ข้อใดคือสื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ interactive multimedia

              ความรู้เบื้องต้นสื่อมัลติมีเดีย

 
สื่อมัลติมีเดีย มีผู้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้
          สื่อมัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพเสียง และวีดิทัศน์ (Jeffcoate. 1995)

          สื่อมัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวิดีทัศน์ เป็นต้น ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) (Vaughan. 1993)

          สื่อมัลติมีเดีย คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความสีสรร ภาพกราฟิก (Graphic images) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพยนตร์วีดิทัศน์ (Full motion Video) ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจากผู้ใช้คีย์บอร์ด (Key board) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) (Hall. 1996)

          ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของสื่อมัลติมีเดียได้ว่า สื่อมัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น การใช้สื่อมัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่างๆ ด้วยตนเองได้สื่อต่างๆ ที่นำมารวมไว้ในสื่อมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

ข้อมูลอ้างอิง

//yalor.yru.ac.th/~sirichai/4123617/slide/chapter1.pdf

บทบาทมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา 
//www.bmaeducation.in.th/content_view.aspx?con=985


สื่อมัลติมีเดีย มีผู้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้

           สื่อมัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยข้อความ ฐานข้อมูลตัวเลข กราฟิก ภาพเสียง และวีดิทัศน์ (Jeffcoate. 1995)
           สื่อมัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ (Text) ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง (Audio) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวิดีทัศน์ เป็นต้น ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) (Vaughan. 1993)
           สื่อมัลติมีเดีย คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความ (Text) ภาพกราฟิก (Graphic images) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Audio) และภาพยนตร์วีดิทัศน์ (Full motion Video) ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจากผู้ใช้คีย์บอร์ด (Key board) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) (Hall. 1996)
          ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของสื่อมัลติมีเดียได้ว่า สื่อมัลติมีเดีย คือ  การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์(Interactive Multimedia) การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น การใช้สื่อมัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรมรวมถึงดูสื่อต่าง ๆ ด้วยตนเองได้สื่อต่างๆ ที่นำมารวมไว้ในสื่อมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น


ภาพเคลื่อนไหว (Animation)

         ภาพเคลื่อนไหว (Animation) หมายถึง  ภาพเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้นโดยการนำภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพมาฉายต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง ทำให้เกิดภาพลวงตาของการเคลื่อนไหว โดยปกติความเร็วของภาพเคลื่อนไหวจะฉายด้วยความเร็วที่ต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของการแสดงผล (Output) โดยถ้าฉายเป็นภาพยนตร์จะฉายด้วยความเร็ว 24 เฟรมต่อวินาที ถ้าถ่ายทอดในระบบ PAL จะฉายด้วยความเร็ว 25 เฟรมต่อวินาที แต่ในระบบ NTSC จะฉายด้วยความเร็ว 29.97 หรือ 30 เฟรมต่อวินาที


ประเภทของภาพเคลื่อนไหว แบ่งได้ 2 ประเภท  
        1. 2D Animation คือ ภาพเคลื่อนไหวแบบ 2 มิติ มองเห็นได้ทั้งความสูงและความกว้าง ซึ่งจะมีความเหมือนจริงพอสมควรและการสร้างจะไม่สลับซับซ้อนมากนัก เช่น ภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฏตามเว็บต่างๆ รวมทั้ง Gif Animation

 

        2. 3D Animation คือ ภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ มองเห็นได้ทั้งความสูง ความกว้าง และความลึก ภาพที่เห็นจะมีความสมจริงมากถึงมากที่สุด เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Julastik World เป็นต้น

รูปแบบของภาพเคลื่อนไหวมี 3 แบบ
        1. Traditional Animation หรือ Hand Drawing Animation หรือ 2D Animation คือ ภาพเคลื่อนไหวที่เกิดจากการวาดภาพที่ละภาพหลาย ๆ พันภาพ และฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องโดยใช้เวลาไม่กี่วินาที เช่น 1 วินาทีใช้รูป 24 เฟรม เป็นภาพเคลื่อนไหว สมัยแรกเริ่มที่มักจะใช้การวาดด้วยมือ งานประเภทนี้พบเห็นได้ทั่วไปในการทำภาพเคลื่อนไหวยุคแรก ๆ ซึ่งใช้เทคนิคการวาดด้วยมือทีละแผ่น ข้อดีของการทำภาพเคลื่อนไหวชนิดนี้คือ มีความเป็นศิลปะ สวยงาม น่าชม แต่มีข้อเสียคือ ต้องใช้เวลาในการผลิตมากต้องใช้ผู้สร้างภาพเคลื่อนไหวจำนวนมากและต้นทุนการผลิตสูง

        2. Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation ภาพเคลื่อนไหวประเภทนี้ ผู้สร้างภาพเคลื่อนไหวต้องเข้าไปทำการเคลื่อนไหวโดยตรงกับแบบจำลอง (Model) และทำการถ่ายภาพเอาไว้ทีละเฟรม ๆ  แบบจำลองนี้อาจจะเป็นของเล่นหรืออาจจะสร้างจากดินน้ำมันการทำ Stop Motion นี้ต้องอาศัยเวลาและความทุ่มเทมาก 

        3. Computer Animation เป็นภาพเคลื่อนไหวที่มักพบกันได้บ่อยในยุคปัจจุบัน เนื่องจากการใช้โปรแกรมเป็นไปได้ง่ายและมีการนำหลักการแบบ 2D เข้ามาผสมผสานกับตัวโปรแกรม ซึ่งทำได้ง่ายและสะดวกในการแก้ไขและการแสดงผลปัจจุบันมีซอฟแวร์ต่าง ๆ ที่สามารถช่วยในการทำภาพเคลื่อนไหวเช่น โปรแกรม 3DS Max, Maya,Adobe flash เป็นต้นวิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาและลดต้นทุนการผลิตเป็นอย่างมาก จึงเป็นชนิดที่นิยมทำกันมาก  



        3.1 ง่ายต่อการใช้งาน
               โดยส่วนใหญ่เป็นการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มผล ผลิต ดังนั้นผู้พัฒนาจึงจำเป็นต้องมีการจัดทำให้มีรูปลักษณ์ที่เหมาะสม และง่ายต่อการใช้งานตามแต่กลุ่มเป้าหมายเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น การใช้งานสื่อมัลติมีเดียโปรแกรมการบัญชี

        3.2 สัมผัสได้ถึงความรู้สึก
               สิ่งสำคัญของการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานก็คือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกจากการสัมผัสกับวัตถุที่ปรากฏอยู่บนจอภาพ ได้แก่ รูปภาพ ไอคอน ปุ่มและตัวอักษร เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึงตามความต้องการ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้คลิกที่ปุ่ม Play เพื่อชมวิดีโอและฟังเสียงหรือแม้แต่ผู้ใช้คลิกเลือกที่รูปภาพหรือตัวอักษรเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ เป็นต้น

        3.3 สร้างเสริมประสบการณ์
               การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านมัลติมีเดีย แม้ว่าจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันตามแต่ละวิธีการแต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้จะได้รับก็คือ การสั่งสมประสบการณ์จากการใช้สื่อเหล่านี้ในแง่มุมที่แตกต่างกันซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงวิธีการใช้งานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ตัวอย่าง เช่น ผู้ใช้ได้เคยเรียนรู้วิธีการใช้ปุ่มต่าง ๆ เพื่อเล่นเกมบนคอมพิวเตอร์มาก่อนและเมื่อได้มาสัมผัสเกมออนไลน์ใหม่ๆก็สามารถเล่นเกมออนไลน์ได้อย่างไม่ติดขัด

        3.4 เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้
               สืบเนื่องจากระดับขีดความสามารถของผู้ใช้แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับการสั่งสมมา ดังนั้น การนำสื่อมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตัวอย่าง เช่น การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการเล่นจากระดับที่ง่ายไปยังระดับที่ยากยิ่ง ๆ ขึ้นไป

        3.5 เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น
               ด้วยคุณลักษณะขององค์ประกอบของมัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นข้อความหรือตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวเสียงและวิดีโอ สามารถที่จะสื่อความหมายและเรื่องราวต่าง ๆ ได้แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอ กล่าวคือหากเลือกใช้ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว การสื่อความหมายย่อมจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการเลือกใช้ข้อความหรือตัวอักษร ในทำนองเดียวกัน หากเลือกใช้วิดีโอ การสื่อความหมายย่อมจะดีกว่าเลือกใช้ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ดังนั้น ในการผลิตสื่อผู้พัฒนาจำเป็นต้องพิจารณาคุณลักษณะให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ตัวอย่าง เช่น การผสมผสานองค์ประกอบของมัลติมีเดียเพื่อบรรยายบทเรียน

        3.6 คุ้มค่าในการลงทุน
               การใช้โปรแกรมด้านมัลติมีเดียจะช่วยลดระยะเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินทาง การจัดหาวิทยากร การจัดหาสถานที่การบริหารตารางเวลาและการเผยแพร่ช่องทางเพื่อนำเสนอสื่อ เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ได้หักค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนไปแล้วก็จะส่งผลให้ได้รับผลตอบแทนความคุ้มค่าในการลงทุนในระยะเวลาที่เหมาะสม

        3.7 เพิ่มประสิทธิผลในการเรียนรู้
               การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้านมัลติมีเดียจำเป็นต้องถ่ายทอดจินตนาการจากสิ่งที่ยากให้เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการรับรู้และเข้าใจด้วยกรรมวิธีต่างๆ นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานแล้ว ผู้ใช้ยังได้รับประโยชน์และเพลิดเพลินในการเรียนรู้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ (User) ออกแบบและสร้างเว็บเพ็จ (Web Page) ด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver หรือผู้ใช้กำลังศึกษาสารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม



         4.1 โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นโปรแกรมถูกออกแบบและพัฒนาให้มีเครื่องมือหลากหลายมากมายเพื่อตอบสนองต่อการการสร้างงานได้อย่างลงตัว เช่น การแก้ไขรูปภาพ งานออกแบบ logo งานมัลติมีเดีย ตลอดจนงานออกแบบสิ่งพิมพ์และพัฒนาเว็บไซต์เป็นโปรแกรมที่มืออาชีพนิยมใช้มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

         4.2 โปรแกรม Adobe After Effects ถือเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดโปรแกรมมัลติมีเดีย สำหรับตกแต่ง แก้ไข ตัดต่อภาพวีดีโอ  เป็นที่นิยมใช้ในงานภาพยนตร์, การ์ตูนแอนิเมชัน, หรือแม้แต่รายการโทรทัศน์ เป็นโปรแกรมที่เราสามารถสร้าง Effect พิเศษตามที่เราต้องการ ด้วยเทคนิคภาพเคลื่อนไหวอันสวยงาม เพื่อดึงดูดให้ผู้ชมสนใจในสิ่งที่เราต้องการนำเสนอ

         4.3  โปรแกรม Adobe Dreamweaver เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างเว็บไซด์แบบเหมือนจริง ขอ คุณสมบัติพิเศษคือซึ่งช่วยให้ผู้ที่ต้องการสร้างเว็บไซด์ไม่ต้องเสียเวลายุ่งยากเพื่อเขียนภาษา  HTML หรือโค๊ดโปรแกรมเอง โปรแกรมนี้มีฟังก์ชันที่ง่ายทำให้ผู้ใช้สามารถจัดวาง รูปภาพ   วิดีโอ รวมถึงองค์ประกอบอื่น ๆที่ต้องการไป วางภายในเว็บไซด์ได้อย่างสวยงามตามต้องการ

         4.4 โปรแกรม Adobe Flash ตัวโปรแกรม Flash  นี้เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสร้างภาพเคลื่อนไหวในสื่อมัลติมีเดียคุณภาพของภาพกราฟิกโดดเด่นที่มีความคมชัด สามารถเล่นเสียงและวีดิโอ แบบสเตริโอได้ สามารถสร้างงานให้มีการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้  (Interactive Multimedia) ข้อดีของโปรแกรม Flash นี้คือ เราสามารถในการบีบอัดไฟล์ขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็ก ทำให้แสดงผลได้อย่างรวดเร็วภาพไม่กระตุก อีกทั้งสามารถแปลงไฟล์ไปอยู่ในฟอร์แมตอื่น ได้มากมาย เช่น avi, mov, gif, wav, emf, eps, ai, dxf, bmp , jpg, gif, png

         4.5 โปรแกรม Adobe Illustrator เป็นโปรแกรมจากค่าย Adobe อีกเช่นกัน เหมาะสำหรับการสร้างภาพลายเส้นที่มีความคมชัดสูง งานกราฟิกแบบ 2 มิติต่างๆ เช่น งานออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบสร้าง logo สินค้า ตลอดจนไปถึงการออกแบบเลเอาต์  อีกทั้งยังมีมีเครื่องมือที่ช่วยเหลือในออกแบบเว็บไซต์อีกด้วย สามารถแบ่งภาพกราฟิกออกเป็น 2 แบบคือ

        1. ภาพแบบพิกเซล (pixel) หรือ ภาพที่เกิดจากจุดในรูปภาพที่นำมารวมกันประกอบเป็นภาพขึ้น ทั้งนี้ในภาพภาพหนึ่ง จะมีจุดภาพหรือพิกเซลมากมายล้านพิกเซลโดยแต่ละภาพจะมีความหนาแน่นของพิกเซลแตกต่างกันออกไป โปรแกรมนี้มีความสามารถที่จะบอก บอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้  

         2. ภาพกราฟิกเวกเตอร์ (vector graphics) คือ ภาพที่เกิดจากการกำหนดขึ้นจากพิกัดกับการคำนวณค่าบนระนาบสองมิติ ในการก่อให้เกิดเป็น เส้นหลายล้านเส้นจนเกิดเป็นภาพ ข้อดีของมันก็คือ สามารถทำการย่อหรือขยายได้ โดยที่คุณภาพของภาพไม่เปลี่ยนแปลง แต่ก็มีข้อเสียคือภาพไม่เหมือนภาพจริงมีลักษณะเป็นภาพวาด



แหล่งข้อมูลอ้างอิง

โปรแกรมยอดฮิตสำหรับการสร้างงานมัลติมีเดีย 2562.
[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา //www.dazzlersoft.com/โปรแกรมยอดฮิตสำหรับการ/
(12 เมษายน พ.ศ. 2562).

นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2560.
[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา //sites.google.com/site/eewopa/our-story-2/prayochn-khxng-sux-maltimideiy
(4 ตุลาคม พ.ศ. 2560).
 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สมหมาย ตามประวัติ 2560.
[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา //www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/3016-animation
(20 มกราคม 2562).  

สนุกกับการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ กับ ครูปู 2560.
[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา //sites.google.com/site/nongpatpoo/hnwy-thi-1
(15 พฤษภาคม 2560).  

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก