กฎหมาย และจริยธรรมในการใช้งาน คอมพิวเตอร์ มี สิ่ง ใดที่ เหมือน กัน

จริยธรรม (Ethics) หมายถึง ความถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง ที่เป็นตัวแทนศีลธรรมที่เป็นอิสระในการเลือกที่จะชักนำพฤติกรรมบุคคล เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศทำให้เกิดปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล และสังคม เพราะทั้ง 2 สิ่งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมประเด็นด้านจริยธรรม และกฎหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

  • ความเป็นส่วนตัว (Privacy) : มองในส่วนของสิทธิส่วนบุคคลที่พึงมี ซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถเข้าไปใช้หรืออ่านข้อมูลที่เป็นส่วนตัวได้
  • ความถูกต้อง (Accuracy) : มองในส่วนการจัดเก็บข้อมูลฐานข้อมูลต้องถูกต้อง ถ้าข้อมูลที่ได้ไม่ถูกต้องแล้วนั้น จะทำให้เมื่อนำไปประมวลผลมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ จะส่งผลต่อการตัดสินใจด้วย
  • ความเป็นเจ้าของ (Property) : มองในส่วนสิทธิความเป็นเจ้าของในซอฟต์แวร์ (ลิขสิทธิ์)
  • การเข้าใช้ข้อมูล (Access) : มองในส่วนสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลในองค์กร ใครบ้างที่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล และใครบ้างที่สามารถอ่าน เขียนข้อมูลได้

กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน (กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญมาตรา 78) (National Information Infrastructure Law)

  • เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคมเทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่นๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78
  • เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเอง
  • พัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้
  • ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสนเทศ
  • ปัญหาเด็กติดเกมส์
  • ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์
  • ปัญหาสังคมเสื่อมโทรมจากการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด
  • ปัญหาอาชญากรรมต่อชีวิตที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ปัญหาอาชญากรรมต่อข้อมูล
  • ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น คุกกี้ การนำภาพบุคคลมาตกแต่งดัดแปลงเพื่อให้เกิดการเข้าใจผิด ฯลฯ

แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม
    • ระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น
    • ตั้งใจทำกิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ
    • ทำการศึกษาหาความรู้ว่ากิจกรรมประเภทใดเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ และกิจกรรมประเภทใดสามารถสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นได้
  2. สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
    • พึงรำลึกอยู่เสมอว่า ในสังคมของเราทุกวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควร
    • หากผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในทางที่ไม่ดี เทคโนโลยีก็ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ดี ไม่เป็นที่พึงปรารถนาให้รุนแรงขึ้นได้
    • ไม่ลุ่มหลงต่อกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดจนมากเกินไป
  3. ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี
    • วัฒนธรรมที่ดีสามารถควบคุมและแก้ปัญหาสังคมได้ เช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น
    • ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้อื่นพึงให้เกียรติแหล่งข้อมูล ด้วยการอ้างอิงถึง (citation) เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์
  4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน พึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และหาทางป้องกันภัยอันตรายเหล่านั้น เช่น
    • การติดตั้งระบบเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน
    • การให้ความรู้เรื่องภัยอันตรายจากอินเทอร์เน็ตต่อสังคม
    • การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภัยอันตรายที่มากับ เทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
  5. ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้เช่น มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ISO/IEC 17799) มีการกำหนดเรื่องความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับ
    • บุคลากร
    • ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านกายภาพ
    • สิ่งแวดล้อมขององค์กร
    • การควบคุมการเข้าถึง
    • การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย ฯลฯ
  6. ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย
    • การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางลิขสิทธิ์ (Copyright) ในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา
    • การป้องกันข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เป็นต้น

บัญญัติ 10 ประการเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้ เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ

เป็นมาตรฐานที่องค์กรธุรกิจใช้เป็นหลักการประพฤติปฏิบัติต่อลูกค้าตลอดจนหุ้นส่วนทางการค้า และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยความยุติธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ก็เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกด้านจริยธรรมขององค์กรนั่นเอง
       



จริยธรรมทางธุรกิจสำคัญอย่างไร 
ความเสียหายต่อองค์กรที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินธุรกิจโดยไม่มีจริยธรรมเป็นบทเรียนให้องค์กรหันมาให้ความสนใจในด้านนี้มากขึ้น โดยให้เหตุผลว่า หากองค์กรดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม จะทำให้เกิดผลดี 5 ประการ ดังนี้
1.ได้ค่านิยมหรือมีค่าความนิยมเพิ่มมากขึ้น                                                                                             

องค์กรที่มีจริยธรรมทางธุรกิจ จะมีค่าความนิยมเพิ่มขึ้น การดำเนินธุรกิจก็จะง่ายขึ้น มีโอกาสได้รับแต่สิ่งที่ดีที่สุด ในทางตรงกันข้าม หากองค์กรใดไม่มีจริยธรรมทางธุรกิจ หรือไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม จะทำให้มีชื่อเสียงในแง่ลบ การค้าขององค์กรจะทำได้ยากขึ้นส่งผลต่อรายได้เเละผลกำไรขององค์กรในที่สุด




2.การดำเนินงานในองค์กรมีความสอดคล้องกัน                                                                                       
โดยหลักจริยธรรมที่องค์กรพึงมี เมื่อต้องดำเนินการร่วมกัน มีดังนี้
  • ดำเนินงานด้วยความซื่อสัตย์และมีคุณธรรม  
  • ดำเนินงานตามหลักจริยธรรมทั่วไป ทั้งการกระทำและวาจา
  • ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า และผู้บริโภคด้วยความเคารพนับถือ   
  • ทำงานด้วยความอุตสาหะ และความพยายามอย่างดีที่สุด  
  • รับผิดชอบต่อภาวะหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุด    
  • ยอมรับความแตกต่าง                                                     
  • ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและหลักการ
3.เพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจ                                                                                                                           
การมีจริยธรรมที่ดีทางธุรกิจ ทำให้ธุรกิจดีไปด้วย ยังส่งผลให้มีกำไรเพิ่มขึ้นด้วย องค์กรที่ให้ความสำคัญต่อขวัญกำลังใจของพนักงาน ย่อมสามารถรักษาพนักงานที่มีศักยภาพสูงไว้ได้นาน
4.ป้องกันองค์กรและพนักงานจากการดำเนินการทางกฎหมาย                                                                   
 องค์กรควรดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรมอันดีงามไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยองค์กรสามารถจัดตั้งโครงการเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจ ดังนี้
  •  กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่ขัดต่อกฏหมายและจะต้องมีจริยธรรมอันดี   
  •   ทำความเข้าใจในจุดเเข็งและจุดอ่อนของวัฒนธรรมและความสามารถขององค์กร  
  •   วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อพิจารณาว่าอะไรคือแรงกดดันที่ธุรกิจต้องเผชิญ พิจารณาพฤติกรรมเสี่ยงด้านอาชญากรรม ความล่อแหลมต่อกฎหมาย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5.หลีกเลี่ยงข่าวในเเง่ลบได้                                                                                                                      
หากองค์กรมีชื่อเสียงในทางที่ดี จะช่วยให้มูลค่าหุ้นขององค์เพิ่มมากขึ้น  ในทางตรงกันข้าม หากองค์กรมีชื่อเสียงในเเง่ลบก็จะส่งผลให้มูลค่าหุ้นลดต่ำลงทัน
                           

การเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจในองค์กร

          หลายองค์กรในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจ ด้วยกิจกรรมต่างๆดังต่อไปนี้
1.แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ด้านจริยธรรมขององค์กร
เจ้าหน้าที่ด้านจริยธรรมขององค์กร คือ ผู้จัดการระดับอาวุโส ทำหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางที่เกี่ยวข้องกับหลักปฏิบัติของธุรกิจ โดยทำหน้าที่บูรณาการจริยธรรมขององค์กร นโยบาย กิจกรรมการปฏิบัติตมกฎหมาย และหลักปฏิบัติของธุรกิจ ให้เข้ากับกระบวนการตัดสินใจในการดำเนินงานทุกระดับขององค์กร
2.กำหนดมาตรฐานทางจริธรรม
เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจขององค์กรดำเนินไปด้วยความโปร่งใส ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับทางอุตาหกรรม และไม่มีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง
3.กำหนดจรรณยาบรรณขององค์กร
เป็นการประกาศประเด็นด้านจริยธรรมและระบุหลักการปฏิบัติที่สำคัญต่อองค์กรและการตัดสินใจในระดับต่างๆ ทำให้มั่นใจว่าพนักงานจะปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับด้านอุตสาหกรรม และทำงานด้วยวิธีการที่โปร่งใส ไม่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่องค์กร
4.ให้มีการตรวจสอบทางสังคม
เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรณ์สามารถดำเนินนโยบายทางสังคมที่ได้กำหนดในอดีตได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และเพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำที่ผิดพลาดในอนาคต
5.กำหนดเงื่อนไขทางจริยธรรมไว้ในแบบประเมินพนักงาน
เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายจริยธรรมทางธุรกิจ บางองค์กรอาจเพิ่มเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมในแบบประเมินพนักงานเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดจริยธรรมของพนักงาน

จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความนิยมใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเเพร่หลาย ทำให้ผุ้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนตัวแบบออนไลน์ได้เป็นจำนวนมาก ความไว้วางใจในระบบสารสนเทศก็มีมากขึ้นทำให้มีความเสี่ยงในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ผิดมากขึ้นด้วย

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลกระทบต่อจริยธรรม
ประสิทธิภาพของเทคดนโลยีที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขี้น ทำให้ประเด็นด้านจริยธรรมได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากแนวโน้มดังกล่าวทำให้กฎหมายล้าสมัย สังคมเกิดความขัดแย้ง พลเมืองมีแรงจูงใจในการทำผิดศีลธรรมมากขึ้น โดยแนวโน้มของเทคโนโลยีสำคัญที่เป้นสาเหตุหลักได้แก่

  • ขีดความสามารถในการประมวลผลเพิ่มขึ้น   องค์กรส่วนใหญ่นำระบบสารสนเทศมาใช้ในธุรกิจหลักขององค์กรมากขึ้น ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับระบบต้องพึ่งพาระบบมากขึ้น เสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว อีกทั้งคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูลลดลง

            

  • ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการเก็บรักษาข้อมูล  ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการเก็บข้อรักษาข้อมูล และราคาที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการกระจายตัวอย่างมากมายของฐานข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ความก้าวหน้าในการเก็บรักษาข้อมูลทำให้การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทำให้ได้ในราคาถูกมาก แต่กลับมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขี้น


  • ความก้าวหน้าในการวิเคราะห์ข้อมูล  เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศ ช่วยให้องค์กรสามารถปะติดปะต่อและรวบรวมขาวสารที่เก็บรักษาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นข่าวสารที่เป็นประโยชน์ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งอาจถูกนำไปใช้หาผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้



  • ความก้าวหน้าของระบบเครือข่ายและอินเตอร์เน็ต  สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลในปริมาณที่สูงมาก โดยใช้ระยะเวลาที่สั้นมาก ทำให้การขโทยข้อมูลจากเครือข่ายอื่นและเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทำได้ง่ายขึ้น




ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศกับพฤติกรรมที่ขัดหลักจริยธรรม
ด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซ ทำให้หลายองค์กรมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลของลูกค้าอย่างเหมาะสม การรักษาความลับของลูกค้า ตลอดจนป้องกันทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น อีกทั้งยังพบพฤติกรรมหลายอย่างที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลายกลุ่มกระทำอย่างกว้างขวาง โดยไม่คำนึงถึงหลักจริยธรรม เช่น

  • ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตหลายล้านคนในโลก นิยมใช้เครือข่ายประเภท Peer-to-Peer ในการอัพโหลดและดาวน์โหลดเพลง ภาพยนต์ และซอฟต์แวร์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นั่นคือการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

  • หลายองค์กรนิยมใช้วิธีการโฆษาสินค้าด้วยการส่งอีเมล์ในลักษณะ Spam Mail ซึ่งเป็นการรบกวนผู้ได้รับอีเมล์ ถึงแม้ว่าการโฆษณาด้วยวิธีนี้จะมีต้นทุนน้อยมากก็ตาม

  • แฮกเกอร์เจาะเข้าไปในระบบฐานข้อมูลของสถาบันการเงิน เพื่อขโมยข้อมูลลูกค้าไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิดกฎหมาย

  • นักศึกษาส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลด E-Book ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการเรียนได้จากอินเทอร์เน็ต


       จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมข้างต้น ล้วนหมิ่นเหม่และเข้าข่ายผิดกฎหมาย โดยพฤติกรรมทั้งหมดเกิดขึ้นจากการขาดจิตสำนึกและขาดจริยธรรมของผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการเกิดความขัดแย้งระหว่างจริยธรรมและการบรรลุเป้าหมายขององค์กร จึงทำให้ต้องมีการศึกษาถึงจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะ เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขาดจริยธรรม จะได้มีการตระหนักถึงความสำคัญในด้านนี้มากขึ้น


จริยธรรมสำหรับผู้ใช้ไอที

ประเด็นด้านจริยธรรมสำหรับผู้ใช้ไอที  มีดังต่อไปนี้

1.การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ (Software Piracy)

คือ การทำซ้ำหรือดัดแปลง การเผยเเพร่ซอฟต์เเวร์ต่อที่สาธารณะชนการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาซอฟต์แวร์ ตลอดจนการแสวงหากำไรจากซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาติ หรือโดยไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายตามลิขสิทธิ์ที่กำหนดไว้


2.การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างไม่เหมาะสม

เช่น การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆในเวลางาน เข้าเว็บไซต์ลามก อนาจาร ดาวน์โหลดภาพยนต์ เพลง โดยใช้อินเทอร์เน็ตขององค์กร การสนทนากับเพื่อนด้วยโปรแกรมแชทต่างๆและการเล่นเกมในเวลาทำงาน พฤติกรรมดังกล่าวจัดเป็นทรัพยากรคอมพิวเตอร์ขององค์กรอย่างไม่เหมาะสม ทำให้ปริมาณงานลดน้อยลง องค์กรมีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ด้วย



3.การแบ่งปันสารสนเทศอย่างไม่เหมาะสม

ผู้ใช้งานไอทีและผู้ใช้ทั่วไป มักมีการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างกันอยู่เสมอ เนื้อหาของข้อมูลข่าวสารที่เเลกเปลี่ยนกัน บางครั้งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น นับว่าเป็นการเปิดเผยความลับขององค์กรให้บุคคลอื่นทราบอาจไปถึงมือคู่แข่งทางธุรกิจ และสร้างความเสียหายแก่องคืกรได้ในที่สุด

จริยธรรมและกฎหมายคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

1.จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อก่ออาชญากรรมหรือละเมิดสิทธิของ ผู้อื่น 2. จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่น 3.จะต้องไม่ท าการสอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูไฟล์เอกสารของผู้อื่น ก่อนได้รับอนุญาต 4.จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูล ข่าวสาร 5.จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานเท็จ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายในปัจจุบันคือข้อใด

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Law) หรือเรียกว่า กฎหมายไอที (IT Law) เสนอโดย กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National Information Technology Committee) หรือที่เรียกโดยย่อว่า คณะกรรมการไอทีแห่งชาติ หรือ กทสช. (NITC) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานระหว่าง ...

จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์คืออะไร เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง สำคัญอย่างไร

จริยธรรม เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับหลักในการประพฤติปฏิบัติตนของมนุษย์ ที่มุ่งเน้นแต่การทำดี คิดดี ซึ่งทางด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์แล้ว จริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนควรจะตระหนักถึงตลอดเวลา เพื่อไม่ให้มีการใช้ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ไปในทางที่ผิด อันจะก่อให้เกิดความเสียหาย ...

จริยธรรมและกฎหมายมีความแตกต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างกฎหมายและจริยธรรม กฎหมายถูกกำหนดให้เป็นระบบกฎเกณฑ์ที่ควบคุมทั้งสังคมและการกระทำของสมาชิกแต่ละคน จริยธรรมหมายถึง ศาสตร์แห่งการประพฤติปฏิบัติตามมาตรฐานของมนุษย์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก