การแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณมีวิธีการอย่างไรบ้าง

จากดราม่าร้อนแรงในโลกโซเชียลกับประเด็น "เอาเงิน 5 ล้านไปกองให้พ่อแม่ คือ ความกตัญญู" ที่ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะลูกๆ หลายคนที่ดูแลพ่อแม่มาตลอด แต่ก็ไม่ได้มีเงินมากองให้บุพการีได้มากมายขนาดนั้น

แม้เจ้าของวลีดังกล่าวจะออกมาขอโทษชาวเน็ต พร้อมยอมรับว่าตนเองไม่สนใจเรื่องโครงสร้างสังคมที่ไม่น่าสนับสนุน และต่อไปจะคิดให้รอบด้านกว่านี้ แต่กระนั้น ชาวโซเชียลก็ยังคงแสดงความเห็นต่อกรณีนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า.. พ่อแม่บางคนก็ตัดสินความกตัญญูของลูกจากการส่งเงินไปให้ทุกเดือนจริงๆ

แล้วแบบนี้ พ่อแม่ - ลูก ควรปรับทัศนคติเรื่อง “ความกตัญญู” ให้เข้าใจตรงกันโดยอย่างไร? โดยไม่ต้องทะเลาะให้ใจเจ็บทั้งสองฝ่าย กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนมาเจาะลึกคำว่า "กตัญญู" ในทางปรัชญาและจิตวิทยาให้มากขึ้น

  • ความกตัญญูคืออะไร? มีครั้งแรกเมื่อไหร่?

ก่อนอื่นชวนรู้ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “ความกตัญญู” กันหน่อย รู้หรือไม่? คำนี้มาจากภาษาละติน คือ “Gratus” แปลว่า “ที่ชื่นชอบ, ขอบคุณ” เป็นความรู้สึกหรือการตอบสนองในเชิงบวก โดยผู้รับจะสนองตอบต่อความเมตตา, ของขวัญ, ความช่วยเหลือ หรือความเอื้ออาทรอื่นๆ ไปยังผู้ให้ 

ความกตัญญูถูกพูดถึงทั้งในแง่สังคมวิทยา ปรัชญา และหลักจริยธรรมในหลายๆ ศาสนาทั่วโลก โดยเป็นหัวข้อที่นักปรัชญายุคโบราณ ยุคกลาง และยุคใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ให้ความหมายไปในทิศทางเดียวกันว่า เป็นคุณธรรมที่แสดงถึงพฤติกรรมที่ดี

  • ความกตัญญู ไม่เท่ากับ การเป็นหนี้

ทั้งนี้ การแสดงออกถึงความกตัญญู ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือจะถือว่าเป็นหนี้บุญคุณต่อผู้ให้ ยืนยันจากงานวิจัยเรื่อง “หนี้แห่งความกตัญญู : การแยกแยะความกตัญญูและการเป็นหนี้” จากทีมนักวิจัย (Watkins, Scheer, Ovnicek & Kolts) ของหลักสูตรปริญญาเอก สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (The Chinese University of Hong Kong)

พวกเขาได้เผยแพร่ผลการศึกษาไว้ว่า แม้การเป็น “หนี้” และ “ความกตัญญู” ทั้งสองอย่างนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่มีฝ่ายหนึ่งได้รับความช่วยเหลือจากอีกฝ่าย แต่ก็มีความแตกต่างกันในความรู้สึกและพฤติกรรมโต้ตอบ  

กล่าวคือ.. การเป็น “หนี้” เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ลูกหนี้จะรับรู้และตระหนักว่าพวกเขามีภาระผูกพันที่จะต้องชดใช้ให้กับเจ้าหนี้ และการเป็นหนี้จะกระตุ้นให้ลูกหนี้มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้เสมอ  

ขณะที่ “ความกตัญญู” ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะมีอารมณ์และความรู้สึกที่นำไปสู่พฤติกรรมที่ดีในเชิงบวก คือ ผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือ มักอยากจะค้นหาผู้มีพระคุณเพื่อตอบแทนบุญคุณ และช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีให้ทั้งสองฝ่าย พร้อมส่งต่อพฤติกรรมการเกื้อกูลนี้สู่อนาคตต่อๆ ไปด้วย 

  • ประโยชน์ของ "ความกตัญญู" ในเชิงจิตวิทยา

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาความกตัญญูในเชิงจิตวิทยา พบว่ามันมีประโยชน์ในแง่ช่วยปรับปรุงสุขภาพจิตใจ ภาวะทางอารมณ์ให้ดีขึ้น และส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้นอย่างสอดคล้องกัน 

โดย Robert Emmons จากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย และ Michael McCullough จากมหาวิทยาลัยไมอามี พวกเขาได้ศึกษาและทดลองในประเด็น “จิตวิทยาเชิงบวกของความกตัญญู” พวกเขาทำการทดสอบกับอาสาสมัครจำนวนหนึ่ง

โดยให้อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งเขียนขอบคุณสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เจอมาในชีวิตประจำวันลงในไดอารีเป็นเวลา 13 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับอีกกลุ่มที่เขียนเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกโกรธ

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่เขียนขอบคุณมีสุขภาพที่ดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ โดยพบว่าเมื่อเกิดความรู้สึกขอบคุณ (หรือกตัญญูต่อสิ่งรอบตัว - ตามบริบทของงานวิจัยชิ้นนี้) ร่างกายของคนเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่ลึกซึ้ง เช่น

ความเครียดลดลง, กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน, การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น, อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ,  หายใจลึกขึ้น, ปริมาณออกซิเจนในเส้นเลือดและเนื้อเยื่อเพิ่มมากขึ้น ฯลฯ

เหล่านี้ส่งผลให้อารมณ์ดี การตัดสินใจมีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างการคิดในแง่บวกแม้ขณะที่เราอยู่ในช่วงเวลาแห่งความทุกข์ ซึ่งเป็นกลไกของจิตใต้สำนึกที่ช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันได้ดีขึ้น

  • บทสรุป "ความกตัญญู" แบบไหนที่เรียกว่าพอดี?

จากงานวิจัยทั้งสองชิ้นพอจะสรุปได้ว่า ความกตัญญูนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่ทุกคนควรมี เพราะนอกจากจะมีประโยชน์ในเชิงบวกทั้งในแง่จิตใจและอารมณ์แล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพในทางอ้อมด้วย 

ส่วนการแสดงออกถึงความกตัญญูนั้น ไม่ใช่การจ่ายหนี้ ดังนั้นพ่อแม่จึงควรทำความเข้าใจใหม่ว่า ลูกไม่จำเป็นต้องนำเงินจำนวนมากๆ มาให้พ่อแม่เพื่อแสดงถึงความกตัญญู ทั้งนี้การที่ลูกให้เงินพ่อแม่ก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ควรให้ตามกำลังของตนเอง

นอกจากนี้ ลูกๆ ยังสามารถแสดงออกถึงความกตัญญูต่อพ่อแม่หรือผู้มีพระคุณด้วยวิธีอื่นๆ ได้อีกมากมาย ซึ่งอาจเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่แทบไม่ต้องใช้เงินด้วยซ้ำ เช่น

ความกตัญญู คือ การรู้สึกสำนึกในคุณ ด้วยแสดงความเคารพ นับถือ เชื่อฟัง และช่วยเหลือในกิจการงานต่าง ๆ การกระทำเช่นนี้ ย่อมนำมาซึ่งความสุข ความเจริญ และเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและหน้าที่การงาน ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี การที่เยาวชนไทยได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีในเรื่องของความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณถือเป็นเรื่องที่ดี เป็นการสร้างภูมิ คุ้มกันให้สังคม การเลี้ยงดูของครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยอบรมและส่งเสริมพฤติกรรมของเยาวชนให้มีคุณลักษณะของการเป็นคนมีความกตัญญู ความตระหนักรู้ในคุณของบุคคล สัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อตนเองทั้งโดยตรงและโดยอ้อมพฤติกรรมความกตัญญูมีลักษณะอย่างไร?

ปัจจุบันมีกระแสความเจริญทางเทคโนโลยีอย่างไร้ขีดจำกัด สิ่งยั่วยุให้เกิดการเบี่ยงเบนของพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเยาวชน ตลอดจนการสร้างความเจริญทางวัตถุที่มากไปจนลืมคำนึงถึงความเจริญทางด้านจิตใจ ตลอดจนความต้องการทาง ด้านวัตถุเพื่อมาสนองความต้องการทางกาย ทางใจในการดำรงชีวิตประจำวันของสมาชิกในสังคมนั้น ทำให้เกิดการแย่งชิงโอกาส เพื่อการประกอบการเลี้ยงชีพ โดยลืมคำนึงเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมในจิตใจ ลืมคำนึงถึงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของคนไทยที่มีความกตัญญู รู้จักตอบแทนบุญคุณ ซึ่งความกตัญญูเป็นคุณธรรมที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยรักษาและพยุงสังคม ไทย ผู้ที่มีความกตัญญู คือ มีจิตสำนึกในคุณท่านและคิดตอบแทน ส่วนผู้ที่ไม่มีความกตัญญูคือคนอกตัญญู ไม่รู้คุณ ย่อมถูกประณามว่า เป็นคนไม่ดี ไม่น่าคบหา ความกตัญญูเป็นคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์ ในสังคมมนุษย์ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่นและสิ่งอื่น ชีวิตด้านกายภาพดำรงอยู่ได้เพราะได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบุคคลต่างๆ มีพ่อแม่ ครูอาจารย์ ญาติพี่น้อง เป็นต้น ความกตัญญูนี้เป็นคุณธรรมที่มนุษย์ควรปฏิบัติไม่เฉพาะต่อมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น แต่รวมไปถึงต่อสัตว์และพืชด้วย ผู้ที่มีความกตัญญูย่อมจะทำตนเองให้มีความสุขและทำผู้อื่นให้มีความสุขด้วย ลักษณะของคนมีความกตัญญูตามหลักพระพุทธศาสนา มี 2 ลักษณะ ได้แก่ กตัญญูชั้นสามัญ คือ กตัญญูอย่างสามัญทั่วไป หมายถึง รู้อุปการคุณที่บุคคลอื่นทำให้เรา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดกตเวที คือ การตอบแทนคุณ ซึ่งเด็กจะยอมรับว่าใครมีคุณก็ต่อเมื่อเขาทำอะไรให้กับตนเท่านั้น เช่น ยอมรับว่าพ่อแม่มีพระคุณ เพราะได้เลี้ยงดูมา ยอมรับว่าครูมีพระคุณ เพราะได้อบรมสั่งสอน ยอมรับว่าญาติพี่น้องมีบุญคุณ เพราะเคยให้ข้าวให้ขนม กตัญญูชั้นสัตบุรุษ เป็นความกตัญญูชั้นสูง หมายถึง การรู้จักคุณธรรมความดีที่มีอยู่ในตัวบุคคลอื่น ใครมีความดีก็รู้ว่าเขาเป็นคนดี ไม่ว่าจะทำอะไรให้เราหรือไม่ก็ตาม ไม่ยึดเอาตัวเองเป็นเครื่องวัดความดีของคนอื่น เป็นการตัดสินความดีด้วยความดี และรู้จนกระทั่งว่าธรรมทั้งหลายมีคุณค่าอย่างไร และพยายามถ่ายทอดคุณลักษณะที่ดีนั้นมาใส่ตัวเรา เพื่อจะได้ทำความดีเป็นแบบอย่างที่ดีเหมือนเขา ส่วนการแสดงออกต่อผู้มีพระคุณมีลักษณะ ดังนี้ ประกาศคุณท่าน คือ การประกาศว่าผู้มีพระคุณของเราดีอย่างไรบ้าง เช่น ถ้าผู้มีพระคุณเป็นพ่อแม่ ทำโดยพูดถึงพ่อแม่ให้คนอื่นฟังได้ว่า ท่านดีกับเราอย่างไร กิจกรรมที่นิยมทำกันมากคือ การทำบัตรอวยพรวันพ่อและวันแม่ แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ ประกาศที่ตัวเอง เพราะเป็นลูกและได้รับการอบรมมาจากพ่อแม่ ฉะนั้น ความประพฤติของเด็กจะเป็นตัวประกาศคุณพ่อแม่ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ตอบแทนคุณท่าน คือ เมื่อรู้ว่าท่านมีคุณหรือมีอุปการะ ต้องตอบแทน เช่น ถ้าผู้มีพระคุณเป็นพ่อแม่ ลูกสามารถตอบแทนได้โดย เป็นเด็กดี ช่วยงานบ้านง่ายๆ ประพฤติตนเป็นลูกที่ดี ความกตัญญูมีความสำคัญอย่างไร?

ความกตัญญูกตเวทีเป็นคุณธรรมที่สำคัญสำหรับมนุษยชาติ เป็นคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์ ทำให้มีความสัมพันธ์กันในสังคมมนุษย์และเป็นบ่อเกิดแห่งความรับผิดชอบต่อความเป็นมนุษย์ และเป็นคุณธรรมเบื้องตนของมนุษยธรรมทั้งหลาย เพราะเป็นเครื่องทำลายความเห็นแก่ตัวซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของความดี เป็นเหตุให้เกิดความสุขุม รอบคอบ ความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบ จำแนกความสำคัญของความกตัญญูกตเวทีได้ดังนี้ ความกตัญญูกตเวทีเป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทยได้สอดแทรกความกตัญญูกตเวทีไว้เกือบทุกเรื่อง เช่น การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย การบวช วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันลอยกระทง เป็นต้น ความกตัญญูกตเวที ทำให้สถาบันครอบครัวและสังคมมั่นคง ซึ่งนับว่าเป็นหลักธรรมพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์รู้จักการกระทำหน้าที่อันเหมาะสมของตนเอง โดยเริ่มจากความรับผิดชอบต่อตนเอง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในสถาบันครอบครัว โดยบิดามารดาทำหน้าที่ในฐานะบุพการี และบุตรธิดาปฏิบัติหน้าที่ต่อบิดามารดาในฐานะผู้มีความกตัญญูกตเวที อันจะขยายผลในระดับสังคมที่กว้างออกไป ความกตัญญูช่วยให้โลกอยู่รอดไม่มีปัญหา ปัญหาคนชราไม่มีคนเลี้ยง ปัญหาสงคราม ปัญหาความโหดร้ายทารุณ ปัญหาการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ ฯลฯ ก็จะหมดไป สภาวะสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติจะสมดุลไม่ถูกทำลาย คนมีความกตัญญูย่อมระลึกถึงบุญคุณของป่าไม้ ทุ่งนา แม่น้ำ ลำธาร ถนนหนทาง และสิ่งสาธารณประโยชน์อื่นๆ ฯลฯ ช่วยกันอนุรักษ์ บำรุง รักษาให้สิ่งเหล่านั้นคงอยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างสมดุลและกลมกลืน ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี เด็กจะได้ประโยชน์อะไรจากความกตัญญู?

ความกตัญญูทำให้สถาบันครอบครัวและสังคมมั่นคง ซึ่งนับว่าเป็นหลักธรรมพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์รู้จักการกระทำหน้าที่อันเหมาะสมของตนเอง โดยเริ่มจากมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในสถาบันครอบครัว โดยพ่อแม่ทำหน้าที่เป็นบุพการี และลูกปฏิบัติหน้าที่ต่อพ่อแม่ในฐานะผู้มีความกตัญญู ซึ่งจะขยายผลในระดับสังคมที่กว้างออกไป ความกตัญญูช่วยให้โลกอยู่รอดปลอดภัย ปัญหาสังคม เช่น ปัญหาคนชราไม่มีคนเลี้ยง ปัญหาสงคราม ปัญหาความโหดร้ายทารุณ ปัญหาการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจจะหมดไป สภาวะสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติจะไม่ถูกทำลาย เพราะคนมีความกตัญญูย่อมระลึกถึงบุญคุณของป่าไม้ ทุ่งนา แม่น้ำ ลำธาร ถนนหนทาง และสิ่งสาธารณประโยชน์อื่นๆ ช่วยกันอนุรักษ์ บำรุง รักษาให้สิ่งเหล่านั้นคงอยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างสมดุล การที่เด็กเป็นคนกตัญญูกตเวที ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อตัวเด็กมีดังนี้ ได้รับคำสรรเสริญจากสังคมส่วนรวม กระทำการใดๆที่ดีก็จะสำเร็จเนื่องจากได้รับการช่วยเหลือจากสังคม ได้รับการยกย่องจากสังคม เป็นคนที่สังคมต้องการและยอมรับ ประโยชน์ของความกตัญญู และโทษของการไม่มีความกตัญญูทั้งต่อตนเองและต่อสังคม บุคคลผู้มีความกตัญญูเป็นคนดีและรักษาความดีไว้ได้ เป็นผู้น่าคบค้าสมาคม ได้รับการยกย่องสรรเสริญ ความกตัญญูยังทำให้คนในสังคมช่วยเหลือกัน พึ่งพาอาศัยอยู่กันด้วยดี มีความร่มเย็นเป็นสุข ส่วนโทษของการไม่มีความกตัญญู ย่อมทำให้ตนเองและสังคม มีแต่ความทุกข์ ความเดือดร้อน ความเสื่อม หาคนคบค้าสมาคมได้ยาก เมื่อเป็นเช่นนี้ ทั้งตนเองและสังคม ย่อมจะได้รับโทษของการไม่มีความกตัญญูพ่อแม่ ผู้ปกครองจะช่วยส่งเสริมความกตัญญูให้ลูกได้อย่างไร?

แนวทางการจัดกิจกรรมของพ่อแม่ที่ช่วยส่งเสริมความกตัญญู เป็นเรื่องที่ไม่ยากถ้าพ่อแม่ให้การเลี้ยงดูเอาใจใส่ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกในการสร้างพฤติกรรม ดังนี้ กิจกรรมทางตรง คือ การส่งเสริมให้ลูกได้ปฏิบัติและทำกิจกรรมที่เป็นการปลูกฝังให้เกิดความกตัญญู เช่น สอนให้ลูกช่วยยกน้ำดื่มมาให้พ่อแม่ เมื่อกลับมาจากทำงาน การช่วยถือของเล็กๆน้อยๆ เมื่อต้องไปซื้อของ หรือการที่ลูกช่วยงานบ้านง่ายๆ พ่อแม่ควรชื่นชม และเน้นถึงความสำคัญของพฤติกรรมว่าลูกได้แสดงออกถึงความกตัญญูต่อพ่อแม่แล้ว กิจกรรมทางอ้อม คือ การเป็นแบบอย่างที่ดี พ่อแม่ต้องแสดงพฤติกรรมความกตัญญูให้ลูกเห็น เช่น การซื้อของหรือการทำอาหารให้คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย หรือญาติผู้ใหญ่ที่มีพระคุณ ให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการมอบสิ่งของ หรืออธิบายสาเหตุที่ต้องแสดงความกตัญญูต่อท่านเหล่านั้นว่า ท่านมีบุญคุณอย่างไรต่อเรา ถ้าไม่ท่านเหล่านั้น เราจะเป็นอย่างไร และให้ลูกวิเคราะห์ผลของการทำกิจกรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นทางกาย หรือความรู้สึกอิ่มเอมทางจิตใจ เมื่อได้แสดงความกตัญญูต่อผู้ อื่น เกร็ดความรู้เพื่อครู

การแสดงความกตัญญูต่อพ่อแม่มีอะไรบ้าง

กล่าวขอบคุณพ่อแม่เมื่อท่านช่วยเหลือเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน, แสดงความรักด้วยการกอด, ช่วยแบ่งเบาภาระในบ้าน, ช่วยเหลือจุนเจือตามกำลังที่ทำได้, หาเวลาไปเยี่ยมหรือพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น

การแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณมีความสําคัญอย่างไร

ทำให้มีความสุขในการใช้ชีวิต.
ทำให้เป็นคนมีสติรอบคอบในการที่จะคิดทำการสิ่งใด.
ทำให้มีความอดทน จากการทำสิ่งต่างๆ ได้ดี.
ทำให้พ้นทุกข์พ้นภัย.
ทำให้แคล้วคลาดภัยในยามคับขัน.
ทำให้ได้ลาภโดยง่าย.
ทำให้เป็นตัวอย่างอันดีแก่อนุชนรุ่นหลัง.
ทำให้เป็นคนมีเหตุผลในทุกๆ เรื่อง.

ความกตัญญูกตเวที มีอะไรบ้าง

กตัญญู (กตเวที) หมายถึง ผู้รู้อุปการะที่ผู้อื่นทำแก่ตนและทำคุณประโยชน์ตอบแทน สังคมไทยมักเจาะจงไปด้วยว่า ต้องทำตอบแทนต่อผู้นั้นโดยตรง ไม่ใช่การทำความดีทั่วไป กล่าวคือ แม้เขาจะทำประโยชน์เพื่อสาธารณะมากแค่ไหน แต่หากไม่ทำในนามพ่อแม่ ครูอาจารย์ หรือเจ้านายที่เคยช่วยเหลือตน ก็ถือว่าเป็นคนไม่รู้จักบุญคุณหรืออกตัญญูนั่นเอง

นักเรียนแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณที่ทำประโยชน์แก่ชาติอย่างไร

ดังนั้นเราควรแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อประเทศชาติ ดังนี้ ๑. ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีเป็นพลเมืองดีของชาติ เช่น ถ้าเป็นเด็กต้องเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน มีความรับผิดชอบ มี่กิริยามารยาทงดงาม มีความซื่อสัตย์ และมีความเมตตากรุณา เป็นต้น ๒. ศรัทธาและยึดมั่นในพระรัตนตรัย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก