จุลชีววิทยา เรียนเกี่ยวกับอะไร

เรียนจบคณะวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา จุลชีววิทยา หางานยากหรือง่าย ไปทำงานด้านไหนได้บ้างครับ

อยากได้ข้อมูลจากรุ่นพี่ บัณฑิต สาขาชีววิทยา จุลชีววิทยา ว่าจบแล้วหางานด้านไหนได้บ้าง หาง่ายหรือยาก เท่าที่ทราบไปเป็น

อาจารย์ในโรงเรียน สอนม.ต้น ม.ปลาย ก็เยอะ ทางอื่นไปทางไหนครับ การเติบโตในสายงาน มาก น้อยเพียงใด ขอบคุณครับ

0

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

  • รายละเอียด
  • คุณสมบัติ
  • แผนการศึกษา

หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

ชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย:  วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา
     ภาษาอังกฤษ:  Bachelor of Science Program in Microbiology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย):    วิทยาศาสตรบัณฑิต (จุลชีววิทยา)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย):     วท.บ. (จุลชีววิทยา)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Science (Microbiology)   
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): B.Sc. (Microbiology)

วิชาเอกของหลักสูตร/แขนงวิชา
-ไม่มี-

จุดเด่นของหลักสูตร      
     หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา มีจุดเด่นในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้านจุลชีววิทยาทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่ต้องการของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และโรงงานอุตสาหกรรมในภาคเอกชน โดยจากผลสำรวจพบว่า อัตราการได้งานทำของนิสิตสาขาจุลชีววิทยามากกว่าร้อยละ 90 ทุกปี

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักวิทยาศาสตร์ด้านจุลชีววิทยา
  2. นักตรวจสอบคุณภาพวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยา
  3. นักวิจัย ผู้ช่วยวิจัยของภาครัฐและเอกชนหรือในสถานประกอบการอื่นๆ
  4. เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา
  5. เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ       
  6. ผู้แทนขายด้านจุลชีววิทยา

  1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญโปรแกรมที่เน้นวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือเทียบเท่า
  2. มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามประกาศของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

      

สวัสดีค่ะ หลังจากที่ พี่แป้ง ได้พยายามตะกุยตะกายหาข้อมูลเกี่ยวกับ "จุลชีววิทยา" มาฝากน้องๆ พร้อมทั้งเรื่องราวประสบการณ์ชีวิตในรั้วและนอกรั้วมหาวิทยาลัยไปแล้ว พี่แป้ง เลยจะมาเก็บตกข้อสงสัยที่น้องๆ ถามมาจ้า

.

Q : สาขาวิชา จุลชีววิทยา คืออะไร อยู่ในสังกัดคณะใด?
A : สาขาวิชาจุลชีววิทยาเป็นอีกหนึ่งสาขาที่อยู่ใน คณะวิทยาศาสตร์ เรียกง่ายๆ ว่าแตกภาคออกมาจากสาขาวิชาชีววิทยาที่มีความกว้างมากเกินไป ให้เหลือขอบเขตเพียงแค่ "จุลชีววิทยา" ที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่าค่ะ

Q : ในการเรียนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาจุลชีววิทยาเรียนทั้งหมดกี่ปี?
A :สาขาวิชาจุลชีววิทยาเรียน 4 ปี พอดิบพอดีค่ะ ไม่มีการบวกเพิ่ม เว้นแต่ว่าจะลงทะเบียนเรียนไม่ครบตาม หรือ ต้องมีการแก้ การดรอป เพราะบางวิชาเปิดเพียงปีล่ะหนึ่งครั้ง ถ้าพลาดก็ต้องรออีกปีนึงเลยค่ะ

Q : สาขาวิชาจุลชีววิทยา เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง?
A : การเรียนสาขาวิชาจุลชีววิทยา จะ เรียนเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งก็คือ "จุลินทรีย์" เช่น เช่น แบคทีเรีย โปรโตซัว ไวรัส เชื้อรา สาหร่าย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเรื่องอื่นๆ เรียกง่ายๆ ว่า เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีอยู่มากมายรอบตัวเราที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ รวมทั้งศึกษาสภาวะการเจริญของเชื้อต่างๆ  ลักษณะของสารพันธุกรรม  ลักษณะภายนอกของเชื้อ (morphology) ลักษณะการใช้อาหารและการผลิตสารต่างๆ (Physiology)  โดยความรู้ที่ได้สามารถต่อยอดได้หลายแขนง เพราะจุลินทรีย์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์เราอยู่แล้ว เหมือนเป็นสายวิทยาศาสตร์ที่อยู่เคียงคู่สายแพทย์ศาสตร์นั่นเองค่ะ


Q : ในส่วนของการเรียนภาคทฤษฎี จะต้องมีการจำชื่อเฉพาะเยอะหรือไม่?

A : การจำชื่อเฉพาะนั้น มีเยอะอยู่แล้วค่ะ หลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอนเพราะจะเป็นชื่อเชื้อ ชื่อแบคทีเรีย ชื่อสาร ชื่ออุปกรณ์ แต่พี่ๆ ภาคจุลชีววิทยาก็บอกมานะคะว่า ไม่ต้องกลัวเลยกับการจำชื่อ เพราะว่าเราจะต้องเรียนและมันจะคุ้นไปเองค่ะ ขอแค่อย่าสับสน ส่วนเทคนิคตอนเรียนคือจะช่วยกันจำและแบ่งประเภทของชื่อเฉพาะออกเป็นหมวดๆ เพื่อง่ายในการจดจำค่ะ

.
Q : ส่วนหนึ่งของการเรียน คือ การทำแล็บ อยากทราบว่าการทำแล็บมีอะไรบ้าง?
A : ในการทำแล็บนั้น จะมีขั้นตอนที่คล้ายๆ กันแต่จะต่างกันตรงที่วัตถุดิบและส่วนประกอบในการทำการทดลองแต่ละครั้งต่างกัน เริ่มแรกเลยต้องทำการติดต่อห้องปฏิบัติการ(ห้องทดลอง)ก่อน เมื่อถึงเวลาใช้ห้อง ต้องทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย พร้อมทั้งแต่งตัวให้เรียบร้อย ในการทำแบจะต้องมีการจดบันทึกทั้งก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลอง เพื่อนำข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดออกจากห้องปฏิบัติการ ส่วนรายละเอียดแนะนำไปเลยที่ คู่มือห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล)

Q : ในการทำแล็บจะต้องมีการเก็บข้อมูลข้ามคืนหรือไม่?
A : มีค่ะ แล้วแต่ว่าจะต้องทำการเฝ้าตรวจตลอดหรือสามารถปล่อยทิ้งไว้ได้ แต่ละการทดลองจะมีความแตกต่างกัน คือ ถ้าเป็นพวกเก็บการเจริญเจอแน่นอน เพราะว่าเราต้องคอยดูการเจอเติบโตของเชื้อที่เราทำการทดลองค่ะ แต่ถ้าเป็นอย่างอื่นก็อาจจะมีการปล่อยทิ้งไว้โดยเข้ามาดูเป็นระยะๆ ได้ เช่น ทุก 4 ชั่วโมง หรือ ทุก 6 ชั่วโมงค่ะ แต่ว่าอยู่ที่การบริหารจัดการเวลาของผู้เรียนนะคะว่าจะบริหารเวลาให้เป็นแบบไหน รุ่นพี่บางคนก็ไม่เคยเจอการทดลองที่นั่งเฝ้าเชื้อทั้งคืน เพราะตื่นมาทำการทดลองตั้งแต่ 6 โมงเช้าค่ะ

Q : วิชาเด่น ๆ ของสาขาวิชาจุลชีววิทยา มีวิชาอะไรบ้าง?
A : ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า ส่วนใหญ่นักศึกษาภาควิชานี้จะเป็นผู้ที่ชื่นชอบวิชาชีววิทยาเป็นเดิมทุน เมื่อถามรุ่นพี่ทุกคนถึงวิชาที่ปราบเซียน ทุกคนจึงตอบเป็นเสียงเดียวเลยว่า "เคมี" ไม่ว่าจะเป็นเคมีแบบไหนก็ตาม แต่เมื่อถามถึงวิชาที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง ก็มีหลายตัวเลยค่ะ เช่น จุลชีววิทยาทั่วไป (General Microbiology)เรียนเป็นพื้นฐานครอบจักรวาลของจุลชีววิทยาเลยค่ะ ส่วนวิชาอื่นก็เช่น วิทยาไวรัส (Virology), วิทยาเห็ดรา (Mycology), โรคพืช (Plant Pathology), จุลชีววิทยาทางอาหาร (Food Microbiology) เป็นต้นค่ะ

Q : เรียนสาขาวิชาจุลชีววิทยา จบแล้ว สามารถประกอบอาชีพใดได้บ้าง?
A :อาชีพทางจุลชีววิทยามีความหลากหลายมาก ขอยกตัวอย่างเช่น

  • เจ้าหน้าที่จุลชีววิทยา
  • พนักงานควบคุมคุณภาพน้ำ
  • นักวิทยาศาสตร์จุลชีววิทยา
  • จนท.วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์     
  • ประกันคุณภาพ(QA Sup.)     
  • ผู้แทนขายผลิตภัณฑ์ทางจุลชีววิทยา
  • Microbiologist
  • เจ้าหน้าที่ห้องปฎิบัติการจุลชีววิทยา     
  • งานห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา     

ถ้าอยากรู้เพิ่มเติม เข้าไปเลยที่ จบแล้วทำงานอะไร

Q : โอกาสในการหางานมีมากน้อยแค่ไหน?
A :ในการทำงานนั้นต้องบอกว่างานทางสาขาวิชาจุลชีววิทยามีเยอะมาก แต่ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่นำความรู้มาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ โอกาสนั้นอยู่ที่จะไขว่คว้าเพียงใด โดยอาชีพก็มีหลากหลาย เช่น เจ้าหน้าที่จุลชีววิทยา ประจำโรงงานหรือโรงพยาบาล, พนักงานควบคุมคุณภาพน้ำ, จนท.วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์, เจ้าหน้าที่ห้องปฎิบัติการจุลชีววิทยา เป็นต้น อยู่ที่ความสามารถของแต่ละคนนะคะ แต่พอสมัครงานได้แล้ว ทางหน่วยงานนั้น ๆ ก็จะมีการอบรมอีกรอบค่ะ

Q : เรียนปริญญาตรีจบแล้ว สามารถเรียนต่อปริญญาโทได้หรือไม่?
A : เรียนต่อได้ค่ะ โดยเมื่อจบปริญญาตรีสาขาวิชาจุลชีววิทยาแล้วสามารถเรียนต่อระดับปริญญาโทได้ค่ะ โดยมีเปิดเป็นสาขาตรงของจุลชีววิทยาอยู่หลายสถาบันยังไงน้องๆ รอดูนะคะ แต่รับประกันได้เลย เรียนต่อได้ชัวร์ ๆ

       ตอนนี้ก็ปิดจ๊อบเป็นที่เรียบร้อยแล้วเน้อ พี่แป้ง หวังว่าน้องๆ คงได้รับความรู้ไปไม่มากก็น้อยเพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าจะเรียนดีหรือเปล่า? ตอนเลือกก็สามารถเปลียนเทียบกับคณะอื่นๆ ได้ มีคณะในเลือกมากมายเลยค่ะ ลองเข้าไปศึกษากับดูนะคะ คลิกที่นี่

.

  

    

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก