การเขียนเชิงวิชาการมีลักษณะ อย่างไร

การเขียนเชิงวิชาการ อาจจะดูเป็นการเขียนที่ยากในความคิดของหลาย ๆ คน เพราะดันมีคำว่า วิชาการ อยู่ด้วยนั่นเอง แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้วการเขียนเชิงวิชาการนั้นไม่ได้ยุ่งยากและซับซ้อนเลย แถมยังมีวิธีขั้นตอนการเขียนที่ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่ามันจะง่ายขนาดนั้นจริงหรือ? เราไปหาคำตอบของเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การเขียนเชิงวิชาการ คืออะไร?

 

คือ องค์ความรู้เชิงวิชาการที่ได้จากการตกผลึกทางความคิดของผู้เขียนที่ต้องการถ่ายทอดหรือสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ผ่านกระบวนการเรียบเรียง โดยอาศัยการศึกษาค้นคว้า สำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลความรู้อย่างละเอียด ถี่ถ้วน มีเหตุผล เป็นระบบ และอ้างอิงหลักฐาน โดยอาศัยการผสมผสานระหว่างตัวอักษร รูปภาพ ตาราง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

 

การเขียนเชิงวิชาการมีความสำคัญอย่างไร

 

การเขียนเชิงวิชาการเป็นงานที่จะได้นำเสนอแนวคิดของตนได้อย่างอิสระโดยอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการ

 

 

นอกจากนี้ตัวของผู้เขียนแล้ว การเขียนเชิงวิชาการยังมีความสำคัญต่อแวดวงของเรื่องราวที่นำมาเขียน มีความสำคัญต่อสังคม เพราะการเขียนนี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางสังคมนอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน

 

การเขียนเชิงวิชาการ

 

ในงานเขียนจะต้องมีแก่นสำคัญที่ผู้เขียนควรจะให้ความสำคัญไว้เสมอ ประกอบไปด้วย 3 สิ่งนี้

 

 

1.ผู้อ่าน การเขียนที่ดี เราจะต้องนึกถึงผู้อ่านด้วย ไม่ใช่ยึดตัวเองเป็นหลัก แม้ว่าแรกเริ่มเดิมทีการเขียนนี้จะมาจากความสนใจของเราก็ตาม เพราะถ้าไม่รู้ว่าจะเขียนให้ใครอ่าน ก็จะไม่เกิดประโยชน์ ไม่บรรลุเป้าหมายอย่างที่ตั้งใจ

2. เนื้อหาสาระ เนื้อหาที่จะเขียนนั้นจะต้องถูกเรียบเรียงอย่างดี และกลั่นกรองทางความคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการเขียนและเพื่อให้งานที่ได้นั้นเกิดประโยชน์

3. รูปแบบ รูปแบบของการเขียนเชิงวิชาการมีความสำคัญ เพราะผู้เขียนต้องคำนึงว่าจะเขียนแบบไหนให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกอยากอ่านและเกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ต้องการจะสื่อ

 

ขั้นตอนการเขียนเชิงวิชาการ

 

 

1. เลือกหัวข้อเรื่อง

การเลือกหัวข้อเรื่องนั้นสามารถเลือกได้ที่อาจารย์กำหนดให้ หรือเป็นเรื่องที่เราสนใจอยากจะค้นคว้า โดยเรื่องที่เลือกนั้นจะต้องเป็นเรื่องมีความรู้พื้นฐานอยู่พอสมควรเพื่อที่จะได้ต่อยอดการศึกษาได้ ไม่ไกลตัวจนเกิดไป เพราะอาจจะไม่ได้คำตอบที่ต้องการจะค้นคว้า

2. กำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง

เพื่อให้การเขียนเป็นไปอย่างราบรื่น ควรกำหนดจุดมุ่งหมายใหญ่ ๆ ไว้ก่อนจะเลือกประเด็นสำคัญเพื่อกำหนดขอบเขตจากจุดมุ่งหมายอีกที ก่อนจะนำขอบเขตนั้นมาขยายเพื่อทำการศึกษาแตกย่อยออกไปตามที่กำหนดไว้

3. ค้นคว้าและรวบรวมความรู้

ในการเขียนเชิงวิชาการควรมีแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เป็นแหล่งอ้างอิง ดังนั้นก่อนอื่นเราจะต้องสำรวจแหล่งข้อมูลเสียก่อนว่ามีเพียงพอต่อการศึกษาหรือไม่ หรือเพราะไม่สามารถที่สร้างข้อมูลขึ้นมาใช้อ้างอิงเองได้ โดยการค้นคว้านั้นอาจจะใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลผ่านเอกสาร หนังสือออนไลน์ หรือจากห้องสมุดเพื่อหาหนังสืออ้างอิง

4. วางโครงเรื่อง

การวางโครงเรื่องนั้นมีความสำคัญเพราะต้องนำหัวข้อต่าง ๆ มาจัดเรียงให้เป็นลำดับว่าจะเขียนเรื่องไหนก่อนหรือหลัง และต้องทำควบคู่ไปกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อที่จะได้ปรับ เพราะขณะที่หาข้อมูลเราอาจจะได้แนวคิดหรือแนวทางใหม่ ๆ ที่ชัดเจนขึ้น โดยในการวางโครงเรื่องจะต้องกำหนดสองสิ่งหลัก ๆ นี้

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ การเขียนเชิงวิชาการไม่ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหมคะ ถึงแม้จะฟังเหมือนยาก แต่แค่น้อง ๆ หาข้อมูล และรู้จักวางโครงเรื่องให้เป็น เมื่อเราลำดับความคิดตัวเองและรู้ว่าจะเขียนอะไรแล้วก็ไม่มีอะไรยากอีกต่อไปค่ะ สำหรับน้อง ๆ ที่อยากจะฟังคำอธิบายเพิ่มเติมก็สามารถไปดูในคลิปการสอนของครูอุ้ม ในคลิปครูได้ยกตัวอย่างการเขียนขึ้นมาเพื่อให้เราเข้าใจและเห็นภาพมากกว่าเดิมด้วยนะคะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

ดูคลิป

แนะนำ

แชร์

สัจนิรันดร์

ในบทความจะเขียนเกี่ยวกับวิธีการพิสูจน์การเป็นสัจนิรันดร์ของประพจน์ ซึ่งจะเน้นให้น้องๆเข้าใจหลักการของการพิสูจน์ สิ่งที่น้องจะได้จากบทความนี้คือ น้องจะสามารถพิสูจน์การเป็นสัจนิรันดร์ของประพจน์ได้และหากน้องๆขยันทำโจทย์บ่อยๆจะทำให้น้องวิเคราะห์โจทย์เกี่ยวกับสัจนิรันดร์ได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ

เรียนรู้และเข้าใจเรื่องคำซ้อนในภาษาไทย

คำซ้อน เป็นหนึ่งในบทเรียนหลักภาษาไทยเรื่องการสร้างคำ น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยสับสนกับวิธีสร้างคำซ้อน ไม่รู้ว่าแบบไหนกันแน่ที่เรียกว่าคำซ้อน เพราะภาษาไทยเรานั้นก็มีคำมากมายเหลือเกิน วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องคำซ้อนให้มากขึ้น รับรองว่าไม่ยากแน่นอนค่ะ   คำซ้อน     ความหมายของคำซ้อน   คำซ้อน คือ คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ 2 คำ ขึ้นไปมาเรียงต่อกัน โดยคำที่นำมาซ้อนกันจะต้องเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน ตรงข้ามกัน หรืออาจมีเสียงที่คล้ายกัน

Possessive Adjectives : คำคุณศัพท์ที่แสดงความเป็นเจ้าของ

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Possessive Adjectives ในภาษาอังกฤษกันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย

เตรียมสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

เตรียมสอบเข้าม.1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สวัสดีค่ะน้อง ๆ วันนี้มาพบกับพี่แอดมินและ Nock Academy อีกเช่นเคย ซึ่งเรายังคงอยู่กับหัวข้อของการเตรียมสอบเข้าม.1กันนะคะ วันนี้แอดมินจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาและการเตรียมตัวสอบเข้าในระดับชั้นม.1ของโรงเรียนแห่งนี้กันค่ะ ก่อนอื่นแอดมินต้องขอกล่าวประวัติคร่าว ๆ ของโรงเรียนให้ทุกคนได้รู้จักกันก่อนนะคะ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาเป็นโรงเรียนชายล้วนที่ก่อตั้งขึ้นมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ถือเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของวิชาการ ภาษาและความเป็นผู้นำ โดยศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษามาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยแห่งนี้หลายคนเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงและประสบความเร็จจึงทำให้ชื่อเสียงของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนั้นเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน หลักสูตรสวนกุหลาบวิทยาลัย ม.ต้น ในปัจจุบันโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยได้มีการปรังปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความเท่าทันสังคมไทยในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

การใช้ประโยค Comparative Adjectives

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่บทเรียนเรื่องคำคุณศัพท์กันนะคะ วันนี้ครูได้ สรุปเรื่อง การใช้ ประโยค ประโยค Comparative Adjectives หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ Comparison of Adjectives: การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ มาฝาก ไปลุยกันเลยจร้า   คำศัพท์สำคัญ: Comparative VS Comparison comparative (Adj.)

Signal Words ในภาษาอังกฤษคืออะไร?

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Signal Words ในภาษาอังกฤษว่าคืออะไร และเอาไปใช้ได้อย่างไรได้บ้าง เราไปเริ่มกันเลยครับ

การบรรยายทางวิชาการที่ดีมีลักษณะอย่างไร

1. มีการนำหลักการหรือทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับในแวดวงสาขาวิชาการนั้นๆ มาใช้อย่างเหมาะสมและตรงกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า 2. มีการแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เช่น เสนอแนวทางการแก้ปัญหา 3. ความสมบูรณ์และความถูกต้องของเนื้อหาสาระ เนื้อหาสาระต้องสมบูรณ์ตามชื่อเรื่องที่กำหนดและถูกต้องในข้อเท็จจริง

การเขียนรายงานเชิงวิชาการมีส่วนใดบ้าง

รายงานทางวิชาการ มีส่วนประกอบสาคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนนา (Preliminary) ส่วนเนื้อความ (Body of Text) และส่วนท้าย (Reference Section) โดยได้แสดงตัวอย่างรูปแบบไว้ในภาคผนวก ของคู่มือการพิมพ์รายงานทางวิชาการ สาหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ในเล่มนี้แล้ว ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ข้อใดเป็นส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนรายงานทางวิชาการ

1.2 ส่วนประกอบตอนกลาง (เนื้อเรื่อง) เป็นส่วนสำคัญที่สุดของรายงาน แบ่งแยกเนื้อหาที่เขียนเป็นบทอย่างมีระบบระเบียบ ตามลำดับ รายงานทางวิชาการมีโครงสร้างมาตรฐาน 5 บท คือ บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 เอกสารและรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

เชิงอรรถ” ควรอยู่ในส่วนใดของรายงานเชิงวิชาการ

เชิงอรรถ คือ ข้อความที่เขียนไว้ส่วนล่างของหน้า หรือส่วนท้ายของเรื่อง โดยมีเส้นคั่น จากตัวเรื่องให้เห็นชัดเจน มีหมายเลขกำกับไว้ตรงส่วนท้ายของข้อความ และส่วนต้นของเชิงอรรถ ซึ่งหมายเลข หรือ เครื่องหมายดอกจัน กำกับไว้นั้นจะต้องตรงกันค่ะ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก