วัยรุ่นที่ถูกเลี้ยงดูมาด้วยการลงโทษ ทุบตี จะเป็นคนที่มีลักษณะอย่างไร

ปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่น
            ความรุนแรง การกระทำใดๆ ที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งกาย วาจา จิตใจ และทางเพศ โดยการบังคับขู่เข็น ทำร้ายทุบตี คุกคาม จำกัด กีดกันเสรีภาพทั้งในที่สาธารณะและในการดำเนินชีวิตส่วนตัว ซึ่งเป็นผลหรืออาจจะเป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมาน ทั้งร่างกายและจิตใจแก่ผู้ถูกกระทำ
ประเภทของความรุนแรง
1. ความรุนแรงต่อตนเอง หมายถึง ความตั้งใจและพฤติกรรมที่จะเป็นอันตรายต่อตนเอง ซึ่งอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย
2.ความรุนแรงระหว่างบุคคล เป็นความรุนแรงที่บุคคลหนึ่งกระทำต่ออีกบุคคลหนึ่ง อาจเรียกว่า "ผู้คุกคาม กับ เหยื่อ" หรือ "ผู้กระกับผู้ถูกกระทำ" ความรุนแรงในกลุ่มนี้เป็นปัญหาใหญ่ในสังคม พฤติกรรมความรุนแรงระหว่างบุคคล
สาเหตุของความรุนแรง
ปัจจัยภายในตัวบุคคล ได้แก่
•ความรู้ เจตคติ และความคิดเกี่ยวกับความรุนแรง เช่น เชื่อว่า การใช้กำลัง หรือใช้คำพูดรุนแรงทำให้คนอื่นเชื่อฟังทำตาม การตีลูกทำให้ลูกได้ดี ผู้ชายมีศักดิ์ศรีใครมาหยามก็ต้องต่อสู้กันให้แพ้ชนะ ฯลฯ
•ขาดทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น ทักษะการสื่อสาร การจัดการกับอารมณ์และความเครียด การจัดการกับความโกรธ การแสดงออกที่เหมาะสม เป็นต้น
•การใช้ยาเสพติด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้คนขาดสติยับยั้ง ควบคุมตัวเองไม่ได้
•เคยเห็นการกระทำรุนแรง หรือ เคยเป็นเหยื่อการกระทำรุนแรง
ปัจจัยจากการเลี้ยงดูของครอบครัว
•ขาดความรักความเข้าใจ และการสนับสนุนจากครอบครัว เช่น เมื่อมีปัญหาขาดผู้ใหญ่คอยดูแลให้คำแนะนำช่วยเหลือ
•เติบโตในบ้านที่ใช้ความรุนแรง ทำให้เห็นแบบอย่าง และคิดว่าความรุนแรงเป็นเรื่องปกติในสังคม
ปัจจัยจากสภาพแวดล้อม
•ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม เศรษฐกิจ สังคมเมือง และความแออัดทำให้คนแข่งขันสูง และเกิดความเครียด
•อิทธิพลจากสื่อ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ที่แสดงภาพความรุนแรงต่างๆ                                           
•มาตรฐานทางสังคมที่สนับสนุนพฤติกรรมความรุนแรง เช่น การที่คนที่มีพฤติกรรมความรุนแรงไม่ได้รับการลงโทษ ความรุนแรงเป็นเรื่องปกติในสังคม
•หาอาวุธได้ง่าย ปัญหาความรุนแรงในวัยรุ่น
1) การก่ออาชญากรรมโดยใช้ความรุนแรง เช่น ปล้นจี้ ทำร้ายร่างกายแล้วชิงทรัพย์ หรือข่มขืนกระทำชำเรา
2) การใช้อาวุธ เช่น ปืน มีด เป็นต้น ทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต มีผลทั้งต่อตนเองและผู้อื่นด้วย
3) กลุ่มวัยรุ่นระหว่างสถาบันที่ใช้ความรุนแรง เช่ย ยกพวกตีกัน การดักรอทำร้ายกัน การชกต่อยกันระหว่างชมการแสดงดนตรี เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อย
ผลกระทบจากความรุนแรงในวัยรุ่น
1) ผลกระทบระยะสั้น ความรุนแรงในวัยรุ่นจะก่อให้เกิดผลกระทบระยะสั้น คือ ขาดความพร้อมในการเรียนหนังสือ การเรียนตกต่ำ เรียนไม่ทันเพื่อน มีความเสี่ยงที่จะต้องหยุดเรียนกลางคัน มีเจตคติต่อต้านสังคม มีความก้าวร้าวและวิตกกังวล ได้รับการปฏิเสธ จากการเข้ากลุ่มเพื่อน
2) ผลกระทบระยะยาว ความรุนแรงในวัยรุ่นจะก่อให้เกิดผลกระทบระยะยาว คือ การทำผิดกฎหมาย มีประวัติที่มัวหมอง มีคดีติดตัว มีปัญหาเรื่องความประพฤติ ระเบียบวินัยกับโรงเรียนถูกพักการเรียน หรือถูกไล่ออก เกิดความซึมเศร้ารุนแรง เสพสารเสพติดและ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น เป็นภาระแก่สังคม แนวทางการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง
ระดับบุคคล

1. เรียนรู้และฝึกฝนตนเองให้เป็นคนใจเย็น มีเหตุผล ฝึกสมาธิ
2. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น อย่ายึดตนเองเป็นใหญ่
3. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น เล่นกีฬา ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4. อยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข ให้ความช่วยเหลือคนอื่นๆ เท่าที่จะสามารถทำได้
5. ไม่ตัดสินปัญหาโดยการใช้กำลัง และหลีกเลี่ยงเมื่อถูกผู้อื่นใช้กำลัง
6. ไม่หมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมทางอินเทอร์เนตมากเกินไป โดยเฉพาะการสนทนาทางอินเทอร์เนต หรือ การแชต (chat) ซึ่งจะนำไปสู่การถูกหลอกลวงไปทำรุนแรงทางเพศได้ง่าย
ระดับครอบครัว
1.สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว พ่อ แม่ ผู้ปกครองควรมีข้อตกลง เรื่อง อำนาจการตัดสินใจเรื่องในครอบครัวโดยไม่ใช้ความรุนแรง
2.มีพฤติกรรมที่แสดงความรัก ความเอื้ออาทร และช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่าง พ่อ แม่ ลูกและคนอื่นๆ ในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ
3. มีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินชีวิต ตลอดจนกติกาต่างๆ ภายในครอบครัว โดยสมาชิก ทุกคนมีส่วนร่วม
4. สมาชิกในครอบครัวมีความยืดหยุ่น ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสมาชิกใน ครอบครัวอย่างปกติ
5. สมาชิกทุกคนควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของครอบครัว ตามสถานภาพที่ควรจะเป็นรวมทั้งการ แก้ไขเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดด้วย
6. พ่อแม่ ผู้ปกครองให้การอบรมเลี้ยงดูลูกๆ ไปในแนวทางที่ถูกต้องโดยให้การเอาใจใส่ดูแลลูกๆ อย่างใกล้ชิด
7. พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการแก้ไขปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง
8. พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องไม่ใช้ความรุนแรงกับลูกๆ การลงโทษเมื่อลูกกระทำผิดต้องทำอย่างมีเหตุผล

//www.dek-d.com/board/view/3030410


วัยรุ่นที่ถูกเลี้ยงดูมาด้วยยการลงโทษ ทุบตี จะเป็นคนที่มีลักษณะอย่างไร

Q. วัยรุ่นที่ถูกเลี้ยงมาด้วยการลงโทษ ทุบตี จะเป็นคนที่มีลักษณะอย่างไร เห็นแก่ตัว เบื่อหน่ายชีวิต เป็นตัวของตัวเองสูง

ข้อใดเป็นลักษณะการแสดงออกของวัยรุ่นตอนกลางที่ชัดเจนมากที่สุด

วัยรุ่นตอนกลางคือช่วงอายุ 14-16 ปี ซึ่งวัยรุ่นตอนกลาง อารมณ์จะค่อนข้างสงบขึ้น เมื่อเทียบกับวัยรุ่นตอนต้น มีพัฒนาการในด้านความคิดที่ลึกซึ้งขึ้น ความคิดวู่วามลดลง เริ่มคิดรอบคอบ และเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น สามารถปรับตัวตามสถานการณ์และมีความยืดหยุ่น เริ่มค้นหาตนเอง มีความภูมิใจในตนเอง รู้ถึงข้อดีของตนเอง พัฒนาข้อบกพร่องของ ...

เพราะเหตุใดวัยรุ่นชายจึงมีกำลังเเละความเเข็งเเรงมากกว่าวัยรุ่นหญิง

answer choices. ก. เพราะวัยรุ่นชายมีความหนาแน่นของร่างกายส่วน กล้ามเนื้อมากกว่า

การเจริญเติบโตของวัยรุ่นแต่ละคนมีลักษณะเป็นอย่างไร

เมื่อเข้าสู่วัยแรกรุ่น วัยรุ่นชายจะมีอัตราการ เจริญเติบโตของไหล่มากที่สุด วัยรุ่นชายจะมี ไหล่กว้างกว่าวัยรุ่นหญิง แต่การเจริญเติบโต ของสะโพก วัยรุ่นหญิงมีอัตราการเจริญเติบโต เร็วกว่าวัยรุ่นชายในระยะเริ่มแรก แต่เมื่อร่างกาย โตเต็มที่แล้ว พบว่าสะโพกของทั้งวัยรุ่นหญิง และวัยรุ่นชายมีขนาดใกล้เคียงกัน ส่วนการ เจริญเติบโตทาง ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก