ส่วนผสม ของ กรด ที่ มี อยู่ ใน น้ำยา ล้าง ห้องน้ำ คือ ข้อ ใด

สารเคมีคือส่วนประกอบหลักของน้ำยาทำความสะอาด แม้การทำความสะอาดจะเป็นเรื่องดี  แต่เราควรอ่านฉลากเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานเสมอน้ำยาซักผ้า น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ สบู่เหลวล้างมือฆ่าเชื้อ น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ น้ำยาเช็ดกระจก และน้ำยาล้างจาน มีส่วนประกอบของสารลดแรงตึงผิว ทำหน้าที่ลดแรงตึงผิวระหว่างน้ำและคราบมัน น้ำจะเข้าไปจับและรวมตัวกับคราบมัน ทำให้สามารถชะล้างออกด้วยน้ำได้ นั่นเป็นสาเหตุให้เสื้อผ้าสะอาดหลังซักด้วยน้ำยาซักผ้า เพราะน้ำยาซักผ้าเข้าไปจับสิ่งสกปรกที่อยู่ในรูปของแข็งและของเหลว แล้วจึงชะล้างออกไปพร้อมกับน้ำนั่นเอง  

สารที่เป็นกรด
น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นกรดมักใช้กำจัดสิ่งสกปรกอนินทรีย์ เช่น สนิม ส่วนประกอบหลักของน้ำยาทำความสะอาดประเภทนี้คือ กรดแร่เข้มข้นและคีแลนต์ (Chelant) นอกจากสารเคมีที่เป็นกรดแล้ว ยังมักเติมสารลดแรงตึงผิวและสารป้องกันสนิมลงไปด้วย

กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) คือหนึ่งในกรดแร่ที่พบบ่อยในน้ํายาทําความสะอาด มักใช้กับพื้นผิวที่ทนทาน เช่น คอนกรีต น้ำส้มสายชูก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สามารถใช้ทำความสะอาดพื้นผิวที่ทนทาน กำจัดคราบตะกอน ฆ่าเชื้อแบคทีเรียบ และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีกรดซัลฟิวริก (กรดกำมะถัน) ที่เป็นส่วนผสมของน้ำยาทำความสะอาดท่อแบบกรดสำหรับล้างท่อตัน โดยทำหน้าที่สลายคราบมัน โปรตีน ไขมันที่จับตัวเป็นก้อน หรือสารประกอบคาร์โบไฮเดรต เช่น กระดาษชำระ เป็นต้น

สารที่เป็นด่าง
สารเคมียืนพื้น เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโพแทสเชียมไอดรอกไซด์ มักถูกใช้ในน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นด่าง น้ำยาทำความสะอาดแบบด่างที่พบบ่อยคือ น้ำยาฟอกขาว (pH 12) และแอมโมเนีย (pH 11) นอกจากนี้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นด่างยังมักผสม สารกระจายคราบน้ำมัน (Dispersant) เพื่อป้องกันไม่ให้คราบสกปรกเกาะวัตถุอีกครั้ง รวมทั้งเติมคีแลนต์เพื่อกำจัดสนิม น้ํายาทําความสะอาดที่เป็นด่างยังสามารถขจัดคราบมัน น้ำมัน และคราบอื่น ๆ ที่เกิดจากโปรตีนได้

อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำยาทำความสะอาดที่ผสมแอมโมเนียเข้มข้นตั้งแต่ 3% ขึ้นไปในบริเวณที่อากาศไม่ถ่ายเท อาจทำให้ผู้ใช้ได้รับสารอันตรายระหว่างการใช้งานมากเกินขอบเขตปริมาณที่ปลอดภัย งานวิจัยบางชิ้นได้ระบุว่า การทำความสะอาดบ้านด้วยแอมโมเนียและน้ำยาฟอกขาว อาจทำให้เนื้อเยื่อปอดเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ และทำลายสุขภาพปอด

ซัลเฟต
ซัลเฟต คือส่วนประกอบหลักในน้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาซักผ้า ทำหน้าที่สร้างฟอง สามารถแตกตัวคราบมันและสิ่งสกปรก พร้อมชะล้างให้หลุดไปกับน้ำ ซัลเฟตที่ใช้บ่อยในน้ำยาทำความสะอาด ได้แก่  โซเดียมลอเรธซัลเฟต (SLES) โซเดียมลอริลซัลเฟต (SLS) หรือ แอมโมเนียมลอเรธซัลเฟต (ALS) และยังใช้บ่อยในแชมพู น้ำยาล้างจาน สบู่ล้างมือ และสบู่ล้างหน้า แต่ซัลเฟตอาจทำให้ผิวหนังคันและระคายเคือง

ไตรโคลซาน
ไตรโคลซาน หรือ ไตรโคลคาร์บาน มักถูกใช้เป็นสารต้านแบคทีเรียในน้ำยาทำความสะอาด เช่น เจลแอลกอฮอล์ล้างมือฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย เครื่องสำอาง และสบู่เหลวล้างมือ แม้การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความความสะอาดร่างกายจะมอบสุขอนามัยที่ดี แต่การใช้มากเกินจำเป็นอาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ

อันตรายต่อสุขภาพจากสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของนำ้ยาทําความสะอาดนั้นแตกต่างกันออกไป บางประเภทอาจก่อให้เกิดอันตรายเฉียบพลัน เช่น ระคายเคืองผิวหนังและระบบทางเดินหายใจ น้ำตาไหล แสบร้อน หรือปัญหาสุขภาพเรื้อรังระยะยาว เช่น มะเร็ง นอกจากนี้ น้ำหอมที่เติมลงน้ำยาทำความสะอาดอาจระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ทำให้ปวดหัว จาม หรือน้ำตาไหลในผู้ที่แพ้ เป็นหอบหืด หรือไวต่อน้ำหอม

ระวังให้ดี น้ำยาทำความสะอาดเหล่านี้ไม่ควรใช้ร่วมกัน เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากบังเอิญผสมไปโดยไม่ได้ตั้งใจ

น้ำยาทำความสะอาดบ้านมีหลายชนิด แต่เนื่องจากบางทีใช้เวลาเยอะ หรือต้องทำความสะอาดหลาย ๆ รอบกว่าคราบจะหมดไป โดยเฉพาะร่องยาแนวในห้องน้ำ เลยคิดจะใช้ทางลัดด้วยการนำน้ำยาล้างห้องน้ำมาใช้ผสมกับน้ำยาฟอกผ้าขาว จนได้รับอัตรายจากสารพิษจากน้ำยาเหล่านั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยวันนี้กระปุกดอทคอมขอรวม 13 น้ำยาทำความสะอาดที่ไม่ควรใช้ด้วยกัน หรือนำน้ำยาทำความสะอาดเหล่านี้มาผสมกัน เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดอันตรายถึงชีวิต ในขณะเดียวกันอาจจะทำให้ประสิทธิภาพของน้ำยาทำความสะอาดลดลง

1. น้ำยาล้างห้องน้ำและน้ำยาฟอกผ้าขาว

น้ำยาล้างห้องน้ำมีฤทธิ์เป็นกรด เมื่อนำมาผสมกับน้ำยาฟอกผ้าขาว จะเกิดเป็นก๊าซคลอรีนและสารพิษที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา จมูก และลำคอ รวมถึงการไอและหายใจติดขัด นอกจากนี้ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้อย่างที่เห็นในข่าวก่อนหน้านี้

2. เบกกิ้งโซดาและน้ำส้มสายชู

ทั้งเบกกิ้งโซดาและน้ำส้มสายชู ต่างก็เป็นตัวช่วยในการทำความสะอาดที่ยอดเยี่ยมแถมราคาประหยัด แต่อย่างไรก็ตามเป็นไม่ควรนำมาผสมกันโดยเด็ดขาด เพราะเบกกิ้งโซดามีค่าเป็นด่าง ส่วนน้ำส้มสายชูมีสภาพเป็นกรด เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดโซเดียม อะซเตด น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีสถานะเป็นก๊าซ แม้จะไม่ได้เป็นพิษและมีอันตรายมากนัก แต่ก็จะทำให้เกิดฟองฟู่ และหากนำไปเก็บไว้ในภาชนะปิดก็อาจจะปะทุขึ้นมาได้

3. ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และน้ำส้มสายชู

ส่วนผสมทั้งสองเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็เพียงพอสำหรับการเป็นน้ำยาทำความสะอาดและช่วยฆ่าเชื้อโรคได้แล้ว แต่หากนำมาผสมกันจะเกิดเป็นกรดพาราเซติก (Paracetic Acid) ที่พิษและก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ดวงตา และระบบทางเดินหายใจได้ อีกทั้งยังมีฤทธิ์เป็นกรดกัดกร่อนพื้นผิววัสดุอีกด้วย

4. แอมโมเนียและน้ำยาฟอกผ้าขาว

โดยปกติแล้วทั้งแอมโมเนียและน้ำยาฟอกผ้าขาว เป็นสารทำความสะอาดที่คนทั่ว ๆ ไปใช้กันอยู่แล้ว แต่ไม่แนะนำให้นำมาผสมกันโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดก๊าซพิษที่ชื่อว่า คลอรามีน (Chloramine) ซึ่งทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา จมูก และลำคอได้ หรือหากรุนแรงกว่านั้นก็อาจจะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ไอ และอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

นอกจากนี้หากจะใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของสารฟอกขาวในการทำความสะอาด ก็ควรสวมถุงมือและแว่นตาป้องกันไว้ พร้อมทั้งอ่านวิธีใช้บนฉลากขวดก่อนทุกครั้ง

5. รับบิ้งแอลกอฮอล์และน้ำยาฟอกผ้าขาว

รับบิ้งแอลกอฮอล์ (Rubbing Alcohol) หรือแอลกอฮอล์ที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของ หากนำมาผสมกับน้ำยาฟอกผ้าขาว ที่มีโซเดียมไฮโปคลอไรต์ (Sodium Hypochlorite) จะสร้างคลอโรฟอร์ม (Chloroform) ที่มีกลิ่นฉุน หากสูดดมเข้าไปแม้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้เกิดอาการเวียนหัว คลื่นไส้ หมดสติ หรือถึงแก่ชีวิตได้ หากมีสารชนิดนี้เข้าไปสะสมในร่างกายปริมาณมาก นอกจากนี้ไม่ควรนำรับบิ้งแอลกอฮอล์ไปผสมกับน้ำยาทำความสะอาดบ้านชนิดอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาเช็ดกระจกหรือน้ำยาล้างห้องน้ำ

6. น้ำส้มสายชูและน้ำยาฟอกผ้าขาว

แม้ว่าการรวมกันของส่วนผสมของน้ำส้มสายชูและน้ำยาฟอกผ้าขาว ดูเหมือนจะเป็นคู่หูทำความสะอาดที่ยอดเยี่ยม แต่หากนำมาใช้ด้วยกันละก็ จะเกิดก๊าซคลอรีน (Chlorine Gas) ที่มีกลิ่นฉุน ซึ่งจะทำให้รู้สึกแสบร้อนในตา จมูก และลำคอ นอกจากนี้ยังอาจทำให้รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจลำบาก และทำให้เกิดอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนได้

7. น้ำยาล้างท่อระบายน้ำต่างยี่ห้อ

บ่อยครั้งที่ใช้น้ำยาล้างท่อระบายน้ำยี่ห้อหนึ่งไปแล้ว ท่อก็ยังอุดตันอยู่ดี หลายคนจึงเลือกที่จะใช้น้ำยาล้างท่อยี่ห้อใหม่ และหวังว่ามันจะเพิ่มพลังการกำจัดสิ่งสกปรกที่คงค้างอยู่ในท่อให้หลุดออกไป ซึ่งนั่นเป็นวิธีที่ผิดและอันตราย เพราะน้ำยาทำความสะอาดท่อระบายน้ำแต่ละยี่ห้อมีส่วนผสมที่ต่างกัน หากนำมาใช้ด้วยกันจะทำให้เกิดก๊าซคลอรีน และอาจทำให้เกิดการระเบิดได้

8. น้ำยาขจัดคราบเชื้อราและน้ำยาฟอกผ้าขาว

น้ำยาขจัดคราบเชื้อราทั่วไปมักมีฤทธิ์เป็นกรด คล้ายกับน้ำส้มสายชู ซึ่งเมื่อรวมกับน้ำยาฟอกผ้าขาว จะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีและเกิดเป็นก๊าซคลอรีนที่เป็นอันตราย พร้อมทั้งยังก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตา จมูก คอ และปอดได้

9. น้ำยาล้างจานและน้ำยาฟอกผ้าขาว

น้ำยาล้างจานบางยี่ห้อที่มีขายในท้องตลาด มักจะมีส่วนผสมของแอมโมเนีย เพื่อเพิ่มพลังการทำขจัดคราบสกปรก ทำให้ล้างจานได้สะอาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากนำมาใช้ร่วมกับน้ำยาฟอกผ้าขาว จะเกิดปฏิกิริยาเคมีและก๊าซพิษที่อาจะเป็นอันตรายกับร่างกายได้

10. ผงซักฟอกและน้ำยาฆ่าเชื้อโรค

หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่า การผสมน้ำยาฆ่าเชื้อโรคลงไปในผงซักฟอก จะช่วยทำให้เสื้อสะอาดปราศจากเชื้อโรคอันตรายได้ดีการใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จริง ๆ แล้วให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม เพราะน้ำยาฆ่าเชื้อจำหมดประสิทธิภาพและไม่สามารถช่วยกำจัเชื้อโรคได้อย่างที่คิด

11. น้ำยาเช็ดกระจกและน้ำยาฟอกผ้าขาว

น้ำยาเช็ดกระจกบางยี่ห้อมีส่วนผสมของแอมโมเนีย ซึ่งเมื่อนำมาผสมกับน้ำยาฟอกผ้าขาว ซึ่งมีโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (Sodium Hypochlorite) เป็นส่วนผสมหลัก จะเกิดเป็นก๊าซพิษคลอรามีน ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายนั่นเอง

12. น้ำยาล้างท่อระบายน้ำและน้ำยาฟอกผ้าขาว

การผสมน้ำยาทำความสะอาดท่อระบายน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรดร่วมกับน้ำยาฟอกผ้าขาว จะทำให้เกิดก๊าซคลอรีน ซึ่งเป็นอันตรายต่อดวงตา จมูก และปอดได้ ถ้าไม่อยากเสี่ยงอันตรายก็เลี่ยงเลยดีกว่า

13. ใช้น้ำยาทำความสะอาดหลายยี่ห้อ

เพราะส่วนผสมในน้ำยาทำความสะอาดแต่ละยี่ห้ออาจจะแตกต่างกัน บางชนิดเมื่อผสมกันแล้ว ไม่เกิดอันตรายแต่ก็ลดประสิทธิภาพในการทำงานลง และบางชนิดก็ทำให้เกิดการระคายเคืองและเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดนสารพิษ

หากบังเอิญนำน้ำยาทำความสะอาดเหล่านี้มาใช้ด้วยกัน ทำตามขั้นตอน ดังนี้

  • เปิดน้ำสะอาดล้างบริเวณผิวที่สัมผัสกับสารเคมีทันที
  • รีบเปิดหน้าต่างหรือประตูเพื่อระบายอากาศ แทนที่ก๊าซพิษด้วยอากาศบริสุทธิ์
  • รีบออกจากบริเวณนั้นโดยเร็วที่สุด

นอกจากนี้ยังควรสังเกตอาการของตัวเอง หากมีอาการผิดทางร่างกาย เช่น หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือระคายเคืองที่ผิวหนัง ควรรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยด่วน

ทั้งนี้การใช้น้ำยาทำความสะอาด สิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญคือ ศึกษารายละเอียด วิธีใช้ คำเตือน และข้อควรระวังที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์ให้ถี่ถ้วนก่อนใช้ และวิธีที่ดีที่สุดในการใช้งานน้ำยาทำความสะอาดคือ ไม่ควรผสมสารเคมีอื่น ๆ โดยไม่จำเป็น และสวมใส่ถุงมือป้องกันทุกครั้งเมื่อใช้น้ำยาดังกล่าว เพื่อป้องกันการไหม้ของสารเคมีหรือการระคายเคืองที่อาจเกิดขึ้นกับผิวหนังได้

ความสะอาด เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและเอาใจใส่เป็นอย่างมาก การใช้น้ำยาทำความสะอาด ร่วมกับส่วนผสมต่าง ๆ ก็ควรระมัดระวังด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อความปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายกับร่างกายนะคะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก