องค์กร คาด หวัง อะไร กับ พนักงาน

เรื่องราวในวันนี้เรียกได้ว่าเกิดจากความประทับใจกับเหตุการณ์ในระหว่างการสัมภาษณ์พนักงานใหม่ในวันหนึ่ง ซึ่งผมเองต้องสัมภาษณ์ผู้สมัครอยู่ 4 คนในวันนั้น สามในสี่คนที่มาสัมภาษณ์ ก็พูดคุยกันตามปกติ แต่ประเด็นในการพูดคุยนั้น ผู้สมัครมักจะย้อนกลับมาถามในเรื่องของสิ่งที่เขาควรจะได้จากบริษัท ว่าจะได้ค่าตอบแทน และสวัสดิการอะไรบ้าง เขาเคยได้บางสิ่งมา ที่นี่มีหรือไม่ ทำไมถึงไม่มี แล้วถ้าไม่มีจะมีอะไรมาทดแทนบ้าง

ถ้าท่านเป็นผู้สัมภาษณ์ และเจอกับคำถามแบบนี้จากผู้สมัคร ท่านจะรู้สึกอย่างไรครับ แรกๆ ผมก็ไม่รู้สึกอะไรนะครับ แต่พอผู้สมัครคนสุดท้ายเดินเข้ามา และคุยกันไปเรื่อยๆ พอถึงคำถามท้ายๆ ก็ถามไปแบบที่ถามกับคนอื่นว่า “ไม่ทราบมีอะไรจะสอบถามเพิ่มเติมบ้างครับ” คำถามที่ผมได้รับมาก็คือ

“ไม่ทราบว่าถ้าได้มาทำงานที่บริษัทนี้ ผมจะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง”

ผมฟังคำถามที่ผู้สมัครท่านนี้ถามมาแล้วก็อึ้งนิดๆ เพราะไปเปรียบเทียบกับอีกสามคนก่อนหน้านั้น ซึ่งถามมาว่า “ที่นี่ให้ค่าตอบแทนอะไรบ้าง มีสวัสดิการอะไรบ้าง” เป็นถามที่ถามแต่เรื่องของค่าตอบแทน ซึ่งผมก็ไม่ได้ว่าเขาผิดนะครับ เพียงแต่เทียบกับคนสุดท้ายที่ถามว่าถ้าทำงานที่นี่แล้วเขาจะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง มีงานอะไรที่ท้าทายรออยู่บ้าง ก็พอจะมองเห็นทัศนคติของผู้สมัครแต่ละท่านได้ชัดเจนขึ้น

จากเหตุการณ์นี้ผมก็เลยมาลองถามตัวเองว่า เวลาที่เราทำงานในแต่ละวันนั้น เราต้องการอะไรจากงานที่เราทำกันบ้าง ลองถามตัวท่านเองก็ได้นะครับ ว่าท่านคาดหวังอะไรจากการที่ได้มาทำงานในแต่ละวันบ้าง

ผมเชื่อว่าคำตอบส่วนใหญ่ ก็น่าจะเป็นเรื่องของค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสวัสดิการต่างๆ จะมีส่วนน้อยที่อาจจะตอบว่า ทำงานเพื่องาน เพื่อความสนุก และความสำเร็จในชีวิต และคาดหวังว่าทุกวันที่มาทำงานจะต้องได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ทุกวัน

หลายครั้งที่ผมนั่งสังเกตพนักงานในบริษัทต่างๆ ที่ผมมีโอกาสได้เข้าไปเป็นที่ปรึกษา เวลาที่พนักงานเหล่านี้ทำงานในแต่วันนั้น เห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า เขามาทำงานก็เพื่อเงินเดือนจริงๆ สังเกตจากเวลาทำงาน มาทำงานแบบตรงเวลาเป๊ะ แต่ก็ไม่ได้เริ่มงานทันทีนะครับ แค่เข้างานตรงเวลา จากนั้นก็หากาแฟกิน คุยเล่นบ้าง ทำงานไม่กี่ชั่วโมง จากนั้นเวลาก่อนเลิกงานครึ่งชั่วโมงก็เริ่มเก็บของ เดินเล่นไปมาอีกครั้ง พอถึงเวลาห้าโมงเป๊ะก็คว้าสัมภาระของตนเองแล้วก็เดินออกจากบริษัททันที

ชีวิตการทำงานของท่านผู้อ่านเป็นแบบนี้หรือเปล่าครับ จริงๆ ก็ไม่ได้ผิดอะไรนะครับ เพียงแต่ถ้าเราต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงาน อยากเก่ง อยากเป็นผู้บริหารที่มีฝีมือ มีแต่คนนับถือ เราคงต้องคาดหวังอะไรที่มากไปกว่าเรื่องของเงินเดือนที่ได้รับจากบริษัท

คำถามที่ท่านควรจะถามตัวเองก็คือ ท่านได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้างจากการทำงานในแต่ละวัน การที่เราจะก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้นั้น ไม่ใช่แค่ทำงานไปวันๆ แล้วจะก้าวหน้าได้นะครับ เราต้องแสดงฝีมือในการทำงานโดยการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา และพยายามทำตัวเองให้มีคุณค่ามากขึ้น จนหัวหน้าของเราเห็นฝีมือ แล้วความสำเร็จในการทำงานก็จะมาสู่ชีวิตเรา

ดังนั้นผมอยากให้ท่านใช้เวลาพิจารณาคำถามจากชื่อบทความวันนี้ว่า “ท่านคาดหวังอะไรจากการทำงานของท่านบ้าง” แล้วลองตอบคำถามดูนะครับ ถ้าเราตอบว่าเราคาดหวังความสำเร็จในการทำงาน หรือแม้กระทั่งตอบว่าอยากได้รับการขึ้นเงินเดือนเยอะๆ สิ่งที่ท่านจะต้องทำก็คือ ไม่ใช่การทำงานไปวันๆ แต่จะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มในการทำงานให้ได้ตลอด และเรียนรู้จากทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านทำ เมื่อทำได้ดังนี้แล้วผมคิดว่าความก้าวหน้าในการทำงานไม่หนีไปไหนแน่นอนครับ หรืออย่างน้อยๆ ท่านก็จะรู้สึกว่าชีวิตเรามีคุณค่ามากขึ้น เพราะเราสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเองได้ทุกวันครับ

เจาะลึกความคาดหวังและความกังวลของพนักงานยุคใหม่

โดย ชาญชัย ชัยประสิทธิ์
ประธานกรรมการบริหารและหุ้นส่วน บริษัท PwC ประเทศไทย
11 มิถุนายน 2565

ในช่วงปีที่ผ่านมา หลายๆ องค์กรทั่วโลกต้องเผชิญกับ ‘อภิมหาการลาออกของคนทำงาน’ หรือ ‘The Great Resignation’ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวิกฤตโควิด ทำให้มุมมองชีวิต ความคาดหวัง และความกังวล ของพนักงานในยุคนี้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก นี่จึงเป็นความท้าทายของผู้บริหารที่ต้องหันกลับมาทบทวนกลยุทธ์ด้านแรงงาน เพื่อรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้กับองค์กรให้ได้

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ PwC ได้เผยแพร่รายงาน Global Workforce Hopes and Fears 2022 ซึ่งได้รวบรวมความคิดเห็นของแรงงานทั่วโลกจำนวนทั้งสิ้น 52,000 คน จาก 44 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งผมมองว่า ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารได้นำไปปรับใช้กับการวางแผนกำลังแรงงานขององค์กรในอนาคต ดังต่อไปนี้

1. พนักงานคาดหวังให้องค์กรเป็นองค์กรที่เปิดกว้างและยอมรับความแตกต่าง

รายงานของ PwC เปิดเผยว่า 65% ของพนักงานที่ถูกสำรวจ มีการพูดคุยถึงประเด็นที่อ่อนไหวกับเพื่อนร่วมงาน เช่น ถกประเด็นทางการเมืองหรือประเด็นทางสังคมอื่นๆ ซึ่งผู้ถูกสำรวจส่วนใหญ่มองว่า การพูดคุยในประเด็นต่างๆ เหล่านี้ส่งผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะทำให้พวกเขาเข้าใจเพื่อนร่วมงานมากขึ้น และยังช่วยสร้างบรรยากาศของการทำงานที่เปิดกว้างและทุกคนได้มีส่วนร่วม

อย่างไรก็ดี มีเพียง 30% ของพนักงานที่ถูกสำรวจ ที่กล่าวว่า องค์กรของตนสนับสนุนให้มีการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานที่มีความคิดเห็นที่แตกต่าง ซึ่งจุดนี้สะท้อนให้เห็นว่า องค์กรจะต้องสร้างพื้นที่ให้พนักงานได้แสดงออกทางความคิดอย่างปลอดภัย โดยต้องปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่ช่วยให้พนักงานสามารถแบ่งปันความคิดเห็นได้อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างความปลอดภัยในเชิงจิตวิทยา (Psychological Safety) ว่าพวกเขามีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระแล้ว ยังช่วยเพิ่มความเข้าอกเข้าใจ และทำให้พนักงานสามารถทำงานร่วมกับคนที่มีความคิดเห็นที่หลากหลายได้อย่างราบรื่น 

สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงกระตุ้นสำคัญให้พนักงานแสดงศักยภาพที่มีออกมาได้อย่างเต็มที่ และยังก่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กร ในการดึงความแตกต่างทางความคิดของพนักงานออกมาช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ

2. พนักงานกังวลว่าจะไม่ได้รับการยกระดับทักษะและการดูแลด้านสุขภาวะที่ดีเพียงพอ

ผลสำรวจของ PwC พบว่า 39% ของพนักงาน กล่าวว่า พวกเขาไม่ได้รับการฝึกอบรมด้านทักษะดิจิทัลและเทคโนโลยีอย่างเพียงพอ และมีเพียง 29% เท่านั้นที่ระบุว่า องค์กรให้การสนับสนุนด้านการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต ซึ่งความกังวลนี้ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของการทำงานของพนักงาน โดยหากพนักงานเริ่มรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับการดูแลที่ดีเพียงพอ ก็อาจเริ่มพิจารณามองหางานใหม่ จนทำให้องค์กรต้องสูญเสียพนักงานที่มีความสามารถไปในที่สุด 

ดังนั้นผู้บริหารจะต้องเสริมสร้างศักยภาพของพนักงานทุกระดับมากขึ้น ผ่านการจัดโปรแกรมการฝึกอบรมทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็น เพื่อให้พนักงานมีความพร้อมในโลกการทำงานที่เปลี่ยนไป ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสวัสดิการด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต ซึ่งการลงทุนดังกล่าวย่อมคุ้มค่ากว่าการที่ต้องจ้างคนใหม่อยู่เรื่อยๆ เพราะต้องใช้ทั้งงบประมาณและเวลาในการคัดเลือก สัมภาษณ์ รวมถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ภายในองค์กร

3. พนักงานคาดหวังงานที่มีความหมายและยืดหยุ่น นอกเหนือจากเรื่องของผลตอบแทน 

นอกจากปัจจัยเรื่องผลตอบแทนแล้ว คนทำงานยุคใหม่ยังให้ความสำคัญกับงานที่ช่วยเติมเต็มชีวิตและตอบโจทย์ความหลงใหล (Passion) ของตัวเองด้วย โดยรายงานของ PwC ชี้ว่า แม้ผลตอบแทนจะยังคงเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจเปลี่ยนงาน แต่ความพึงพอใจในการทำงานและโอกาสในการแสดงตัวตนก็เป็นปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันสำหรับพนักงานในยุคนี้ ซึ่งผมมองว่า จุดนี้เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายขององค์กรที่จะต้องปรับตัว และหาจุดสมดุลด้วยการให้ค่าจ้างและผลตอบแทนที่เหมาะสม ตลอดจนเปิดโอกาสให้พนักงานได้ทำงานที่มีความหมายและมีคุณค่าต่อตนเอง องค์กร และสังคม

นอกจากนี้สภาพแวดล้อมของการทำงานที่มีความยืดหยุ่น (Flexible Working Arrangements) ก็มีความสำคัญมาก โดยรายงานระบุว่า 63% ของพนักงานที่มีลักษณะงานที่เอื้อต่อการทำงานทางไกลต้องการรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid Work Model) คือผสมผสานระหว่างการทำงาน ณ สถานที่ทำงานและการทำงานจากที่ใดก็ได้ ซึ่งผู้บริหารจะต้องเข้าใจก่อนว่า รูปแบบการทำงานแบบไฮบริดแบบใดที่เหมาะสมกับประเภทของธุรกิจและกลุ่มอุตสาหกรรมของตน 

สำหรับประเทศไทย เราจะเห็นว่าปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มทยอยเรียกพนักงานกลับไปปฏิบัติงานที่ออฟฟิศกันมากขึ้นหลังสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย แต่ไม่ว่าผู้บริหารจะพิจารณารูปแบบการทำงานแบบ ‘Office First’ หรือ ‘Remote First’ สิ่งที่กลายเป็นวิถีใหม่แห่งโลกการทำงานยุค New Normal ที่พนักงานต้องการและคาดหวังจากองค์กรคือ ความยืดหยุ่นในการทำงาน ซึ่งหากขาดจุดนี้ไปเมื่อไร ย่อมทำให้พนักงานตั้งคำถามหรืออาจไม่พอใจกับนโยบายขององค์กร จนทำให้พนักงานที่เป็นทาเลนต์หลุดมือไปจากบริษัทในที่สุด ด้วยเหตุผลง่ายๆ เพราะบริษัทขาดความยืดหยุ่น ฉะนั้นประเด็นนี้ถือว่ามีความละเอียดอ่อนมาก 

ขณะที่การลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ช่วยให้พนักงานสามารถ ‘Work from Anywhere’ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรในระยะต่อไป สำหรับงานที่มีลักษณะบางอย่างที่ไม่เอื้อต่อการทำงานทางไกล ผู้บริหารควรพิจารณาสวัสดิการอื่นๆ เช่น มีรถรับ-ส่ง หรือบริการอาหารกลางวัน เพื่อลดภาระและความเสี่ยงให้แก่พนักงานกลุ่มนี้ แต่ไม่ว่าองค์กรจะเลือกรูปแบบการทำงานแบบไหน ควรให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นก่อนตัดสินใจและกำหนดเป็นนโยบายของบริษัท

4. พนักงานคาดหวังให้องค์กรแสดงจุดยืนด้าน ESG 

รายงานของ PwC ยังระบุถึงความคาดหวังของพนักงานต่อการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อมสังคมและธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ของนายจ้าง โดยผู้ถูกสำรวจส่วนใหญ่ (65%) ต้องการเห็นความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยการส่งเสริมความแตกต่างหลากหลายของพนักงาน (54%) และผลกระทบของการดำเนินธุรกิจที่มีต่อสิ่งแวดล้อม (53%) 

อย่างไรก็ดี แม้ว่าองค์กรหลายแห่งจะมีพันธกิจด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน แต่มีเพียง 23% ของผู้ถูกสำรวจเท่านั้นที่กล่าวว่า นายจ้างมีการสนับสนุนให้พนักงานลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปฏิบัติงาน

ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารจะต้องกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายด้าน ESG ที่ครอบคลุมถึงบทบาทและหน้าที่ของพนักงาน เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวทั้งระดับภายในและภายนอกองค์กร เช่น ส่งเสริมให้พนักงานนำหลัก ESG มาปรับใช้กับการทำงาน และทำให้ทุกคนในองค์กรได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเป้าหมายด้าน ESG อย่างเป็นรูปธรรม

ท่ามกลางปรากฏการณ์การลาออกครั้งใหญ่ของตลาดแรงงาน เราจะเห็นว่าสิ่งที่องค์กรควรต้องทำตั้งแต่วันนี้คือ ‘รับฟัง’ และ ‘ตอบสนอง’ ต่อความคาดหวังและความกังวลต่างๆ เหล่านี้ของพนักงาน โดยผู้บริหารจะต้องมีความพร้อมในการปรับเปลี่ยนนโยบายหรือวัฒนธรรมองค์กร ที่จะช่วยสร้างความจงรักภักดีต่อที่ทำงานและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกจ้าง ก่อนที่จะสูญเสียพนักงานที่มีความสามารถไปอย่างน่าเสียดาย

อ้างอิง:

  • Global Workforce Hopes and Fears Survey 2022

พนักงานคาดหวังอะไรจากองค์กร

สิ่งที่พนักงานคาดหวังจากองค์กร ก็คือ การได้รับการยอมรับจากคนในองค์กร การมีเพื่อนร่วมงานที่ดี การได้รับโอกาสในการพัฒนาและมีความก้าวหน้า การได้รับสวัสดิการที่ดี การสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี

บริษัทควรให้อะไรกับพนักงาน

5 สิ่งที่บริษัทต้องมี ถ้าอยากให้พนักงานอยู่กับคุณไปนาน ๆ.
1. เงินปัจจัยสำคัญ ... .
2. ตำแหน่งไหน หน้าที่นั้น ... .
3. ผู้นำที่ดี ... .
4. วัฒนธรรมองค์กร ... .
5. อนาคตที่สดใส.

อะไรเป็นสิ่งที่บริษัททำได้ดีและอยากให้ทำต่อไป

10 สิ่งที่เหล่าพนักงาน “ต้องการที่สุด” ในการสร้างความสำเร็จให้กับ....
2. การสื่อสารที่ดี ... .
3. ความสุขกับการทำงาน ... .
4. ความก้าวหน้าในอาชีพ ... .
5. ความพึงพอใจ ... .
6. สุขภาพที่ดี ... .
7. ความภาคภูมิใจในองค์กร ... .
9. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ... .
10. การจัดการตำแหน่งภายในบริษัท.

อยากให้องค์กรเป็นแบบไหน

พนักงานต้องการให้องค์กรดูแลเอาใจใส่หรือปรับปรุงเรื่องใดให้ดีขึ้นบ้าง.
1.องค์กรมีเป้าหมายชัดเจน : ... .
2.เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ และส่งเสริมศักยภาพที่โดดเด่น : ... .
3.ติชม-แนะนำ มากกว่าตำหนิ-ดุด่าว่ากล่าว : ... .
4.ไม่เบียดเบียนเวลาส่วนตัว : ... .
5.ทำงานเป็นเวลา มีระบบ ระเบียบชัดเจน : ... .
6.ให้สวัสดิการที่เป็นประโยชน์ :.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก