การแบ่งพาร์ติชันในการติดตั้งระบบปฏิบัติการ centos หมายถึงอะไร

ในการใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเช่นฮาร์ดไดรฟ์และไดรฟ์ USB บนคอมพิวเตอร์ของคุณคุณจำเป็นต้องเข้าใจและรู้วิธีจัดโครงสร้างอุปกรณ์เหล่านั้นก่อนใช้งานใน Linux ในกรณีส่วนใหญ่อุปกรณ์เก็บข้อมูลขนาดใหญ่จะแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ที่เรียกว่าพาร์ติชัน

การแบ่งพาร์ติชันช่วยให้คุณสามารถแยกฮาร์ดไดรฟ์ออกเป็นหลายส่วนโดยที่แต่ละส่วนทำหน้าที่เป็นฮาร์ดไดรฟ์ของตัวเองและสิ่งนี้มีประโยชน์เมื่อคุณติดตั้งระบบปฏิบัติการหลายระบบในเครื่องเดียวกัน

ในบทความนี้เราจะอธิบายวิธีแบ่งพาร์ติชันดิสก์หน่วยความจำในระบบ Linux เช่น CentOS , RHEL , Fedora , Fedora , Debian และการกระจาย Ubuntu

การสร้าง Disk Partition ใน Linux

ในส่วนนี้เราจะอธิบายวิธีแบ่งพาร์ติชันดิสก์หน่วยความจำใน Linux โดยใช้คำสั่งแบบแยกส่วน

ขั้นตอนแรกคือการดูตารางพาร์ทิชันหรือเค้าโครงบนอุปกรณ์บล็อกทั้งหมด สิ่งนี้จะช่วยคุณระบุอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่คุณต้องการแบ่งพาร์ติชัน คุณสามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง แยกส่วน หรือคำสั่ง fdisk เราจะใช้ชื่อเดิมเพื่อวัตถุประสงค์ในการสาธิตดังต่อไปนี้โดยที่แฟล็ก -l หมายถึงรูปแบบรายการพาร์ติชันบนอุปกรณ์บล็อกทั้งหมด

# parted -l

จากเอาต์พุตของคำสั่งด้านบนมีฮาร์ดดิสก์สองตัวต่ออยู่กับระบบทดสอบส่วนแรกคือ /dev/sda และอันที่สองคือ /dev/sdb

ในกรณีนี้เราต้องการพาร์ติชันฮาร์ดดิสก์ /dev/sdb ในการจัดการพาร์ติชั่นของดิสก์ให้เปิดฮาร์ดดิสก์เพื่อเริ่มการทำงานตามที่แสดง

# parted /dev/sdb

ที่พรอมต์ แยกส่วน ทำตารางพาร์ติชันโดยเรียกใช้ mklabel msdos หรือ gpt จากนั้นป้อน Y/es เพื่อ ยอมรับมัน.

(parted) mklabel msdos

จากนั้นสร้างพาร์ติชันหลักใหม่บนฮาร์ดดิสก์และพิมพ์ตารางพาร์ติชันดังที่แสดง

(parted) mkpart primary ext4 0 10024MB (parted) print

คุณสามารถสร้างพาร์ติชั่นอื่นสำหรับพื้นที่รีมตามที่แสดง

(parted) mkpart primary ext4 10.0GB 17.24GB (parted) print

หากต้องการออกให้ออกคำสั่ง ออก และบันทึกการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดโดยอัตโนมัติ

จากนั้นสร้างประเภทระบบไฟล์ในแต่ละพาร์ติชันคุณสามารถใช้ mkfs อรรถประโยชน์ (แทนที่ ext4 ด้วยประเภทระบบไฟล์ที่คุณต้องการใช้)

# mkfs.ext4 /dev/sdb1 # mkfs.ext4 /dev/sdb2

สุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุดในการเข้าถึงพื้นที่เก็บข้อมูลบนพาร์ติชั่นคุณจะต้องทำการเมานท์ด้วยการสร้างจุดเมานท์และพาร์ติชันดังต่อไปนี้

# mkdir -p /mnt/sdb1 # mkdir -p /mnt/sdb2 # mount -t auto /dev/sdb1 /mnt/sdb1 # mount -t auto /dev/sdb2 /mnt/sdb2

ในการตรวจสอบว่าพาร์ติชั่นติดตั้งจริงหรือไม่ให้รันคำสั่ง df เพื่อรายงานการใช้พื้นที่ดิสก์ของระบบไฟล์

# df -hT

คุณอาจต้องการอ่านบทความที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้:

  1. 9 Tools to Monitor Linux Disk Partitions and Usage in Linux
  2. How to Backup or Clone Linux Partitions Using ‘cat’ Command
  3. 8 Linux ‘Parted’ Commands to Create, Resize and Rescue Disk Partitions
  4. How to Repair and Defragment Linux System Partitions and Directories
  5. How to Clone a Partition or Hard drive in Linux
  6. How to Add a New Disk to an Existing Linux Server
  7. Top 6 Partition Managers (CLI + GUI) for Linux

นั่นคือทั้งหมด! ในบทความนี้เราได้แสดงวิธีการแบ่งพาร์ติชันดิสก์หน่วยความจำสร้างประเภทระบบไฟล์บนพาร์ติชันและติดตั้งในระบบ Linux คุณสามารถถามคำถามหรือแบ่งปันความคิดกับเราผ่านแบบฟอร์มความคิดเห็นด้านล่าง


โครงสร้างของ disk

Hard disk ส่วนของพื้นที่เก็บข้อมูล เรียกว่า partition (พาร์ติชั่น)
มีได้มากกว่า 1 พาร์ติชั่น สูงสุดไม่เกิน 4 พาร์ติชั่น รวมเรียกว่า primary
partition หากจะสร้างมากกว่า 4พาร์ติชั่น ก็ต้องให้พาร์ติชั่นใดพาร์ติชั่นหนึ่ง
มา ทำเป็น Extended พาร์ติชั่น จึงจะสามารถสร้างพาร์ติชั่นใหม่เพิ่มเติมใน
Extended พาร์ติชั่น ซึ่งพาร์ติชั่นที่สร้างใหม่นี้จะเรียกว่า Logical พาร์ติชั่น
กรณี เช่นนี้ใช้กับ Hard disk แบบ ide

การ จัดการพาร์ติชั่น
ลินุกซ์จะมองเห็นอุปกรณ์ทุกอย่างเป็นไฟล์ เรียกว่า device file อยู่ภายใต้
directory ชื่อ /dev ฮาร์ดดิสก์จะถูกมองเป็น device file เช่นกัน วิธีการตั้งชื่อ
device file ของฮาร์ดดิสก์ จะขึ้นอยู่กับประเภท, ช่องสัญญาณ ide ที่เชื่อมต่อ
และ ลำดับของพาร์ติชั่นของฮาร์ดดิสก์ตัวนั้น
ตัวอักษร 2 ตัวแรก   หมายถึง ประเภทของฮาร์ดดิสก์ ถ้าเป็นแบบ ide
จะมีชื่อเป็น hd ถ้าเป็น SCSI จะแทน
ด้วยตัวอักษร sd
ตัว อักษรตัวที่ 3 หมายถึง ตำแหน่งของช่องสัญญาณ ide ที่ต่อกับ

ฮาร์ดดิสก์ มีอยู่ 4 ตัวดังนี้

  1. a หมายถึง ฮาร์ดสก์ตัวที่ 1 หรือ primary master
  2. b หมายถึง ฮาร์ดสก์ตัวที่ 2 หรือ primary slave
  3. c หมายถึง ฮาร์ดสก์ตัวที่ 3 หรือ secondary master
  4. d หมายถึง ฮาร์ดสก์ตัวที่ 4 หรือ secondary slave

ตัวเลขอันสุดท้าย หมายถึง หมายเลขพาร์ติชั่นของฮอาร์ดดิสก์ ตัวอย่างคือ

  1. /dev/hda 1 หมายถึง พาร์ติชั่นที่ 1 ของฮาร์ดดิสก์แบบ ide ตัวที่ 1 เป็น primary master
  2. /dev/sdb 2 หมายถึง พาร์ติชั่นที่ 2 ของฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI ตัวที่ 2 เป็น primary slave

การติดตั้งลินุกซ์ร่วมกับ ระบบปฏิบัติการอื่น ๆ

ลินุกซ์สามารถติดตั้งร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น วินโดวส์ โดยไม่มีปัญหากับข้อมูลหรือระบบปฏิบัติการเดิม
เพราะลินุกซ์จะสร้างพาร์ ติชั่นแยกออกมาต่างหาก ไม่เกี่ยวข้องกับพาร์ติชั่นของระบบการเดิมที่ติดตั้งอยู่ แต่ลินุกซ์
ต้องการ อย่างน้อย 2 พาร์ติชั่น คือ root partition และ swap partition ลินุกซ์สามารถติดตั้งได้ทั้งใน primary
partition หรือ extended partition

รูปแบบ Partition บน Linux

ภาพโดยรวมของ fstab ของ Linux
โดยปกติแล้ว เราจะเห็นข้อมูลในไฟล์ fstab หน้าตาคล้ายๆ แบบนี้

/dev/hda2 / ext2 defaults 1 1
/dev/hdb1 /home ext2 defaults 1 2
/dev/cdrom /media/cdrom auto ro,noauto,user,exec 0 0
/dev/fd0 /media/floppy auto rw,noauto,user,sync 0 0
proc /proc proc defaults 0 0
/dev/hda1 swap swap pri=42 0 0

งง มั้ยครับ? ดูตอนแรกๆ ผมก็งงเหมือนกัน มันอะไรกันหว่า เอางี้ครับ จะสังเกตได้ว่า มันถูกแบ่งเป็นแถวๆ ซึ่งแต่ละแถวหมายถึง อุปกรณ์ 1 ตัวหรือ 1 พาร์ติชั่นของฮาร์ดดิสก์ และในแต่ละคอลัมน์ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน คอลัมน์ที่หนึ่ง หมายถึง ชื่อของอุปกรณ์หรือพาร์ติชั่นที่ต้องการใช้ คอลัมน์ที่สอง หมายถึง ตำแหน่งที่จะใช้ในการเมาท์ คอลัมน์ที่สามคือ ระบบไฟล์ คอลัมน์ที่สี่ คือ ตัวเลือกของการเมาท์ คอลัมน์ที่ห้า คือ ตัวเลือกสำหรับการสำรองข้อมูล และคอลัมน์ที่หก ก็คือ ตัวเลือกการตรวจสอบระบบไฟล์ ลองมาดูตัวอย่างกัน

< คอลัมน์ที่ 1 และ 2: อุปกรณ์และตำแหน่งเมาท์ >

ใน 2 คอลัมน์นี้ จะเป็นการบอกให้คำสั่ง mount ว่าจะต้องเมาท์อุปกรณ์ไว้ที่ไดเร็กทอรีใด และช่วยผู้ใช้ในการที่ไม่ต้องจำชื่ออุปกรณ์ (เช่น /dev/cciss/c0d1 จะรู้มั้ยว่ามันคืออะไร) จำแค่ตำแหน่งเมาท์ก็จะใช้ได้ นอกเหนือจากนี้ยังทำให้ระบบจัดการเมาท์อุปกรณ์นั้นให้โดยอัตโนมัติเวลาที่ บูตเครื่องขึ้นมาให้ด้วย  ถ้าเราอยากรู้ว่าเวลาที่เราใช้คำสั่งเมาท์แล้วมันจะจัดการระบบเมาท์ให้เรา อย่างไร เราสามารถเข้าไปดูในไฟล์ /etc/mtab ได้ครับ เช่น
mount /dev/hdc1 /mnt/drive_e
พอเราใช้คำสั่งนี้ เราก็ไปดูในไฟล์ /etc/mtab ก็จะได้หน้าตาแบบนี้
cat /etc/mtab
/dev/hdc1 /mnt/drive_e vfat default 0 0
ซึ่งเหมือนกับใน fstab เลยครับ ทำให้เราสามารถก็อปเอาไปวางใน fstab เพื่อให้มันเมาท์อัตโนมัติได้

< คอลัมน์ที่ 3 ระบบไฟล์>

ในคอลัมน์นี้ จะหมายถึงระบบไฟล์ที่ใช้ในการเมาท์ ซึ่งจะต้องกำหนดให้ระบบรู้จัก ซึ่งลินุกซ์รู้จักระบบไฟล์หลายๆ แบบ และสนับสนุนให้ใช้ได้ เราลองมาดูกันว่ามีอะไรที่ใช้ได้บ้าง (มันขึ้นอยู่กับ kernel ของลินุกซ์ด้วยนะครับ ว่าเวลาคอมไพล์ได้ให้มันสนับสนุนระบบไฟล์ที่ต้องการหรือเปล่า)

ext2 และ ext3 เป็นระบบไฟล์ของลินุกซ์ที่ใช้กันมากที่สุด แล้วอะไรคือความแตกต่างของ 2 ตัวนี้ Ext2 เป็นระบบไฟล์มาตรฐานของลินุกซ์ แต่ Ext3 มันก็เหมือนกับ Ext2 นั่นแหล่ะ เพียงแต่เพิ่มระบบบันทึกรายการเปลี่ยนแปลงไว้ด้วยกัน ทำให้เวลาที่คุณเผลอปิดคอมฯ ด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ โดยไม่ได้สั่ง shutdown มันจะไม่ทำให้ข้อมูลหายหรือระบบไฟล์เสียหาย แล้วก็ไม่เสียเวลานานในตอนที่ตรวจสอบระบบไฟล์เวลาที่บูตขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

reiserfs ถ้าคุณใช้ลินุกซ์เวอร์ชั่นใหม่ๆ ในบางดิสโทร ฮาร์ดดิสก์อาจจะถูกฟอร์แมตด้วยระบบไฟล์แบบ ReiserFS ซึ่งเป็นการนำข้อดีของ Ext2 กับ Ext3 มารวมกัน (Ext2 เร็วแต่ไม่เสถียร Ext3 ช้ากว่าแต่ปลอดภัย) ซึ่งระบบไฟล์ชนิดนี้เป็นระบบไฟล์ที่มีระบบบันทึกรายการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียว กับ Ext3 เพียงแต่สามารถทำงานได้ดีกว่ามาก ขณะนี้ลินุกซ์บางดิสโทรก็ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบไฟล์ชนิดนี้กันมากขึ้นแล้ว และในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาระบบไฟล์ Ext4 เพิ่มขึ้นมา ซึ่งในระบบไฟล์แบบ Ext4 จะมีในลีนุกซ์เคอร์เนลเวอร์ชัน 2.6.28 ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีกว่า Ext3 เยอะแยะมากมายเลยครับ ถ้าอยากรู้ว่ามีอะไรบ้างรองอ่านในนี้เลยครับ//kernelnewbies.org/Ext4

swap เป็นระบบไฟล์สำหรับชดเชยปริมาณหน่วยความจำของระบบ สำหรับใช้กับพาร์ติชั่นที่เป็นชนิด swap เท่านั้น พาร์ติชั่นนี้จะถูกใช้งานก็ต่อเมื่อเครื่องมีการเรียกใช้ RAM หลักจนเกินปริมาณของ RAM แล้วเท่านั้นแต่ถ้าเครื่องคุณมีปริมาณ RAM เกินความจำเป็นที่ระบบของคุณจะใช้อยู่แล้วคุณก็ไม่จำเป็นต้องแบบ swap ไว้ก็ได้

vfat และ ntfs สำหรับพาร์ติชั่นของวินโดวส์ ในรุ่น 9x (95/98/Me) จะใช้ระบบไฟล์ชนิด vfat (ระบบไฟล์ที่มีชื่อไฟล์แบบยาวทั้งแบบ FAT และ FAT32) ส่วนในต_ร_ะ_กู_ล NT (NT4/2000/xp/2003) อาจจะใช้เป็นแบบ NTFS อย่างไรก็ตามใน 2000/xp/2003 อาจจะใช้ในรูปแบบ FAT32 หรือ FAT ได้ หากต้องการที่จะใช้ลินุกซ์ในการอ่าน/เขียนไฟล์ของระบบวินโดวส์ แนะนำให้ใช้ระบบไฟล์แบบ vfat (FAT & FAT32) จะดีกว่า เนื่องจากในลินุกซ์บางดิสโทร จะถูกคอมไพล์เคอร์เนลให้สามารถอ่าน NTFS ได้ แต่ไม่สามารถเขียนได้

auto อันนี้ไม่ใช่ระบบไฟล์แต่อย่างใด หากใช้ตัวเลือกนี้มันหมายถึง ให้ระบบทำการตรวจสอบอัตโนมัติ ถ้าดูจากตารางข้างบนจะเห็นว่า floppy และ CDROM จะถูกกำหนดให้ใช้เป็น auto ทำไมหรือครับ? เพราะว่าระบบไฟล์ที่ใช้กับ CD-ROM กับ floppy นั้นมันเยอะมากๆ ครับ และก็ไม่รู้ว่าจะเอาระบบไฟล์แบบไหนมาใส่ ดังนั้นกำหนดไว้ให้เป็น auto จะดีที่สุดสำหรับ 2 ตัวนี้ครับ

< คอลัมน์ที่ 4 ตัวเลือกการเมาท์ >

คอลัมน์นี้หมายถึงตัวเลือกในการ เมาท์ ซึ่งในแต่ระบบไฟล์มันก็จะมีตัวเลือกที่ต่างกันไป ขอให้ไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือคำสั่ง mount นะครับ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะตัวเลือกที่ใช้บ่อยๆ และเหมือนกันทุกระบบไฟล์ครับ

auto และ noauto หากใส่เป็น auto อุปกรณ์หรือพาร์ติชั่นนี้จะถูกเมาท์โดยอัตโนมัติขณะบูตเครื่อง หากไม่ต้องการให้มันเมาท์อัตโนมัติ ก็ใส่เป็น noauto ครับ

user และ nouser เป็นตัวเลือกที่ใช้ได้ดีสำหรับบังคับ user ครับ ตัวเลือกนี้จะเป็นการอนุญาตให้ user ธรรมดา (ไม่ใช่ root) ให้สามารถเมาท์ได้หรือไม่ โดยปกติแล้วอุปกรณ์ทุกตัวจะถูกกำหนดให้เมาท์ได้เฉพาะ root (nouser) หากต้องการให้ user สามารถเมาท์เองได้ก็กำหนดให้เป็น user ครับ

exec และ noexec เป็นการกำหนดให้สามารถรันไฟล์โปรแกรมได้ในอุปกรณ์หรือพาร์ติชั่นนี้หรือไม่ แต่ตัวเลือกนี้จะไม่สามารถใช้ได้กับระบบไฟล์ชนิด vfat และ ntfs นะครับ แต่โดยปกติแล้วจะถูกตั้งค่าเป็น exec เป็นค่ามาตรฐานครับ

ro เมาท์ให้อ่านได้อย่างเดียว

rw เมาท์ให้สามารถอ่าน-เขียนได้  การใช้ตัวเลือกนี้อาจช่วยแก้อาการปวดหัวจากผู้ใช้ลินุกซ์หน้าใหม่ๆ ได้ เนื่องจากเขาไม่สามารถเขียนข้อมูลลงในแผ่นฟลอปปี้ พาร์ติชั่นของวินโดวส์ จนน้ำตาเช็ดหัวเข่ามาแล้ว

sync และ async เป็นการกำหนดให้ระบบนำเข้า-ส่งออก ของระบบไฟล์ sync หมายถึง เวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงไฟล์มันจะทำการเปลี่ยนแปลงทันทีตามที่โปรแกรม ต้องการ เช่น เมาท์แผ่น floppy ไว้ แล้วทำการสำเนาไฟล์บนฮาร์ดดิสก์มาเก็บไว้บนฟลอปปี้ หากมีตัวเลือกนี้มันจะทำการทำสำเนามาที่ฟลอปปี้ทันทีที่สั่งทำสำเนา หากเป็น async แล้วมันทำสำเนาก็ต่อเมื่อเราทำการ unmount เท่านั้น อย่างไรก็ตาม async เป็นตัวเลือกที่ถูกตั้งค่าไว้เป็นค่าเริ่มต้นเสมอ

defaults เป็นการใช้ค่าเริ่มต้นของตัวเลือกต่างๆ ซึ่งมีดังต่อไปนี้ rw, suid, dev, exec, auto, nouser, and async.

< คอลัมน์ที่ 5 และ 6  ตัวเลือกสำหรับสำรองข้อมูลและตรวจสอบระบบไฟล์ >

ในคอลัมน์ที่ 5 เป็นตัวเลือกสำหรับการสำรองข้อมูล (ชื่อโปรแกรม dump) ซึ่งเป็นการกำหนดว่าจะอนุญาตให้ทำการสำรองข้อมูลจากอุปกรณ์หรือพาร์ติชั่น นี้หรือไม่ ถ้าเป็น 0 คือเป็นการกำหนดว่าจะไม่มีการสำรองข้อมูลจากพาร์ติชั่นหรืออุปกรณ์ตัวนี้

ใน คอลัมน์ที่ 6 คือตัวเลือกของ fsck สำหรับใช้ในการตรวจสอบระบบไฟล์ ถ้าเป็น 0 fsck จะไม่ตรวจสอบในขณะบูต ถ้าเป็น 1 จึงจะทำการตรวจทุกครั้งที่ทำการบูต และถ้าเป็น 2  แสดงว่าให้ตรวจสอบเรื่องสิทธิ์ในการเข้าถึงด้วย (เช่นทำระบบ Quota ไว้ครับ)

พาร์ติชั่นใดที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งระบบปฏิบัติการ

Primary partition เป็นพาร์ทิชันหลักที่ใช้สำหรับการติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือใช้บูตเครื่องเข้าสู่ระบบ ส่วนใหญ่เป็นไดรฟ์ C: โดยฮาร์ดดิสก์หนึ่งลูกจะแบ่งพาร์ทิชันในลักษณะนี้ได้ไม่เกิน 4 พาร์ทิชัน ยกเว้นว่าไดรฟ์นั้นมี Extended partition อยู่ด้วย ก็จะสร้างได้เพียง 3 พาร์ทิชันเท่านั้น

CentOS ใช้สําหรับทําอะไร

CentOS คือ ระบบปฏิบัติการ Linux ที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลที่ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) แบ่งปันให้ CentOS โดยสาธารณะ โดย CentOS มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับ RHEL ได้ โครงการ CentOS ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงแพคเกจเพื่อให้ Centos ลบการสร้างตราสินค้าและงานศิลปะ CentOS ไม่มีค่าใช้จ่ายและแจกจ่ายฟรี ...

/Tmp เป็นพาร์ติชันที่แยกออกมาเพื่ออะไร

พาร์ทิชัน /tmp เป็นพาร์ติชันที่แยกออกมาเพื่อความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์ถ้าพาร์ติชัน / ข้อมูลเต็มก็จะไม่มีผลกระทบกับระบบ พาร์ติชันที่ไม่สามารถแยกออกจาก / (รูทไดเรกทอรี) หรือแยกจากไฟล์ซิสเต็มได้ คือ /etc, /lib, /bin, /sbin,/dev.

ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกในการติดตั้งระบบปฏิบัติการ CentOS

ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกในการติดตั้งระบบปฏิบัติการ CentOS. สร้างพาร์ทิชั่น เลือก Software ที่ต้องการติดตั้ง เลือกภาษาที่ต้องการ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก