 36 เดือน หรือสูงสุด 60 เดือน (ขึ้นอยู่กับผู้กู้เลือกระยะเวลาในการชำระคืน) ทั้งนี้การทราบกำหนดระยะเวลาชำระสินเชื่อส่วนบุคคลที่ชัดเจน ยังช่วยให้คุณสามารถวางแผนการใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ 

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคล

สินเชื่อส่วนบุคคล ดอกเบี้ยต่ำ 2564 เป็นการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) ซึ่งมีทั้งรูปแบบของอัตราดอกเบี้ยแบบ Effective Rate หรือ Flat Rate (อัตราดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่) ขึ้นอยู่กับธนาคารและสถาบันการเงินในการกำหนด  โดยมีอัตราดอกเบี้ยเรียกเก็บอยู่ที่ประมาณ 9% - 28% ต่อปี สำหรับธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ ดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ รวมแล้วไม่เกิน 25% ต่อปี ดอกเบี้ย (อัตราต่ำสุดถึงอัตราสูงสุด) 16% - 25% ต่อปี (อ้างอิง ธนาคารแห่งประเทศไทย)

สินเชื่อส่วนบุคคลเหมาะกับใคร? 

พนักงานที่มีรายได้ประจำ

ผู้ที่มีรายได้ประจำซึ่งมีเอกสารแสดงรายรับที่ชัดเจน เช่น พนักงานบริษัท เนื่องจากสินเชื่อส่วนบุคคลนี้เป็นสินเชื่อที่ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลในการค้ำประกัน แต่ธนาคารหรือสถาบันการเงินต้องการหลักประกันที่ช่วยสร้างความมั่นใจว่า คุณสามารถรับภาระหนี้และรับผิดชอบภาระหนี้ได้ ทั้งไม่ก่อให้เกิดเป็นหนี้เสียในอนาคต 

โดยเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ประกอบการยื่นขอสินเชื่อส่วนบุคคล คือ สลิปเงินเดือน และรายการเดินบัญชี เอกสารแสดงที่มาของรายได้ 

ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการ 

กลุ่มผู้ประกอบการถือเป็นบุคคลอีกหนึ่งกลุ่มที่ยื่นขอสินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อใช้ในการลงทุน เป็นทุนหมุนเวียนค่าใช้จ่ายในด้านธุรกิจ หรือขยายกิจการ แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการที่ยื่นขอสินเชื่อ ควรประกอบธุรกิจมามากกว่า 1 ปี เพราะธนาคารหรือสถาบันการเงินจะมองเห็นรายได้ธุรกิจของคุณว่ามีความสม่ำเสมอหรือไม่ ถ้าคุณมีความมั่นใจว่าสามารถหมุนเวียนค่าใช้จ่ายและรับภาระเพิ่มเติมในส่วนนี้ สินเชื่อส่วนบุคคลถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการไม่น้อย

สนใจแหล่งเงินทุนสำรองในยามฉุกเฉิน กรอกข้อมูลที่นี่

สินเชื่อส่วนบุคคลกับบัตรกดเงินสด ต่างกันอย่างไร

เงินแบงก์หนึ่งพันบาทไทยหลายปึก

ปัจจุบันหลายคนยังคงสับสนว่า ระหว่างสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรกดเงินสดต่างกันอย่างไร เนื่องจากหลายคนมองว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั้ง 2 รูปแบบ คือชนิดเดียวกัน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ ถึงแม้สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรกดเงินสดมีความคล้ายคลึงกันแต่การใช้งานและรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างกันอย่างสิ้นเชิง

สินเชื่อส่วนบุคคล : เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาในรูปแบบเงินก้อนใหญ่ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้จ่ายเงินสดก้อนใหญ่ โดยสินเชื่อส่วนบุคคลอนุมัติวงเงินค่อนข้างสูง มีระยะเวลาในการผ่อนชำระที่แน่นอน คืออยู่ที่ 12-60 เดือน อัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ทำให้จำนวนเงินในการผ่อนชำระคืนต่องวดเท่ากันทุกงวด แถมสามารถเก็บเป็นเงินก้อนเพื่อนำมาโปะยอดหนี้ได้ 

สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต

สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตดูเหมือนจะคล้ายกัน แต่จริง ๆ แล้วนั้นมีความแตกต่างกันเล็กน้อย เรามาดูกันว่าทั้งสองอย่างแตกต่างกันอย่างไร

จุดเด่น

  • สินเชื่อส่วนบุคคล คือ สินเชื่อที่สถาบันการเงินหรือธนาคารอนุมัติให้กับพนักงาน ข้าราชการ หรือผู้ประกอบกิจการ โดยสถาบันการเงินจะโอนเงินสดเข้าบัญชีของผู้กู้ โดยให้เงินกู้ยืมอยู่ที่ 5 เท่าของรายได้ หลังจากนั้นลูกค้าสามารถนำเงินสดไปใช้
  • บัตรเครดิต คือ บัตรที่สามารถใช้แทนเงินสด โดยธนาคารหรือสถาบันที่ออกบัตรจะมอบเครดิตให้ผู้ถือบัตรได้ใช้ก่อนล่วงหน้า เพื่อไปจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน โดยมีการกำหนดวงเงินในบัตรและกำหนดวันชำระเงิน

สินเชื่อส่วนบุคคลกับบัตรเครดิตใช้งานไม่เหมือนกัน

จะเห็นได้ว่า สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตนั้นเป็นบริการด้านการเงินที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ มอบสินเชื่อหรือวงเงินให้ไปใช้ก่อน โดยที่สินเชื่อส่วนบุคคลจะจ่ายให้เป็นเงินสด ส่วนบัตรเครดิตจะเป็นการให้วงเงินเพื่อใช้ชำระสินค้าหรือค่าบริการ แต่ข้อแตกต่างระหว่างสินเชื่อบุคคลกับบัตรเครดิตคือ วัตถุประสงค์การใช้งานและเงื่อนไขการใช้งานที่กำหนดโดยสถาบันการเงินหรือธนาคารนั้น ๆ

เป็นการขอวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินหรือธนาคาร ซึ่งจะกำหนดวงเงินโดยพิจารณาจากรายได้ของผู้ยื่นขอ กรณีที่วงเงินได้รับอนุมัติ สถาบันการเงินก็จะโอนเงินเข้าบัญชีของคุณ ซึ่งเงินจำนวนนั้นสามารถนำไปใช้จ่ายได้ทันที สถาบันการเงินแต่ละแห่งจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกู้ยืมเงินจำนวนมาก เพื่อนำไปใช้จ่ายตามประสงค์ เช่น การดำเนินธุรกิจ หรือนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เป็นต้น ทั้งนี้ วงเงินสินเชื่อจะมีระยะเวลาผ่อนชำระที่ยาวกว่าบัตรเครดิต โดยอาจแบ่งเป็นงวดใหญ่ ๆ เช่น 12, 18 หรือ 24 งวด และสามารถแบ่งจ่ายแต่ละงวดเป็นจำนวนเงินเท่า ๆ กันได้ แต่ถ้าหากจ่ายหลังวันครบกำหนด ก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงสุด ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 28% ต่อปี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก